คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพัฒน์ บุญยุบล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดเวลาในคดีล้มละลาย: การเพิ่มจำนวนหนี้ไม่ใช่การแก้ไขเล็กน้อย
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคสอง บัญญัติให้คำขอรับชำระหนี้ต้องทำตามแบบพิมพ์โดยมีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้และข้อความระบุถึงหลักฐานประกอบหนี้ เมื่อจำนวนเงินตามคำขอรับชำระหนี้ทั้งในด้านหน้าคำขอรับชำระหนี้ข้อ 4 และด้านหลังตามรายการในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินมีจำนวนตรงกัน แสดงถึงเจตนาของผู้ร้องว่าประสงค์จะขอรับชำระหนี้ตามจำนวนที่ระบุไว้ในคำขอรับชำระหนี้นั้น โดยไม่มีข้อสงสัยว่าจำนวนเงินดังกล่าวเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อน ทั้งจำนวนเงินที่ผู้ร้องยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มจากเดิมจำนวน 3,854,472.56 บาท เป็น 8,419,095.03 บาท ก็แตกต่างกันมาก มิใช่การแก้ไขเพียงเล็กน้อย หากแต่เป็นการเพิ่มจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ซึ่งอยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคหนึ่ง ด้วย
การที่กฎหมายล้มละลายกำหนดเวลาเพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ดังกล่าวก็โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทราบถึงจำนวนเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้กับจำนวนเงินที่เจ้าหนี้แต่ละรายที่ขอรับชำระหนี้โดยแน่ชัด เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายดำเนินการโดยรวดเร็วต่อไป ไม่ว่าในเรื่องการประนอมหนี้ที่ลูกหนี้จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สิน รวมทั้งการนับคะแนนเสียงในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเหล่านี้จะดำเนินการต่อไปโดยรวดเร็วได้ ต่อเมื่อได้ทราบจำนวนที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ทั้งสิ้น มิใช่ว่าเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ก็จะสามารถเพิ่มจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในภายหลังได้ก่อนที่ผู้คัดค้านจะเสนอความเห็นในเรื่องหนี้สินต่อศาล ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นย่อมจะมีผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายที่ต้องดำเนินการโดยรวดเร็วดังเช่นที่กล่าวนั้น ทั้งจะทำให้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเต็มไปด้วยความยุ่งยาก ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคหนึ่งแล้ว กรณีผู้ร้องประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหรือแก้ไขคำขอรับชำระหนี้เช่นนี้ก็จะต้องกระทำภายในเวลาตามกฎหมายดังกล่าวด้วย เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ล่วงเลยกำหนดเวลาตามกฎหมาย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การโอนคดีระหว่างศาลชั้นต้นกับศาลแขวงเมื่อมีการต่อสู้สิทธิในทรัพย์สิน และการอุทธรณ์คำสั่ง
โจทก์ฟ้องคดีอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ต่อศาลจังหวัด เมื่อจำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท ศาลจังหวัดจึงให้โอนคดีไปให้ศาลแขวงพิจารณาพิพากษาต่อไป ศาลแขวงไม่รับโอนคดีและส่งสำนวนคืนศาลจังหวัด เมื่อศาลจังหวัดรับสำนวนคืนมาแล้ว ได้นัดพร้อมและแจ้งคำสั่งของศาลแขวงให้คู่ความทราบ จึงเป็นกรณีที่ศาลจังหวัดกับศาลแขวงต่างไม่รับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ แม้เนื้อหาอุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลจังหวัดรับสำนวนคืนจากศาลแขวงไว้แล้ว ทั้งคดีจะต้องมีปัญหาวินิจฉัยว่า ระหว่างศาลจังหวัดกับศาลแขวงศาลใดจะต้องพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไป โจทก์ชอบที่จะมีสิทธิอุทธรณ์คดีนี้โดยยื่นต่อศาลจังหวัดได้ โจทก์ได้รับแจ้งคำสั่งจากศาลจังหวัดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 17 ธันวาคม 2545 อันเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 อุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเปลี่ยนจากไม่มีทุนทรัพย์เป็นมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นโอนคดีให้ศาลแขวงได้ ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้ศาลแขวงสงขลาไม่รับโอนคดีและส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นรับสำนวนคืนมาแล้ว ได้นัดพร้อมคู่ความและแจ้งคำสั่งของศาลแขวงสงขลาให้คู่ความทราบเพื่อให้คู่ความดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นกับศาลแขวงสงขลาต่างไม่รับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ แม้เนื้อหาอุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงสงขลาที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลชั้นต้นรับสำนวนคืนจากศาลแขวงสงขลาไว้แล้ว ทั้งคดีจะต้องมีปัญหาวินิจฉัยว่า ระหว่างศาลชั้นต้นกับศาลแขวงสงขลาศาลใดจะต้องพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไปโจทก์ชอบที่จะมีสิทธิอุทธรณ์คดีนี้โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์รับแจ้งคำสั่งจากศาลชั้นต้นดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2545 อันเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 อุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทอันเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลย คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ มิใช่คดีที่คำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสงขลาที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแก้ไขคำสั่งศาลในคดีล้มละลายตามมาตรา 108 พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 108 ได้ให้อำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่งของศาลที่อนุญาตคำขอชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้แม้คำสั่งศาลจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม ถ้าต่อมาปรากฏว่าศาลได้สั่งไปโดยหลงผิดตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ โดยความจริงลูกหนี้ไม่ได้เป็นหนี้ หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนตามที่อนุญาตไปแล้ว แต่ทั้งนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล