พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีอาญา ม.157 ศาลวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว สิทธิฟ้องระงับ
ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโดยไม่นัดไต่สวนมูลฟ้อง หรือนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้อง หรือไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องก็ได้ทั้งสิ้น เพราะเป็นดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาให้คดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอที่จะวินิจฉัยชี้ขาดได้ และมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาไป ย่อมมีอำนาจกระทำได้
คดีอาญาเรื่องก่อน โจทก์และจำเลยทั้งแปดเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้โดยโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกระทำความผิดในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เช่นเดียวกับคดีนี้ซึ่งคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องว่า "การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าเป็นการไม่ชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต หรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่นที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไรพิพากษายกฟ้อง" เท่ากับศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วว่าการกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิด ซึ่งเป็นการยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำและมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว โจทก์ฟ้องคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คดีอาญาเรื่องก่อน โจทก์และจำเลยทั้งแปดเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้โดยโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกระทำความผิดในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เช่นเดียวกับคดีนี้ซึ่งคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องว่า "การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าเป็นการไม่ชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต หรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่นที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไรพิพากษายกฟ้อง" เท่ากับศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วว่าการกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิด ซึ่งเป็นการยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำและมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว โจทก์ฟ้องคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295-2296/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิภริยาในสินสมรส, ภาระหนี้สิน, และอำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก
การจัดการมรดกนั้นหาใช่ว่ามุ่งจะรับทรัพย์มรดกโดยถ่ายเดียวหาได้ไม่ หากผู้ตายมีหนี้สินก็มีหน้าที่ต้องรวบรวมทรัพย์มรดกใช้หนี้ด้วยเหลือจากการชำระหนี้เท่าใดจึงเป็นมรดกที่จะนำมาแบ่งกันได้ เหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายตกลงกันไม่ได้เพราะทางฝ่ายผู้ร้องจะรับเฉพาะทรัพย์สิน ส่วนที่เป็นหนี้สินจะให้ทางฝ่ายผู้คัดค้านเป็นผู้รับไปฝ่ายเดียว ฉะนั้น หากให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีปัญหาในการจัดการมรดก ประการแรกคือ ผู้ร้องไม่อาจทราบได้ว่าผู้ตายมีทรัพย์สินอะไรและอยู่ที่ใดบ้างและประการที่สองคือเจ้าหนี้ก็มุ่งที่จะทวงหนี้ต่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาร่วมรู้เห็นในการสร้างหนี้กันมาในระหว่างสมรส จึงย่อมไม่สะดวกต่อการจัดการทรัพย์มรดก ผู้คัดค้านจึงสมควรที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว