พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่าธรรมเนียมศาลเมื่ออุทธรณ์ประเด็นข้อกฎหมายที่ไม่กระทบถึงการชำระหนี้ตามคำพิพากษา
ตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการโต้แย้งว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 เพราะไม่ได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้แล้วและขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว เพื่อให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป โดยจำเลยมิได้ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้น ย่อมมีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นสิ้นผลบังคับไปในตัว แม้จำเลยเลือกที่จะไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นทุกประเด็นรวมถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่อาจกระทำได้โดยชอบ แต่การที่จำเลยอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และกรณีเป็นเพียงการวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนพร้อมอุทธรณ์ตามกฎหมาย หาใช่การชำระค่าฤชาธรรมเนียมหรือการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้น ย่อมมีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นสิ้นผลบังคับไปในตัว แม้จำเลยเลือกที่จะไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นทุกประเด็นรวมถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่อาจกระทำได้โดยชอบ แต่การที่จำเลยอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และกรณีเป็นเพียงการวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนพร้อมอุทธรณ์ตามกฎหมาย หาใช่การชำระค่าฤชาธรรมเนียมหรือการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8022-8024/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า และภาษีธุรกิจเฉพาะจากการให้กู้ยืมเงิน โดยแยกบริษัทในเครือและบริษัทนอกเครือ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ และข้อกำหนดคดีภาษีอากรฯ มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 และ 29 แห่งพ.ร.บ. ดังกล่าว ซึ่งตามราราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่าคดีหนึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใดจำต้องพิจารณาคำฟ้องซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) บัญญัติไว้เป็นเกณฑ์ ดังนี้ การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานจำเลยตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 และรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2535 หนังสือแจ้งภาษีการค้าสำหรับเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2534 และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2535 แม้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า และภาษีธุรกิจเฉพาะ ต่างจัดเป็นภาษีอากรประเมินแต่เป็นภาษีคนละประเภท ทั้งเป็นการเรียกเก็บภาษีอากรคนละรอบระยะเวลาบัญชี การประเมินภาษีอากรเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินที่จะต้องประเมินเรียกเก็บภาษีอากรแต่ละประเภทในแต่ละรอบบัญชีให้ถูกต้อง จึงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานรวม 4 ฉบับ 2 รอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ข้อหาหนึ่ง ปี 2535 ข้อหาหนึ่ง ภาษีการค้าปี 2534 ข้อหาหนึ่ง และภาษีธุรกิจเฉพาะปี 2535 อีกข้อหาหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 4 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้และเมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า และภาษีธุรกิจเฉพาะตามที่โจทก์ฟ้องในจำนวนทุนทรัพย์ 19,334,492.94 บาท จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 4 ข้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับที่โจทก์ฟ้อง ทั้งโจทก์และจำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสี่ข้อหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนอง: เจ้าหนี้ฟ้องเป็นสามัญแล้วขอรับชำระจากทรัพย์จำนอง ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามอัตราฟ้อง
หนี้ตามคำพิพากษาซึ่งผู้ร้องในฐานะโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดคดีซึ่งมีการจำนองเป็นประกัน แต่ผู้ร้องได้เลือกใช้สิทธิฟ้องจำเลยให้รับผิดในหนี้ที่มีประกันอย่างเจ้าหนี้สามัญ มิได้ใช้สิทธิบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินอันเป็นหลักประกันที่จำเลยจำนองไว้กับผู้ร้อง แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินชำระเงินแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้สามัญตามคำพิพากษาเท่านั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำขอชำระหนี้จากที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องประสงค์จะให้ตนได้รับชำระหนี้จากที่ดินจำนองของจำเลย อันเป็นหลักประกันนอกเหนือจากการใช้สิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาอย่างเจ้าหนี้สามัญ คำร้องที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนอง จึงมีผลเป็นคำฟ้องขอให้บังคับจำนอง ซึ่งผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) (ค) ที่บัญญัติให้เรียกค่าขึ้นศาลโดยอัตราเรื่องละหนึ่งบาทต่อทุกหนึ่งร้อยบาทตามจำนวนที่เรียกร้อง แต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท มิใช้เสียแต่เพียงค่าคำร้อง 20 บาท อย่างเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลเกิน การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนได้ภายหลัง
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอค่าขึ้นศาลบางส่วนคืนโดยอ้างว่าได้ชำระเกินไปกว่าที่จะต้องชำระตามกฎหมาย ย่อมเท่ากับเป็นการยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้คำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 บัญญัติยกเว้นให้สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียวได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิมาขอค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไปแล้วคืนได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ที่ฟ้องทั้งหมด แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุจำนวนน้อยกว่า
ฟ้องโจทก์ระบุรายการทรัพย์เป็นจำนวนเงินมาก แต่คำขอท้ายฟ้องขอเอาแต่น้อยโดยไม่ปรากฏว่า โจทก์ประสงค์จะเรียกร้องเอาเงินจำนวนไหนเท่าไร ดังนี้ ต้องเรียกค่าขึ้นศาลเต็มรายการทุกจำนวนไม่ใช่เสียค่าขึ้นศาลเฉพาะจำนวนที่ขอท้ายฟ้อง ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2486