คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 156

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 287 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสาบานตัวเพื่อดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ต้องทำด้วยตนเอง ห้ามมอบอำนาจ
ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง กำหนดให้ผู้ฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาต้องสาบานตัวด้วยตนเอง จึงมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาสาบานตัวแทนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11996/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและการไกล่เกลี่ยในคดีทรัพย์สินทางปัญญา ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
การไกล่เกลี่ยเป็นการใช้อำนาจของศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 30 ประกอบด้วยข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ ข้อ 27 (1) แม้จะไม่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ศาลได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยในวันดังกล่าวตามที่ศาลนัดไว้หรือไม่ ก็หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถานั้นเนื่องจากคำร้องดังกล่าวเป็นคำขอจึงตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 และมาตรา 21 เมื่อคดียังอยู่ในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและคู่ความทุกฝ่ายมาศาล ประกอบกับจำเลยทั้งสองได้ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของจำเลยที่ 2 โดยมีการนำจำเลยที่ 2 เข้าตอบคำถามค้านและคำถามติงถือว่าคู่ความทุกฝ่ายได้มีโอกาสดำเนินคดีเกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวในระหว่างที่ศาลออกนั่งพิจารณาคดีแล้วกระบวนพิจารณาของศาลจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9200/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลเรื่องค่าธรรมเนียมศาลต้องทำภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์แล้วมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 3 ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วน จำเลยที่ 3 มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์พ้นกำหนดเวลา 7 วันแล้วจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและอุทธรณ์คำสั่งเป็นอุทธรณ์อย่างหนึ่งซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะตรวจอุทธรณ์และมีคำสั่งให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นไปยังศาลอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์คำสั่งแก่จำเลยที่ 3 จึงเป็นการตรวจและมีคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 232 คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9081/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออุทธรณ์ค่าธรรมเนียมศาล: การพิจารณาคำร้องขออนาถาใหม่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบในวันนัดไต่สวน เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของโจทก์แล้วว่าโจทก์มิใช่คนยากจนจะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ หาได้ไม่ เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์โดยมิได้สืบพยานโจทก์ เมื่อพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคำขออนาถาใหม่ที่โจทก์อ้างว่าเป็นการยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง มิใช่การยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องนั้นใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ แล้ว เห็นได้ว่าขัดแย้งกับข้อความในคำร้องดังกล่าวที่ต้องการให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของโจทก์ไว้ไต่สวนใหม่ โดยอ้างว่าโจทก์มิได้จงใจไม่นำพยานมาสืบในวันนัดไต่สวน แม้โจทก์จะอ้างในตอนท้ายของคำร้องด้วยว่าโจทก์เป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ แต่ก็เป็นการอ้างเพื่อยืนยันให้ศาลเห็นว่าโจทก์เป็นคนยากจนเท่านั้น ข้อความที่อ้างมีเนื้อความเดียวกับคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาฉบับเดิมทุกประการ โจทก์มิได้อ้างเหตุอะไรขึ้นใหม่ คำร้องของโจทก์จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์ต้องยื่นมาพร้อมอุทธรณ์และสาบานตัวให้คำชี้แจงว่าโจทก์ไม่มีทรัยพ์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ เว้นแต่ว่าโจทก์ตกเป็นคนยากจนลงภายหลัง พฤติการณ์ของโจทก์แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าโจทก์ต้องยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์ใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ หาใช่เป็นการยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตามมาตรา 156 วรรคหนึ่งไม่ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวได้และไม่มีความจำเป็นต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ตามที่นัดไว้อีกต่อไป ก็ชอบที่จะมีคำสั่งงดการไต่สวนและยกคำร้องของโจทก์เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะคนอนาถา: การเลือกใช้สิทธิ และผลของการอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยเพราะจำเลยมิใช่คนยากจน หากจำเลยไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวจำเลยมีสิทธิที่จะดำเนินการตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าบัญญัติไว้ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนหรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งแม้จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้เลือกอุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จำเลยก็จะกลับมาขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอพิจารณาคำร้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาหลังอุทธรณ์คำสั่งศาลแล้ว ถือเป็นการใช้สิทธิอย่างหนึ่งไปแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย หากจำเลยไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว จำเลยมีสิทธิที่จะดำเนินการตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าบัญญัติไว้ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน หรืออุทธรณ์คำสั่งชั้นต้นที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งแม้จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่เมื่อจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้าแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จำเลยก็จะกลับมาขอให้ศาลพิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5448/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการตามขอเป็นคนอนาถา: การงดสืบพยานและผลกระทบต่อการดำเนินคดี
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์และยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้อง จำเลยทั้งสามทราบวันนัดไต่สวนคำร้องโดยชอบแล้วไม่มาศาล และไม่ขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลย เมื่อจำเลยไม่นำพยานมาสืบจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนอนาถา ให้จำเลยทั้งสามนำค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน 15 วันนั้น เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของจำเลยทั้งสามแล้วว่า จำเลยทั้งสามไม่ใช่คนอนาถา จะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสาม คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5247/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิขอรับรองเป็นคนยากจน (อนาถา) ในชั้นอุทธรณ์ ต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด แม้กฎหมายจะไม่ได้กำหนดไว้
คดีนี้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้ว เห็นว่า จำเลยมิใช่คนยากจนถึงขนาดไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ได้ จึงมีคำสั่งยกคำร้องพร้อมกับมีคำสั่งว่าหากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ต่อไปให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมภายใน 7 วัน ซึ่งก็หมายถึงว่านับแต่วันที่มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของจำเลยได้ คือนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดกรณีหนึ่ง หรือยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกกรณีหนึ่ง เมื่อจำเลยใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลัง แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้กำหนดระยะเวลาให้ยื่นคำร้องไว้ แต่เมื่อการใช้สิทธิดำเนินการในกรณีแรก คือการนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระ จะต้องนำมาชำระภายใน 7 วัน ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลังตามบทบัญญัติดังกล่าวก็จะต้องดำเนินการคือยื่นคำร้องภายใน 7 วัน ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นการใช้สิทธิเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของจำเลยเหมือนกัน เมื่อจำเลยใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยใหม่เมื่อพ้น 7 วัน นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้อง กรณีเช่นนี้มิใช่เรื่องที่ศาลล่างทั้งสองศาลนำกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิการยื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า มาปรับแก่คดีของจำเลยซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอนาถาหลังยื่นอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเด็ดขาด, ฎีกาไม่ได้, ค่าฤชาธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลย ด้วยเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ตอนท้าย จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลอุทธรณ์อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต้องยื่นพร้อมอุทธรณ์ มิฉะนั้นคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นคำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ตอนท้าย จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลอุทธรณ์ต่อไป
of 29