พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกสงวนสิทธิในการเรียกค่าปรับตามสัญญา การรับมอบชำระหนี้โดยไม่แจ้งสงวนสิทธิทำให้สิทธิเรียกร้องค่าปรับระงับ
แม้โจทก์จะนำสืบได้ว่าหลังจากจำเลยผิดสัญญา จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์ขอปรับเปลี่ยนจำนวนตอนการส่งมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชัน "Olly the Little White Van" ก็ตาม แต่หนังสือดังกล่าวหาใช่เป็นการที่โจทก์บอกสงวนสิทธิในการเรียกเบี้ยปรับเอาแก่จำเลยไม่ แต่เป็นเพียงหนังสือที่จำเลยส่งถึงโจทก์เพื่อชี้แจงถึงเหตุที่ไม่อาจส่งมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ เนื่องจากผู้ผลิตรายการการ์ตูนที่ต่างประเทศขาดเงินทุนและต้องปิดบริษัท และขอให้โจทก์พิจารณาไม่ปรับจำเลยตามสัญญา แต่หากจะปรับก็ขอให้โจทก์รับข้อเสนอของจำเลยที่ขอจ่ายค่าปรับจำนวน 78,000 บาท และเสนอส่วนลดให้โจทก์จำนวน 90,000 บาท รวมจำนวน 168,000 บาท หรืออีกกรณีหนึ่งคือ หากจำเลยสามารถส่งมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันให้แก่โจทก์ได้จำนวนอีก 2 ตอน ภายในวันที่ 25 มีนาคม 2556 และโจทก์รับไว้ ก็ขอให้โจทก์ปรับจำเลยเป็นเงินจำนวน 138,000 บาท เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือตอบกลับไปยังจำเลยว่าโจทก์ยังคงสงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยตามสัญญาหรือไม่ หรือขณะที่โจทก์รับมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันอีกจำนวน 6 ตอน จากจำเลยนั้นโจทก์ได้แสดงเจตนาสงวนสิทธิในการปรับให้จำเลยทราบทางใดทางหนึ่งไม่ว่าจะโดยการจดแจ้งข้อสงวนสิทธิในการปรับไว้ในหนังสือรับมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันดังกล่าวหรือโดยแจ้งให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะที่รับชำระหนี้ดังกล่าวว่าโจทก์ยังคงสงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จำเลยจะตกลงว่าจะให้เบี้ยปรับแก่โจทก์หากไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องภายในกำหนดตามเอกสารแนบท้ายสัญญา ข้อ 6 วรรคสอง ที่ระบุว่า จำเลยตกลงชำระค่าปรับให้แก่โจทก์เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 10 ต่อวัน ต่อตอน ที่ยังไม่ได้รับมอบ จนกว่าโจทก์จะได้รับมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันตามสัญญา และต่อมาจำเลยไม่ชำระหนี้โดยการส่งมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันจำนวน 52 ตอน ภายในเดือนตุลาคม 2555 ตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยอมรับมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันจำนวนอีก 6 ตอน จากจำเลยโดยไม่ได้บอกสงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาในเวลาที่โจทก์รับการชำระหนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคสาม
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยตามสัญญาจำนวน 1,867,290.84 บาท แต่เมื่อหักกลบลบหนี้กับเงินค่ารายการงานการ์ตูนแอนิเมชันที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยจำนวน 390,000 บาท คงเหลือเบี้ยปรับที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดตามคำฟ้องจำนวน 1,477,290.84 บาท แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 156,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนคำฟ้องจึงมีจำนวน 1,321,290.84 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลจำนวน 26,425 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาจำนวน 29,545 บาท อันเป็นการชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เกินมาจำนวน 3,120 บาท ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนของฟ้องแย้งที่จำเลยขอให้โจทก์ชำระเงินค่ารายการงานการ์ตูนแอนิเมชัน ที่ค้างชำระจำนวน 390,000 บาท นั้น เมื่อจำนวนเงินตามฟ้องแย้งโจทก์ได้หักกลบลบหนี้กับเงินเบี้ยปรับแล้วคงเหลือเงินเบี้ยปรับที่โจทก์นำมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยจำนวน 1,477,290.84 บาท จึงไม่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามฟ้องแย้งของจำเลยอีก แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนของฟ้องแย้งมาด้วยจำนวน 4,680 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่โจทก์ชำระเกินมาทั้งสองจำนวนให้แก่โจทก์
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยตามสัญญาจำนวน 1,867,290.84 บาท แต่เมื่อหักกลบลบหนี้กับเงินค่ารายการงานการ์ตูนแอนิเมชันที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยจำนวน 390,000 บาท คงเหลือเบี้ยปรับที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดตามคำฟ้องจำนวน 1,477,290.84 บาท แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 156,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนคำฟ้องจึงมีจำนวน 1,321,290.84 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลจำนวน 26,425 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาจำนวน 29,545 บาท อันเป็นการชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เกินมาจำนวน 3,120 บาท ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนของฟ้องแย้งที่จำเลยขอให้โจทก์ชำระเงินค่ารายการงานการ์ตูนแอนิเมชัน ที่ค้างชำระจำนวน 390,000 บาท นั้น เมื่อจำนวนเงินตามฟ้องแย้งโจทก์ได้หักกลบลบหนี้กับเงินเบี้ยปรับแล้วคงเหลือเงินเบี้ยปรับที่โจทก์นำมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยจำนวน 1,477,290.84 บาท จึงไม่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามฟ้องแย้งของจำเลยอีก แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนของฟ้องแย้งมาด้วยจำนวน 4,680 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่โจทก์ชำระเกินมาทั้งสองจำนวนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12776/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของ อบจ. ในการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของรัฐ และการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้แทนนิติบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดตามมาตรา 7 ซึ่งอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการนี้ย่อมหมายรวมถึงอำนาจติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐที่อยู่ในเขตจังหวัดที่อยู่ในความดูแล ตลอดจนมีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งปวงเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวได้ตามสิทธิและหน้าที่ที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 66 และ 67 ด้วย เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการทำโดยละเมิดต่อโจทก์โดยตรง โจทก์โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โดยไม่จำต้องรับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดอีก
เหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเพราะจำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ โดยที่ดินดังกล่าวโจทก์อ้างว่ามีวัตถุประสงค์สร้างเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการตามโครงการก่อสร้างสนามกีฬาของโจทก์ ซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่อาจนำออกให้เช่าตามคำขอเช่าของจำเลยได้เพราะขัดต่อวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์มีเหตุที่ไม่อาจให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทตามคำขอเพราะต้องนำที่ดินไปสร้างเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการตามโครงการก่อสร้างสนามกีฬาของโจทก์ มิใช่เรื่องโจทก์ไม่ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทโดยไม่มีเหตุผลรองรับซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ในทางตรงกันข้ามการที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นอุปสรรคทำให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย การใช้สิทธิทางศาลของโจทก์จึงชอบแล้ว หาใช่เป็นเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย 1,746,000 บาท เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ด้วย อัตราค่าขึ้นศาลตาราง 1 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ให้คิดค่าขึ้นศาลตามอัตราคดีที่มีทุนทรัพย์ แต่ไม่ให้น้อยกว่าอัตราค่าขึ้นศาลในส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์แล้วแต่กรณี เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เพียง 8,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนที่มีทุนทรัพย์ของจำเลยจึงมีจำนวน 8,000 บาท คิดเป็นค่าขึ้นศาลตามตาราง (1) (ก) เป็นเงิน 160 บาท ซึ่งน้อยกว่าค่าขึ้นศาลในส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์ที่ตาราง (2) (ก) กำหนดไว้ 200 บาท จำเลยจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าเป็นเงินชั้นศาลละ 200 บาท
เหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเพราะจำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ โดยที่ดินดังกล่าวโจทก์อ้างว่ามีวัตถุประสงค์สร้างเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการตามโครงการก่อสร้างสนามกีฬาของโจทก์ ซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่อาจนำออกให้เช่าตามคำขอเช่าของจำเลยได้เพราะขัดต่อวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์มีเหตุที่ไม่อาจให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทตามคำขอเพราะต้องนำที่ดินไปสร้างเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการตามโครงการก่อสร้างสนามกีฬาของโจทก์ มิใช่เรื่องโจทก์ไม่ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทโดยไม่มีเหตุผลรองรับซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ในทางตรงกันข้ามการที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นอุปสรรคทำให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย การใช้สิทธิทางศาลของโจทก์จึงชอบแล้ว หาใช่เป็นเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย 1,746,000 บาท เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ด้วย อัตราค่าขึ้นศาลตาราง 1 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ให้คิดค่าขึ้นศาลตามอัตราคดีที่มีทุนทรัพย์ แต่ไม่ให้น้อยกว่าอัตราค่าขึ้นศาลในส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์แล้วแต่กรณี เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เพียง 8,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนที่มีทุนทรัพย์ของจำเลยจึงมีจำนวน 8,000 บาท คิดเป็นค่าขึ้นศาลตามตาราง (1) (ก) เป็นเงิน 160 บาท ซึ่งน้อยกว่าค่าขึ้นศาลในส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์ที่ตาราง (2) (ก) กำหนดไว้ 200 บาท จำเลยจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าเป็นเงินชั้นศาลละ 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10924/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง สัญญาเช่า และการปรับข้อกฎหมายตามเนื้อหาของสัญญา
นิติกรรมอำพรางตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เป็นเรื่องคู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งอำพรางปกปิดไว้โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่อำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้ ในเรื่องของนิติกรรมอำพรางจึงต้องมีสองนิติกรรม แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ โจทก์ตกลงทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพียงนิติกรรมเดียวคือสัญญาร่วมทุน จึงมิใช่เรื่องนิติกรรมอำพราง ส่วนการที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดตามสัญญาร่วมทุนแต่เนื้อหาของสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องเช่าทรัพย์ เป็นเรื่องที่ศาลต้องปรับข้อกฎหมายให้เข้ากับเนื้อหาของสัญญา หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาและทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ชื่อสัญญาจะไม่ตรงกับเนื้อหาที่แท้จริงของสัญญา ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อหาของสัญญาได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กรณีมิใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแล้วมิได้วินิจฉัยฎีกาข้ออื่นต่อไป แต่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ เช่นนี้ โจทก์ชอบที่จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นเงิน 200 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กรณีมิใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแล้วมิได้วินิจฉัยฎีกาข้ออื่นต่อไป แต่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ เช่นนี้ โจทก์ชอบที่จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นเงิน 200 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10970/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหลังฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเรียกร้องก่อนฟื้นฟูกิจการต้องแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์อ้างตามคำฟ้องว่าโจทก์ส่งมอบงานที่จำเลยว่าจ้างให้จำเลยตั้งแต่ประมาณเดือนมกราคม 2542 เท่ากับโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระสินจ้างได้ตั้งแต่วันส่งมอบงานที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 ถือว่าสิทธิเรียกร้องสินจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ และจำเลยไม่ได้รับว่าเป็นหนี้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนของโจทก์ที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นโดยวิธีทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 โจทก์โดยผู้บริหารแผนจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง หากศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ก็ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง หากศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ก็ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม, สัญญาเช่า, ค่าเสียหายจากการครอบครองทำประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว, การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
โจทก์ทั้งสี่กับจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกัน จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ทั้งสี่โดยมีกำหนดระยะเวลา เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้ว สัญญาเช่าย่อมสิ้นสุดลง คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ โจทก์ทั้งสี่และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมต่างก็มีสิทธิเท่าเทียมกันในการที่จะครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทั้งแปลงจนกว่าจะแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมตามกฎหมาย การที่จำเลยยังคงครอบทำประโยชน์ที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวย่อมขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายต้องขาดประโยชน์อันควรได้รับจากที่ดินดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่เป็นค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยยังคงครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตามควรค่าแห่งการใช้นั้นตามมาตรา 391 วรรคสาม
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งเช่าที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนอื่น และโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ขอให้บังคับจำเลยไปแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า จำเลยกับโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าเปลี่ยนเจตนาเป็นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและจำเลยยังไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โดยมีเจตนาให้มีผลผูกพันกันทั้งสองฝ่าย มิได้ยกเลิกสัญญาเช่ากันตามที่จำเลยต่อสู้ ก็เพื่อจะวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ส่วนที่วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้น ในที่สุดศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็หาได้พิพากษาบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินหรือให้ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาดังกล่าวไม่ จึงไม่ใช่การพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน เมื่อในส่วนที่มีทุนทรัพย์นั้นศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 32,000 บาท และค่าขาดประโยชน์เป็นรายเดือนหลังฟ้องแก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยฎีกาว่าไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดประโยชน์เลย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาตามจำนวนที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เท่านั้น
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งเช่าที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนอื่น และโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ขอให้บังคับจำเลยไปแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า จำเลยกับโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าเปลี่ยนเจตนาเป็นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและจำเลยยังไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โดยมีเจตนาให้มีผลผูกพันกันทั้งสองฝ่าย มิได้ยกเลิกสัญญาเช่ากันตามที่จำเลยต่อสู้ ก็เพื่อจะวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ส่วนที่วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้น ในที่สุดศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็หาได้พิพากษาบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินหรือให้ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาดังกล่าวไม่ จึงไม่ใช่การพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน เมื่อในส่วนที่มีทุนทรัพย์นั้นศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 32,000 บาท และค่าขาดประโยชน์เป็นรายเดือนหลังฟ้องแก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยฎีกาว่าไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดประโยชน์เลย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาตามจำนวนที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม พ.ร.ฎ.ยกเว้นรัษฎากร ศาลรับฟังเป็นพยานได้
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ หมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้ปิดอากรแสตมป์ในอัตราอากรแสตมป์ 1 บาทต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แต่ได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 มาตรา 6 (33) ให้ยกเว้นอากรแสตมป์ในตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 374) พ.ศ.2543 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติว่า ให้ยกเว้นอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรแก่ (33) อนุญาโตตุลาการเฉพาะตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลย่อมรับฟังคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นพยานหลักฐานได้
ผู้ร้องอุทธรณ์ข้อกฎหมายต่อศาลฎีกาตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
ผู้ร้องอุทธรณ์ข้อกฎหมายต่อศาลฎีกาตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10662/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่งอกริมตลิ่งกรรมสิทธิ์เป็นของเจ้าของที่ดินเดิม แม้เกิดจากเขื่อนหิน ศาลพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
ที่งอกที่เกิดขึ้นจากการที่บุคคลอื่นสร้างเขื่อนหินยื่นลงไปในทะเลทำให้เกิดการสะสมของตะกอนทรายแล้วเกิดที่งอกจากที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนหินดังกล่าวย่อมถือได้ว่าที่งอกของที่ดินของโจทก์เป็นที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่งอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308
จำเลยที่ 1 ให้การในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่น้ำทะเลท่วมถึง ต่อมามีท่าเทียบเรือของเอกชนก่อสร้างยื่นลงไปในทะเล ที่ดินดังกล่าวจึงยังคงเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่ตอนหลังกลับให้การว่า หากฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว คำให้การของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดินของโจทก์ อันเป็นการขัดแย้งกันเองเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เท่ากับว่าจำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในส่วนที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท แก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปด้วย แต่คำขอในส่วนนี้มิใช่เป็นคำขอให้ชำระค่าเสียหายหรือเงินอื่น ๆ บรรดาที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคตตามตาราง 1 (4) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะเป็นคำขอที่มีผลต่อเนื่องจากคำขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากที่ดินพิพาท อันเป็นคำขอประธานเท่านั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตในชั้นฎีกาอีกส่วนหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ให้การในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่น้ำทะเลท่วมถึง ต่อมามีท่าเทียบเรือของเอกชนก่อสร้างยื่นลงไปในทะเล ที่ดินดังกล่าวจึงยังคงเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่ตอนหลังกลับให้การว่า หากฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว คำให้การของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดินของโจทก์ อันเป็นการขัดแย้งกันเองเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เท่ากับว่าจำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในส่วนที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท แก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปด้วย แต่คำขอในส่วนนี้มิใช่เป็นคำขอให้ชำระค่าเสียหายหรือเงินอื่น ๆ บรรดาที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคตตามตาราง 1 (4) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะเป็นคำขอที่มีผลต่อเนื่องจากคำขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากที่ดินพิพาท อันเป็นคำขอประธานเท่านั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตในชั้นฎีกาอีกส่วนหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7423/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ผู้ร้องไม่ต้องบรรยายสถานะบุคคลภายนอกของคู่กรณีในคำร้อง
ในชั้นยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้องเพียงแต่บรรยายให้ปรากฏว่า ผู้ร้องได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 5 ปี หรือ 10 ปี แล้วแต่กรณี ก็ถือว่าเป็นคำร้องที่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนผู้คัดค้านจะเป็นบุคคลภายนอกและได้ทรัพย์ที่ผู้ร้องร้องขอครอบครองปรปักษ์มาโดยสุจริตหรือไม่ ไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ไม่จำต้องบรรยายมาในคำร้องขอ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านอุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลสูงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลล่าง แต่เมื่อผลของคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 และศาลฎีกามีเพียงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่เท่านั้น จึงเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าชึ้นศาลเพียง 200 บาท
ผู้ร้องและผู้คัดค้านอุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลสูงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลล่าง แต่เมื่อผลของคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 และศาลฎีกามีเพียงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่เท่านั้น จึงเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าชึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7191/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิฟ้องโดยไม่สุจริตและเจตนาทำให้ผู้อื่นเสียหาย ถือเป็นการละเมิดและมีอำนาจฟ้องได้
การเป็นโจทก์ฟ้องคดี แม้จะถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แต่หากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและมีความมุ่งหมายหรือเจตนาที่จะให้จำเลยได้รับความเสียหาย ก็ย่อมเป็นการละเมิด
การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอก็เป็นเพียงการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอก็เป็นเพียงการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลังศาลตัดสินแล้ว ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์อ้างว่า ผู้ร้องได้รับโอนสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยมาจากโจทก์ ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้เป็นคดีนี้พร้อมกับได้เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงเป็นการขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่โจทก์เดิมเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยต่อไปเท่านั้น หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตก็ไม่มีผลทำให้ผู้ร้องได้รับเงินหรือทรัพย์สินใดๆ เพิ่มขึ้น ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล