คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 236

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ เกินกำหนด 7 วัน คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ห้ามฎีกา
จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแต่เฉพาะบางส่วน จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองที่ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกิน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง โดยอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 คู่ความจะฎีกาต่อไปอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์: คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีข้อความโต้แย้งคำพิพากษาของศาชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6709/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย ศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องเนื่องด้วยเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ผู้ร้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ดังกล่าว และเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้อง โดยเห็นว่าอุทธรณ์ของผู้ร้องเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 มีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลชั้นต้นเมื่อได้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และผลของการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เรื่องกำหนดเวลา
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่จะตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ แต่เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้ส่งอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่าคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวยื่นเกินกำหนดและให้ยกอุทธรณ์ จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9407/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์: หน้าที่ของศาลชั้นต้นในการส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์
กรณีที่คู่ความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งโดยไม่ชักช้า โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่จะตรวจสั่งไม่รับคำร้องเช่นว่านั้นเหมือนอย่างชั้นสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นเกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 234 เสียเอง โดยไม่ได้ส่งไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาสั่งจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9407/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์: บทบาทหน้าที่ศาลชั้นต้นและการยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ซึ่งกรณีนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นส่งคำร้องเช่นนี้ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งโดยไม่ชักช้า โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ จะตรวจสั่งไม่รับคำร้องเช่นว่านั้นเหมือนอย่างชั้นสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเสียเองย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาจึงให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์เสีย แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยเสียทีเดียวโดยไม่ต้อง ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง และเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์เกินกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์ จึงไม่อาจรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9276/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่วางค่าฤชาธรรมเนียมในการอุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลปฏิเสธรับอุทธรณ์และไม่มีสิทธิฎีกา
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยมิได้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์ อ้างว่าได้ขอทุเลาการบังคับคดีไว้แล้ว ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ไม่สามารถขอทุเลาการบังคับได้ ให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 สั่งยกคำร้อง ดังนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นมีผลเป็นการปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นได้เปิดโอกาสให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดอีกครั้งหนึ่ง โดยให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลภายใน 15 วัน แต่จำเลยยังคงยืนยันปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดดังกล่าวด้วย การยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นคัดค้านคำสั่งปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยืนยันไม่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียม แต่ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้เท่านั้น หาได้มีคำขอประการอื่นไม่ ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ย่อมมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 จำเลยไม่มีสิทธิที่จะฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9276/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่วางค่าฤชาธรรมเนียมในการอุทธรณ์ ทำให้ศาลปฏิเสธการรับอุทธรณ์ และคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
คำสั่งศาลชั้นต้นมีผลเป็นการปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์พร้อมคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลยที่ยื่นด้วยเหตุที่จำเลยไม่ยอมนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดศาลชั้นต้นได้เปิดโอกาสให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง โดยให้จำเลยนำเงินมาวางภายใน 15 วัน แต่จำเลยยังคงยืนยันปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามด้วยการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นคัดค้านคำสั่งปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีนั้นต่อศาลอุทธรณ์ยืนยันไม่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียม และขอให้ศาลอุทธรณ์สั่งรับอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลยไว้ ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ย่อมมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการอุทธรณ์ การแก้ไขข้อบกพร่อง และผลของการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมี ส. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทน แต่ในใบแต่งทนายความของโจทก์ไม่ได้ระบุให้ ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ จึงเป็นกรณีที่ ส. ลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขอำนาจของ ทนายความ หรือจะสั่งไม่รับอุทธรณ์ก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้น สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเหตุที่ผู้ลงชื่อในอุทธรณ์ไม่มี อำนาจเป็นทนายความของโจทก์นั้น จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 พร้อมกับยื่นใบแต่งทนายความใหม่ที่ให้อำนาจทนายโจทก์ในการ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อโจทก์แก้ไขอำนาจของทนายความโจทก์ ให้มีอำนาจโดยชอบในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้วคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป จึงเท่ากับว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องที่ ไม่ถูกต้องนั้นอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและการรับอุทธรณ์ กรณีหน่วยงานราชการมีขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบ
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 และมาตรา 229 บัญญัติให้จำเลยผู้อุทธรณ์ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลที่จะต้องเสียในการอุทธรณ์ และค่าธรรมเนียมที่จะต้องชำระให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งค่าทนายความที่ศาลสั่ง มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ก็ตาม แต่หากมีพฤติการณ์พิเศษจำเลยทั้งสองย่อมยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 วันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าขึ้นศาล และวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าขึ้นศาล และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย พร้อมกันไปในวันเดียวกัน ล้วนยังอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ และยังไม่ครบกำหนดอุทธรณ์ในวันที่ 7 มีนาคม 2540 ตามที่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ เหตุนี้แม้ศาลชั้นต้นเห็นว่าการเบิกจ่ายเงินค่าฤชาธรรมเนียมชักช้าเนื่องมาจากความบกพร่องในวิธีการเบิกจ่ายเงินที่มีขั้นตอนไม่เหมาะสมและไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขอขยายระยะเวลาได้ก็ตามแต่ย่อมแสดงให้เห็นได้อยู่ในตัวเช่นกันว่าจำเลยมิได้จงใจ ที่จะฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางในวันยื่นอุทธรณ์ประกอบกับยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลา อุทธรณ์ดังกล่าวเช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ยื่นไว้ยังมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลชั้นต้นก็ควรให้โอกาสแก่จำเลยชำระหรือวางเงิน ดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาอุทธรณ์ซึ่งยังจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่จำเลยที่มิได้จงใจที่จะไม่ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเสียทีเดียวและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนโดยมิได้ให้โอกาสจำเลยก่อนนั้นเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าในวันที่ 17 มีนาคม 2540 จำเลยได้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์จำนวน 200,000 บาท และค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางต่อศาลชั้นต้นจนครบถ้วนแล้วศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์และให้ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาล ในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยนำมาวาง กับให้รับอุทธรณ์ของจำเลย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไปได้
of 11