พบผลลัพธ์ทั้งหมด 888 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกของลูกจ้างมีผลเมื่อได้รับอนุมัติจากนายจ้าง แม้จะถอนเจตนาภายหลังก็ไม่เป็นผล นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงานและหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้วลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคสอง จำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่ หนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยยังคงมีผลต่อไป โจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างอันเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการเมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยในการประชุมก่อนที่หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่จำเลยประสงค์ การที่จำเลยต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกโจทก์เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่จำเลย การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย เมื่อเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลาออกมีผลผูกพัน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงาน และหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้ว ลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 วรรคสอง
จำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่ หนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยยังคงมีผลต่อไป
โจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างอันเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยในการประชุมก่อนที่หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่จำเลยประสงค์ การที่จำเลยต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกโจทก์เลิกจ้าง โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่จำเลย
การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย เมื่อเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 407
จำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่ หนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยยังคงมีผลต่อไป
โจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างอันเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยในการประชุมก่อนที่หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่จำเลยประสงค์ การที่จำเลยต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกโจทก์เลิกจ้าง โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่จำเลย
การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย เมื่อเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกภายใต้เงื่อนไข และสิทธิในการรับเงินบำเหน็จหลังการอนุมัติลาออก หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
แม้การที่โจทก์ลาออกจากงานก่อนกำหนด ตามข้อบังคับของจำเลยโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลยก่อนและคณะกรรมการบริหารของจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1. ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2539/40เพื่อตอบข้อซักถามของที่ประชุมเกี่ยวกับบัญชีงบดุล 2. จะพึงปฏิบัติต่อผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเคร่งครัด 3. สิทธิที่พึงได้รับตามระเบียบร้านฯ จะได้รับต่อเมื่อปิดงบดุลเสร็จสิ้น 4. ให้เสนอทำบัญชีงบทดรองมาให้คณะกรรมการพิจารณาในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และอนุมัติจัดจ้างโจทก์นอกเวลาตามอัตราค่าจ้างเดิม โจทก์ตกลงกับจำเลยถือว่าโจทก์สละเงื่อนเวลาในการรับเงินที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับไปจนกว่าปิดงบดุลเสร็จนั้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงดังกล่าวได้ หลังจากนั้น ค.กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า"ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ให้ทำการปิดบัญชีประจำปี 2539 ให้เสร็จภายในกำหนดแต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติลาออกภายใต้เงื่อนไข และผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อสิทธิการรับเงินของลูกจ้าง
จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อเมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการจำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์มีข้อความว่า "เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและ ข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯมีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ดังนั้น การที่ คณะกรรมการจำเลยมีมติดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาต ให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามเงื่อนไขทั้งสี่ข้อต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละสิทธิสัญญาอนุญาโตตุลาการ: เมื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องร้อง
ระหว่างโจทก์ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินอ่างเก็บน้ำตามสัญญาจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาและได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา โดยมิได้เสนอข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยก่อนตามสัญญา ส่วนโจทก์เมื่อเห็นว่าตนเองทำงานแล้วเสร็จตามสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่ตรวจรับงานและไม่ชำระเงินค่าจ้าง โจทก์ก็นำคดีมาฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าวก่อนเช่นกันและเมื่อถูกฟ้องแล้วจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนวันนัดสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าโจทก์และจำเลยสละผลบังคับตามสัญญาดังกล่าวโดยปริยายแล้ว จำเลยจึงหาอาจยกเอาข้อสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้โจทก์ ปฏิบัติอีกได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละสิทธิสัญญาอนุญาโตตุลาการ: คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ ทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาสิ้นไป
