พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันและการฟ้องร้องตามสัญญากู้
จำเลยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ 200,000 บาท โดยมี ว.เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและ ว. ได้มอบใบฝากประจำจำนวนเงิน 500,000 บาท จำนำเป็นประกันไว้ด้วย สัญญาค้ำประกัน ข้อ 9 ระบุว่าในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัด... ให้ผู้กู้มีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้... โดยไม่ต้องบอกกล่าว หากไม่พอชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยอมใช้ให้จนครบ ในบันทึกสลักหลังการจำนำใบฝากของ ว. มีความว่า เมื่อครบกำหนดเวลาชำระหนี้ หากลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระอยู่เท่าไร ผู้จำนำยอมให้ธนาคารโจทก์ผู้รับจำนำหักเงินฝากที่จำนำนี้ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยจนครบโดยให้ถือบันทึกสลักหลังนี้เป็นการบอกกล่าวจำนำเช่นนี้ เงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าว เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนำได้เท่านั้นตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ยังคงมีอยู่ โจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้นั้นได้โดยไม่ต้องบังคับจำนำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาหนี้โดยโจทก์ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญา
ปัญหาว่า โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่ 1 ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่ 3 รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้า ไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณี จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 และมาตรา 368 นั้น จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้ว ผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท ข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หมายถึงในจำนวนเงิน 100,000 บาท จะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่ อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยที่ 3 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 เมื่อใด จำเลยที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้ว ผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท ข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หมายถึงในจำนวนเงิน 100,000 บาท จะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่ อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยที่ 3 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 เมื่อใด จำเลยที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาหนี้ของผู้ค้ำประกัน, การรับผิดชอบจำกัดจำนวน, และดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
ปัญหาว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่1ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่3หลุดพ้นจากความรับผิดชอบตามป.พ.พ.มาตรา700แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่3รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้าไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา113และมาตรา368นั้นจำเลยที่3มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน100,000บาทโดยรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้วผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน100,000บาทข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมหมายถึงในจำนวนเงิน100,000บาทจะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงินจำเลยที่3ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามป.พ.พ.มาตรา224วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่3เมื่อใดจำเลยที่3จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการผ่อนเวลาหนี้ต่อผู้ค้ำประกัน และขอบเขตความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วม
ปัญหาว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่1ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่3หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา700แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่3รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้าไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา113และมาตรา368นั้นจำเลยที่3มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน100,000บาทโดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้วผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน100,000บาทข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมหมายถึงในจำนวนเงิน100,000บาทจะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงินจำเลยที่3ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่3เมื่อใดจำเลยที่3จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ยทบต้น, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, หนี้ร่วม
โจทก์มอบให้ทนายมีหนัสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าววันที่ 18 สิงหาคม 2522 ถือได้ว่ามีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดตามที่บอกกล่าวคือในวันที่ 17 กันยายน 2522 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันที่ 17 กันยายน 2522 ต่อจากนั้นคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกัน ข้อสัญญาที่ผู้รับจำนองค้ำประกันมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับหนี้ต้นเงินที่เกินวงเงินจำนองค้ำประกันด้วยนั้น เป็นการให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเกินกว่าที่ตนยอมค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท ปรากฏตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 16,031 บาท 69 สตางค์ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ ส่วนวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น ปรากฏตามรายการบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 43,031 บาท 69 สตางค์ จึงให้ถือเอาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 30,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2522 อันเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ต่อจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยตามปกติ
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ได้
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกัน ข้อสัญญาที่ผู้รับจำนองค้ำประกันมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับหนี้ต้นเงินที่เกินวงเงินจำนองค้ำประกันด้วยนั้น เป็นการให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเกินกว่าที่ตนยอมค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท ปรากฏตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 16,031 บาท 69 สตางค์ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ ส่วนวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น ปรากฏตามรายการบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 43,031 บาท 69 สตางค์ จึงให้ถือเอาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 30,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2522 อันเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ต่อจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยตามปกติ
