คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพัฒน์ บุญยุบล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7455/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา: การได้ตัวจำเลยมาศาลต้องเป็นไปตามกระบวนการ และการแต่งตั้งทนายความยังไม่ถือเป็นการได้ตัว
คดีโจทก์ขาดอายุความวันที่ 6 ธันวาคม 2549 ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองภายในกำหนดอายุความแล้วก็ตาม แต่โจทก์จะต้องได้ตัวจำเลยทั้งสองมาศาลภายในวันสุดท้ายของกำหนดอายุความคือ ภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2549 ด้วย การที่จำเลยแต่งตั้งทนายความเข้าซักค้านพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เป็นการใช้สิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคท้าย และจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะจำเลย จึงมิใช่เป็นการได้ตัวจำเลยมาศาล
จำเลยที่ 1 มาศาลโดยการนำมาของทนายโจทก์ มิใช่มาศาลเพราะทราบว่าถูกฟ้องและมาตามหมายเรียกโดยมีเจตนาที่จะมาให้การรับหรือปฏิเสธข้อกล่าวหาของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการได้ตัวจำเลยที่ 1 มาศาล และการที่ศาลออกหมายจับจำเลยที่ 2 ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการได้ตัวจำเลยที่ 2 มาศาลแล้วเช่นกันเพราะมิฉะนั้นจะมีผลทำให้อายุความในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ขยายออกไปยาวนานกว่าคดีที่ราษฎรร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินรุกล้ำที่สาธารณะ/ที่ป่า เจ้าพนักงานที่ดินออกเอกสารสิทธิมิชอบ ผู้ขายต้องรับผิดค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสมคบกับเจ้าพนักงานที่ดินกระทำการโดยทุจริต ใช้วิธีการให้จำเลยยื่นคำร้องขอรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลย และรังวัดรวมเอาที่ดินนอกเขตหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่จำเลยไม่มีสิทธิครอบครอง มารวมกับที่ดินเดิมแล้วแก้ไขเพิ่มจำนวนเนื้อที่ดินในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้มากขึ้นโดยไม่ชอบ จากนั้นจำเลยนำที่ดินมาขายให้แก่โจทก์โดยหลอกลวงว่าเป็นที่ดินที่จำเลยเป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์หลงเชื่อจึงรับซื้อไว้และจ่ายเงินค่าที่ดินให้จำเลยไปแล้วเป็นการฉ้อโกงโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินแก่โจทก์ ดังนี้เป็นการฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์และเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิด มิใช่การฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายที่ดิน จึงไม่มีข้อต้องพิจารณาว่าโจทก์มีส่วนผิดในการทำสัญญาหรือเข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินจากจำเลยโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ เมื่อการทำละเมิดเกิดจากการทุจริตฉ้อโกงของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้มีส่วนสมรู้หรือยินยอมให้จำเลยกระทำการทุจริตดังกล่าว จึงไม่อาจถือว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต ทั้งจำเลยไม่อาจอ้างเหตุผลใดที่จะไม่ต้องคืนทรัพย์สินที่หลอกลวงไปคืนแก่โจทก์เพราะบุคคลผู้ทุจริตหามีสิทธิที่จะได้ประโยชน์จากการทุจริตหรือการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของตนไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยมีเนื้อที่จริงเพียง 22 ไร่ 1 งาน จำเลยสมคบกับเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดินของจำเลยโดยรังวัดรวมเอาที่ป่าที่จำเลยไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์เนื้อที่ 33 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา รวมเข้าเป็นเนื้อที่ดินที่รังวัดได้ใหม่แล้วแก้ไขรูปแผนที่และจำนวนเนื้อที่ดินในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็น 55 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา การรังวัดและแก้ไขเนื้อที่ดินดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะที่ดินส่วนที่รังวัดเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นที่ป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) เนื่องจากเป็นที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดินหรือยังไม่มีการออกเอกสารสิทธิในที่ดินให้แก่บุคคลใด และเป็นที่ดินที่จำเลยไม่มีสิทธิครอบครองอยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่ได้เข้าทำประโยชน์อยู่จริง จึงไม่มีสิทธิที่จะขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินส่วนนี้ได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคสอง การรังวัดและแก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ไม่ชอบดังกล่าวย่อมไม่ทำให้จำเลยได้สิทธิครอบครองหรือก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ที่ดินส่วนดังกล่าวยังคงเป็นที่ดินของรัฐอยู่เช่นเดิม การที่จำเลยอ้างต่อโจทก์ว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินส่วนนี้ด้วยทั้งที่รู้อยู่ว่าไม่เป็นความจริงและนำมาหลอกขายให้โจทก์ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยคืนเงินค่าที่ดินเฉพาะส่วนที่รังวัดเพิ่มขึ้นโดยไม่ชอบนั้นแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกองทุนรวมซื้อหนี้สถาบันการเงินที่ถูกระงับ – การลงทุนไม่ขัดกฎหมายหลักทรัพย์
