คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 156

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 287 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งศาลและการปฏิบัติตามคำสั่ง กรณีไม่อนุญาตดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสอง หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมศาลและเงินที่จะต้องชำระ มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้น ถือว่าไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป แต่คู่ความไม่ไปศาลในวันที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำสั่ง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้งดการอ่านและให้ถือว่าได้อ่านคำสั่งให้คู่ความฟังโดยชอบแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) วรรคสอง เช่นนี้ถือว่าจำเลยทั้งสองได้ทราบคำสั่งศาลที่ให้นำค่าธรรมเนียมและเงินที่จะต้องชำระมาวางศาล ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่งสั่งในคราวเดียวกันนั่นเอง ดังนั้นจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมและเงินที่จะต้องชำระมาวางศาลทราบอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7310/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาล: ทราบคำสั่งแล้วถือว่าเริ่มนับเวลา แม้ศาลมิได้แจ้ง
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน15 วัน ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าจำเลยทั้งสามไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายหลังจากวันยื่นอุทธรณ์และไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบก็ตามแต่การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ แสดงว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้วถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดสิบห้าวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 จึงเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ส่วนการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องนั้น หามีผลทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของจำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7310/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ การแจ้งผลคำสั่ง และผลของการยื่นคำร้องเพิ่มเติม
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน 15 วัน ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าจำเลยทั้งสามไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายหลังจากวันยื่นอุทธรณ์และไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบก็ตาม แต่การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ แสดงว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดสิบห้าวันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234 จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 จึงเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ส่วนการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องนั้น หามีผลทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของจำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอย่างคนอนาถา: การอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลต้องส่งไปยังศาลฎีกา และการพิจารณาฐานะยากจนของผู้ขอ
จำเลยที่ 1 ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาแล้ว จำเลยที่ 1อาจยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคท้าย เพราะเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยที่1กลับอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ ซึ่งศาลอุทธรณ์ชอบที่จะส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องนั้นจึงไม่ชอบปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),246 และ 247ให้เพิกถอนคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งยกคำร้อง แม้จำเลยที่ 1 จะอยู่ในฐานะลำบาก กิจการที่ดำเนินการอยู่ต้องลดสัดส่วนและต้องนำรายได้มาเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างประมาณ 100 คน มีหนี้สินถูกฟ้องหลายคดีทุนทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านบาทหลักทรัพย์ถูกยึดเป็นประกันหนี้จำนองและมีราคาลดลง กับจำเลยที่ 1 ยังมีภาระอุปการะเลี้ยงดูบุตรก็ตาม แต่จำเลยที่ 1ก็ยังดำเนินกิจการมีรายได้ตลอดจนมีทรัพย์สินอยู่ ประกอบกับในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้จึงยังไม่เป็นที่พอใจว่าจำเลยที่ 1เป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา: การพิจารณาความยากจนและฐานะทางการเงินของผู้ขอ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาของจำเลยแล้ว จำเลยต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคท้าย เพราะเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ กรณีเช่นนี้ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งต่อไป ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องเสียเอง จึงไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 และ 247โดยให้เพิกถอนคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งยกคำร้องดังกล่าว
จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งพอถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกา เพราะจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาภายในกำหนดแล้ว ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลยให้
แม้ขณะยื่นฎีกาจำเลยจะอยู่ในฐานะลำบาก กิจการที่ดำเนินการอยู่ต้องลดสัดส่วนและต้องนำรายได้มาเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ทั้งมีหนี้สินถูกฟ้องหลายคดี ทุนทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านบาท หลักทรัพย์ถูกยึดเป็นประกันหนี้จำนองและมีราคาลดลง และจำเลยยังมีภาระอุปการะเลี้ยงดูบุตรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยังดำเนินกิจการมีรายได้ ตลอดจนมีทรัพย์สินอยู่ ประกอบกับในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ กรณีจึงยังไม่เป็นที่พอใจว่าจำเลยเป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา ถ้าจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีในชั้นฎีกาต่อไป ก็ให้นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในเวลาที่ศาลฎีกากำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอย่างคนอนาถา: การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาต และการพิจารณาฐานะทางการเงินของผู้ขอ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใน ชั้นฎีกาของจำเลยแล้ว จำเลยต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาภายใน กำหนด เจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้ายเพราะเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบกรณีเช่นนี้ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งต่อไป ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องเสียเอง จึงไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247 โดยให้เพิกถอนคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งยกคำร้องดังกล่าว
จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งพอถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้น อันเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกา เพราะจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ดำเนินคดี อย่างคนอนาถาภายในกำหนดแล้ว ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ของจำเลยให้ แม้ขณะยื่นฎีกาจำเลยจะอยู่ในฐานะลำบาก กิจการที่ดำเนินการอยู่ต้องลดสัดส่วนและต้องนำรายได้มาเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ทั้งมีหนี้สินถูกฟ้อง หลายคดี ทุนทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านบาท หลักทรัพย์ถูกยึดเป็นประกันหนี้จำนอง และมีราคาลดลง และจำเลยยังมีภาระอุปการะเลี้ยงดูบุตรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยังดำเนินกิจการ มีรายได้ ตลอดจนมีทรัพย์สินอยู่ ประกอบกับในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็สามารถเสียค่าธรรมเนียม ศาลได้ กรณีจึงยังไม่เป็นที่พอใจว่าจำเลยเป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาถ้าจำเลยประสงค์จะ ดำเนินคดีในชั้นฎีกาต่อไป ก็ให้นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระต่อศาลชั้นต้น ภายในเวลาที่ศาลฎีกากำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาฎีกาและคำร้องขอเป็นคนอนาถา: ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาค่าธรรมเนียมก่อนสั่งรับหรือไม่รับฎีกา
จำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณา คดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และ ยื่นคำร้องขอฟ้องฎีกา อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาและคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่าง คนอนาถาว่า รอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีม่รับรองให้ฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นจึงสั่งในคำฟ้องฎีกาว่า ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีมีคำสั่งว่า ไม่มีเหตุสมควร ที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ไม่รับรองฎีกา ให้ยกคำร้องแล้ว จึงไม่รับฎีกาของจำเลยส่วนคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีไม่รับรอง ให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว จึงไม่จำต้องไต่สวน ดังนี้คำสั่ง ศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ชอบแล้วเพราะเมื่อเห็นว่าจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ก็ชอบที่สั่งยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสีย โดยไม่ต้องไต่สวนคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม แต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลย นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดก่อนเมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระจึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ศาลชั้นต้นยัง ไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการฎีกา การพิจารณาคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา และการสั่งรับ/ไม่รับฎีกาต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกา และคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่ง ศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้อง ขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสียโดยไม่ต้องไต่สวนคำร้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสามแต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระจึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องและศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยเสียใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาฎีกาและการสั่งรับหรือไม่รับฎีกา: ความถูกต้องตามขั้นตอนและอำนาจศาล
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาและคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสียโดยไม่ต้องไต่สวนคำร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคสามแต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระจึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18 ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) (2) ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยเสียใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการพิจารณาฎีกาและการสั่งรับฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา: ศาลต้องกำหนดให้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนสั่งรับหรือไม่
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง ขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาและคำร้องขอฟ้อง ฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะ พิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสีย โดยไม่ต้องไต่สวนคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสาม แต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลย นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้น เห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระ จึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องและศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกา ของจำเลยเสียใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม
of 29