พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9777/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จต่อศาลในคดีแพ่งเกี่ยวกับเช็คชำระหนี้ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อ ชำระหนี้ค่าสินค้าปุ๋ยที่ซื้อไปจากโจทก์ว่าเป็นเช็คที่จำเลยออกให้เป็นค้ำประกันเป็นเช็คไม่มีมูลหนี้และจำเลยได้ชำระ ค่าสินค้าให้โจทก์แล้วแต่โจทก์ยังออกใบเสร็จรับเงินให้ไม่ครบ ทั้ง ๆ ที่เช็คดังกล่าวจำเลยออกเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าปุ๋ยให้โจทก์เช่นนี้ คำเบิกความของจำเลยจึงเป็นความเท็จและเป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9742/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานกระทำชำเรา/ข่มขืนกระทำชำเราหลายกรรมต่างวาระกันชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่กับจำเลยและจำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายตั้งแต่ปี 2539 ถึงปี 2542 โดยจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายขณะผู้เสียหายเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี 2 กรรม ต่อมาจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอีก 38 กรรม หลังจากข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในแต่ละกรรม จำเลยมิได้ควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้ในสถานที่เกิดเหตุเพื่อกระทำชำเราผู้เสียหายในครั้งต่อไปแต่อย่างใด ผู้เสียหายคงอยู่บ้านและไปทำงานได้ตามปกติดังนี้ ผู้เสียหายย่อมพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละกรรมแล้ว แม้จำเลยจะกระทำชำเราผู้เสียหายในแต่ละเดือนจำนวนหลายครั้ง และในแต่ละครั้งจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเดียวกันคือกระทำชำเราก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยในแต่ละครั้งแต่ละกรรมเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายคนละวันต่างวาระกัน และมิได้กระทำต่อเนื่องกันโดยหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายไว้จนผู้เสียหายไม่สามารถไปไหนได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9161/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: ความรับผิดของผู้ซื้อเมื่ออัตราภาษีเปลี่ยนแปลงหลังทำสัญญาซื้อขาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (17) มาตรา 78 และมาตรา82/4 วรรคหนึ่ง ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้ามีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบการตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่พระราชกฤษฎีกากำหนดและความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่จะได้มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือได้รับชำระราคาสินค้า หรือได้ออกใบกำกับสินค้าก่อนส่งมอบสินค้า การที่สัญญาซื้อขายระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ระบุว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 เป็นอัตราตามที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้ในขณะนั้น เป็นเพียงการระบุเพื่อให้เห็นว่าราคาสินค้ามิได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ได้แยกคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ต่างหากเท่านั้น มิใช่ข้อผูกพันว่าผู้ซื้อและผู้ขายตกลงชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7
อัตราค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเป็นไปตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด ส่วนผู้มีหน้าที่ชำระแก่กรมสรรพากรคือเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ แต่ผู้ประกอบการมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าซึ่งก็คือลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกหนี้ภายหลังจากวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โดยเจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 และลูกหนี้รับสินค้าไว้แล้วเช่นนี้ ลูกหนี้ต้องมีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 อันเป็นอัตราที่พระราชกฤษฎีกากำหนดใช้ในเวลาที่มีการส่งมอบสินค้านั้น ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเดียวกันนี้แก่กรมสรรพากร ดังนั้น เจ้าหนี้จึงขอให้ลูกหนี้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ได้ชำระเพิ่มไปจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ได้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระแก่กรมสรรพากร
ที่ผู้บริหารแผนอุทธรณ์ว่า สัญญาซื้อขายคดีนี้เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้โอนไปยังลูกหนี้นับแต่เมื่อได้เข้าทำสัญญาซื้อขาย ทำให้เจ้าหนี้ต้องออกใบกำกับภาษีในวันที่ทำสัญญา ตามสัญญาซื้อขายเครื่องจักรได้บรรยายชนิดและจำนวนเครื่องจักรไว้ 9 รายการ มิได้ระบุหมายเลขประจำเครื่องจักรหรือหมายเลขประจำอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงยังมิใช่ทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ทั้งในสัญญาก็มีข้อความว่า ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาเพียงร้อยละ20 ส่วนราคาที่เหลืออีกร้อยละ 80 ผู้ซื้อจะชำระให้ร้อยละ 40 ในวันส่งมอบเครื่องจักรและจะชำระส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 ในวันที่ติดตั้งเครื่องและทดลองคุณภาพของเครื่องที่ได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว เห็นได้ว่าสาระสำคัญของสัญญาซื้อขายนี้จะต้องติดตั้งเครื่องจักรและทดลองเดินเครื่องให้ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้ หากไม่ได้ผลตามที่กำหนดอาจต้องเปลี่ยนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ได้ส่งมอบแต่ละรายการหรือทั้งหมดอีกก็ได้กรณีจึงเป็นสัญญาซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมิได้กำหนดลงไว้แน่นอน กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้หมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำโดยวิธีอื่นเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าแต่ละชิ้นในวันที่ส่งมอบหรือติดตั้งสินค้า จึงเป็นการปฏิบัติสอดคล้องกับข้อตกลงในสัญญาซื้อขายแล้ว การที่เจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10จึงมิใช่ความผิดของเจ้าหนี้
อัตราค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเป็นไปตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด ส่วนผู้มีหน้าที่ชำระแก่กรมสรรพากรคือเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ แต่ผู้ประกอบการมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าซึ่งก็คือลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกหนี้ภายหลังจากวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โดยเจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 และลูกหนี้รับสินค้าไว้แล้วเช่นนี้ ลูกหนี้ต้องมีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 อันเป็นอัตราที่พระราชกฤษฎีกากำหนดใช้ในเวลาที่มีการส่งมอบสินค้านั้น ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเดียวกันนี้แก่กรมสรรพากร ดังนั้น เจ้าหนี้จึงขอให้ลูกหนี้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ได้ชำระเพิ่มไปจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ได้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระแก่กรมสรรพากร
ที่ผู้บริหารแผนอุทธรณ์ว่า สัญญาซื้อขายคดีนี้เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้โอนไปยังลูกหนี้นับแต่เมื่อได้เข้าทำสัญญาซื้อขาย ทำให้เจ้าหนี้ต้องออกใบกำกับภาษีในวันที่ทำสัญญา ตามสัญญาซื้อขายเครื่องจักรได้บรรยายชนิดและจำนวนเครื่องจักรไว้ 9 รายการ มิได้ระบุหมายเลขประจำเครื่องจักรหรือหมายเลขประจำอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงยังมิใช่ทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ทั้งในสัญญาก็มีข้อความว่า ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาเพียงร้อยละ20 ส่วนราคาที่เหลืออีกร้อยละ 80 ผู้ซื้อจะชำระให้ร้อยละ 40 ในวันส่งมอบเครื่องจักรและจะชำระส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 ในวันที่ติดตั้งเครื่องและทดลองคุณภาพของเครื่องที่ได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว เห็นได้ว่าสาระสำคัญของสัญญาซื้อขายนี้จะต้องติดตั้งเครื่องจักรและทดลองเดินเครื่องให้ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้ หากไม่ได้ผลตามที่กำหนดอาจต้องเปลี่ยนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ได้ส่งมอบแต่ละรายการหรือทั้งหมดอีกก็ได้กรณีจึงเป็นสัญญาซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมิได้กำหนดลงไว้แน่นอน กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้หมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำโดยวิธีอื่นเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าแต่ละชิ้นในวันที่ส่งมอบหรือติดตั้งสินค้า จึงเป็นการปฏิบัติสอดคล้องกับข้อตกลงในสัญญาซื้อขายแล้ว การที่เจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10จึงมิใช่ความผิดของเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9160/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ: ค่าตอบแทนผู้บริหารแผนและโอกาสสำเร็จ
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนของศาลนั้น จะต้องพิจารณาด้วยว่าต้องบทบัญญัติพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 หรือไม่ และตามมาตรา 90/58 (1) ให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า แผนมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 90/42 โดยมาตรา 90/42 (7) ในแผนนั้นจะต้องมีรายการ ชื่อ คุณสมบัติ หนังสือยินยอมของผู้บริหารแผน และค่าตอบแทนของผู้บริหารแผน เช่นนี้ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน ศาลจึงต้องพิจารณาถึงค่าตอบแทนของผู้บริหารแผนด้วยว่าค่าตอบแทนของผู้บริหารแผนนั้นเหมาะสมกับสภาพการงานที่ทำหรือไม่และจำนวนดังกล่าวสูงเกินสมควรหรือไม่
แผนมีโอกาสดำเนินการสำเร็จหรือไม่ แม้ว่ากฎหมายมิได้มีบัญญัติเงื่อนไขส่วนนี้ไว้โดยตรง แต่การที่กระบวนพิจารณาในการฟื้นฟูกิจการกำหนดไว้ว่าหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตามพระราชบัญญัติ
ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายได้กำหนดให้แผนดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบัญญัติในส่วนที่ 8 เรื่อง การพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบด้วยแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบให้เป็นดุลพินิจว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจที่จะพิจารณาถึงโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผนนั้นด้วย เพราะว่ากรณีไม่มีประโยชน์อันใดที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อเป็นไปได้ว่าแผนนั้นไม่มีโอกาสดำเนินการสำเร็จได้หรือหากดำเนินการไปแล้วลูกหนี้ต้องประสบกับภาวะล้มละลายในที่สุด
ในการที่จะพิจารณาว่าค่าตอบแทนนั้นสมควรหรือไม่ เมื่อยังไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ใช้บังคับ กรณีจึงต้องพิจารณาถึงขนาดของกิจการ ความยุ่งยากในการดำเนินการ ปริมาณของบุคลากรที่จะต้องใช้ วิธีการในการฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนชื่อเสียง ผลงาน ประสบการณ์ของผู้บริหารแผนนั้น รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ประกอบกันตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แต่ละรายไป
แผนมีโอกาสดำเนินการสำเร็จหรือไม่ แม้ว่ากฎหมายมิได้มีบัญญัติเงื่อนไขส่วนนี้ไว้โดยตรง แต่การที่กระบวนพิจารณาในการฟื้นฟูกิจการกำหนดไว้ว่าหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตามพระราชบัญญัติ
ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายได้กำหนดให้แผนดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบัญญัติในส่วนที่ 8 เรื่อง การพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบด้วยแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบให้เป็นดุลพินิจว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจที่จะพิจารณาถึงโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผนนั้นด้วย เพราะว่ากรณีไม่มีประโยชน์อันใดที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อเป็นไปได้ว่าแผนนั้นไม่มีโอกาสดำเนินการสำเร็จได้หรือหากดำเนินการไปแล้วลูกหนี้ต้องประสบกับภาวะล้มละลายในที่สุด
ในการที่จะพิจารณาว่าค่าตอบแทนนั้นสมควรหรือไม่ เมื่อยังไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ใช้บังคับ กรณีจึงต้องพิจารณาถึงขนาดของกิจการ ความยุ่งยากในการดำเนินการ ปริมาณของบุคลากรที่จะต้องใช้ วิธีการในการฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนชื่อเสียง ผลงาน ประสบการณ์ของผู้บริหารแผนนั้น รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ประกอบกันตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แต่ละรายไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8688/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายยาเสพติด: ความผิดสำเร็จ vs. พยายาม, อำนาจศาลวินิจฉัยข้อกฎหมาย, พยานหลักฐาน, การรับฟังคำซัดทอด
ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 3 เสียจากสารบบความ เพราะจำเลยที่ 3 ถึงแก่ความตายนั้น เป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 แล้ว และอยู่ระหว่างส่งสำเนาให้โจทก์แก้ คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งจำหน่ายคดีโดยศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ แต่คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว จึงเห็นสมควรสั่งเรื่องดังกล่าวไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดให้แก่จ่าสิบตำรวจ ก. ผู้ล่อซื้อโดยมีการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ ผู้ล่อซื้อแล้ว จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 บัญญัติว่า " จำหน่าย " หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ เป็นที่เห็นได้ว่า แม้เป็นการแจกหรือให้ซึ่งไม่มีค่าตอบแทน ก็ถือว่าเป็นการจำหน่ายตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ล่อซื้อได้รับมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตกลงซื้อขายกันจากฝ่ายจำเลยแล้ว แม้จะยังไม่ได้ชำระราคาและตรวจนับเมทแอมเฟตามีนของกลางก่อน ก็เป็นความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) สำเร็จ โดยมิพักต้องวินิจฉัยในแง่กฎหมายแพ่ง
ปัญหาว่าการกระทำความผิดใดจะเป็นความผิดสำเร็จหรือเป็นเพียงขั้นพยายามกระทำความผิด เป็นปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยหนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ลงโทษได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่สมควร วางบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 3 ซึ่งให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาเบิกความว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดและระหว่างถูก คุมขังในเรือนจำจำเลยที่ 3 รู้ตัวว่าใกล้จะตายได้วานผู้มีชื่อเขียนจดหมายถึงจำเลยที่ 1 ขอโทษที่เบิกความว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดด้วย และรับว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเพียงคนเดียว แต่คดีในส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องอาศัยคำเบิกความของจำเลยที่ 3 มาเป็นพยานหลักฐานประกอบและแม้จำเลยที่ 3 จะเขียนจดหมายมีข้อความดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ก็ไม่มีผลให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบต่อศาลได้
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดให้แก่จ่าสิบตำรวจ ก. ผู้ล่อซื้อโดยมีการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ ผู้ล่อซื้อแล้ว จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 บัญญัติว่า " จำหน่าย " หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ เป็นที่เห็นได้ว่า แม้เป็นการแจกหรือให้ซึ่งไม่มีค่าตอบแทน ก็ถือว่าเป็นการจำหน่ายตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ล่อซื้อได้รับมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตกลงซื้อขายกันจากฝ่ายจำเลยแล้ว แม้จะยังไม่ได้ชำระราคาและตรวจนับเมทแอมเฟตามีนของกลางก่อน ก็เป็นความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) สำเร็จ โดยมิพักต้องวินิจฉัยในแง่กฎหมายแพ่ง
ปัญหาว่าการกระทำความผิดใดจะเป็นความผิดสำเร็จหรือเป็นเพียงขั้นพยายามกระทำความผิด เป็นปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยหนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ลงโทษได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่สมควร วางบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 3 ซึ่งให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาเบิกความว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดและระหว่างถูก คุมขังในเรือนจำจำเลยที่ 3 รู้ตัวว่าใกล้จะตายได้วานผู้มีชื่อเขียนจดหมายถึงจำเลยที่ 1 ขอโทษที่เบิกความว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดด้วย และรับว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเพียงคนเดียว แต่คดีในส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องอาศัยคำเบิกความของจำเลยที่ 3 มาเป็นพยานหลักฐานประกอบและแม้จำเลยที่ 3 จะเขียนจดหมายมีข้อความดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ก็ไม่มีผลให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงด้วยการใช้โฉนดที่ดินที่ถูกเพิกถอนเป็นประกันหนี้
จำเลยทั้งสองขอกู้ยืมเงินโจทก์โดยใช้โฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกเพิกถอนแล้วให้ยึดถือเป็นประกัน โดยจำเลยทั้งสองปกปิดข้อเท็จจริงนี้ไว้ เมื่อหนี้ถึงกำหนดจำเลยทั้งสองเสนอใช้ที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าวชำระแทนเงินกู้ โดยจำเลยที่ 1 ทำหนังสือมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียน จำเลยที่ 2ทำหนังสือให้ความยินยอม ทั้งที่โฉนดที่ดินนั้นถูกเพิกถอนเพราะที่ดินตามโฉนดที่ดินถูกขายทอดตลาดและเจ้าพนักงานออกโฉนดที่ดินฉบับใหม่แล้ว เป็นเหตุให้โจทก์คืนหนังสือสัญญากู้ให้แก่จำเลย ดังนี้การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดข้อความจริงจนโจทก์หลงเชื่อและได้เงินจากโจทก์ไปจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7990/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานนำเข้า-จำหน่ายยาเสพติด พยานหลักฐานเพียงพอ ศาลยืนตามคำพิพากษา
ร้อยตำรวจเอก ป. และนายดาบตำรวจ ว. ผู้จับกุมจำเลยเป็นผู้ร่วมวางแผนล่อซื้อยาเสพติดให้โทษตามที่สายลับได้แจ้งว่ามีพ่อค้ายาเสพติดให้โทษสัญชาติลาวจะขายฝิ่นและเมทแอมเฟตามีนให้มาตั้งแต่ต้น และได้มีการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้จนสามารถจับกุมจำเลยซึ่งมีสัญชาติลาวได้พร้อมฝิ่นสุกและเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตกลงซื้อขายกัน คำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ป. และ นายดาบตำรวจ ว. สอดคล้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกันในข้อสาระสำคัญโดยไม่มีข้อพิรุธตั้งแต่จำเลยได้ร่วมเจรจาตกลงซื้อขายยาเสพติดให้โทษกับสายลับและเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดของประเทศสหรัฐอเมริกา กับเจ้าพนักงานตำรวจที่ปลอมตัวเป็นพ่อค้า และร้อยตำรวจเอก ป. ได้ถ่ายรูปจำเลยไว้ในวันดังกล่าวด้วยซึ่งจำเลยก็ยอมรับว่ามีจำเลยอยู่ในภาพถ่ายดังกล่าวจริง นอกจากนั้นจำเลยยังร่วมตรวจสอบเงินที่ใช้ล่อซื้อ เป็นผู้บอกพวกของจำเลยให้พานายดาบตำรวจ ว. ไปรับยาเสพติดให้โทษโดยจำเลยมิได้ไปด้วย แต่รออยู่ที่ห้องพักในโรงแรมกับเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรับมอบเงิน เมื่อนายดาบตำรวจ ว. รับมอบยาเสพติดให้โทษที่ตกลงซื้อแล้วพวกของจำเลยที่พาไปเอายาเสพติดให้โทษก็ไม่กลับไปกับนายดาบตำรวจ ว. แต่บอกให้นายดาบตำรวจ ว. นำจำเลยมาส่งที่จุดรับยาเสพติดให้โทษเมื่อจำเลยรับเงินค่ายาเสพติดแล้ว พฤติกรรมของจำเลยกับพวกดังกล่าวเห็นได้ว่ามีการวางแผนเป็นอย่างดี โดยแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อป้องกันมิให้ถูกจับกุมได้พร้อมยาเสพติดให้โทษที่ตกลงซื้อขายโดยไม่นำยาเสพติดให้โทษติดตัวมาด้วย เพื่อจำเลยจะใช้เป็นข้อต่อสู้เมื่อถูกจับกุมได้ พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยกับพวกเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7968/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดก การแบ่งมรดก และอายุความ ฟ้องแบ่งมรดกไม่ขาดอายุความแม้พ้นกำหนด
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้มีการแบ่งปัน การที่จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินต้องถือว่าได้ถือไว้แทนทายาทอื่นด้วย เมื่อโจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งจึงเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งกันให้เสร็จสิ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งมรดกนี้ได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 กรณีต้องตามมาตรา 1748 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้กล่าวถึงทรัพย์มรดกของ ย. ไว้ในคำฟ้องการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้โจทก์ได้รับที่ดินพิพาท 1 ใน 12 ส่วนของเนื้อที่ดินทั้งแปลงเท่ากับนำที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของ ย. ไปแบ่งให้โจทก์ด้วย เป็นการพิพากษาเกินคำขอ นั้น จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าวินิจฉัยคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง เพียงแต่อ้างว่าส่วนแบ่งของโจทก์ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเกินคำขอ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลอุทธรณ์ภาค 2ย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งได้โดยโจทก์ไม่จำต้องอุทธรณ์ในเรื่องนี้
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้กล่าวถึงทรัพย์มรดกของ ย. ไว้ในคำฟ้องการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้โจทก์ได้รับที่ดินพิพาท 1 ใน 12 ส่วนของเนื้อที่ดินทั้งแปลงเท่ากับนำที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของ ย. ไปแบ่งให้โจทก์ด้วย เป็นการพิพากษาเกินคำขอ นั้น จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าวินิจฉัยคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง เพียงแต่อ้างว่าส่วนแบ่งของโจทก์ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเกินคำขอ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลอุทธรณ์ภาค 2ย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งได้โดยโจทก์ไม่จำต้องอุทธรณ์ในเรื่องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7947/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฎีกาและการแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ
จำเลยยื่นฎีกาโดย ธ. ทนายจำเลยลงชื่อเป็นผู้ฎีกาแทนจำเลย แต่ใบแต่งทนายไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขข้อบกพร่องโดยให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้ฎีกาในคำฟ้องฎีกาให้ถูกต้อง จำเลยไม่มาแก้ไขข้อบกพร่องภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำฟ้องฎีกาของจำเลยจึงมี ธ. ทนายความของจำเลยลงชื่อเป็นผู้ยื่นฎีกาแทนจำเลยโดยไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 62 คำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ ธ. ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาจึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7916-7918/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันหนี้: สิทธิในการเรียกเก็บเงินขึ้นอยู่กับผลการตรวจสอบปริมาณงานก่อสร้าง
จำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 6 ฉบับ ตามบันทึกต่อท้ายบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้าง ซึ่งเงื่อนไขกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องทราบผลการตรวจสอบและประเมินปริมาณผลงานก่อสร้างอาคารของวิศวกรคนกลางก่อน หากจำเลยเป็นหนี้โจทก์มากกว่า 1,000,000 บาท ให้โจทก์นำเช็คทั้ง 6 ฉบับไปเรียกเก็บเงินได้ทันที ถ้าปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่ถึง 1,000,000 บาท ให้โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินได้เฉพาะเท่าที่จำเลยเป็นหนี้แล้วคืนเช็คที่เหลือ แต่ถ้าปรากฏว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยแล้ว โจทก์จะต้องส่งมอบเช็คทั้ง 6 ฉบับคืนจำเลย แสดงให้เห็นว่าการให้ทราบผลการตรวจสอบของวิศวกรคนกลางก่อนเป็นสาระสำคัญของเงื่อนไขดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้ทราบก่อนว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์แน่นอน โจทก์จึงจะมีสิทธินำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินได้ เท่ากับในขณะที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คทั้ง 6 ฉบับมอบแก่โจทก์ ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจำเลยจะเป็นหนี้โจทก์หรือไม่ เช็คดังกล่าวจึงเป็นเพียงการประกันหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หลังจากทราบผลการตรวจสอบและประเมินปริมาณผลงานก่อสร้างของวิศวกรคนกลางแล้ว จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4