คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพัฒน์ บุญยุบล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง เนื่องจากยังไม่ได้เป็นคู่ความ
คดีราษฎรฟ้องความอาญาต่อศาล ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 165 วรรคสาม ตอนท้าย บัญญัติว่าก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น ในชั้นนี้จำเลยจึงไม่มีฐานะเป็นคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไป เป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะคู่ความจำเลยในคดีอาญา: ผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้ไต่สวนมูลฟ้องเพิ่มเติม
คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคสาม ตอนท้าย บัญญัติว่า ก่อนที่ศาลประทับฟ้อง มิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น ฉะนั้น ในชั้นนี้จำเลยจึงไม่มีฐานะเป็นคู่ความ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกรณีผิดสัญญาเช่า: ศาลชอบธรรมที่ห้ามเช่าช่วงเพื่อคุ้มครองสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาโดยนำทรัพย์สินไปให้ผู้อื่นเช่าช่วง และยังปลูกสร้างอาคารหรือยินยอมให้ผู้อื่นปลูกสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาต การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยมิให้นำทรัพย์สินของโจทก์ออกให้บุคคลอื่นเช่าช่วงและให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามจำเลยนำทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้องออกให้บุคคลอื่นเช่าช่วงจนกว่าคดีถึงที่สุด เป็นคำสั่งที่ออกภายในขอบเขตตามความจำเป็นเพื่อคุ้มครองโจทก์มิให้เสียหายจากการกระทำผิดสัญญาของจำเลยต่อไปจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ประกอบมาตรา 255

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีเช่า: ชอบด้วยกฎหมายหากคุ้มครองโจทก์จากการเช่าช่วงและการปลูกสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสิบเจ็ดและบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ แต่จำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะนำทรัพย์สินของโจทก์ดังกล่าวไปให้ผู้อื่นเช่าช่วง และยังปลูกสร้างอาคารหรือยินยอมให้ผู้อื่นปลูกสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์จึงยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสิบเจ็ดนำทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้องออกให้บุคคลอื่นเช่าช่วงจนกว่าคดีถึงที่สุด คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ออกภายในขอบเขตตามความจำเป็นเพื่อคุ้มครองโจทก์มิให้เสียหายจากการกระทำผิดสัญญาของจำเลยทั้งสิบเจ็ดต่อไป จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ประกอบมาตรา 255

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องมีหนี้ที่จำนวนแน่นอนและบังคับได้ตามลำดับก่อน
คำพิพากษาส่วนแพ่งในคดีอาญาที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นมูลหนี้ที่ให้จำเลยส่งมอบเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง หรือใช้ราคาเป็นเงิน 34,922 บาท แก่โจทก์ จึงมีลักษณะเป็นการกำหนดลำดับในการบังคับชำระหนี้ที่จำเลยจะปฏิบัติชำระหนี้โดยการใช้เงินจำนวน 34,922 บาท แก่โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการคืนเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง ไม่สามารถกระทำได้แล้วเท่านั้น การบังคับคดีตามคำพิพากษาส่วนแพ่งดังกล่าวจึงต้องเป็นไปตามลำดับ เมื่อทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใดเลยว่าเครื่องพิมพ์ดีดที่จำเลยจะต้องส่งคืนแก่โจทก์นั้นได้ถูกทำลายหรือบุบสลายไปแล้ว ซึ่งจะทำให้จำเลยไม่อาจคืนทรัพย์ดังกล่าวได้ หนี้ส่งมอบเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่องคืนแก่โจทก์ยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินราคาเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง พร้อมดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์จะมีสิทธิบังคับลำดับถัดมายังไม่อาจบังคับได้ จึงยังไม่อาจกำหนดได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3) โจทก์ไม่อาจนำหนี้เงินดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้บังคับชำระตามลำดับ: สิทธิเรียกร้องยังไม่ถึงกำหนดบังคับ จึงไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาจำเลยกับพวกและมีคำขอแทนผู้เสียหายคือโจทก์ในคดีนี้ให้จำเลยกับพวกร่วมกันคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด ศาลอาญามีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยกับพวกในความผิดฐานรับของโจรเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง และให้จำเลยกับพวกร่วมกันคืนหรือใช้ราคาเครื่องพิมพ์ดีดดังกล่าวเป็นเงิน 34,922 บาท แก่โจทก์ คำพิพากษาส่วนแพ่งในคดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดลำดับในการบังคับชำระหนี้ที่จำเลยจะปฏิบัติชำระหนี้โดยการใช้เงินจำนวน 34,922 บาท แก่โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการคืนเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง ไม่สามารถกระทำได้แล้วเท่านั้น การบังคับคดีตามคำพิพากษาส่วนแพ่งดังกล่าวจึงต้องเป็นไปตามลำดับ เมื่อจำเลยไม่เคยนำทรัพย์ที่รับของโจรไว้มาคืน โดยไม่ปรากฏว่าเครื่องพิพม์ดีดที่จำเลยจะต้องคืนแก่โจทก์นั้นได้ถูกทำลายหรือบุบสลายไปแล้ว ศึ่งจะทำให้จำเลยไม่อาจคืนทรัพย์ดังกล่าวได้เช่นนี้ หนี้ส่งมอบเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่องคืนแก่โจทก์ยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินราคาเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้องซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์ จะมีสิทธิบังคับลำดับถัดมายังไม่อาจบังคับได้ จึงไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) โจทก์ไม่อาจนำหนี้เงินดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากความผิดทางอาญาและอายุความค่าชดเชย แรงงานต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในอายุความ
ลูกหนี้เลิกจ้างเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2536 เจ้าหนี้จึงอาจบังคับเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว และหนี้ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีขึ้นเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาจ้างของลูกหนี้มิใช่เงินที่กำหนดจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานหรือต้องจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนแก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน หนี้ค่าชดเชยและสินค้าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่ค่าจ้างและไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ส่วนหนี้ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นเงินที่ลูกหนี้จะต้องจ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นสินจ้างตามมาตรา 575 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (9) เมื่อนับแต่วันที่ 30 มีนาคม 2536 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งเป็นวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความแล้ว ไม่อาจขอรับชำระหนี้เฉพาะหนี้ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
มีคนร้ายลักทรัพย์เงินสดจำนวน 93,013 บาท ของลูกหนี้ไป ลูกหนี้ได้มอบอำนาจให้พนักงานการเงินและบัญชีไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ผลจากการสืบสวนได้ตรวจพบรอยนิ้วมือและฝ่ามือแฝงของเจ้าหนี้ในที่เกิดเหตุ เจ้าพนักงานตำรวจจึงดำเนินคดีแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้จึงได้เลิกจ้างเจ้าหนี้ และต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องเจ้าหนี้ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในความผิดข้อหาลักทรัพย์การที่เจ้าหนี้ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาล้วนมีขึ้นจากดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานอัยการ การที่ลูกหนี้ร้องขอจนศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ลูกหนี้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการล้วนเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายไม่เป็นการละเมิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนสอบสวนแล้วดำเนินคดีแก่เจ้าหนี้ย่อมบ่งชี้และทำให้ลูกหนี้เข้าใจได้ว่าเจ้าหนี้เป็นผู้ลักทรัพย์ของลูกหนี้ไป ซึ่งเป็นเหตุอันสมควรที่ลูกหนี้จะเลิกจ้างเจ้าหนี้ได้ แม้ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้และศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง ก็ไม่มีผลทำให้การเลิกจ้างของลูกหนี้กลับเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นบทกฎหมายที่กำหนดให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในขณะมีการเลิกสัญญาจ้างแรงงาน มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้ดังเช่น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ไว้โดยชัดแจ้ง ศาลล้มละลายกลางกำหนดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 จึงชอบแล้ว
เมื่อลูกหนี้เลิกจ้างเจ้าหนี้ ลูกหนี้จะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่เจ้าหนี้ทันที เมื่อไม่จ่ายให้ ลูกหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป แต่สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังแต่วันยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องที่พ้นกำหนดอายุความดังกล่าวเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้มีการทวงถามก่อน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดดอกเบี้ยให้นับถัดจากวันยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิเรียกร้อง (Factoring) ไม่ใช่การประกอบธุรกิจเงินทุนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า "ธุรกิจเงินทุน" หมายความว่า ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง จำแนกประเภทได้ดังต่อไปนี้..." นั้น ย่อมมีความหมายว่าการประกอบธุรกิจเงินทุนต้องมีการจัดหาเงินทุนและกำหนดกิจการใช้เงินทุนไว้ 5 ประเภท ซึ่งทุกประเภทได้บัญญัติถึงกิจการการหาเงินทุนไว้คือ "กิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชน" ทั้งได้บัญญัติด้วยว่า "จัดหาเงินทุนจากประชาชน" หมายความรวมถึง กู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนด้วย ดังนี้ ความหมายของการประกอบธุรกิจเงินทุนที่จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ จะต้องเป็นธุรกิจที่มุ่งหมายจัดหาเงินทุนมาจากประชาชนทั่วไปโดยมิได้จำกัดว่าเป็นผู้ใด ดังนั้น แม้สัญญาขายโอนสิทธิเรียกร้อง (ในประเทศ) ที่เจ้าหนี้ทำกับบริษัท พ. จะมีข้อตกลงให้เจ้าหนี้ได้ประโยชน์มีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี หรือข้อตกลงอื่นๆ ที่ให้เจ้าหนี้ได้รับประโยชน์ก็ตามข้อตกลงเหล่านั้นก็เป็นข้อผูกพันระหว่างเจ้าหนี้กับบริษัท พ. เท่านั้น มิใช่การประกอบธุรกิจเงินทุนที่มุ่งหมายจัดหาเงินทุนจากประชาชนทั่วไป ทั้งมิได้เพิ่มภาระแก่ลูกหนี้ให้ต้องรับผิดยิ่งไปกว่าหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดต่อบริษัท พ. แต่อย่างใด ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย และแม้จะเป็นการตกลงซื้อขายสิทธิเรียกร้องที่จะมีขึ้นในอนาคตเป็นคราวๆ ไป ข้อตกลงเช่นนี้เป็นเพียงข้อผูกพันที่จะเลือกซื้อหรือขายสิทธิเรียกร้องในหนี้ในโอกาสข้างหน้าต่อไป มิใช่นิติกรรมซึ่งคู่สัญญาทำขึ้นเพื่ออำพรางการกู้ยืมเงิน และเป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอ – การขับไล่จากที่ดินควบคู่กับทาวน์เฮาส์ – ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เกินคำขอ
แม้คำขอท้ายฟ้องและคำขอท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดจะขอให้จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาท ไม่ได้ขอให้ขับไล่ออกจากที่ดินก็ตาม เมื่อบ้านพิพาทปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ทั้งสิบเอ็ดย่อมไม่ประสงค์ให้จำเลยและบริวารอยู่ในที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่พิพาทต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินด้วย ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและทาวน์เฮาส์หลังการไถ่ถอนจำนอง: เจ้าของเดิมโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่ระบุข้อยกเว้น ทำให้ทาวน์เฮาส์เป็นส่วนควบของที่ดิน
คำขอท้ายฟ้องและคำขอท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากทาวน์เฮาส์ที่พิพาท เมื่อทาวน์เฮาส์ปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ทั้งสิบเอ็ดย่อมไม่ประสงค์ให้จำเลยและบริวารอยู่ในที่ดินและทาวน์เฮาส์ต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินด้วย จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ว. ซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อ บ. เป็นเจ้าของ และได้จำนองที่ดินดังกล่าวเป็นประกันหนี้ไว้แก่ธนาคาร ว. นำที่ดินมาทำการจัดสรรและปลูกสร้างทาวน์เฮาส์จำหน่ายแก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ด ย. และจำเลย โดยจำเลยได้ชำระเงินบางส่วนแล้ว ต่อมา ว. ขาดสภาพคล่องทางการเงินไม่สามารถไถ่ถอนจำนองและโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ให้แก่ผู้ซื้อได้ จึงตกลงให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. เป็นผู้ไถ่ถอน แต่จำเลยปฏิเสธไม่ร่วมซื้อด้วย เมื่อไถ่ถอนจำนองแล้ว ว. จึงดำเนินการให้ บ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. เป็นเจ้าของโดยไม่ได้ระบุว่าไม่รวมทาวน์เฮาส์ ทาวน์เฮาส์ททั้งหมดจึงเป็นส่วนควบของที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. แม้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จะไม่มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดที่ดิน แต่เมื่อโจทก์ที่ 3 เป็นสามีโจทก์ที่ 11 และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ช่วยออกเงินในการไถ่ถอนจำนอง โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินและทาวน์เฮาส์
จำเลยมิได้มีนิติสัมพัมธ์กับโจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. แต่มีนิติสัมพันธ์กับ ว. จึงเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกับ ว. ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ทั้งสิบเอ็ดได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว การที่จำเลยไม่ออกไปจึงเป็นละเมิด โจทก์ทั้งสิบเอ็ดจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่
of 25