พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ค้ำประกันและการขาดอายุความของสิทธิเรียกร้องต่อกองมรดก
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ แม้จำเลยจะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็เป็นการยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 691เท่านั้น มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 291จำเลยย่อมมีสิทธิของผู้ค้ำประกันตามมาตรา 694 ที่อาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้ชั้นต้นมีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยย่อมใช้สิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 694 ได้ และคดีนี้มิใช่คดีมรดกจึงไม่เกี่ยวกับว่าจำเลยจะเป็นบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1755 หรือไม่ เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของ อ.ลูกหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่ทราบว่า อ.ถึงแก่ความตายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ อ.จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 1754วรรคสาม ดังนี้ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยย่อมใช้สิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 694 ได้ และคดีนี้มิใช่คดีมรดกจึงไม่เกี่ยวกับว่าจำเลยจะเป็นบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1755 หรือไม่ เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของ อ.ลูกหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่ทราบว่า อ.ถึงแก่ความตายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ อ.จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 1754วรรคสาม ดังนี้ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำและการถอนฟ้องไม่กระทบสิทธิโจทก์ในการฟ้องใหม่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ล. โจทก์ได้ถอนฟ้องโดยระบุในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนฟ้องเนื่องจากจำเลยทั้งสองตกลงชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนโดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยต่อไปอีก ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แก่โจทก์แสดงว่าโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกัน มิใช่ยินยอมให้หนี้ส่วนที่เหลือระงับสิ้นไป และที่โจทก์ถอนฟ้องในคดีที่เคยฟ้องจำเลยทั้งสามก็เนื่องจากใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีผิดพลาด ถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามใหม่ในเรื่องเดิมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176
การชำระหนี้กู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสองมาแสดงจำเลยร่วมเพียงปากเดียวมาเบิกความลอย ๆ ว่าได้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ในส่วนของดอกเบี้ยสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมและ ล. ระบุว่าลูกหนี้ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปีผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว
การชำระหนี้กู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสองมาแสดงจำเลยร่วมเพียงปากเดียวมาเบิกความลอย ๆ ว่าได้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ในส่วนของดอกเบี้ยสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมและ ล. ระบุว่าลูกหนี้ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปีผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การคิดดอกเบี้ยจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และอายุความตามกฎหมายล้มละลาย
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา680 วรรคสอง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ดังนั้น ข้อตกลงนอกเหนือสัญญาค้ำประกันว่า หากบริษัท ง. ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือเมื่อดำเนินการบังคับคดีแล้วได้ทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงจะชำระหนี้แทนดังที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกัน จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง
สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้กับผู้ล้มละลาย มีความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้สาบสูญ หรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ย่อมมีความหมายว่า ผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของบริษัท ง. เหตุนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านเรียกให้บริษัท ง. ชำระหนี้ก่อนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความ ตลอดจนสัญญาค้ำประกัน และตารางการผ่อนชำระหนี้ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อความว่าผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือน แต่เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
มูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาค้ำประกันเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อได้ความว่าขณะเกิดกรณีพิพาทผู้ล้มละลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจเงินทุนมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ผู้ล้มละลายจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ตามสัญญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ผู้ร้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับจากวันที่ 6มิถุนายน 2534 ย้อนหลังขึ้นไป 5 ปี คือวันที่ 6 มิถุนายน 2529 และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ผู้ร้องในปัญหานี้ให้เพราะเห็นว่าไม่เป็นสาระแก่คดี ผู้ร้องฎีกาอ้างเพียงว่า การคิดดอกเบี้ยต้องไม่เกิน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(1) ฎีกาของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้กับผู้ล้มละลาย มีความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้สาบสูญ หรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ย่อมมีความหมายว่า ผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของบริษัท ง. เหตุนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านเรียกให้บริษัท ง. ชำระหนี้ก่อนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความ ตลอดจนสัญญาค้ำประกัน และตารางการผ่อนชำระหนี้ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อความว่าผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือน แต่เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
มูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาค้ำประกันเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อได้ความว่าขณะเกิดกรณีพิพาทผู้ล้มละลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจเงินทุนมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ผู้ล้มละลายจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ตามสัญญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ผู้ร้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับจากวันที่ 6มิถุนายน 2534 ย้อนหลังขึ้นไป 5 ปี คือวันที่ 6 มิถุนายน 2529 และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ผู้ร้องในปัญหานี้ให้เพราะเห็นว่าไม่เป็นสาระแก่คดี ผู้ร้องฎีกาอ้างเพียงว่า การคิดดอกเบี้ยต้องไม่เกิน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(1) ฎีกาของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม และอายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันถึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) การที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงนอกจากสัญญาค้ำประกันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกันจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้มีข้อความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเป็นผู้สาบสูญหรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วนผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหมายความว่าผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีข้อความว่าลูกหนี้จะผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือนก็มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน, ข้อตกลงนอกสัญญา, การรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม, อายุความ, และดอกเบี้ย
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680วรรคสองจึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)ดังนั้นข้อตกลงนอกเหนือสัญญาค้ำประกันว่าหากบริษัทง. ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือเมื่อดำเนินการบังคับคดีแล้วได้ทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงจะชำระหนี้แทนดังที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกันจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้กับผู้ล้มละลายมีความว่าหากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเป็นผู้สาบสูญหรือตายหรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบหรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วนผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมดังนี้ย่อมมีความหมายว่าผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของบริษัทง.เหตุนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านเรียกให้บริษัทง. ชำระหนี้ก่อนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา691 แม้สัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนสัญญาค้ำประกันและตารางการผ่อนชำระหนี้ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อความว่าผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือนแต่เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/32มิใช่มีอายุความ5ปีตามมาตรา193/33เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ มูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาค้ำประกันเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้ความว่าขณะเกิดกรณีพิพาทผู้ล้มละลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจเงินทุนมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงอัตราร้อยละ21ต่อปีผู้ล้มละลายจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ17ต่อปีตามสัญญา ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ผู้ร้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับจากวันที่6มิถุนายน2534ย้อนหลังขึ้นไป5ปีคือวันที่6มิถุนายน2529และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ผู้ร้องในปัญหานี้ให้เพราะเห็นว่าไม่เป็นสาระแก่คดีผู้ร้องฎีกาอ้างเพียงว่าการคิดดอกเบี้ยต้องไม่เกิน5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(1)ฎีกาของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5078/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญากู้-ค้ำประกัน, การตีความดอกเบี้ย, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, เงินกู้จากกลุ่มสวัสดิการ
จำเลยที่1ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ในฐานะส่วนตัวของโจทก์เองส่วนปัญหาที่ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของสมาชิกกลุ่มสวัสดิการซึ่งสมาชิกของกลุ่มต่างเป็นเจ้าของร่วมกันนั้นแม้จะรับฟังว่าเป็นความจริงก็เป็นกรณีที่สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวจะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งเมื่อเกิดกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าการดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505นั้นจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในชั้นนี้เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มสวัสดิการแต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ที่จำเลยที่1กู้ยืมไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่2ค้ำประกันไม่เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มแต่อย่างใดศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้ สำหรับจำเลยที่1นั้นปรากฏตามสัญญากู้เอกสารหมายจ.17.2และจ.3ว่าจำเลยที่1กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จำนวนแน่นอนเฉพาะสัญญากู้เอกสารหมายจ.1เท่านั้นคืออัตราชั่งละ1บาทต่อเดือนหรือร้อยละ15ต่อปีส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมายจ.2และจ.3ระบุเพียงว่ายอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จไม่ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นดอกเบี้ยอัตราเท่าใดต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เพียงอัตราร้อยละ7.5ต่อปีสำหรับเงินกู้ตามเอกสารหมายจ.2และจ.3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา7เท่านั้น ส่วนจำเลยที่2ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่1เฉพาะตามสัญญากู้เอกสารหมายจ.1และจ.2เท่านั้นส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมายจ.3จำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่2รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารหมายจ.3ด้วยจึงไม่ถูกต้องทั้งปรากฏด้วยว่าสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมายจ.4และจ.5มีข้อความเพียงว่าถ้าจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้จำเลยที่2จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลยที่2ไม่ได้ยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วยจึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5078/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้-ค้ำประกัน: การคิดดอกเบี้ย, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และการดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการ
จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ในฐานะส่วนตัวของโจทก์เอง ส่วนปัญหาที่ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของสมาชิกกลุ่มสวัสดิการซึ่งสมาชิกของกลุ่มต่างเป็นเจ้าของร่วมกันนั้นแม้จะรับฟังว่าเป็นความจริงก็เป็นกรณีที่สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวจะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งเมื่อเกิดกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว
ปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 นั้น จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในชั้นนี้เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มสวัสดิการ แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ค้ำประกันไม่เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นปรากฏตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1จ.2 และ จ.3 ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จำนวนแน่นอนเฉพาะสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 เท่านั้น คืออัตราชั่งละ 1 บาทต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3ระบุเพียงว่ายอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จไม่ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สำหรับเงินกู้ตามเอกสารหมายจ.2 และ จ.3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 7 เท่านั้น
ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่ 1เฉพาะตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 เท่านั้น ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.3 จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.3 ด้วย จึงไม่ถูกต้อง ทั้งปรากฏด้วยว่าสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5มีข้อความเพียงว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
ปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 นั้น จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในชั้นนี้เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มสวัสดิการ แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ค้ำประกันไม่เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นปรากฏตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1จ.2 และ จ.3 ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จำนวนแน่นอนเฉพาะสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 เท่านั้น คืออัตราชั่งละ 1 บาทต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3ระบุเพียงว่ายอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จไม่ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สำหรับเงินกู้ตามเอกสารหมายจ.2 และ จ.3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 7 เท่านั้น
ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่ 1เฉพาะตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 เท่านั้น ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.3 จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.3 ด้วย จึงไม่ถูกต้อง ทั้งปรากฏด้วยว่าสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5มีข้อความเพียงว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมรับผิด: เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินลูกหนี้ร่วมได้ แม้บังคับชำระจากทรัพย์สินจำนองไม่ครบ
คำฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 อย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้นำทรัพย์สินไปจำนอง ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 5 ดังนี้คำฟ้องและคำพิพากษาที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3เป็นเพียงคำฟ้องและคำพิพากษาในมูลหนี้สามัญมิได้เกี่ยวกับการบังคับจำนอง เมื่อโจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองของจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ได้ครบถ้วน โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญของจำเลยที่ 3 ก็ชอบจะบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 3 ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและไม่มีบทบัญญัติใดที่บัญญัติให้สิทธิของโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5ตามคำพิพากษาระงับสิ้นลง จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน-ความรับผิดร่วม: ศาลแก้เบี้ยปรับเหมาะสมกับความเสียหายและยืนยันความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนของประเทศ โจทก์จำต้องจัดหาบุคลากรเข้ามาทำงานทางด้านวิทยาการ ต้องติดต่อขอทุนศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบจากกรมวิเทศสหการ เมื่อกรมวิเทศสหการหาทุนได้แล้วโจทก์จะต้องดำเนินการคัดเลือกผู้ได้รับทุนเสนอไปยังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อผู้ได้รับทุนเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศสำเร็จการศึกษากลับมาแล้วจะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป หากผู้ได้รับทุนบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ย่อมสูญเสียบุคลากรที่ได้สร้างขึ้นมาและสูญเสียเวลาที่จะต้องจัดหาผู้เข้ารับทุนรายอื่นไปศึกษาทดแทน ย่อมส่งผลกระทบต่อแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานราชการตามที่ได้วางเป้าหมายเอาไว้ เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ การที่สัญญาได้ระบุให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินทุน เงินเดือน และเงินอื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนโจทก์ และกำหนดเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้คืนนั้น เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งแล้วเงินเบี้ยปรับที่โจทก์เรียกร้องมาตามสัญญามิได้สูงเกินส่วน ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน และสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 และ 689 นั้นฐานะของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันในลักษณะนี้จึงต้องรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 691 หรือนัยหนึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน – ความรับผิดร่วมกันของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน – การลดเบี้ยปรับ
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนของประเทศ โจทก์จำต้องจัดหาบุคลากรเข้ามาทำงานทางด้านวิทยาการ ต้องติดต่อขอทุนศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบจากกรมวิเทศสหการ เมื่อกรมวิเทศสหการหาทุนได้แล้วโจทก์จะต้องดำเนินการคัดเลือกผู้ได้รับทุนเสนอไปยังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อผู้ได้รับทุนเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศสำเร็จการศึกษากลับมาแล้ว จะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป หากผู้ได้รับทุนบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ย่อมสูญเสียบุคลากรที่ได้สร้างขึ้นมาและสูญเสียเวลาที่จะต้องจัดหาผู้เข้ารับทุนรายอื่นไปศึกษาทดแทน ย่อมส่งผลกระทบต่อแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานราชการตามที่ได้วางเป้าหมายเอาไว้ เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ การที่สัญญาได้ระบุให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินทุน เงินเดือน และเงินอื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนโจทก์ และกำหนดเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้คืนนั้น เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่งแล้ว เงินเบี้ยปรับที่โจทก์เรียกร้องมาตามสัญญามิได้สูงเกินส่วน
ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน และสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 688 และ 689นั้น ฐานะของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันในลักษณะนี้จึงต้องรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1ผู้เป็นลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 691 หรือนัยหนึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม
ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน และสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 688 และ 689นั้น ฐานะของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันในลักษณะนี้จึงต้องรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1ผู้เป็นลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 691 หรือนัยหนึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม