พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมมีสิทธิใช้สอยที่ดินร่วมกัน จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบโฉนดคืนให้โจทก์เพื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ จำเลย และ ร. เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แต่ละคนย่อมมีสิทธิใช้สอยที่ดินดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายที่ดินดังกล่าวส่วนของตนก็ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินไว้นำโฉนดที่ดินไปให้บุคคลอื่นยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ได้ ย่อมขัดต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องดำเนินการนำโฉนดที่ดินคืนมาเพื่อส่งมอบแก่โจทก์ กรณีมิใช่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการไม่รับฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ศาลพิจารณาประเด็นการรุกล้ำที่ดินก่อน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสี่ให้การว่า จำเลยที่ 3 อาศัยอยู่ในบ้านที่ อ. ปลูกในที่ดินว่างเปล่าและยกให้จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ว่างบริเวณใกล้เคียงกับบ้านที่จำเลยที่ 3 อาศัยอยู่แล้ว จำเลยที่ 1 ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ครอบครองลุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ที่ดินนั้นก็ตกเป็นของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โดยการครอบครองปรปักษ์ คดีนี้จึงมีประเด็นในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ปลูกบ้านทั้งสองหลังรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องหรือไม่ หากฟังไม่ได้ว่าบ้านทั้งสองหลังดังกล่าวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองไปโดยไม่ต้องพิจารณาคำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฟ้องแย้งว่า หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ครอบครองรุกล้ำหรือเห็นส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปกปักษ์ จึงเป็นฟ้องแย้งโดยมีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องขับไล่และค่าเสียหายเกินเกณฑ์ที่ห้ามอุทธรณ์ฎีกา แม้เกี่ยวข้องกระบวนพิจารณา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 4,000 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท อันต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีที่คู่ความพิพาทกันก็ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3916/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: การตีความสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา และสิทธิเมื่อผิดสัญญา
ที่ดินที่เช่าเป็นที่ดินเปล่าและเป็นท้องนาลึกประมาณ 1 เมตร จำเลยเช่าที่ดินเพื่อใช้วางอุปกรณ์ก่อสร้างของจำเลย การที่จำเลยถมที่และล้อมรั้วสังกะสีเสาไม้รอบที่ดินที่เช่าตามที่สัญญาเช่ากำหนดไว้ ก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยผู้เช่า ส่วนข้อสัญญาเช่าที่กำหนดว่า ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าปลูกสร้างบ้านพักคนงานและสถานประกอบการใดลงบนพื้นที่ซึ่งให้เช่าได้ ก็ไม่ใช่ข้อบังคับให้ผู้เช่าต้องกระทำ แต่เป็นการให้สิทธิผู้เช่าจะปลูกสร้างได้ แม้สัญญาเช่าจะระบุว่า เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วให้สิ่งที่กระทำลงนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทันทีเว้นแต่โครงเหล็กสองชั้นก็ตาม เมื่อการถมที่และสร้างรั้วเป็นการทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าเอง ส่วนบ้านพักคนงานที่จำเลยผู้เช่าปลูกสร้างขึ้นตามสิทธิของจำเลยก็เป็นอาคารชั่วคราว ราคาไม่สูง และเมื่อที่ดินที่เช่าเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 45 ตารางวา ตั้งอยู่ตำบลประเวศ อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร สามารถให้เช่าเดือนละไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท การที่สัญญาเช่ากำหนดค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท ก็เพื่อให้เหมาะสมกับการที่จำเลยต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าดังกล่าวไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3904/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: จำกัดวงตามจำนวนหนี้ที่ฟ้อง
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 155 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ มีหน้าที่ระวังประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ และรับผิดในบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลาย แต่เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยแล้ว อำนาจในการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) แม้ไม่มีโจทก์นำยึด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจทำการยึดทรัพย์ได้เองและยึดทรัพย์ของจำเลยได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องพิจารณาถึงจำนวนหนี้ของโจทก์ ดังเช่นคดีแพ่งตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 284 บัญญัติไว้ เนื่องจากเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย สาเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยเนื่องมาจากศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ไม่ใช่เพราะโจทก์ขอถอนฟ้องหรือขอถอนการยึดทรัพย์ การที่จะให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์สินที่ยึดทั้งหมดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 179 (3) โดยไม่พิจารณายอดหนี้ที่โจทก์ฟ้อง ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการไม่ยุติธรรมแก่โจทก์อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายดังกล่าวจึงควรอยู่ในขอบเขตไม่เกินยอดจำนวนหนี้ที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปี นับจากวันรับสภาพหนี้ครั้งสุดท้าย
