คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 236

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4572/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ชัดเจน, ประเด็นข้อพิพาท, และข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นใหม่
จำเลยให้การว่าโจทก์ร่วมทำผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงจึงบอกกล่าวเลิกสัญญานั้น คำให้การของจำเลยไม่มีรายละเอียดข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมทำผิดสัญญาอย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีไม่มีประเด็นเรื่องนี้ และจำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ ที่จำเลยอ้างรายละเอียดคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของโจทก์คำร้องดังกล่าวของโจทก์ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำให้การ ไม่ทำให้การจำเลยชัดแจ้งขึ้นมาได้ทั้งสำเนาเอกสารหมายเลข 3 ท้ายคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของโจทก์นั้นลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542 เป็นข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยจึงยกขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. 236
ศาลชั้นต้นสั่งในคำคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของโจทก์ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 ว่า รับรวม เท่ากับศาลชั้นต้นไม่เพิกถอนประเด็นข้อพิพาท ถือว่าศาลชั้นต้นได้ชี้ขาดคำคัดด้านของโจทก์ก่อนวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคท้าย เมื่อศาลชั้นต้นโดยองค์คณะผู้พิพากษาที่ได้รับสำนวนต่อมาเห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้เดิมไม่ถูกต้องศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลเห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ในคำพิพากษาได้
จำเลยไม่ได้ให้การในเรื่องหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมเกิดขึ้นโดยการสมยอมกัน โจทก์ไม่มีอำนาจฟัอง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพ้นกำหนดและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จึงไม่รับคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์พ้นกำหนด 15 วัน ทั้งมิได้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามมาตรา 234 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง จึงมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน และสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ใช้แทน
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรจากการประเมินของโจทก์ซึ่งถึงที่สุดแล้วเป็นจำนวนเงิน 3,094,123.24 บาท ต่อมาโจทก์ตรวจพบและทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาเป็นเงินประมาณ384,610 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2 ยังมิได้ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์จึงให้นายอำเภอเมืองนครปฐมมีหนังสือแจ้งอายัดหนี้ดังกล่าวไปยังจำเลยทั้งสองและเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยห้ามจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้โจทก์และไม่ยอมบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งจำเลยที่ 2 ก็ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 และแก่โจทก์ แต่ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 1 ตกเป็นลูกหนี้จำเลยที่ 2ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 214,750 บาท จำเลยที่ 2จึงยื่นคำให้การขอหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษาคดีทั้งสองดังกล่าวในคดีนี้ ดังนี้เมื่อจำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วซึ่งกันและกันและเป็นหนี้เงินเหมือนกัน ทั้งเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดจะชำระแล้วด้วยกันจึงเป็นหนี้ที่สามารถนำมาหักกลบลบกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่จะต้องชำระให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1ไม่ใช้สิทธิบังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ จึงขอใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ในนามของโจทก์เพื่อบังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 233 ซึ่งตามมาตรา 236 จำเลยมีข้อต่อสู้ลูกหนี้เดิมอยู่อย่างใด ๆ ย่อมจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ทั้งนั้น เว้นแต่ข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยื่นฟ้องแล้ว ในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้จำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 2 จึงยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่กับจำเลยที่ 1ขึ้นต่อสู้โจทก์ โดยขอหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 และ 342 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษา และสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ใช้บังคับคดี
จำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วซึ่งกันและกันและเป็นหนี้เงินเหมือนกันทั้งเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดจะชำระแล้วด้วยจึงเป็นหนี้ที่สามารถนำมาหักกลบลบกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่1เป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่จะต้องชำระให้โจทก์แต่จำเลยที่1ไม่ใช้สิทธิบังคับเอาแก่จำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่1เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์จึงขอใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่1ในนามของโจทก์เพื่อบังคับเอาแก่จำเลยที่2เช่นนี้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา233และในกรณีเช่นนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา236กำหนดให้จำเลยที่มีข้อต่อสู้ลูกหนี้เดิมอยู่อย่างใดๆจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ทั้งนั้นเว้นแต่ข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยื่นฟ้องแล้วปรากฏว่าจำเลยที่1เป็นลูกหนี้ของจำเลยที่2ตามคำพิพากษาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่2จึงยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่กับจำเลยที่1ขึ้นต่อสู้โจทก์โดยขอหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341และ342ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ต่างมีหนี้ซึ่งกันและกัน และการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้โดยเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรจากการประเมินของโจทก์ซึ่งถึงที่สุดแล้วเป็นจำนวนเงิน 3,094,123.24 บาท ต่อมาโจทก์ตรวจพบและทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 2ตามคำพิพากษาเป็นเงินประมาณ 384,610 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2ยังมิได้ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์จึงให้นายอำเภอเมืองนครปฐมมีหนังสือแจ้งอายัดหนี้ดังกล่าวไปยังจำเลยทั้งสองและเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยห้ามจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้โจทก์และไม่ยอมบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2ให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งจำเลยที่ 2 ก็ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 และแก่โจทก์ แต่ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 1ตกเป็นลูกหนี้จำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 214,750 บาท จำเลยที่ 2 จึงยื่นคำให้การขอหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษาคดีทั้งสองดังกล่าวในคดีนี้ ดังนี้เมื่อจำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วซึ่งกันและกันเป็นหนี้เงินเหมือนกัน ทั้งเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดจะชำระแล้วด้วยกันจึงเป็นหนี้ที่สามารถนำมาหักกลบลบกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่จะต้องชำระให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1ไม่ใช่สิทธิบังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ จึงขอให้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ในนามของโจทก์เพื่อบังคับเอาแก่จำเลยที่ 2เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ซึ่งตามมาตรา 236 จำเลยมีข้อต่อสู้ลูกหนี้เดิมอยู่อย่างใด ๆ ย่อมจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ทั้งนั้น เว้นแต่ข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยื่นฟ้องแล้ว ในคดีนี้ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้จำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 2 จึงยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่กับจำเลยที่ 1ขึ้นต่อสู้โจทก์ โดยขอหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 และ 342 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการหักกลบลบหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ต่างมีหนี้สินซึ่งกันและกัน
จำเลยที่1เป็นหนี้ค่าภาษีอากรจากการประเมินของโจทก์ซึ่งถึงที่สุดแล้วเป็นจำนวนเงิน3,094,123.24บาทต่อมาโจทก์ตรวจพบและทราบว่าจำเลยที่1เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่2ตามคำพิพากษาเป็นเงินประมาณ384,610บาทซึ่งจำเลยที่2ยังมิได้ชำระให้แก่จำเลยที่1โจทก์จึงให้นายอำเภอเมืองนครปฐมมีหนังสือแจ้งอายัดหนี้ดังกล่าวไปยังจำเลยทั้งสองและเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยห้ามจำเลยที่2ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวให้แก่จำเลยที่1แต่จำเลยที่1ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้โจทก์และไม่ยอมบังคับคดีแก่จำเลยที่2ให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาทั้งจำเลยที่2ก็ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1และแก่โจทก์แต่ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยที่1ตกเป็นลูกหนี้จำเลยที่2ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ214,750บาทจำเลยที่2จึงยื่นคำให้การขอหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษาคดีทั้งสองดังกล่าวในคดีนี้ดังนี้เมื่อจำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วซึ่งกันและกันเป็นหนี้เงินเหมือนกันทั้งเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดจะชำระแล้วด้วยกันจึงเป็นหนี้ที่สามารถนำมาหักกลบลบกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่1เป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่จะต้องชำระให้โจทก์แต่จำเลยที่1ไม่ใช่สิทธิบังคับเอาแก่จำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่1เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์จึงขอให้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่1ในนามของโจทก์เพื่อบังคับเอาแก่จำเลยที่2เช่นนี้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา233ซึ่งตามมาตรา236จำเลยมีข้อต่อสู้ลูกหนี้เดิมอยู่อย่างใดๆย่อมจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ทั้งนั้นเว้นแต่ข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยื่นฟ้องแล้วในคดีนี้ปรากฎว่าจำเลยที่1เป็นลูกหนี้จำเลยที่2ตามคำพิพากษาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่2จึงยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่กับจำเลยที่1ขึ้นต่อสู้โจทก์โดยขอหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341และ342ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การประเมิน