คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพัฒน์ บุญยุบล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งซื้อที่ดินรุกล้ำไม่ชอบ ศาลไม่รับ เหตุมีเงื่อนไขและขัด กม.แพ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การในตอนแรกว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารโดยถูกต้องตามกฎหมายและตามที่โจทก์นำชี้ระวังแนวเขตที่ดิน มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นการปฏิเสธว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ตอนท้ายให้การว่า หากฟังว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จริงแล้วก็เป็นการกระทำโดยสุจริตและขอฟ้องแย้งให้โจทก์ขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยนอกจากจะมีเงื่อนไขและไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย แล้ว คำขอท้ายฟ้องแย้งยังเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการฟ้องแย้งให้ซื้อที่ดินส่วนที่รุกล้ำ ศาลไม่รับฟ้องแย้งเนื่องจากไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมและขัดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ประมาณ 1.5 เมตร ยาวประมาณ 200 เมตร ตลอดแนวที่ดิน จำเลยให้การในตอนแรกปฏิเสธว่า จำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ต่อมาให้การว่า หากฟังว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จริงก็เป็นการกระทำโดยสุจริตและขอฟ้องแย้งให้โจทก์ขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยนอกจากจะมีเงื่อนไขและไม่เกี่ยวกับกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย แล้ว คำขอท้ายฟ้องแย้งยังคงเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1312 ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล และผู้ซื้อไม่สามารถเลิกสัญญาซื้อขายได้หากการโอนกรรมสิทธิ์ล่าช้าจากกระบวนการทางกฎหมาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินและฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ รวมทั้งกระทำการต่างๆ ในนามลูกหนี้อีกฐานะหนึ่งจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด ซึ่งหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน และประกาศขายทอดตลาด ไม่ได้กำหนดเวลาไว้โดยแจ้งชัดว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหกแปลงให้ผู้ร้องเมื่อใด แม้ผู้ร้องมีความประสงค์จะนำที่ดินทั้งหกแปลงไปพัตนาทำธุรกิจก็เป็นเหตุผลเฉพาะตัวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตกลงด้วย จึงไม่อาจนำมาผูกมัดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ อีกทั้งผู้ร้องได้เข้าเป็นคู่ความในการร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาด เป็นการยอมรับถึงเหตุที่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องล่าช้าโดยเฉพาะเหตุแห่งความล่าช้านี้เป็นการที่จะต้องดำเนินตามกระบวนพิจารณาที่ ป.วิ.พ. ได้บัญญัติไว้ ยังฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผิดสัญญา จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาใช้ได้ และเมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุดแล้ว โดยศาลยกคำร้องให้เพิกถอนการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ย่อมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องได้ การชำระหนี้หาได้ตกเป็นพ้นวิสัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องเลิกสัญญาและขอเงินคืนได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาความผิดตามฟ้องเดิมและการแก้ไขโทษที่เหมาะสมในคดีอาวุธปืนและการยิงในชุมชน
โจทก์ฟ้องเป็นข้อ ค. ว่า จำเลยบังอาจใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่มีไว้และพาไปอันเป็นความผิดตามฟ้องข้อ ก. และ ข. ซึ่งเป็นอาวุธปืนและกระสุนปืนที่ใช้ดินระเบิดยิงขึ้นฟ้า ในที่ชุมนุมชนที่จัดให้มีขึ้นในงานรื่นเริงมงคลสมรสและขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 376 ด้วย จำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องทุกข้อหาซึ่งหมายถึงรวมทั้งความผิดตามฟ้องโจทก์ข้อ ค. ด้วย แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหาอื่นเท่านั้น มิได้พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหานี้ด้วย จึงไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 ซึ่งโจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษมาโดยมิได้กำหนดโทษความผิดข้อหานี้อีกเป็นเพียงการพิพากษาให้ถูกต้องครบถ้วนเท่านั้น จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีปิดกั้นทางสาธารณะ ศาลอุทธรณ์ชอบที่ให้สืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
