คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 691

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ แม้ศาลยกฟ้องลูกหนี้เนื่องจากไม่ใช่หนี้ตามฟ้อง
ศาลแรงงานกลางมิได้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ถ้าลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้แต่นั้นประกอบกับมาตรา 691 ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิตามมาตรา 688, 689 และ 690 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเบียดบังยักยอกสินค้าของโจทก์ และเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแล้วไม่ส่งมอบแก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการตายลูกหนี้: ทายาท/ผู้ค้ำประกันมีสิทธิยกอายุความได้ หากเจ้าหนี้ไม่ฟ้องภายใน 1 ปี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากยังไม่ได้มีการจัดการมรดกของลูกหนี้แล้วเจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกได้แม้พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้จึงมีสิทธิยกอายุความหนึ่งปีขึ้นมาต่อสู้โจทก์ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688,689 และ 690ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ นอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ และตามสัญญาค้ำประกันจะได้ระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้นในเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้หรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม แต่ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้รวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีหนี้ เจ้ามรดก ผู้ค้ำประกัน และผลของการไม่ฟ้องร้องภายในกำหนด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากยังไม่ได้มีการจัดการมรดกของลูกหนี้แล้วเจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกได้แม้พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้จึงมีสิทธิยกอายุความหนึ่งปีขึ้นมาต่อสู้โจทก์ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688, 689 และ 690 ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ นอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ และตามสัญญาค้ำประกันจะได้ระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้นในเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้หรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม แต่ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้รวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และการคิดค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่องของทรัพย์
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ โจทก์จึงมีหนังสือทวงให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อและบอกเลิกสัญญา หลังจากนั้นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาคืนโจทก์ โจทก์จึงถอนฟ้องแล้วนำรถยนต์ออกประมูลขายได้เงินไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อ จึงมาฟ้องเรียกราคารถยนต์ในส่วนที่ขาดจากจำเลยทั้งสองอีก กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) เพราะฟ้องโจทก์คดีก่อนไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเนื่องจากถอนฟ้องไปแล้ว และเมื่อพิจารณาคดีก่อนที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วศาลยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ประกอบกับคดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์และชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคาจากการประมูลขายรถยนต์พร้อมดอกเบี้ยอันเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน คำขอบังคับในคดีทั้งสองจึงต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าเสื่อมราคาหรือค่าขาดราคาของรถยนต์ที่ประมูลขายได้ราคาน้อยกว่าราคาเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นผลมาจากการเลิกสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
การคำนวณทุนทรัพย์เพื่อกำหนดอัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องถือเอาจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องตั้งแต่ฟ้องคดี มิใช่คำนวณจากทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีซึ่งอาจจะไม่เต็มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6895/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในวงเงินค้ำประกัน แม้จำเลยที่ 1 มีหนี้มากกว่า และแก้ไขสัญญาด้วยวาจาไม่ได้
จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดในหนี้สินของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงินค้ำประกัน หมายความว่าแม้จำเลยที่ 1 จะมีหนี้อยู่มากกว่านี้ จำเลยที่ 2 คงต้องรับผิดเพียงวงเงินที่ค้ำประกันไว้เท่านั้นเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่มากกว่าวงเงินที่ค้ำประกัน จำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงินค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันมิได้มีข้อความระบุว่าถ้าจำเลยที่ 1 ชำระเงินเท่าใดจะให้จำเลยที่ 2 รับภาระหนี้ที่ค้ำประกันอยู่ลดลงตามจำนวนหนี้ที่ชำระมาแล้ว จำเลยที่ 2 จะนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์เคยมีข้อตกลงดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 มาแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาค้ำประกันไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทน ผู้ซื้อ และผู้ค้ำประกัน ในการชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดินรวม 5 โฉนด หลังจากทำการซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้ และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์ในงวดที่ 8 ถึง 12 ไม่ได้ โจทก์จึงแจ้งจำเลยทั้งสามให้นำเงินมาชำระ แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ ไม่ว่าในขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือในชั้นที่เจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบภาษีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซื้อที่ดินแทนจำเลยที่ 3 แล้วขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เงินเพิ่มเบี้ยปรับและภาษีส่วนท้องถิ่นแก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ จำเลยที่ 2ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ระบุยอมรับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เต็มจำนวนส่วนจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วย โดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำกับโจทก์มิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยที่ 3 รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อขายที่ดินและขอบเขตความรับผิดของตัวแทน ผู้รับสภาพหนี้ และผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดินรวม 5 โฉนด หลังจากทำการซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์ในงวดที่ 8 ถึง 12 ไม่ได้โจทก์จึงแจ้งจำเลยทั้งสามให้นำเงินมาชำระ แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉยตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ ไม่ว่าในขณะที่จำเลยที่ 1ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือในชั้นที่เจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบภาษีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2และที่ 3 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซื้อที่ดินแทนจำเลยที่ 3แล้วขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2และที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะเงินเพิ่มเบี้ยปรับและภาษีส่วนท้องถิ่นแก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ระบุยอมรับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เต็มจำนวน ส่วนจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วยโดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำกับโจทก์มิได้ระบุให้จำเลยที่ 3รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยที่ 3รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7821/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, เบี้ยปรับ, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ และจำเลยได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เรื่อยมาโดยตลอด จำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก คงมีแต่รายการที่โจทก์นำเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระของแต่ละเดือนทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชีที่จำเลยจะต้องชำระในเดือนถัดไป กรณีเช่นนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชี และให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยให้ชำระหนี้คงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกันโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกันเมื่อปรากฏว่า วันครบกำหนดที่โจทก์เรียกให้ชำระหนี้ตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์คือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงวันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขจึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยแล้ว ดังนี้ ดอกเบี้ยร้อยละ 25จึงเป็นเบี้ยปรับ
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่าผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่า ผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่มีรายการเดินสะพัด และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดเวลา 12 เดือน นับแต่วันทำสัญญากับระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือน และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่ออีกคราวละ 6 เดือนตลอดไป หลังจากครบกำหนดสัญญา 12 เดือนแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่า หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้วได้มีรายการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย แม้จะปรากฏว่าโจทก์ได้ถอนเงินฝากประจำจากบัญชีของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาหักทอนบัญชี เพื่อชำระหนี้ แต่ก็ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกต่อไป เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์ดังกล่าวต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างตกลงกันให้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันครบกำหนด ตามสัญญา แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความในสัญญาระบุว่าเมื่อถึงกำหนด 12 เดือนและไม่มีการต่ออายุการเบิก เงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีอีกคราวละ 6 เดือนตลอดไปก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวนั้น ย่อมมีความหมายถึงกรณี ที่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีเท่านั้น หาใช่สัญญาเบิก เงินเกินบัญชีได้มีการต่ออายุสัญญาต่อไปจนกระทั่งโจทก์ บอกเลิกสัญญาแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันสิ้นสุดของสัญญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและการคิดดอกเบี้ยหลังหมดอายุ
แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความในสัญญาระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือน และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีอีกคราวละ 6 เดือนตลอดไปก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวนั้น ย่อมมีความหมายถึงกรณีที่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีเท่านั้น หาใช่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้มีการต่ออายุสัญญาต่อไปจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันสิ้นสุดของสัญญาเท่านั้น
of 7