ระหว่างโจทก์ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินอ่างเก็บน้ำตามสัญญาจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาและได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา โดยมิได้เสนอข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยก่อนตามสัญญา ส่วนโจทก์เมื่อเห็นว่าตนเองทำงานแล้วเสร็จตามสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่ตรวจรับงานและไม่ชำระเงินค่าจ้าง โจทก์ก็นำคดีมาฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าวก่อนเช่นกัน และเมื่อถูกฟ้องแล้วจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าโจทก์และจำเลยสละผลบังคับตามสัญญาดังกล่าวโดยปริยายแล้ว จำเลยจึงหาอาจยกเอาข้อสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้โจทก์ปฏิบัติอีกได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: การแสดงเจตนาและข้อตกลงที่แท้จริงมีผลเหนือกว่าโฆษณาชวนเชื่อ
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลองก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าอาคารทุกหลังในโครงการที่จำเลยเสนอขายนี้ได้ตอกเสาเข็มไว้แล้วก่อนเปิดขาย มีเสาเข็มหลังละประมาณ 200 ต้น แต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่ พ้นดินประมาณ 2 เมตร และโจทก์รู้เห็นว่าจะมีการก่อสร้างอาคาร ตรงที่ระบุว่าเป็นสวนหย่อม ทั้งโจทก์รับมอบห้องชุดจากจำเลย หลังทำสัญญาจะซื้อจะขาย 2 ปีเศษอาคารชุดที่พิพาทก่อสร้าง ไปได้ 3 ชั้นแล้ว การที่โจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคารชุด ที่พิพาทมาโดยตลอด แต่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อ ปฏิบัติตามสัญญาตลอดมาแสดงว่าโจทก์หาได้ถือว่า การจะมี สวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลังที่โจทก์จะซื้อห้องชุดหรือไม่ ย่อมไม่เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญา โจทก์ย่อม ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ส่วนกลาง (สวนหย่อม) ไม่ถือเป็นผิดสัญญา หากผู้ซื้อทราบและยินยอมโดยปริยาย
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลองก็ตาม แต่เมื่อปรากฎว่าอาคารทุกหลังในโครงการที่จำเลยเสนอขายนี้ได้ตอกเสาเข็มไว้แล้วก่อนเปิดขาย มีเสาเข็มหลังละประมาณ 200 ต้น แต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่พ้นดินประมาณ 2 เมตร และโจทก์รู้เห็นว่าจะมีการก่อสร้างอาคารตรงที่ระบุว่าเป็นสวนหย่อม ทั้งโจทก์รับมอบห้องชุดจากจำเลยหลังทำสัญญาจะซื้อจะขาย 2 ปีเศษอาคารชุดที่พิพาทก่อสร้างไปได้ 3 ชั้นแล้ว การที่โจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคารชุดที่พิพาทมาโดยตลอด แต่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อปฏิบัติตามสัญญาตลอดมาแสดงว่าโจทก์หาได้ถือว่า การจะมีสวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลังที่โจทก์จะซื้อห้องชุดหรือไม่ ย่อมไม่เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาพักร้อนและการจ่ายค่าจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างโดยมิชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 10 บัญญัติให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้ เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างได้กำหนดล่วงหน้าให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปี จึงไม่อาจอ้างได้ว่าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิลาหยุดเอง การที่นายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 และไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 เป็นการโต้แย้งสิทธิของลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างจึงมีอำนาจฟ้อง
ลูกจ้างย่อมสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างตั้งแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องคำนึงว่านายจ้างได้จ่ายค่าจ้างของเดือนที่เลิกจ้างและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้างหรือไม่
ลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนให้แก่ลูกจ้างตามข้อ 45
ลูกจ้างย่อมสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างตั้งแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องคำนึงว่านายจ้างได้จ่ายค่าจ้างของเดือนที่เลิกจ้างและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้างหรือไม่
ลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนให้แก่ลูกจ้างตามข้อ 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับตามสัญญาและการเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัดชำระหนี้
แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาตาม มาตรา 213 วรรคหนึ่งหรือจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 ก็ได้สิทธิดังกล่าวนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายส่วนการที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญากันว่าหากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เป็นเพียงการกล่าวย้ำถึงสิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 เท่านั้นมิได้เป็นการยกเลิกสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 213 วรรคหนึ่งในอันที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาดังนี้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาได้ด้วยตามมาตรา 213 วรรคสี่