คดีนี้จำเลยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คัดค้านบัญชีส่วนแบ่งของเจ้าหนี้รายหนึ่ง อ้างว่า คำขอรับชำระหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่กรรมการของจำเลยเคยให้การยอมรับว่าเป็นหนี้จริงโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้มา เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าหนี้ที่จำเลยคัดค้านซึ่งศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วนั้นเป็นคำสั่งที่ศาลสั่งไปโดยหลงผิด จึงไม่ใช้อำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้แก้ไขคำสั่งตามมาตรา 108 ดังนี้ จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลได้ด้วยตนเอง ทั้งมิใช่กรณีที่จำเลยจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลแก้ไขคำสั่งที่สั่งไปโดยหลงผิดด้วยเช่นกัน เพราะหากให้จำเลยยื่นคำร้องขอเช่นว่านั้นได้ ก็เท่ากับว่าศาลต้องพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซ้ำในปัญหาเดียวกันอีก โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้เห็นเป็นอย่างอื่นและมิใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องดังกล่าวขึ้นมาเอง และก็มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายตามมาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอทางจำเป็น แม้เป็นพื้นที่จัดสรรและมีข้อจำกัดตามประกาศ คปต. ก็ตาม
การขอผ่านทางที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้มุ่งพิจารณาถึงสภาพของที่ดินนั้นจะต้องถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นสำคัญ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยมิได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมจะต้องได้ที่ดินมาโดยสุจริต แม้จะฟังได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาโดยรู้อยู่แล้วว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะหมดไป
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจะต้องขอผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งอยู่ใกล้ทางสาธารณะมากที่สุดเท่านั้น เพียงแต่การที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมนั้น ที่และวิธีทำทางผ่านต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านกับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ ที่ดินของจำเลยมีเนื้อที่เพียง 5 ตารางวา มีรูปลักษณะเป็นสามเหลี่ยมชายธงซึ่งใช้ประโยชน์เพียงเป็นทางเข้าหมู่บ้าน และเชื่อมกับที่ดินอีก 2 แปลงของจำเลยที่มีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงไม่จำต้องทำทางผ่านให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินจำเลย และจำเลยก็มิได้รับความเสียหายในการที่โจทก์จะใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพราะมีสภาพเป็นทางอยู่แล้ว ที่ดินของจำเลยที่โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นจึงเป็นทางที่สะดวกที่สุดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด ต่างกับอีกด้านหนึ่งที่ดินที่ล้อมไม่มีสภาพเป็นทาง มีหญ้าและต้นไม้ปกคลุมกับต้องผ่านที่ดินอีกหลายแปลง ทั้งจะต้องปรับปรุงเพื่อให้มีสภาพเป็นทางอีกด้วย
แม้ทางจำเป็นจะเป็นถนนซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรซึ่งกฎหมายห้ามผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินนั้นก็ตาม แต่เมื่อถนนดังกล่าวตกอยู่ภายใต้สิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะขอเปิดทางจำเป็นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมแต่อย่างใด จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอทางจำเป็นแม้ผู้ซื้อที่ดินทราบว่าที่ดินถูกล้อม และผลกระทบต่อสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรร
การขอทางผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง มุ่งพิจารณาถึงสภาพของที่ดินนั้นจะต้องถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นสำคัญ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยมิได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมจะต้องได้ที่ดินมาโดยสุจริต กล่าวคือ ต้องไม่รู้ว่าที่ดินที่ตนได้มาถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะมาก่อน หากรู้มาก่อนถือว่าไม่สุจริตไม่มีสิทธิผ่านที่ดินแปลงที่ล้อมออกสู่ทางสาธารณะได้แต่อย่างใด ดังนั้นแม้โจทก์จะซื้อที่ดินมาโดยรู้อยู่แล้วว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะหมดไป เพราะสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นสิทธิที่กฎหมายบัญญัติให้ไว้ ซึ่งหากจำเลยได้รับความเสียหายจากการเปิดทางจำเป็นดังกล่าว จำเลยก็มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเป็นค่าเสียหายได้ ตามมาตรา 1349 วรรคสี่
มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติว่าเจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจะต้องขอผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ ซึ่งอยู่ใกล้ทางสาธารณะมากที่สุดเท่านั้น เจ้าของที่ดินซึ่งถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจะขอผ่านที่ดินที่ล้อมแปลงใดก็ได้ เพียงแต่การที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมนั้นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น กับต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ตามมาตรา 1349 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าที่ดินของจำเลยที่ล้อมที่ดินของโจทก์อยู่มีสภาพเป็นทางซึ่งใช้ออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว จึงเป็นทางจำเป็นที่สะดวกที่สุดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด
แม้ทางจำเลยที่โจทก์ขอผ่านจะเป็นถนนซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรได้จัดให้มีขึ้น และตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร แม้มีกฎหมายซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นบัญญัติห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแล้วทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามนัยแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 18, 30 วรรคแรก และ 32 ก็ตาม แต่เมื่อถนนดังกล่าวตกอยู่ภายใต้สิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะขอเปิดทางจำเป็นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินที่ตกเป็นสาธารณูปโภค จึงหาขัดต่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 18 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5032/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายสัญญาเช่าซื้อ: ค่าเสียหายหลังส่งคืนทรัพย์สินไม่ขาดอายุความ 6 เดือน แต่มีอายุความ 10 ปี
