คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพัฒน์ บุญยุบล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบ ณ ภูมิลำเนาที่ถูกต้อง การปิดประกาศที่ภูมิลำเนาเดิมหลังย้ายที่อยู่แล้วไม่ชอบ
ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 แต่ละครั้งนั้นจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ดำเนินการขายทอดตลาดต้องแจ้งประกาศการขายให้จำเลยที่ 3 ทราบ เพื่อจำเลยที่ 3 จะได้มีโอกาสมาดูแลการขายรักษาผลประโยชน์ของตน ปรากฏว่ามีการประกาศขายทรัพย์ของจำเลยที่ 3 รวม 9 ครั้ง ทุกครั้งส่งประกาศให้จำเลยที่ 3 ที่บ้านเลขที่ 17/2 ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 3 หลังจากที่บ้านเลขที่ 17/2 ดังกล่าวถูกขายทอดตลาดไปแล้วจำเลยที่ 3 ย้ายที่อยู่ แม้จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องแจ้งการย้ายที่อยู่และที่อยู่ใหม่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 67 (3) หากฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจะทำให้จำเลยที่ 3 ยังคงมีภูมิลำเนาตามเดิมตลอดไป ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 3 ต้องเป็นไปตามหลักใน ป.พ.พ. ว่าด้วยภูมิลำเนา เมื่อการส่งประกาศการขายทอดตลาดทรัพย์กระทำเมื่อจำเลยที่ 3 ย้ายถิ่นที่อยู่ไปแล้ว และจำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นคนรับประกาศ และไม่ปรากฏว่าหลักจากการย้ายทะเบียนบ้านแล้วจำเลยที่ 3 ยึดถือบ้านเลขที่ 17/2 ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในเรื่องใด ดังนั้นขณะที่ปิดประกาศขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อให้จำเลยที่ 3 ทราบ ณ บ้านเลขที่ 17/2 นั้น จำเลยที่ 3 ไม่มีภูมิลำเนา ณ บ้านดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการปิดประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ ณ สถานที่ซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 3 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 ประกอบกับ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484-3485/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินแบ่งแยก: ที่ดินเดิมแปลงเดียวกัน แม้แบ่งแยกหลายทอดก็ยังคงสิทธิเรียกร้องได้
ที่ดินของจำเลยและของ บ. เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์ แม้จะแบ่งแยกออกจากที่ดินของโจทก์ เป็นของ บ. ก่อนแล้วจึงแบ่งแยกที่ดินของ บ. เป็นของจำเลยภายหลัง ก็ไม่ทำให้ที่ดินของจำเลยไม่ใช่ที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์มาแต่เดิมแต่อย่างใด ถือว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินที่มีการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจาก ที่ดินแปลงเดียวกัน เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางพิพาท เป็นทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นโดยหมายค้นที่ระบุบ้านเลขที่ผิด แต่ศาลพบว่าเป็นการตรวจค้นที่บ้านของจำเลยจริง ศาลฎีกาเห็นว่าการตรวจค้นชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยทั้งสี่นำสืบยอมรับว่าถูกจับกุมในห้องเช่าที่เกิดเหตุและเจ้าพนักงานตำรวจได้เมทแอมเฟตามีนเป็นของกลางจริง แม้จะปรากฏว่าห้องเช่าดังกล่าวเลขที่ 82/16 ไม่ใช่เลขที่ 105 ตามที่ระบุในหมายค้น แต่ตามหมายค้นดังกล่าวได้ระบุเหตุที่ขอออกหมายค้นว่า การสืบสวนทราบว่าที่บ้านจำเลยที่ 1 เลขที่ 105 ห้องเช่า มียาเสพติดให้โทษซุกซ่อนอยู่ในบ้านหรือบริเวณบ้านจึงขอให้ศาลออกหมายค้น โดยระบุชื่อและนามสกุลจำเลยที่ 1 ไว้ถูกต้องและร้อยตำรวจโท บ. ผู้จับกุมซึ่งเป็นผู้ขอออกหมายค้นดังกล่าวก็เบิกความระบุสาเหตุที่ระบุเลขที่บ้านในหมายค้นว่าบ้านเลขที่ 105 เพราะสายลับระบุเช่นนั้น เมื่อเข้าจับกุมจึงปรากฏว่าเป็นบ้านเลขที่ 82/16 จึงเป็นการขอออกหมายค้นเพื่อตรวจค้นบ้านจำเลยที่ 1 การระบุเลขที่บ้านผิดไม่ทำให้การตรวจค้นจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ การตรวจค้นโดยมีหมายค้นกรณีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมและการเพิกถอนสัญญาประนีประนอม ผู้โจทก์ต้องอุทธรณ์ตามกำหนด หากไม่ทำ ยื่นคำร้องเพิกถอนไม่ได้
โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยทั้งสอง และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อโจทก์เห็นว่าข้อตกลงตามสัญญายอมข้อใดไม่ชอบ ทำให้คำพิพากษาตามยอมไม่ชอบ เข้าข้อยกเว้นที่โจทก์สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คำพิพากษานั้นภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง การที่โจทก์ไม่อุทธรณ์แต่กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจ จึงไม่ชอบ การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์จึงชอบแล้ว เพราะกรณีของโจทก์เป็นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่โจทก์ขอให้เพิกถอน หาใช่เป็นอุทธรณ์ตามข้อยกเว้นของ ป.วิ.พ. มาตรา 138 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมต้องยึดเงื่อนไข ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง หากไม่ทำตาม จะไม่สามารถอุทธรณ์ได้
โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยทั้งสอง และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อโจทก์เห็นว่าข้อตกลงตามสัญญายอมข้อใดไม่ชอบ ทำให้คำพิพากษาตามยอมไม่ชอบ เข้าข้อยกเว้นที่โจทก์สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คำพิพากษานั้นภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง การที่โจทก์ไม่อุทธรณ์แต่กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจจึงไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์จึงชอบแล้ว เพราะกรณีของโจทก์เป็นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่โจทก์ขอให้เพิกถอนหาใช่เป็นอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมตามข้อยกเว้นของ ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมต้องกระทำภายในกำหนด หากเลยกำหนดต้องใช้วิธีอื่นที่ไม่ใช่การอุทธรณ์คำพิพากษา
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม หากโจทก์เห็นว่าข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อใดขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนทำให้คำพิพากษาตามยอมไม่ชอบ โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 (3) โดยโจทก์ต้องอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง คือภายใน 7 มีนาคม 2545 ตามมาตรา 229 แต่โจทก์หาได้อุทธรณ์ไม่ กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 โดยไม่มีบทกฎหมายใดให้โจทก์กระทำเช่นนั้นได้ การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ไว้วินิจฉัยด้วยเหตุดังกล่าวจึงชอบแล้ว เพราะกรณีของโจทก์เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่โจทก์ขอ มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมตามข้อยกเว้นของมาตรา 138 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย แม้เป็นหนี้มีเงื่อนไข หากมูลหนี้เกิดก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
บริษัท ส. ขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันบริษัทต่อบุคคลอื่นมีข้อตกลงว่าหากเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บุคคลอื่นแล้ว บริษัท ส. จะชดใช้ให้เจ้าหนี้โดยมีจำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันบริษัท ส. ดังนี้ แม้หนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 ทำไว้กับเจ้าหนี้จะเป็นหนี้ที่มีเงื่อนไข แต่มูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวล้วนเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงมีสิทธินำหนี้ที่มีเงื่อนไขดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจากหนังสือค้ำประกันที่มีเงื่อนไข แม้ยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้อง
ตามคำขอของ ส. ที่ขอให้ธนาคารเจ้าหนี้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกัน 20 ฉบับ มีข้อความเช่นเดียวกันว่า ธนาคารเจ้าหนี้ได้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อบุคคลภายนอกเพื่อเป็นประกันหนี้ของ ส. กำหนดเวลาค้ำประกัน 1 ปี ตั้งแต่วันออกหนังสือสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับเป็นต้นไป และปรากฏว่ามีหนังสือสัญญาค้ำประกัน 2 ฉบับ รวม 800,000 บาท เท่านั้นที่มีการเวนคืนหนังสือค้ำประกันแล้ว ส่วนหนังสือสัญญาค้ำประกันอีก 18 ฉบับ รวม 13,444,800 บาท ไม่ได้มีการยกเลิกสัญญาหรือเวนคืนหนังสือสัญญาค้ำประกัน ธนาคารเจ้าหนี้จึงยังคงผูกพันต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันจำนวน 18 ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคหนึ่ง แม้เจ้าหนี้ยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ธนาคารเจ้าหนี้ชำระหนี้แทน ส. ทั้งลูกหนี้ที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญาไว้กับธนาคารเจ้าหนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า หากธนาคารเจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แทน ส. ไป ลูกหนี้ที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ภายในวงเงินไม่เกิน 15,000,000 บาท ดังนี้ แม้หนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ลูกหนี้ที่ 2 ทำไว้กับธนาคารเจ้าหนี้จะเป็นหนี้ที่มีเงื่อนไข แต่มูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด ธนาคารเจ้าหนี้จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2543 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนผู้ต้องหาอายุ 16 ปี ก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 ถือชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20)ฯ มาตรา 6 บังคับใช้วันที่ 14 กันยายน 2542 อันเป็นเวลาภายหลังที่มีการสอบสวนจำเลยแล้ว ฉะนั้นการสอบสวนจำเลยซึ่งมีอายุ 16 ปี จึงไม่อยู่ในบังคับตาม พระราชบัญญัติดังกล่าว และไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญหรือทนายความหรือบิดามารดาหรือผู้ที่จำเลยไว้วางใจอันเป็นบุคคลที่จำเลยอ้างร่วมฟังการสอบสวน การสอบสวนจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาภาคราษฎร
คดีราษฎรฟ้องความอาญาต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคสาม ตอนท้าย บัญญัติว่า ก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น ในชั้นนี้จำเลยจึงไม่มีฐานะเป็นคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไปเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้
of 25