คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 386

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 888 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5174/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาลาออกแล้วถูกยับยั้ง และกลับเข้าทำงาน ถือเป็นการถอนการลาออก คำสั่งอนุมัติลาออกจึงไม่ชอบ
โจทก์ได้แสดงเจตนาลาออกแก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 แล้ว แม้การแสดงเจตนาดังกล่าวไม่อาจถอนได้ก็ตาม แต่จำเลยก็มิได้สนองรับ โดยจำเลยได้ยับยั้งการลาออกของโจทก์ไว้แล้วอนุญาตให้โจทก์กลับเข้าทำงานอีก จึงเท่ากับจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ถอนใบลาออก คำเสนอขอลาออกของโจทก์จึงเป็นอันสิ้นความผูกพันแต่นั้นไป ดังนั้น จึงไม่มีหนังสือขอลาออกของโจทก์ที่จำเลยจะอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้อีก คำสั่งของจำเลยที่อนุมัติให้โจทก์ลาออกจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าทรัพย์: ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ใช้ประโยชน์ได้ หากไม่สามารถทำได้ ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามสัญญาเช่าทรัพย์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ใน 2 กรณี คือ โดยกำหนดแห่งสัญญาประการหนึ่ง กับโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 มิใช่ว่าเมื่อสัญญาเช่าไม่มีข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว จำเลยจะไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียเลย
ป.พ.พ. มาตรา 548 กำหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าไว้ว่า ถ้าผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นโดยสภาพไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ดังนั้น หากมีข้อเท็จจริงต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าต่อโจทก์ได้
จำเลยทำสัญญาเช่าที่จอดรถจากโจทก์เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าของจำเลย ตามสัญญาเช่ากำหนดว่าโจทก์ผู้ให้เช่าเป็นผู้ทำบัตรจอดรถ 100 ใบ มอบให้จำเลยนำไปให้ลูกค้า ซึ่งหากไม่มีบัตรจอดรถลูกค้าของจำเลยที่นำรถเข้าไปจอดจะต้องเสียค่าบริการจอดรถตามปกติ บัตรจอดรถย่อมเป็นสิ่งสำคัญและถือเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องทำบัตรจอดรถมอบให้แก่จำเลย เมื่อบัตรจอดรถหายไป 83 ใบ และโจทก์ได้ทำบัตรจอดรถใหม่ให้แก่จำเลยแล้ว แม้โจทก์จะอ้างว่าการทำบัตรจอดรถใหม่นั้น จำเลยจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและให้จำเลยชำระเงินค่าทำบัตรจอดรถให้แก่โจทก์ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวอีกเรื่องหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์และโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาเช่าต่อจำเลย สัญญาเช่าจึงยังคงมีผลบังคับ แต่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด การที่จำเลยไม่ได้ให้ลูกค้าของจำเลยนำรถมาจอดในอาคารของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่า จำต้องผูกพันชำระค่าเช่าจนกว่าจะครบสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายเครื่องจักรและการคืนสภาพเดิมตามกฎหมายแพ่ง รวมถึงประเด็นค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและขนส่ง
ป.พ.พ.มาตรา 386 บัญญัติถึงสิทธิเลิกสัญญาของคู่สัญญาว่าอาจเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ เกิดจากข้อสัญญา หรือเกิดจากบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งใช้บังคับได้แก่สัญญาทุกประเภทรวมทั้งสัญญาซื้อขาย สำหรับสัญญาซื้อขาย แม้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะได้โอนไปเป็นของผู้ซื้อโดยผลของสัญญาแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ตราบใดที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยังมีภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาแล้วไม่ปฏิบัติ ย่อมถือเป็นการผิดสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อตามสัญญาซื้อขายมิได้ระบุถึงข้อตกลงในการเลิกสัญญาไว้ และตามข้อความในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาประสงค์จะไม่ให้มีการบอกเลิกสัญญาต่อกันในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา ดังนั้น สิทธิบอกเลิกสัญญาของคู่สัญญาจึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ คดีนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่ค้างชำระภายใน 15 วัน จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดให้ โจทก์จึงมีสิทธิตามกฎหมายที่จะบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรที่ซื้อขายได้โอนไปเป็นของจำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่
