คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 232

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่วางค่าฤชาธรรมเนียมในการอุทธรณ์ ทำให้ศาลชอบที่จะไม่รับอุทธรณ์ หรือพิพากษายกอุทธรณ์ได้
ศาลชั้นต้นพิจารณาโดยขาดนัด จำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์โดยมิได้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์ซึ่งเป็นความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ในชั้นตรวจอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7582/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล มิใช่เหตุให้จำหน่ายคดี ศาลควรสั่งไม่รับอุทธรณ์
เมื่อโจทก์ทั้งสามยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ให้ครบถ้วนภายใน 7 วัน แม้โจทก์ทั้งสามจะเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง โจทก์ทั้งสามก็กระทำได้เพียงใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาเท่านั้น แต่ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสาม แต่การที่ศาลชั้นต้นกลับส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 สั่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้สั่งจำหน่ายคดีโดยเห็นว่า โจทก์ทั้งสามทิ้งฟ้องอุทธรณ์นั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7175/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการแต่งทนายความ ทำให้ฎีกาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องฎีกาของจำเลยมี ส.ทนายความ เป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกา ผู้เรียงและผู้พิมพ์ โดย ส.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยโดยมิได้มีคำสั่งให้ ส.ยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาให้ถูกต้องเสียก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 232 และมาตรา 18 กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา เมื่อปรากฏว่าจำเลยทิ้งฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174จึงเป็นการล่วงเลยเวลา ที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7175/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบเนื่องจากทนายความมิได้ยื่นใบแต่งทนายความ และจำเลยทิ้งฎีกา ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องฎีกาของจำเลยมี ส. ทนายความ เป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกา ผู้เรียงและผู้พิมพ์ โดย ส. มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยโดยมิได้มีคำสั่งให้ ส. ยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาให้ถูกต้องเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 และมาตรา 18กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา เมื่อปรากฏว่าจำเลยทิ้งฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 จึงเป็นการล่วงเลยเวลา ที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8745/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการดำเนินคดีอุทธรณ์ การไม่ปฏิบัติตามระเบียบการยื่นคำคู่ความ และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณา
คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ในคดีแพ่ง มี ก.ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ แต่ ก.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความให้ ก.มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ย่อมเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในชั้นตรวจรับคำคู่ความศาลชั้นต้นผู้ตรวจชอบที่จะสั่งแก้ไขเสียให้ถูกต้องหรือไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18แต่ศาลชั้นต้นกลับรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อมา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการเขียนและยื่นคำคู่ความ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขตามที่กล่าวได้ แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฎีกาและแต่งตั้ง ก.เป็นทนายความของโจทก์และให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก แต่เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8745/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากทนายความมิได้ยื่นใบแต่งทนาย ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาใหม่ตามลำดับชั้น
คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ในคดีแพ่ง มี ก. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แต่ ก. มิได้ยื่นใบแต่งทนายความให้ ก. มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ย่อมเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในชั้นตรวจรับคำคู่ความศาลชั้นต้นผู้ตรวจชอบที่จะสั่งแก้ไขเสียให้ถูกต้องหรือไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่ศาลชั้นต้นกลับรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อมา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการเขียนและยื่นคำคู่ความ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขตามที่กล่าวได้ แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฎีกาและแต่งตั้ง ก. เป็นทนายความของโจทก์และให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก แต่เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการพิจารณาฎีกาและการสั่งรับฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา: ศาลต้องกำหนดให้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนสั่งรับหรือไม่
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง ขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาและคำร้องขอฟ้อง ฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะ พิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสีย โดยไม่ต้องไต่สวนคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสาม แต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลย นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้น เห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระ จึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องและศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกา ของจำเลยเสียใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาฎีกาและการสั่งรับหรือไม่รับฎีกา: ความถูกต้องตามขั้นตอนและอำนาจศาล
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาและคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสียโดยไม่ต้องไต่สวนคำร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคสามแต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระจึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18 ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) (2) ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยเสียใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการฎีกา การพิจารณาคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา และการสั่งรับ/ไม่รับฎีกาต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกา และคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่ง ศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้อง ขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสียโดยไม่ต้องไต่สวนคำร้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสามแต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระจึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องและศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยเสียใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการอุทธรณ์ การแก้ไขข้อบกพร่อง และผลของการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมี ส. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทน แต่ในใบแต่งทนายความของโจทก์ไม่ได้ระบุให้ ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ จึงเป็นกรณีที่ ส. ลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขอำนาจของ ทนายความ หรือจะสั่งไม่รับอุทธรณ์ก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้น สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเหตุที่ผู้ลงชื่อในอุทธรณ์ไม่มี อำนาจเป็นทนายความของโจทก์นั้น จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 พร้อมกับยื่นใบแต่งทนายความใหม่ที่ให้อำนาจทนายโจทก์ในการ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อโจทก์แก้ไขอำนาจของทนายความโจทก์ ให้มีอำนาจโดยชอบในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้วคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป จึงเท่ากับว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องที่ ไม่ถูกต้องนั้นอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
of 11