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้ออกหนังสือรับรองว่า ได้รับจดทะเบียนกองทรัพย์สินของโครงการจัดการกองทุนรวมโจทก์เป็นกองทุนรวมตามมาตรา 124 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการกองทุนรวมดังกล่าว โดยหนังสือรับรองนี้ได้ออก ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2543 อันแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่ากองทุนรวมโจทก์เพิ่งจดทะเบียนหลังจากที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มีผลใช้บังคับแล้ว หาใช่จัดตั้งขึ้นก่อนที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับไม่ โจทก์มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงิน ส่วนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด เป็นนิติบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทกิจการจัดการการลงทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ การที่โจทก์โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด ซื้อสินทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัทเงินทุนจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) นั้นก็อยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัทและการบริหารหนี้ดังกล่าวของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด ก็อยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด ที่จะดำเนินการได้เพราะตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด ก็ระบุวัตถุประสงค์ไว้ว่าเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการจัดการการลงทุนและประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการจัดการกองทุนรวมส่วนบุคคล และตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 124 วรรคสอง ก็ระบุวัตถุประสงค์ของกองทุนรวมไว้ว่า กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วให้เป็นนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมไปลงทุน โดยในการจัดการกองทุนรวมได้บัญญัติไว้ในมาตรา 125 ว่า บริษัทหลักทรัพย์จะต้องดำเนินการจัดการกองทุนรวมอย่างไรบ้าง โดยมีข้อห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 126 ดังนี้ การจัดตั้งกองทุนรวมโจทก์จึงเป็นการจัดตั้งขึ้นภายหลังจากที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ใช้บังคับแล้ว เพื่อซื้อและรับโอนทรัพย์สินของบริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือดำเนินการได้และทรัพย์สินถูกนำออกขายทอดตลาดโดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เพื่อชำระบัญชี การที่โจทก์โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด ซื้อสินทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาสินเชื่อ สัญญากู้ ตราสารหนี้ และสิทธิเรียกร้องอื่น ๆ ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ต่าง ๆ ที่ถูกระงับการดำเนินการตามคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังดังกล่าวซึ่งมีบริษัทเงินทุนธนสินธุ์ จำกัด อยู่ด้วย จากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 เพื่อนำหนี้ที่ซื้อมานั้นมาบริหารจัดการโดยให้บริษัทบางกอกแคปปิตอลอันไลแอนซ์ จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการ จึงอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์เพราะการซื้อสินทรัพย์และสินเชื่อธุรกิจดังกล่าวนั้นจัดว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งและการดำเนินของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินของกองทุนรวมโจทก์ก็มิได้กระทำการอันเป็นการขัดต่อมาตรา 126 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ที่บัญญัติห้ามไว้แต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดกในการส่งมอบโฉนดที่ดินจากจำเลยเพื่อดำเนินการแบ่งมรดก มิใช่การบังคับให้จำเลยจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล จะจัดการทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทซึ่งผู้ตายกับจำเลยเป็นเจ้าของรวม โจทก์ติดต่อสำนักงานที่ดินเพื่อให้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ตายในโฉนดที่ดินให้เป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้โจทก์นำต้นฉบับโฉนดที่ดินและจำเลยต้องมาด้วยโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบ แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินส่วนของผู้ตายเป็นชื่อโจทก์ มิฉะนั้นให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย แต่การจะขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในโฉนดที่ดินดังกล่าวนั้น เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้โจทก์นำเอกสารมาแสดงให้ครบถ้วน คือ โฉนดที่ดินพิพาทเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มิได้แจ้งให้โจทก์ต้องนำตัวจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทมาที่สำนักงานที่ดินด้วย ทั้งตาม ป.