คดีนี้โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยทั้งสองว่าปิดกั้นทางสาธารณะซึ่งอยู่ระหว่างที่ดินโจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสอง มีความกว้าง 3 เมตร เหลือเพียง 1.50 เมตร ทำให้โจทก์ทั้งสามและชาวบ้านใช้ทางสาธารณะไม่ได้หรือไม่สะดวก ขอให้เลิกปิดกั้น จำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะแต่เป็นที่ดินของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองอนุญาตให้โจทก์และชาวบ้านใช้เดินผ่านเป็นครั้งคราว เช่นนี้มีประเด็นพิพาทเป็นข้อสำคัญว่ามีทางสาธารณะตามฟ้องและจำเลยทั้งสองทำการปิดกั้นจริงหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบถามคู่ความและโจทก์ทั้งสองแถลงรับว่า ทางพิพาทในปัจจุบันเหลือเพียงกว้าง 1.50 เมตร โดยเดินเท้าหรือรถจักรยานยนต์ผ่านได้ ศาลชั้นต้นก็สั่งงดสืบพยานโจทก์ทั้งสามและพยานจำเลยทั้งสอง แล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่พิจารณาให้ได้ความตามประเด็นข้อพิพาทให้ถูกต้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยตามประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเดินต้องต่อเนื่อง เปิดเผย และเพื่อประโยชน์ที่ดิน
การที่โจทก์จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสามยทรัพย์ได้เดินผ่านหรือใช้ที่ดินของจำเลยอันเป็นภารยทรัพย์มาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการได้ภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ในส่วนที่ผู้อื่นจะได้ใช้ทางเดินอันเป็นทางพิพาทหรือไม่นั้น ไม่มีผลเกี่ยวกับการได้ภาระจำยอมโดยอายุความของโจทก์แต่ประการใด โจทก์จึงมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทอย่างปรปักษ์คือโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้สิทธิในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์เป็นเวลาติดต่อกัน 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์สินที่ไม่สมเหตุสมผลในแผนฟื้นฟูกิจการล้มละลาย ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ผู้ทำแผนมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการนั้นชอบด้วยกฎหมายและสมควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ในการพิจารณาว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้จะได้รับในกรณีที่มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว การที่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะมีราคาประเมินเพียงใดจึงเป็นสาระสำคัญ
แม้ว่าการกำหนดหรือวินิจฉัยราคาประเมินทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ละช่วงจะไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาในช่วงอื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการประเมินราคาทรัพย์สินโดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ราคาประเมินย่อมแตกต่างกันได้ แต่ในคดีนี้มีการประเมินตีราคาทรัพย์สินในเวลาต่างกันเพียงประมาณ 5 ถึง 6 เดือน โดยทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในการประเมินมีราคาแตกต่างกันถึงประมาณ 2,000,000,000 บาท กรณีจึงต้องมีเหตุอันสมควรและอธิบายถึงความแตกต่างดังกล่าวได้อย่างชัดเจน เมื่อผู้ทำแผนมิได้แสดงถึงเหตุดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การประเมินราคาครั้งหลังเพื่อจัดทำแผนจึงไม่มีน้ำหนัก เมื่อการประเมินราคาทรัพย์สินต่ำลงมากทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ส่วนใหญ่ถูกนำไปชำระตีใช้หนี้แก่เจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีผู้ร้องขอเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในราคาต่ำ ทำให้หนี้ลดลงเพียงจำนวนน้อยและหนี้ส่วนที่ขาดอยู่มีจำนวนสูงขึ้น เมื่อนำหนี้ส่วนที่ไม่มีประกันส่วนนี้ไปจัดสรรชำระหนี้ย่อมส่งผลให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ได้รับชำระหนี้น้อยลง เจ้าหนี้อื่นย่อมได้รับความเสียหายเนื่องจากการตีราคาทรัพย์สิน
เมื่อมีเหตุข้อสงสัยเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินซึ่งใช้ในการจัดทำแผน ถือได้ว่าผู้ทำแผนยังแสดงพยานหลักฐานไม่ได้ว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 วรรคสาม ทั้งมีพฤติการณ์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดทำขึ้นโดยมุ่งประโยชน์ของผู้ร้องขอ ไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ไม่มีประกันอื่น การที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้อื่นในอันที่จะได้รับชำระหนี้อย่างน้อยเท่ากับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์สินที่ต่ำเกินจริงในแผนฟื้นฟูกิจการ ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้เท่ากรณีล้มละลาย ศาลฎีกาไม่เห็นชอบด้วย
