พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, สัญญาค้ำประกัน, สัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน, การผิดสัญญา, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องว่า ขณะฟ้องคดีนี้อธิบดีกรมศิลปากรยังมีตัวดำรงตำแหน่งปฏิบัติราชการได้ พ. รองอธิบดีจึงไม่มีอำนาจฟ้องแทนกรมศิลปากร ดังนี้ ปัญหาว่ากรมศิลปากรมีรองอธิบดีกี่คนและปลัดกระทรวงได้แต่งตั้งให้ พ. รองอธิบดีรักษาการแทนตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2512 หรือไม่ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พ. รองอธิบดีกรมศิลปากรรักษาราชการแทนอธิบดีจึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ได้ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ 42 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. (ลูกหนี้) ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมายสัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ. ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้วเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ. จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติมิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ. ยอมชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน ๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือนโดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นราย ๆ ออกต่างหากจากกันดังนี้ เมื่อ อ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่าเป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ. ต้องรับผิดต่อโจทก์
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. (ลูกหนี้) ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมายสัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ. ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้วเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ. จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติมิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ. ยอมชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน ๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือนโดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นราย ๆ ออกต่างหากจากกันดังนี้ เมื่อ อ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่าเป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ. ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, อายุความหนี้เงินกู้, และการรับสภาพหนี้หลังการเสียชีวิตของลูกหนี้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้ไว้แก่ธนาคารในวงเงินที่กำหนดไว้และมีระยะเวลา 2 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ส่วนจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไปนั้น กำหนดให้ถือตามบัญชีกระแสรายวันของธนาคารแล้วมีผู้ค้ำประกันเข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวนั้นจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ คำว่า "เบิกเงินเกินบัญชี" ย่อมหมายความเป็นการเบิกเงินเกินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นลูกหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด การเข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้ จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่และหนี้ในอนาคตในวงเงินที่ค้ำประกันในระยะ 2 เดือนนั้นด้วย
แม้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความว่า ถ้าผู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ส่งดอกเบี้ย (ในอัตราร้อยละ 8ต่อปี) ผู้เบิกเงินเกินบัญชียอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราวๆ ไปก็ดี แต่ข้อสัญญานี้เป็นข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีจะนำไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้มาได้ไม่ การที่ธนาคารโจทก์เจ้าหนี้ขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้รับผิดใช้ดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันฟ้องนั้น เป็นการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองห้ามไว้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารตายลง แล้วผู้เป็นทายาทได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้ธนาคารเจ้าหนี้ไว้ อายุความเรียกร้องขอธนาคารเจ้าหนี้อันมีต่อลูกหนี้เจ้ามรดกก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอายุความเรียกร้องอันมีต่อทายาทผู้รับสารภาพหนี้นั้น อายุความตามมาตรา 1754 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกจึงสะดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของธนาคารเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้
การที่ลูกหนี้ของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีและถอนออกไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารไม่
ข้อสัญญาค้ำประกันที่ว่า เมื่อลูกหนี้ตาย ผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วม ย่อมมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของลูกหนี้ซึ่งจะตกทอดไปยังทายาทของลูกหนี้นั้นตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าทายาทของลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้เจ้าหนี้ไว้ก่อนที่อายุความ 1 ปีได้สิ้นสุดลง ผู้ค้ำประกันก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วมกับทายาทนั้นต่อไปตามจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันไว้ และใช้อายุความตามมูลหนี้นั้น
แม้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความว่า ถ้าผู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ส่งดอกเบี้ย (ในอัตราร้อยละ 8ต่อปี) ผู้เบิกเงินเกินบัญชียอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราวๆ ไปก็ดี แต่ข้อสัญญานี้เป็นข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีจะนำไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้มาได้ไม่ การที่ธนาคารโจทก์เจ้าหนี้ขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้รับผิดใช้ดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันฟ้องนั้น เป็นการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองห้ามไว้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารตายลง แล้วผู้เป็นทายาทได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้ธนาคารเจ้าหนี้ไว้ อายุความเรียกร้องขอธนาคารเจ้าหนี้อันมีต่อลูกหนี้เจ้ามรดกก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอายุความเรียกร้องอันมีต่อทายาทผู้รับสารภาพหนี้นั้น อายุความตามมาตรา 1754 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกจึงสะดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของธนาคารเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้
การที่ลูกหนี้ของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีและถอนออกไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารไม่
ข้อสัญญาค้ำประกันที่ว่า เมื่อลูกหนี้ตาย ผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วม ย่อมมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของลูกหนี้ซึ่งจะตกทอดไปยังทายาทของลูกหนี้นั้นตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าทายาทของลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้เจ้าหนี้ไว้ก่อนที่อายุความ 1 ปีได้สิ้นสุดลง ผู้ค้ำประกันก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วมกับทายาทนั้นต่อไปตามจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันไว้ และใช้อายุความตามมูลหนี้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันจำนอง: สิทธิของผู้ค้ำประกันในการให้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองก่อน
ทำสัญญาค้ำประกันหนี้จำนองอีกชั้นหนึ่งนั้นย่อใช้ได้ตามกฎหมาย
ผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะขอให้เจ้าหนี้ซึ่งมีทรัพย์ของลูกหนี้จำนองไว้เป็นประกันเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินนั้นก่อนได้
อ้างฎีกาที่ 1313/2480
ผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะขอให้เจ้าหนี้ซึ่งมีทรัพย์ของลูกหนี้จำนองไว้เป็นประกันเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินนั้นก่อนได้
อ้างฎีกาที่ 1313/2480