ผลของการเลิกสัญญาต้องเป็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 คือ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม โดยในกรณีคืนเงินให้บวกดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้ ส่วนในกรณีที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น ให้คืนด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ ซึ่งการใช้สิทธิเลิกสัญญาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ดังนั้น สัญญาซื้อขายเครื่องจักรระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบเครื่องจักรตามสัญญาซื้อขายคืนแก่โจทก์ และต้องชดใช้เงินค่าที่ได้ใช้สอยเครื่องจักรดังกล่าวในขณะที่ตนครอบครองอยู่จนกว่าจะส่งมอบเครื่องจักรคืนแก่โจทก์ รวมต้องชำระค่าเสียหายจากการเสื่อมราคาของเครื่องจักรด้วย ส่วนโจทก์ก็ต้องคืนเงินค่าเครื่องจักรและเงินดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระให้แก่โจทก์ไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินจำนวนนั้นไว้ และเนื่องจากคู่สัญญามิได้มีข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่ต้องคืนเงินแก่กันไว้ จึงให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับเงินจำนวนนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7
เมื่อจำเลยทั้งสามมีหน้าที่ตามคำพิพากษาที่ต้องส่งมอบเครื่องจักรที่ซื้อขายคืนแก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเข้าไปรื้อถอนเครื่องจักรและขนส่งเครื่องจักรไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ด้วยตนเองได้ หากจำเลยทั้งสามไม่ยอมส่งมอบเครื่องจักร โจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการบังคับตามกฎหมายหรือเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ราคาเครื่องจักรแก่ตน ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดให้อำนาจแก่โจทก์ในการเข้าไปรื้อถอนและขนส่งเครื่องจักรแทนจำเลยทั้งสามด้วยตนเองโดยขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสามให้ออกค่าใช้จ่าย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่ารื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักรจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดหยิบยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
เนื่องจากคำพิพากษาคดีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 จึงสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาซื้อขายเครื่องจักร, สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย, การคืนเงิน, และค่าใช้จ่ายในการส่งมอบ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 บัญญัติถึงสิทธิเลิกสัญญาของคู่สัญญาว่าอาจเกิดขึ้นได้ 2 กรณีคือ เกิดจากข้อสัญญาหรือเกิดจากบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งใช้บังคับได้แก่สัญญาทุกประเภทรวมถึงสัญญาซื้อขาย
แม้ตามสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะได้โอนไปเป็นของผู้ซื้อโดยผลแห่งสัญญาแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ตราบใดที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยังมีภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาแล้วไม่ปฏิบัติ ย่อมถือเป็นการผิดสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาซื้อขายมิได้ระบุถึงข้อตกลงในการเลิกสัญญาไว้ และตามข้อความในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาประสงค์จะไม่ให้มีการบอกเลิกสัญญาต่อกันในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา ดังนั้น สิทธิบอกเลิกสัญญาของคู่สัญญาจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคือมาตรา 387 ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายในงวดแรกและงวดที่สองโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวแก่โจทก์ภายใน 15 วัน จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่โจทก์กำหนดให้ โจทก์จึงมีสิทธิตามกฎหมายที่จะบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรที่ซื้อขายได้โอนไปเป็นของจำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่
ผลของการเลิกสัญญาต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 391 คือ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม โดยในกรณีคืนเงินให้บวกดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้ ส่วนในกรณีที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น ให้คืนด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ นอกจากนี้มาตราดังกล่าวยังได้บัญญัติรับรองถึงการใช้สิทธิเลิกสัญญาว่าไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ดังนั้น จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบเครื่องจักรตามสัญญาซื้อขายคืนแก่โจทก์ และต้องชดใช้ค่าที่ได้ใช้สอยเครื่องจักรดังกล่าวในขณะที่ตนได้ครอบครองอยู่จนกว่าจะส่งมอบเครื่องจักรคืนแก่โจทก์ รวมทั้งต้องชำระค่าเสียหายจากการเสื่อมราคาของเครื่องจักรด้วย ส่วนโจทก์ก็ต้องคืนเงินค่าเครื่องจักรและเงินดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินจำนวนนั้นไว้
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ตามคำพิพากษาที่จะต้องส่งมอบเครื่องจักรแก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเข้าไปรื้อถอนเครื่องจักรและขนส่งเครื่องจักรไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ด้วยตนเองได้ หากจำเลยทั้งสามไม่ยอมส่งมอบเครื่องจักร โจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการบังคับตามกฎหมายหรือเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ราคาเครื่องจักรแก่ตน ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดให้อำนาจแก่โจทก์ในการเข้าไปรื้อถอนและขนส่งเครื่องจักรแทนจำเลยทั้งสามด้วยตนเองโดยขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสามให้ออกค่าใช้จ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดบริษัทเพื่อหลอกลวงทำสัญญา และความผิดสัญญาพัฒนาที่ดิน
ในวันที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัตนาที่ดินกับจำเลย จำเลยได้จัดการให้โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างรั้วกับบริษัท ค. โดยทำที่สำนักงานของจำเลย ซึ่งสัญญาทั้งหมดมี พ. ผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้าของจำเลยลงลายมือชื่อในฐานะผู้จะขายและผู้รับจ้างทั้งสองสัญญา นอกจากนี้จำเลยและบริษัท ค. มีกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นบุคคลชุดเดียวกัน และในการทำสัญญาจองที่ดินก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์จะต้องทำสัญญาก่อสร้างรั้วกับบริษัท ค. โจทก์เพิ่งรู้จักชื่อบริษัท ค. ในวันเดียวกับวันทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินกับจำเลย ดังนั้น โจทก์และลูกค้ารายอื่นย่อมีเหตุผลเชื่อว่า จำเลยและบริษัท ค. ได้ร่วมประกอบธุรกิจหาผลประโยชน์ในกิจการเดียวกัน ฟังได้ว่า จำเลยได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญว่าจ้างก่อสร้างรั้ว โจทก์จึงหลงผิดเข้าทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างรั้วโดยเชื่อว่าบริษัท ค. ร่วมประกอบธุรกิจกับจำเลยจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบริษัท ค. เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821
สัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ชำระค่างวดให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่พัฒนาที่ดินโดยการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกตามสัญญา ถึงแม้สัญญาจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาการพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จไว้โดยชัดเจนก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าจำเลยจะดำเนินการให้เสร็จเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ความพอใจของจำเลย โจทก์ชำระค่างวดให้จำเลยไปแล้ว 499,900 บาท และนับแต่ทำสัญญาจนถึงวันที่โจทก์มีหนังสือขอคืนเงินมัดจำเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2541 เป็นเวลา 2 ปีเศษ จำเลยยังไม่สามารถพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จ ทั้งๆ ที่จำเลยโฆษณาไว้ว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2540 ถือว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าทรัพย์: การตีความสัญญาและการบอกเลิกสัญญาโดยชอบ
สัญญามีข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เช่า ระยะเวลาการเช่าค่าเช่าที่ผู้เช่าตกลงชำระเป็นรายเดือน หน้าที่ของผู้เช่า การสูญหายและเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า การผิดสัญญา สิทธิในการยกเลิกสัญญาของผู้ให้เช่า อันเป็นลักษณะของการเช่าทรัพย์ตาม ป.พ.พ. โดยไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินที่เช่า และไม่ปรากฏว่าค่าเช่าที่ชำระให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์สินที่เช่า แม้ตามสัญญาข้อ 6 จะให้ผู้เช่ามีสิทธิเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่า ก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่าหากประสงค์จะซื้อในอนาคต คู่สัญญามิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าให้แก่กันมาตั้งแต่เริ่มแรกดังสัญญาเช่าซื้อ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าทรัพย์
การบอกเลิกสัญญาเช่าทรัพย์ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การมอบอำนาจให้ทนายความบอกเลิกสัญญาก็ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาพร้อมใบตอบรับของไปรษณีย์มาแสดงจึงถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายบ้านหลังผู้ขายไม่สร้างบ้านตามสัญญา แม้ไม่มีกำหนดเวลาชัดเจน
สัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้มีข้อตกลงว่าจำเลยจะสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใดทั้งโจทก์และนางสาว ส. ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในสัญญาจะซื้อจะขายและเป็นผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับจำเลยในโครงการเดียวกันกับโจทก์เบิกความเพียงว่า โครงการจะสร้างเสร็จภายในปลายปี 2540 จึงยังไม่พอถือได้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายมีกำหนดเวลาสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ ที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ระบุว่าผู้จะขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้จะซื้อเมื่อผู้จะซื้อได้ชำระเงินดาวน์ให้ผู้จะขายครบถ้วน สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาไว้โดยปริยายนั้น ยังไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน และโจทก์ได้ชำระเงินค่างวดให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่สร้างบ้านและส่งมอบให้โจทก์ตามสัญญา และถึงแม้สัญญาดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาการปลูกสร้างบ้านให้แล้วเสร็จไว้โดยชัดเจนก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ว่าจำเลยจะสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ความพอใจของจำเลย เมื่อโจทก์ชำระเงินตามงวดให้จำเลยไปแล้ว 220,300 บาท ทั้งได้มีหนังสือบอกกล่าวถึงจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาและชำระหนี้จนถึงวันที่โจทก์มีหนังสือขอให้บฏิบัติตามสัญญาและชำระหนี้ไปยังจำเลยครั้งสุดท้ายนับเป็นเวลา 5 ปีเศษ จำเลยยังไม่สามารถก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ซึ่งการบอกกล่าวให้จำเลยดำเนินการภายในกำหนด 15 วัน มิเช่นนั้นให้คืนเงินที่ชำระไปแล้ว พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์นับจากเวลาดังกล่าว ในกรณีนี้ต้องนับว่าเป็นระยะเวลาอันสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9977-10229/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โครงการร่วมใจจากองค์กร: การลาออกโดยสมัครใจ ไม่เข้าข่ายเลิกจ้างหรือเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
โจทก์พ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยตามโครงการร่วมใจจากองค์กรอันมีลักษณะเป็นข้อตกลงระงับสัญญาจ้างร่วมกัน โดยจำเลยตกลงให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่พนักงานซึ่งตกลงเข้าร่วมโครงการดังกล่าว และข้อตกลงดังกล่าวมิได้ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายและมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงมีผลบังคับได้ เมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยเนื่องจากข้อตกลงตามโครงการร่วมใจจากองค์กร โดยผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวยื่นใบสมัครลาออกอันมีลักษณะเป็นการตกลงระงับสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์ดังกล่าวด้วยความสมัครใจ จึงมิใช่เป็นการพ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยสืบเนื่องมาจากจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้าง หรือการเกษียณอายุ โจทก์ดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือเงินค่าตอบแทนความชอบในการทำงานตามที่กำหนดในเรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับค่าชดเชยข้อที่ 45 และ 47 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าเนื่องจากผิดสัญญา และการฟ้องขับไล่ผู้เช่าหลังสัญญาสิ้นผลผูกพัน
การบอกเลิกสัญญาเช่าเพราะเหตุจำเลยต่อเติมอาคารที่เช่าและนำอาคารที่เช่าไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงอันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ทันทีตามสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยแล้วสัญญาเช่าย่อมเป็นอันสิ้นผลผูกพัน จำเลยจึงต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารที่เช่าและส่งมอบอาคารดังกล่าวคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยภายในระยะเวลาที่โจทก์กำหนด แม้โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลย ชำระค่าเช่าที่ค้างอีกภายหลังจากที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลย และจำเลยได้กระทำตามโดยได้ชำระค่าเช่า ที่ค้างภายในกำหนดเวลา หามีผลทำให้สัญญาเช่าซึ่งสิ้นผลผูกพันไปแล้วกลับมีผลผูกพันขึ้นมาใหม่ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าเนื่องจากผิดสัญญาต่อเติมอาคารและเช่าช่วง สิทธิในการขับไล่และการสิ้นสุดของสัญญา
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าอันเนื่องมาจากจำเลยต่อเติมอาคารที่เช่าและให้บุคคลอื่นเช่าช่วงอาคารอันเป็นการผิดสัญญา โดยกำหนดให้จำเลยและบริวารออกจากอาคารที่เช่าและส่งมอบอาคารคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ต่อมาวันที่ 19 มิถุนายน 2543 โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างจำนวน 2 งวด ภายใน 15 วัน หากไม่ชำระให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญา ดังนี้ การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเป็นเพราะเหตุจำเลยผิดสัญญาเช่าโดยการต่อเติมอาคารที่เช่าและนำอาคารที่เช่าไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วง ไม่ใช่เป็นเพราะจำเลยค้างชำระค่าเช่า เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วสัญญาเช่าย่อมเป็นอันสิ้นผลผูกพัน จำเลยจึงต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารที่เช่าและส่งมอบอาคารที่เช่าคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยภายในระยะเวลาที่โจทก์กำหนด การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างหลังจากที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยแล้ว แม้จำเลยจะได้ชำระค่าเช่าที่ค้างภายในกำหนดระยะเวลาตามหนังสือของโจทก์ ก็หามีผลทำให้สัญญาเช่าที่สิ้นผลผูกพันไปแล้วกลับมีผลผูกพันขึ้นมาใหม่
of 89