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้ยืมและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์มอบให้ทนายมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้กู้ เบิกเงินเกินบัญชี และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่ วันที่ได้รับหนังสือจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าววันที่ 18 สิงหาคม 2522 ถือได้ว่ามีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดตามที่ บอกกล่าวคือในวันที่ 17 กันยายน 2522 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันที่ 17 กันยายน 2522 ต่อจากนั้นคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกัน ข้อสัญญาที่ผู้รับจำนองค้ำประกันมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับหนี้ต้นเงินที่เกินวงเงินจำนองค้ำประกันด้วยนั้น เป็นการให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเกินกว่าที่ตนยอมค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาทปรากฏตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 16,031 บาท69 สตางค์โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ ส่วนวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น ปรากฏตามรายการบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 43,031 บาท 69 สตางค์ จึงให้ถือเอา วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 30,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2522 อันเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ต่อจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยตามปกติ
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ได้
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกัน ข้อสัญญาที่ผู้รับจำนองค้ำประกันมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับหนี้ต้นเงินที่เกินวงเงินจำนองค้ำประกันด้วยนั้น เป็นการให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเกินกว่าที่ตนยอมค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาทปรากฏตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 16,031 บาท69 สตางค์โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ ส่วนวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น ปรากฏตามรายการบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 43,031 บาท 69 สตางค์ จึงให้ถือเอา วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 30,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2522 อันเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ต่อจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยตามปกติ
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การค้ำประกัน, วงเงินจำกัดความรับผิด, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น
ปัญหาว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะหากปรากฏว่าโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องและศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธไว้ ก็มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบในเรื่องการมอบอำนาจไว้เพราะมีจำเลยอื่นขาดนัดพิจารณา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานดังกล่าวได้ว่าได้มีการมอบอำนาจกันจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 6 เดือน โดยมีข้อความในสัญญาค้ำประกันเท้าความถึงสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่ามีจำนวนเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 3 สมัครใจยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดจนดอกเบี้ย ดังนี้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำกัดวงเงินเบิกเกินบัญชีไว้ไม่เกิน 50,000 บาท ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงจำกัดเฉพาะจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาทกับดอกเบี้ยเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหนึ่งวันก่อนครบ 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 1เป็นหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 95,000 บาทเศษ ไม่อาจแยกได้ว่า ในจำนวนนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเท่าใดและเป็นดอกเบี้ยเท่าใด ทั้งไม่ได้ความชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีรวมกับดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นถึง 50,000 บาท เมื่อใดในระหว่างระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในยอดหนี้ในวันดังกล่าวเพียง 50,000 บาทเท่านั้น
เมื่อมีการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบัญชีเดินสะพัดการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือเมื่อครบกำหนด 6 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ให้หมดสิ้น และโจทก์มิได้หักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเจตนาให้มีบัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไปต่อมาโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวต่อแต่นั้นไปคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 6 เดือน โดยมีข้อความในสัญญาค้ำประกันเท้าความถึงสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่ามีจำนวนเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 3 สมัครใจยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดจนดอกเบี้ย ดังนี้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำกัดวงเงินเบิกเกินบัญชีไว้ไม่เกิน 50,000 บาท ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงจำกัดเฉพาะจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาทกับดอกเบี้ยเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหนึ่งวันก่อนครบ 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 1เป็นหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 95,000 บาทเศษ ไม่อาจแยกได้ว่า ในจำนวนนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเท่าใดและเป็นดอกเบี้ยเท่าใด ทั้งไม่ได้ความชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีรวมกับดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นถึง 50,000 บาท เมื่อใดในระหว่างระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในยอดหนี้ในวันดังกล่าวเพียง 50,000 บาทเท่านั้น
เมื่อมีการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบัญชีเดินสะพัดการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือเมื่อครบกำหนด 6 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ให้หมดสิ้น และโจทก์มิได้หักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเจตนาให้มีบัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไปต่อมาโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวต่อแต่นั้นไปคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การค้ำประกัน, วงเงินจำกัดความรับผิด, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ย
ปัญหาว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะหากปรากฏว่าโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องและศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธไว้ ก็มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบในเรื่องการมอบอำนาจไว้เพราะมีจำเลยอื่นขาดนัดพิจารณา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานดังกล่าวได้ว่า ได้มีการมอบอำนาจกันจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 6 เดือนโดยมีข้อความในสัญญาค้ำประกันเท้าความถึงสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่ามีจำนวนเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 3 สมัครใจยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดจนดอกเบี้ย ดังนี้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำกัดวงเงินเบิกเกินบัญชีไว้ไม่เกิน 50,000 บาท ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงจำกัดเฉพาะจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาทกับดอกเบี้ยเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหนึ่งวันก่อนครบ 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 1เป็นหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 95,000 บาทเศษ ไม่อาจแยกได้ว่าในจำนวนนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเท่าใดและเป็นดอกเบี้ยเท่าใด ทั้งไม่ได้ความชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีรวมกับดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นถึง 50,000 บาท เมื่อใดในระหว่างระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในยอดหนี้ในวันดังกล่าวเพียง 50,000 บาทเท่านั้น
เมื่อมีการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบัญชีเดินสะพัดการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือเมื่อครบกำหนด 6 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 มิได้ ชำระหนี้ให้หมดสิ้น และโจทก์มิได้หักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเจตนาให้มีบัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไปต่อมาโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวต่อแต่นั้นไปคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 6 เดือนโดยมีข้อความในสัญญาค้ำประกันเท้าความถึงสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่ามีจำนวนเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 3 สมัครใจยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดจนดอกเบี้ย ดังนี้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำกัดวงเงินเบิกเกินบัญชีไว้ไม่เกิน 50,000 บาท ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงจำกัดเฉพาะจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาทกับดอกเบี้ยเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหนึ่งวันก่อนครบ 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 1เป็นหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 95,000 บาทเศษ ไม่อาจแยกได้ว่าในจำนวนนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเท่าใดและเป็นดอกเบี้ยเท่าใด ทั้งไม่ได้ความชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีรวมกับดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นถึง 50,000 บาท เมื่อใดในระหว่างระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในยอดหนี้ในวันดังกล่าวเพียง 50,000 บาทเท่านั้น
เมื่อมีการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบัญชีเดินสะพัดการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือเมื่อครบกำหนด 6 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 มิได้ ชำระหนี้ให้หมดสิ้น และโจทก์มิได้หักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเจตนาให้มีบัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไปต่อมาโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวต่อแต่นั้นไปคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2785/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยรับผิดร่วมยอมชำระหนี้ตลอดจนดอกเบี้ยและเงื่อนไขตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ ซึ่งให้ถือยอดเงินตามบัญชีกระแสรายวันและให้เอาดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยทบต้น แม้ในช่วงเวลาที่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้ว แต่บัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ยังคงเดินสะพัดอยู่จนกว่าจะเลิกสัญญากัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของรองอธิบดี, สัญญาค้ำประกัน, สัญญารับสภาพหนี้ที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน, การผิดนัดชำระหนี้
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องว่า ขณะฟ้องคดีนี้อธิบดีกรมศิลปากรยังมีตัวดำรงตำแหน่งปฏิบัติราชการได้ พ. รองอธิบดีจึงไม่มีอำนาจฟ้องแทนกรมศิลปากร ดังนี้ ปัญหาว่ากรมศิลปากรมีรองอธิบดีกี่คน และปลัดกระทรวงได้แต่งตั้งให้ พ.รองอธิบดีรักษาการแทนตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2512 หรือไม่ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พ.รองอธิบดีกรมศิลปากรรักษาราชการแทนอธิบดีจึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทกืได้ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 42 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. ลูกหนี้ ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้ว เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ.จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติ มิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ.ยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือน โดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นรายๆ ออกต่างหากจากกัน ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่า เป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำรอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ.ต้องรับผิดต่อโจทก์
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. ลูกหนี้ ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้ว เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ.จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติ มิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ.ยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือน โดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นรายๆ ออกต่างหากจากกัน ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่า เป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำรอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ.ต้องรับผิดต่อโจทก์