การที่โจทก์ให้บริการการใช้บัตรเครดิตแก่สมาชิกโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ ให้สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บจากสมาชิกภายหลัง เป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน กรณีจึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) โจทก์แจ้งยอดบัญชีส่งให้จำเลยทราบในแต่ละงวดที่เรียกเก็บและถือว่าหนี้ถึงกำหนดตามที่ระบุในใบแจ้งหนี้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนด โจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด แต่เมื่อจำเลยชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2539 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมา โจทก์เพิ่งฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2546 พ้นกำหนด 2 ปี แล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: การเรียกเก็บเงินค่าทดรองและผลกระทบต่อการบังคับสิทธิ
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้น 500 บาท แทนโจทก์ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ แม้จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาในปัญหาอื่น ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: เริ่มนับจากวันครบกำหนดชำระหลังใช้บัตรต่อเนื่อง ไม่ใช่วันชำระครั้งสุดท้าย
การที่โจทก์ให้บริการใช้บัตรเครดิตแก่สมาชิกโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ ให้สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อน รวมทั้งการที่โจทก์ยอมให้จำเลยนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าทดรองที่ได้ออกไปก่อน กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) คดีนี้แม้จำเลยจะชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2543 ก็ตาม แต่ขณะนั้นโจทก์ยังไม่ได้แจ้งให้จำเลยงดใช้บัตรเครดิตหรือบอกเลิกสัญญาการใช้บัตรเครดิต ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าหลังจากจำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้ายแล้วจำเลยยังนำบัตรเครดิตไปใช้อีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2543 โจทก์ชำระเงินแทนจำเลยไป โจทก์ส่งใบแจ้งยอดบัญชีเรียกเก็บเงินไปยังจำเลย ให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 12 ธันวาคม 2543 ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันครบกำหนดดังกล่าว ไม่ใช่วันที่จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2545 ยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักกลบลบหนี้ของเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ส่วนลูกหนี้มีเงินฝากอยู่กับผู้คัดค้านตามบัญชีเงินฝากรวม 2 บัญชี โดยผู้คัดค้านรับฝากเงินไว้ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เงินฝากดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านตั้งแต่มีการฝากเงิน ลูกหนี้ผู้ฝากเงินมีสิทธิที่จะถอนเงินฝากไปได้และผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบตามจำนวนที่ขอถอน ถึงเห็นกรณีที่ผู้คัดค้านกับลูกหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกันอยู่ในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้คัดค้านจึงใช้สิทธินำเงินฝากทั้งสองบัญชีดังกล่าวของลูกหนี้มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/33 ภายหลังที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการแต่ก็เป็นช่วงเวลาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนดังกล่าว ซึ่งเจ้าหนี้ยังไม่ถูกผูกมัดให้ได้รับชำระหนี้ตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ในแผนตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักกลบลบหนี้ของเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ แม้มีมติยอมรับแผนแล้ว หากยังไม่ผูกมัดตามเงื่อนไข
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/33 ให้สิทธิเจ้าหนี้หักกลบลบหนี้ได้ถ้าเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นหนี้ลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ดังนี้ เมื่อผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และลูกหนี้มีเงินฝากอยู่กับผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านรับฝากเงินไว้ก่อนที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เงินฝากดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านตั้งแต่มีการฝากเงิน ลูกหนี้ผู้ฝากเงินมีสิทธิที่จะถอนเงินฝากไปได้ และผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบตามจำนวนที่ขอถอน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านกับลูกหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกันอยู่ในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้หนี้ที่ผู้คัดค้านมีสิทธิได้รับชำระหนี้จะถูกกำหนดให้ได้รับชำระตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามแผนฟื้นฟูกิจการ ก็ยังอาจหักกลบลบหนี้ได้เนื่องจากการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ มาตรา 90/27 บัญญัติให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้หรือมีเงื่อนไขก็ตาม และแม้ผู้คัดค้านแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ต่อลูกหนี้ภายหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการแต่เป็นช่วงเวลาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน ซึ่งเจ้าหนี้ยังไม่ถูกผูกมัดให้ได้รับชำระหนี้ตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ในแผนตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้