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ กำหนดให้ผู้ทำแผนส่งแผนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการนั้นหรือไม่ เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการแล้วก็ให้ศาลพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนอีกชั้นหนึ่งว่าแผนที่ผู้ทำแผนเสนอมานั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เช่นนี้ เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่พิสูจน์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการนั้นชอบด้วยกฎหมายและศาลควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน
ในการพิจารณาปัญหาว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้ว จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้แต่ละรายซึ่งมิได้ลงมติยอมรับแผนจะได้รับในการฟื้นฟูกิจการ กับจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวจะได้รับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวนี้การที่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะมีราคาประเมินเพียงใด จึงเป็นสาระสำคัญ
แม้ว่าการกำหนดหรือวินิจฉัยราคาประเมินทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ละช่วงจะไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาในช่วงอื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการประเมินราคาทรัพย์สินโดยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ราคาประเมินย่อมแตกต่างกันได้ แต่คดีนี้มีการประเมินตีราคาทรัพย์สินในเวลาที่ต่างกันเพียงประมาณ 5 ถึง 6 เดือน ทรัพย์สินส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในการประเมินมีราคาแตกต่างกันถึง 2,000 ล้านบาท กรณีจึงต้องมีเหตุอันสมควรและอธิบายถึงความแตกต่างดังกล่าวได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ทำแผนก็มิได้แสดงเหตุดังกล่าวโดยชัดแจ้ง การประเมินราคาครั้งหลังเพื่อจัดทำแผน จึงไม่มีน้ำหนัก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดแม้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อออกจากการเป็นผู้จัดการแล้ว จนกว่าการจดทะเบียนจะมีผล
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนให้จำเลยในคดีดังกล่าวดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อจำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต่อนายทะเบียนกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หากจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ดังนั้น จำเลยที่ 3 จะพ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อจำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้วเพราะการเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1021 และ 1022 หาใช่จำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่ ดังนั้น เมื่อในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้จำเลยที่ 3 ยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อยู่ จำเลยที่ 3 จึงหาหลุดพ้นจากความผิดรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ แต่ต้องร่วมรับผิดบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 และ 1077 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เด็ดขาด และโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสามเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้มีคำขอให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 89 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจะได้มีการแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8075/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง: ข้อผิดพลาดในการระบุหมายเลขห้องชุดในหนังสือบอกกล่าว ไม่ทำให้การบังคับจำนองเป็นโมฆะ
จำเลยทั้งสองทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำนองห้องชุดเลขที่ 181/289 ตำบลบางแค อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นประกันหนี้ แต่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงมีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองภายใน 30 วัน ย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้และจัดการไถ่ถอนจำนองภายในเวลาที่กำหนด เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยทำสัญญาจำนองทรัพย์สินรายอื่นเป็นประกัน ทรัพย์ที่โจทก์จะบังคับจำนองย่อมหมายถึงห้องชุดเลขที่ 181/289 การที่หนังสือบอกกล่าวของโจทก์ระบุหมายเลขห้องชุดเป็นห้องชุดเลขที่ 0289 ตำบลบางแค อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร น่าจะเป็นเพียงการพิมพ์หมายเลขคลาดเคลื่อนเท่านั้น หามีผลทำให้หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด คำบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ชอบด้วยมาตรา 728 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว
of 25