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 563 มิได้บัญญัติไว้โดยตรงว่า การใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า จะต้องเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้อยู่ แต่การที่ ป.พ.พ. มาตรา 563 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า แสดงว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องเกิดขึ้นแล้วในวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โดยอาจเกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือระหว่างที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองทรัพย์สินอยู่ แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ในราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เป็นค่าเสียหายที่โจทก์จะทราบได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและขายไปแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5020/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินตราต่างประเทศ: สิทธิลูกหนี้เลือกชำระเงินไทยหรือเงินตราต่างประเทศตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาชำระ
กรณีที่หนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ ป.พ.พ. มาตรา 196 ให้เป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกว่าจะชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศหรือเงินไทย ศาลไม่มีอำนาจไปบังคับหรือเลือกแทนลูกหนี้ในการชำระหนี้ เมื่อหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เป็นหนี้เงินตามคำพิพากษาที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ ลูกหนี้จึงอาจชำระเป็นเงินไทยก็ได้ โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ซึ่งเป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ทั้งการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่ใช่กรณีศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 98 ที่ให้ต้องคิดหนี้เป็นเงินตราไทย แต่เป็นการขอรับชำระหนี้เนื่องจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ซึ่งต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/26 อันเป็นกฎหมายส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ซึ่งมาตรา 90/26 วรรคสาม มิได้บัญญัติให้นำมาตรา 98 มาใช้บังคับ ส่วนกรณีตามมาตรา 90/31 ที่ว่า ถ้าหนี้ได้กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศให้คิดเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประจำวันของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการนั้น เป็นกรณีที่มีการประชุมเจ้าหนี้และเจ้าหนี้เงินตราต่างประเทศนั้นเข้าประชุมเพื่อประโยชน์ในการคำนวณหนี้ที่ใช้ในการออกเสียงลงคะแนน จึงให้คำนวณหนี้เงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทย กรณีเจ้าหนี้รายนี้ไม่มีประเด็นปัญหาการเข้าประชุมเจ้าหนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะไปสั่งบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องคำนวณยอดหนี้จากเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ในฐานะตัวแทนลูกหนี้ ไม่มีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม จึงขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ได้
เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่ถูก ช. ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับลูกหนี้ และบุคคลอื่นอีก 2 คน โดยให้ร่วมกันคืนหุ้นหรือชดใช้ราคาแทนและใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องเจ้าหนี้ในฐานะเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของลูกหนี้ว่าร่วมกับลูกหนี้และจำเลยอื่นนำหุ้นของโจทก์ไปขายและถอนเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ซึ่งถือเป็นตัวแทนของลูกหนี้ได้กระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกทำเหนือขอบอำนาจอย่างไรอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว ดังนั้น หากมีการนำหุ้นของโจทก์ไปขายหรือถอนเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์ไปโดยพลการและลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้เป็นตัวการจะต้องรับผิดต่อโจทก์เจ้าหนี้ซึ่งเป็นพนักงานของลูกหนี้ โดยมีฐานะเป็นตัวแทนของลูกหนี้ก็หาต้องร่วมกับลูกหนี้รับผิดต่อโจทก์ไม่ เจ้าหนี้จึงไม่อยู่ในฐานะลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 101 และไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมและหน้าที่ส่งมอบโฉนดที่ดิน แม้โฉนดอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น
โจทก์ จำเลย และ ร. เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แต่ละคนย่อมมีสิทธิใช้สอยที่ดินดังกล่าวได้แต่ต้องไม่ขัดสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ และเจ้าของรวมคนหนึ่ง จะจำหน่ายที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนก็ได้ การที่จำเลยนำโฉนดที่ดินไปให้บุคคลอื่นยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ย่อมขัดต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยต้องส่งมอบโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ หากโฉนดที่ดินอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น จำเลยย่อมต้องมีหน้าที่ดำเนินการนำโฉนดที่ดินมาเพื่อมอบแก่โจทก์จนได้ กรณีไม่ใช่สภาพหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ และการโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของโจทก์ให้แก่ ร. ไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะสามารถขอให้ศาลสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์จะสามารถขอให้ศาลสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ไม่ต้องขอให้จำเลยส่งมอบโฉนดแก่โจทก์ได้ เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสองนั้น ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้
of 25