พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดจำเลยที่ 3-4 ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาหมดอายุ
สัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ลงชื่อไว้ระบุว่าค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท และในบันทึก ต่ออายุสัญญาทั้งสองครั้งได้ระบุเท้าความถึงสัญญากู้เบิกเงิน เกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ในครั้งแรกจำนวน 30,000 บาทแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 มีเจตนาค้ำประกันการกู้เงิน ของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท เท่านั้น แม้สัญญาค้ำประกัน มีข้อความว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษนอกเหนือไปจากผู้กู้ อาทิเช่น ยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ และ ที่สัญญาค้ำประกันมีข้อความต่อไปว่า ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชี จะ ต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันยอมรับผิด ร่วม กับลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ว่าเป็นหนี้ที่ ลูกหนี้ ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปหลังจากครบกำหนดอายุสัญญาเบิกเงิน เกิน บัญชีแล้ว คงมีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดใน ดอกเบี้ย ที่เกิดจากต้นเงินในวงเงินที่ค้ำประกันไว้จำนวน 30,000 บาท ด้วยเท่านั้น หาใช่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้โดย ไม่จำกัดจำนวนไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิด ต่อ โจทก์ ในวงเงินที่ค้ำประกันจำนวน 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด ตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินอีกเลยและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชี ต่อไปอีก คงมีแต่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตาม ยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นรวม 8 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท โดย ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่าง โจทก์จำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนี้ พฤติการณ์ แสดงว่าโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี กันอีกต่อไปถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดตามบันทึก เพิ่มเติมต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้ายตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่อไปอีก นับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาคง มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดย ไม่ทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุด สัญญาไปจนกว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการชำระบัญชีบริษัท: นับแต่วันจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ไม่ใช่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อายุความฟ้องเรียกหนี้สินในกรณีที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1272 ได้บัญญัติจำกัดอายุความฟ้องร้องไว้เป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากบทบัญญัติในเรื่องอายุความทั่วไปที่ยาวกว่า และการเริ่มนับอายุความต้องถือตามที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในมาตราดังกล่าว จะนำเอาหลักในเรื่องการนับอายุความทั่วไปในมาตรา 169 มาใช้ไม่ได้ กล่าวคือ ต้องนับระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ซึ่งวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีหมายถึงวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีตามมาตรา 1270 หาใช่จะต้องนับระยะเวลานับแต่วันที่โจทก์ควรรู้ถึงการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีคือวันที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่ เพราะการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 1021และมาตรา 1022 นั้น เป็นแต่เพียงให้ถือว่าบรรดาเอกสารและข้อความที่ลงทะเบียนและนายทะเบียนได้แต่งย่อไปพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จะนำมาใช้กับการเริ่มนับอายุความที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตามมาตรา 1272 ไม่ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ขอกู้เบิกเงินเกินบัญชี คงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เท่านั้นถึงแม้ในสัญญาค้ำประกันจะระบุถึงการสละสิทธิในข้อต่อสู้ต่าง ๆในฐานะของผู้ค้ำประกันที่จะพึงมีตามกฎหมายไว้ ก็ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ด้วย ในเมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นความรับผิดเนื่องจากหนี้ของโจทก์ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นความรับผิดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ระบุให้ชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ในทันทีที่ได้รับการทวงถาม โดยมิพักต้องเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ก่อนขอสัญญาดังกล่าวมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 หรือที่ 2 คนใดคนหนึ่งชำระหนี้สิ้นเชิง โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นเชิง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงมีผลผูกพันคู่สัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อตกลงพิเศษให้ผู้ค้ำประกันรับผิดทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน ถือเป็นผลผูกพันและทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ในทันทีที่ได้รับการทวงถามโดยมิพักต้องเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ก่อน ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมมีผล ผูกพันคู่สัญญา ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1หรือที่ 2 คนใดคนหนึ่งชำระหนี้สิ้นเชิง โดยจำเลยที่ 1และที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม-จำนอง-ค้ำประกัน: ศาลฎีกาชี้ขาดประเด็นการคำนวณดอกเบี้ยและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นที่ให้การต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุมโดยระบุเจาะจงลงไปด้วยว่าเคลือบคลุมเฉพาะการคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามฎีกาไปถึงฟ้องข้ออื่นว่าเคลือบคลุมแม้ศาลล่างจะวินิจฉัยให้ ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฟ้องโจทก์บรรยายว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งแนบสำเนาภาพถ่ายสัญญาดังกล่าวและบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ประกอบไว้ท้ายฟ้องส่วนการคำนวณดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 2 โจทก์ก็บรรยายว่าเป็นหนี้ตามตั๋วแลกเงินของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ต้องชำระแทนไปโดยหยิบยกขึ้นแสดงรายละเอียดเป็นรายฉบับว่ามีหนี้จำนวนเท่าใด คิดดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ในช่วงเวลาไหน เป็นการบรรยายฟ้องถึงการคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์โดยแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ส่วนนี้ไม่เคลือบคลุม เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ครบกำหนดแล้วมีการปฏิบัติตามสัญญาต่อมาอีก สัญญาดังกล่าวจึงยังคงใช้บังคับระหว่างกันโดยไม่มีกำหนด คำขอของจำเลยที่ 2ที่ขอให้โจทก์รับรองตั๋วแลกเงินก็ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่ากับโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสองแล้วสัญญาดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันครั้งสุดท้ายวันที่ 5สิงหาคม 2524 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก ต่อมาโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วไม่ชำระหนี้ ถือได้ว่าผิดนัด และสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินน้อยกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิด แต่โจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5354/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนซื้อขายหุ้น ค้ำประกัน และการล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องหนี้และการพิทักษ์ทรัพย์
จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ที่การประกอบกิจการ ซื้อและขายหุ้นเพื่อเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงเป็นครั้งคราวมากกว่า ประสงค์ให้มีการโอนหุ้น แม้การซื้อขายหุ้นเช่นนี้จะไม่มีการโอนหุ้นตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 ก็หาเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ออกเงินทดรองซื้อหุ้นให้จำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการที่จำเลยที่ 1 มอบหมาย โจทก์ในฐานะตัวแทนย่อมเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิด อย่างลูกหนี้ร่วมชดใช้เงินที่ได้ออกทดรอง รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่าย อย่างอื่นตามสัญญาได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทั้งสองตกเป็น ลูกหนี้โจทก์อันอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 30,000 บาท (ตามกฎหมายเดิม) และไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สิน อย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ศาลก็มีอำนาจสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5354/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนซื้อขายหุ้น ค้ำประกัน และการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโจทก์กับจำเลยที่ 1อยู่ที่การประกอบกิจการ ซื้อและขายหุ้นเพื่อเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงเป็นครั้งคราวมากกว่า ประสงค์ให้มีการโอนหุ้น แม้การซื้อขายหุ้นเช่นนี้จะไม่มีการโอนหุ้น ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129ก็หาเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ออกเงินทดรองซื้อหุ้นให้จำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการที่จำเลยที่ 1 มอบหมาย โจทก์ในฐานะตัวแทนย่อมเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิด อย่างลูกหนี้ร่วมชดใช้เงินที่ได้ออกทดรอง รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่าย อย่างอื่นตามสัญญาได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทั้งสองตกเป็น ลูกหนี้โจทก์อันอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า30,000 บาท(ตามกฎหมายเดิม) และไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สิน อย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ศาลก็มีอำนาจสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4241/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าซื้อทวงถาม และความรับผิดของผู้ค้ำประกันเสมือนลูกหนี้ร่วม
ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระมิใช่ค่าเช่าซื้อ สิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่ตก อยู่ ในบังคับอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(6) กรณีต้องบังคับตามอายุความทั่วไปซึ่งกำหนดไว้ 10 ปี เมื่อจำเลยผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตน เสมือนเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้เช่าซื้อ จำเลยก็มีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายและตามสัญญาเช่นเดียวกับผู้เช่าซื้อ รวมทั้งต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อแก่โจทก์ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4241/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าติดตามทวงหนี้เช่าซื้อ & ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระมิใช่ค่าเช่าซื้อ สิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่ตกอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) แต่ต้องบังคับตามอายุความทั่วไปซึ่งกำหนดไว้ 10 ปี
เมื่อจำเลยผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนเสมือนเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้เช่าซื้อ จำเลยก็มีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายและตามสัญญาเช่นเดียวกับผู้เช่าซื้อ.
เมื่อจำเลยผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนเสมือนเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้เช่าซื้อ จำเลยก็มีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายและตามสัญญาเช่นเดียวกับผู้เช่าซื้อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำและการรับผิดของลูกหนี้ร่วม/ผู้ค้ำประกัน
จำเลยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ 200,000 บาท โดยมี ว.เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและ ว. ได้มอบใบฝากประจำจำนวนเงิน 500,000 บาท จำนำเป็นประกันไว้ด้วย สัญญาค้ำประกัน ข้อ 9 ระบุว่าในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัด... ให้ผู้กู้มีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้... โดยไม่ต้องบอกกล่าว หากไม่พอชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยอมใช้ให้จนครบ ในบันทึกสลักหลังการจำนำใบฝากของ ว. มีความว่า เมื่อครบกำหนดเวลาชำระหนี้ หากลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระอยู่เท่าไร ผู้จำนำยอมให้ธนาคารโจทก์ผู้รับจำนำหักเงินฝากที่จำนำนี้ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยจนครบโดยให้ถือบันทึกสลักหลังนี้เป็นการบอกกล่าวจำนำเช่นนี้ เงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าว เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนำได้เท่านั้นตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ยังคงมีอยู่ โจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้นั้นได้โดยไม่ต้องบังคับจำนำ.