คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพัฒน์ บุญยุบล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในชั้นบังคับคดีเมื่อเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ไม่เป็นการแก้ไขคำฟ้องและไม่อยู่ในบังคับมาตรา 180/181
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสหกรณ์แท็กซี่ร่วมมิตร จำกัด กับสหกรณ์แท็กซี่รวมมิตร จำกัด เป็นนิติบุคคลเดียวกัน การขอแก้ไขเพิ่มเติมชื่อสหกรณ์แท็กซี่รวมมิตร จำกัด เข้ามาจึงมิใช่เป็นกรณีฟ้องจำเลยผิดตัวหรือฟ้องคดีต่างบุคคลกันและมิใช่เป็นการเพิ่มเติมข้อหาใหม่หากแต่เป็นการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดีแต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษาแต่อย่างใด ทั้งกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ฉะนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 180 และ 181 ที่จะต้องถูกจำกัดระยะเวลาการยื่นคำร้องว่าต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานและไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งก่อนศาลจึงจะมีคำสั่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7116/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องขอปล่อยตัวจากการคุมขังมิชอบระงับเมื่อมีหมายขังจากศาล
สิทธิในการร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายมีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจค้น จับกุมและคุมขังผู้ร้องโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นในความผิดที่ผู้ร้องอ้างว่าการค้น จับกุมและคุมขังโดยมิชอบ เมื่อการคุมขังเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดไปตั้งแต่ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงระงับ
การตรวจค้น จับกุมและการคุมขังของเจ้าพนักงานตำรวจชั้นแรกเป็นขั้นตอนต่างหากจากการสอบสวน ทั้งการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาล เมื่อผู้ร้องถูกพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลและศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 58 (4), 71 และ 88 ซึ่งเป็นอำนาจที่จะดำเนินการได้แล้ว การคุมขังผู้ร้องจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 90 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7116/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอปล่อยตัวจากการคุมขังมิชอบระงับเมื่อศาลออกหมายขังระหว่างพิจารณา
สิทธิในการร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายจะมีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจค้น จับกุมและคุมขังผู้ร้องโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้พนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นในความผิดที่ผู้ร้องอ้างว่าการค้น จับกุมและคุมขังโดยมิชอบนั้นแล้ว ศาลชั้นต้นประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ระหว่างพิจารณา ดังนั้นแม้การคุมขังโดยเจ้าพนักงานตำรวจจะมิชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงระงับ
การตรวจค้น จับกุมและการคุมขังผู้ร้องของเจ้าพนักงานตำรวจชั้นแรกเป็นขั้นตอนต่างหากจากการสอบสวน ทั้งการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาล ไม่ทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องทั้งเมื่อผู้ร้องถูกพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 58(4),71 และ 88ซึ่งเป็นอำนาจที่จะดำเนินการได้แล้ว การคุมขังผู้ร้องจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันเลือกใช้สิทธิได้ตามมาตรา 95 หรือ 96 หากใช้สิทธิแล้วสิทธิเดิมสิ้นสุด
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 และ 96 แสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ 2 วิธี วิธีแรก เจ้าหนี้มีประกันใช้สิทธิตามมาตรา 95 โดยถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น ดังนี้ กำหนดเวลาให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 จึงไม่มี และหากบังคับชำระหนี้เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้มีประกันย่อมหมดสิทธิขอรับชำระหนี้ที่ยังขาดอยู่จากทรัพย์สินอื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย วิธีที่สอง โดยเจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายภายใต้เงื่อนไขมาตรา 96 ซึ่งมีอยู่ 4 ประการในประการใดประการหนึ่ง
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินมายังไม่พอชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ และการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 ต้องยื่นภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 และ 96 แยกให้เห็นข้อแตกต่างในวิธีการขอรับชำระหนี้และข้อแตกต่างในผลของการใช้สิทธิมาตราใดมาตราหนึ่ง เจ้าหนี้มีประกันชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น เมื่อผู้ร้องเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกต่อไป
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย เพียงแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็น หลักประกันและจะต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งว่าให้ได้รับชำระหนี้หรือไม่ ดังนั้น คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านในคดีนี้ที่เคยอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 จึงไม่ถูกต้องแม้จะกลับมามีคำสั่งใหม่เป็นว่า ไม่อนุญาตในภายหลังซึ่งล่วงเลยมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี คำสั่งของผู้คัดค้านในครั้งก่อนและในครั้งหลังจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิของผู้ร้องตามกฎหมาย เพราะไม่ทำให้ผู้ร้องได้สิทธิหรือเสียสิทธิ เมื่อผู้ร้องได้ใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายตามมาตรา 96 แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันเลือกใช้สิทธิได้ระหว่างมาตรา 95 (สิทธิเหนือทรัพย์สิน) หรือมาตรา 96 (ขอรับชำระหนี้) แต่ใช้สิทธิแล้วสิทธิเดิมสิ้นสุด
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ 2 วิธี วิธีแรก เจ้าหนี้มีประกันใช้สิทธิตามมาตรา 95 โดยถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น และหากบังคับชำระหนี้เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้เจ้าหนี้มีประกันย่อมหมดสิทธิขอรับชำระหนี้ที่ขาดอยู่จากทรัพย์สินอื่นวิธีที่สอง เจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใต้เงื่อนไข 4 ประการ ประการใดประการหนึ่งตามมาตรา 96ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 และในคดีนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ขาดอยู่ได้ ซึ่งเจ้าหนี้มีประกันชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้ร้องเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96(3) แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95อีกต่อไป
การใช้สิทธิตามมาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียงแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และจะต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าหนี้มีประกันผู้เลือกใช้สิทธิตามมาตรา 95 ได้รับชำระหนี้หรือไม่ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่เคยอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6598/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมหลายกรรมต่างกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าแต่ละฉบับเป็นกรรมต่างกัน
ป.อ. มาตรา 91 มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ จริงอยู่ถ้ากระทำความผิดต่างวาระกัน จะต้องกระทำความผิดหลายกรรม แต่ไม่ได้หมายความว่า ในวันเดียวกันหรือวาระเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันจะเป็นความผิดหลายกรรมไม่ได้
ในทันทีที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีฉบับหนึ่งก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิสำเร็จแล้ว เพราะโดยสภาพของการกระทำจำเลยต้องแก้ไขจำนวนเงินในใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีดังกล่าวทีละฉบับ การกระทำของจำเลยแยกออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรม เมื่อจำเลยนำใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีที่ทำปลอมขึ้นดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้กระแสไฟฟ้าแต่ละราย จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมซึ่งเป็นความผิดหลายกรรม แต่จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารสิทธิดังกล่าวแล้วใช้เอกสารปลอมที่จำเลยปลอมขึ้น จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมในแต่ละกระทงตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6598/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมและใช้เอกสารสิทธิเพื่อหลอกลวงเอาทรัพย์สิน การกระทำหลายครั้งถือเป็นหลายกรรม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ แม้การกระทำความผิดต่างวาระกันจะต้องกระทำความผิดหลายกรรมก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าในวันเดียวกันหรือวาระเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันจะเป็นความผิดหลายกรรมไม่ได้ จำเลยได้ปลอมใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าและใบกำกับภาษีของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอันเป็นเอกสารสิทธิด้วยการแก้ไขตัวเลขจำนวนเงินค่าใช้กระแสไฟฟ้าที่แท้จริงให้เพิ่มขึ้นจำนวน39 ฉบับ ซึ่งใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าและใบกำกับภาษีปลอมดังกล่าวเป็นผู้ใช้กระแสไฟฟ้าต่างรายกัน แล้วจำเลยใช้เอกสารที่ทำปลอมขึ้นทั้งหมดไปเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้กระแสไฟฟ้าทั้ง 39 ราย เป็นเหตุให้ผู้ใช้กระแสไฟฟ้าทั้ง 39 ราย หลงเชื่อยอมจ่ายเงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วจำเลยนำส่วนที่เกินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต แม้จะไม่ได้ระบุว่าการกระทำผิดฐานใดกระทำในวันเวลาใดแต่ทันทีที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีฉบับหนึ่งก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิสำเร็จแล้ว เพราะโดยสภาพของการกระทำ การกระทำของจำเลยแยกออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมรวม 39 กระทงเมื่อจำเลยนำใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีที่ทำปลอมขึ้นดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้กระแสไฟฟ้าทั้ง 39 รายจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมรวม 39 กระทงเช่นกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารสิทธิดังกล่าวแล้วใช้เอกสารสิทธิที่จำเลยปลอมขึ้น จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมในแต่ละกระทงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง รวม 39 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่านาต้องเป็นไปตามขั้นตอน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ หากไม่ครบถ้วน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้จะฟังได้ว่าโจทก์ทั้งหกได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้จำเลยทั้งสองทราบโดยชอบแล้ว และส่งสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาดังกล่าวให้แก่กำนันตำบลท่าเสา ประธาน คชก. ตำบลท่าเสา ที่ซึ่งที่ดินพิพาทตั้งอยู่แล้วก็ตาม แต่ตามที่โจทก์ทั้งหกนำสืบมาไม่ปรากฏว่า คชก. ตำบลท่าเสา ได้มีการพิจารณาการบอกเลิกการเช่าตามหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ทั้งหกตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 บัญญัติไว้แต่อย่างใด การเช่าระหว่างโจทก์ทั้งหกกับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่สิ้นสุด โจทก์ทั้งหกไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5840/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนายิงอาวุธปืนเข้าใส่กุฏิโดยรู้มีคนอยู่ ย่อมเล็งเห็นผลถึงความตายได้ ถือเป็นความพยายามฆ่า
ตอนเช้าก่อนเกิดเหตุพระภิกษุ ว. กับพวกถูกจำเลยตำหนิว่าอยู่วัดแล้วจับกลุ่มคุยกันไม่ทำงานเดี๋ยวจะสาดกระสุนปืนใส่ไม่ให้เห็นหน้าญาติ แสดงว่าจำเลยไม่พอใจและมีความคิดจะทำอันตรายพระภิกษุ ว. กับพวกอยู่แล้ว เมื่อจำเลยเจตนาใช้อาวุธปืนยิงพระภิกษุ ว. จริง แม้จำเลยจะไม่มีเจตนาประสงค์ต่อผลให้พระภิกษุ ว. กับพวกถูกกระสุนปืนถึงแก่ความตาย แต่ปืนเป็นอาวุธร้ายแรง จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปที่กุฏิของพระภิกษุ ว. ซึ่งอยู่ห่างเพียง 20 เมตร โดยจำเลยรู้ว่าขณะนั้นมีคนอยู่ในกุฏิดังกล่าว จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกคนในกุฏิถึงแก่ความตายได้ เมื่อกระสุนปืนที่จำเลยยิงถูกผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5710/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดก: การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด ทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกได้แม้เกินอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกมิใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้กระทำไปในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นคดีมรดกไม่ใช่คดีจัดการมรดก
เมื่อข้อเท็จจริงยังมีที่ดินมรดกอีก 3 แปลงที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกยังไม่ได้จัดการแบ่งให้ทายาทแสดงว่าการจัดการมรดกยังอยู่ในระหว่างจัดการ เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นผู้แทนของทายาททั้งปวงโดยนำลักษณะตัวการตัวแทนมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทตาม มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1368 โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทชอบที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 ทั้งนี้ ตาม มาตรา 1748
of 25