ที่ดิน ฯ มาตรา 82 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน ฯ บัญญัติให้โจทก์ต้องนำคำสั่งศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกและโฉนดที่ดินมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้นำโฉนดที่ดินมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จึงมีเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถจดทะเบียนตามความประสงค์ของโจทก์ได้ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าพนักงานที่ดิน มิได้เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ต้องไปที่สำนักงานที่ดินในฐานะเจ้าของรวมด้วย เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินพิพาท แต่ไม่ยินยอมส่งมอบให้โจทก์ โจทก์จึงไม่สามารถดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายในโฉนดที่ดินแทนผู้ตายถือเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ในการทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์ เพื่อโจทก์จะได้นำไปแสดงเป็นหลักฐานต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ให้ดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกในโฉนดที่ดินพิพาทแล้วโจทก์จะได้ดำเนินการแบ่งมรดกของผู้ตายให้แก่ทายาทของผู้ตายต่อไปเท่านั้น โจทก์หามีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจากผู้ตายเป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำขอท้ายฟ้องได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2396/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถแทรกเตอร์: ศาลไม่ผูกพันคำวินิจฉัยคดีอาญา ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน
คำวินิจฉัยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น ที่วินิจฉัยว่ารถแทรกเตอร์เป็นกรรมสิทธิ์ของ ว. (จำเลยคดีนี้) เป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและไม่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์รถแทรกเตอร์ว่าเป็นของจำเลย จึงไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 คดีนี้ศาลล่างทั้งสองจะต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนคดีเป็นสำคัญ จะถือเอาข้อเท็จจริงซึ่งยุติในคดีก่อนมาผูกมัดให้ศาลวินิจฉัยคดีนี้ตามนั้นหาได้ไม่ ข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานส่วนหนึ่งซึ่งศาลอาจใช้ประกอบการพิจารณาคดีนี้เท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยคดีนี้โดยไม่ถือตามข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐละเมิด: ฟ้องหน่วยงานได้ แต่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรงไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 เป็นเจ้าหน้าที่ขนส่ง กระทำการโดยทุจริต โดยร่วมกับคนร้ายเพื่อจะนำรถยนต์นั้นไปหลอกขายให้แก่ผู้อื่นหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่ตรวจสอบหลักฐานให้ละเอียดว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือเอกสารปลอม และรับจดทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวทั้งสองคราว เห็นได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 ดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการทั้งสิ้นไม่ว่าจะกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ หากเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์กรณีต้องด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ โจทก์จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ได้เท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 ให้ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
ฎีกาของโจทก์มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ คงฟ้องได้แต่จำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่จำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 สังกัดอยู่นั้น ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยเหตุผลใดและที่ถูกต้องเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้และการร่วมรับผิดของจำเลย การพิสูจน์การโอนสินทรัพย์และหนี้สิน
จำเลยที่ 1 ให้การยอมรับว่าได้กู้เงินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ น. ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 13 จริง ซึ่งตรงกับหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.15 ทั้งรับว่าได้ชำระคืนแก่ผู้ให้กู้ดังกล่าวตลอดมาเพียงแต่ชำระไม่ครบจำนวนตามที่ตกลงกัน ชำระไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดในสัญญาและต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 หรือเป็นลายมือชื่อปลอมเท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เงินดังกล่าว เป็นลายมือชื่อที่แท้จริง ของจำเลยที่ 1 มิใช่ลายมือชื่อปลอมแล้ว แม้จำเลยที่ 3 จะได้ยกข้อต่อสู้ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญากู้เงินดังกล่าว ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 หรือเป็นลายมือชื่อปลอมก็ตาม ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 3 จะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามที่ยกขึ้นให้การต่อสู้ไว้ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบโดยแถลงไม่ขอสืบพยาน ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงฟังไม่ได้
หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ผู้กู้ โดยไม่มีลายมือชื่อของบริษัทเงินทุน น. ผู้ให้กู้อยู่ด้วย จึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง แม้จะมีข้อความว่าหนังสือสัญญากู้เงิน เอกสารดังกล่าวก็มิใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอากรแสตมป์ลักษณะ 5 แต่อย่างใด หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ ตามความหมายของมาตรา 653 วรรคหนึ่งแล้ว ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ น. ไปตามฟ้องโดยไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนผิดกฎหมาย: ความผิดกรรมเดียว, การริบของกลาง, และการรอการลงโทษ
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ในครอบครองต้องระวางโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานมีอาวุธปืนมีเครื่องหมายทะเบียนของผู้อื่นที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้และเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 72 วรรคสาม และวัตถุที่ต้องห้ามทั้งสองกรณีดังกล่าวกฎหมายถือว่าเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน โดยบัญญัติบทความผิดกับบทลงโทษในบทมาตราเดียวกัน เมื่อจำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธปืนทั้งสองประเภทในขณะเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกเป็นความผิดแต่ละกรรมโดยชัดแจ้งและขอให้ลงโทษทุกกรรมกับจำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่ทำให้การกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาวุธปืน-ซองกระสุน: การครอบครองซองกระสุนเกิน 20 นัดเป็นความผิด ฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่ออกใบอนุญาต
ซองกระสุนเป็นอาวุธปืนตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4 (1) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2491) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ข้อ 1 (4) แม้ซองกระสุนชนิดบรรจุกระสุนได้ 15 นัด และ 30 นัด เป็นซองกระสุนที่สามารถบรรจุกระสุนได้เกินกว่า 10 นัด อันเป็นซองกระสุนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2491) ข้อ 2 (12) ซึ่งเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 ตามฟ้องโจทก์ แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามีกฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2552) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 กำหนดให้ซองกระสุนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ต้องเป็นซองกระสุนที่สามารถบรรจุกระสุนได้เกิน 20 นัด จึงถือได้ว่าตามบทบัญญัติดังกล่าวที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีซองกระสุนชนิดบรรจุกระสุนได้ 15 นัด ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง จำเลยคงมีความผิดฐานมีอาวุธปืน (ซองกระสุนชนิดบรรจุกระสุนได้ 30 นัด) ที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง สำหรับซองกระสุนชนิดบรรจุกระสุนได้ 30 นัด ของกลาง เป็นซองกระสุนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ผู้ใดมีไว้ย่อมเป็นความผิด ซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 32 บัญญัติให้ริบเสียทั้งสิ้น จึงต้องริบซองกระสุนชนิดบรรจุกระสุนได้ 30 นัด ของกลาง ตามบทบัญญัติดังกล่าว
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ในครอบครองต้องระวางโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 72 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานมีอาวุธปืนมีเครื่องหมายทะเบียนของผู้อื่นที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้และเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 72 วรรคสาม และวัตถุที่ต้องห้ามทั้งสองกรณีดังกล่าว กฎหมายถือว่าเป็นวัตถุประเภทเดียวกันโดยบัญญัติบทความผิดกับบทลงโทษในบทมาตราเดียวกัน เมื่อจำเลยมีไว้ในครอบครองในขณะเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกเป็นความผิดแต่ละกรรมโดยชัดแจ้งและขอให้ลงโทษทุกกรรมกับจำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่ทำให้การกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่สมบูรณ์ (ไม่มีลายมือชื่อ) และการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดพลาด ทำให้ศาลฎีกายกฟ้อง
คำขอท้ายฟ้องโจทก์เป็นเอกสารที่ถ่ายสำเนาจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียงและผู้พิมพ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) หากศาลชั้นต้นตรวจพบข้อผิดพลาดดังกล่าวก็จะใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 สั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้องหรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้องได้ แต่ถ้าศาลชั้นต้นสั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้ว การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาพิพากษาคดีจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์
of 25