การอุทธรณ์ และการฟ้องร้อง ส่งผลต่อการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลยื่นรายการเสียภาษีเงินได้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ทำให้จำนวนเงินค่าภาษีขาดไปต้องถือว่าหนี้ค่าภาษีที่ขาดไปนี้ได้ถึงกำหนดชำระแล้ว ตั้งแต่วันที่โจทก์ผู้เสียภาษีเงินได้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65, 68 และ 69 คือภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ภาษีรายพิพาทเป็นภาษีเงินได้สำหรับระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2495 ถึง 2500 ซึ่งถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2496, 30 พฤษภาคม 2497, 30 พฤษภาคม 2498, 29 พฤษภาคม 2499, 30 พฤษภาคม 2500 และ 30 พฤษภาคม 2501 ตามลำดับ อายุความจึงเริ่มนับจากวันครบกำหนดชำระของแต่ละปีเป็นต้นไป เพราะเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งคำสั่งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้เพิ่มเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2505 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีได้จนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี และการที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งคำสั่งประเมินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่าดีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ถ้าผู้ต้องเสียภาษีไม่เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษี เพื่อนำเงินมาชำระค่าภาษีอากรค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินยอมเป็นเหตุให้อายุความสุดุดหยุดลง ส่วนการที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2515 นั้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งประเมินเรียกเก็บภาษีเป็นเพียงข้อวินิจฉัยว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้องหรือไม่เท่านั้น จะนับอายุความจากวันครบกำหนดชำระภาษีจนถึงวันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าเกิน 10 ปี ขาดอายุความหาได้ไม่ และกรณีที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินดังกล่าว ทั้งฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีนี้สืบเนื่องกันมา ถือได้ว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรจำเลยที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้รายพิพาทจึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 167
เงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระให้แก่กรมสรรพากรจำเลยไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินและกรมสรรพากรจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ ซึ่งฝ่ายจำเลยถือว่ามีสิทธิเรียกเก็บได้ตามกฎหมาย และโต้เถียงเช่นนั้นตลอดมา ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าภาษีดังกล่าวคืน จึงไม่ใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันอยู่ในบังคับที่จะใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์ได้เสียภาษีเพิ่มสำหรับรอบระยะบัญชี 2495 และ 2496 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โดยจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ แต่ต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มน้อยกว่าที่ชำระไปแล้ว โจทก์จึงชำระภาษีเกินกว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเป็นเงิน 727,340.86 บาท ดังนี้ กรมสรรพากรจำเลยต้องคืนเงินภาษีจำนวนที่โจทก์ชำระเกินไปดังกล่าวให้โจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้นำภาษีที่โจทก์ชำระเกินไว้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่โจทก์จะต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2497 และ 2498 ได้ เพราะประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติให้อำนาจไว้เช่นที่บัญญัติในมาตรา 18 ทวิ, 60 ทวิ คือให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการและภาษีที่เรียกเก็บ
ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษี และการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ ทั้งสิทธิเรียกร้องในหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่จะหักกลบลบหนี้กันไม่ได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้จำนองที่ไม่จดทะเบียน: สิทธิในการต่อสู้คดีกับเจ้าหนี้
ผู้จำนองชำระเงินให้แก่ผู้รับจำนองแล้ว แต่ไม่ได้จดทะเบียนการชำระหนี้นั้น ผู้จำนองจะยกการชำระหนี้นั้นขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ของผู้รับจำนองไม่ได้
อ้างฎีกาที่ 1034/2479