คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับบำเหน็จตกทอด: ต้องได้รับการอุปการะตลอดมา และความตายทำให้เดือดร้อนจริง จึงมีสิทธิ
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 4 ที่กำหนดบทนิยามผู้อยู่ในอุปการะว่า "ผู้ที่ได้อยู่ในความอุปการะของผู้ตายตลอดมา โดยจำเป็นต้องมีผู้อุปการะ และความตายของผู้นั้นทำให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ" มีความหมายว่า ผู้ที่จะได้รับบำเหน็จตกทอดจะต้องได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลจากผู้ตายตลอดเวลา และความตายของผู้นั้นทำให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ
โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านของบิดามารดาตั้งแต่เกิดตลอดมาโดยอาศัยรวมอยู่กับพี่คนอื่น ๆ หลังจากบิดามารดาถึงแก่ความตายแล้ว โจทก์ก็คงอยู่ที่บ้านหลังดังกล่าว แม้ต่อมาศาลแพ่งธนบุรีจะมีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของ พ. ก็เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของบิดามารดาและเงินฝากของโจทก์ในธนาคารเท่านั้น หามีผลทำให้ พ. เปลี่ยนฐานะเป็นผู้ให้ความอุปการะโจทก์ไม่ นอกจากนี้เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย ช. ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญและเป็นผู้พิทักษ์ของโจทก์ตามคำสั่งศาลแทน พ. กับ ส. ซึ่งพักอาศัยอยู่ด้วยกันและพี่คนอื่น ๆ ก็ยังช่วยกันดูแลให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์ตามปกติอยู่เช่นเดิม โจทก์จึงไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ โจทก์จึงมิได้เป็นผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับบำเหน็จตกทอดต้องปรากฏการช่วยเหลือเกื้อกูลและเดือดร้อนจากการขาดอุปการะ
ตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ มาตรา 4 ได้กำหนดบทนิยามผู้อยู่ในอุปการะให้หมายความว่า "ผู้ที่ได้อยู่ในความอุปการะของผู้ตายตลอดมาโดยจำเป็นต้องมีผู้อุปการะ และความตายของผู้นั้นทำให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ" ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ที่จะได้รับบำเหน็จตกทอดจะต้องได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ที่เป็นหลักดูแลให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์ตลอดมาคือ ร. แม้ต่อมาศาลจะมีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของ พ. ก็เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของบิดามารดาและเงินฝากของโจทก์ในธนาคารเท่านั้น หามีผลให้ พ. เปลี่ยนฐานะเป็นผู้ให้ความอุปการะโจทก์ไม่ นอกจากนี้เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย ร. ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญและเป็นผู้พิทักษ์ของโจทก์ตามคำสั่งศาลแทน พ. กับ ส. ซึ่งพักอาศัยอยู่ด้วยกันและพี่คนอื่น ๆ ก็ยังช่วยกันดูแลให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์ตามปกติอยู่เช่นเดิม เพียงแต่ขาดความช่วยเหลือในส่วนของ พ. ไปบ้างเท่านั้น โจทก์จึงไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ พ. ผู้ตาย ตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4628/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายจากเงินบำเหน็จออกจากงานตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ออกจากงานเพราะครบเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2524 นายจ้างของโจทก์จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานให้โจทก์เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2524 เป็นเงิน 94,140 บาทครั้นวันที่ 5 มกราคม 2525 จ่ายเงินบำเหน็จเพราะโจทก์ออกจากงานให้อีก 545,358.25 บาท ไม่ปรากฏว่านอกจากนี้นายจ้างยังจ่ายเงินให้โจทก์เป็นรายเดือนอันมีลักษณะเป็นเงินบำนาญอีก เงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ทั้งหมดดังกล่าวเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์เพียงครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานชอบที่จะหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังมิได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการ และจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังมิได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการและจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบำเหน็จตกทอดของบุตรที่ศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้คำพิพากษาเกิดขึ้นหลังการเสียชีวิตของบิดา
มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่14) พ.ศ. 2526ต้องตีความว่า บุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก่อนวันที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับ ย่อมมีสิทธิเรียกร้องและฟ้องเรียกบำเหน็จตกทอดในฐานะทายาทผู้มีสิทธิเมื่อ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับแล้ว โดยที่ก่อนที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับหามีสิทธิเช่นนั้นไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์เรียกร้องบำเหน็จตกทอดจากจำเลยและขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่14) พ.ศ. 2526ใช้บังคับ และเด็กชาย ธ. บุตรผู้ตายเป็นทายาทผู้มีสิทธิตามมาตรา 4 แล้ว เด็กชาย ธ. จึงมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดกรณีนี้หาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายมีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบำนาญพิเศษของบุตรที่ศาลรับรองโดยคำพิพากษา แม้ก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่14) พ.ศ.2526 โดยทั่วไปมิได้มีผลใช้บังคับย้อนหลัง แต่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2526 อันเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงมีผลย้อนหลังเฉพาะกรณีตามมาตรา 9 ในเรื่องการให้รวมเงินพิเศษรายเดือนสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิดเข้ากับเงินเดือนเดือนสุดท้ายเพื่อการคำนวณบำเหน็จบำนาญเท่านั้น
ตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(ฉบับที่14) พ.ศ2526 บุตรซึ่งมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับย่อมมีสิทธิเรียกร้องและฟ้องเรียกบำนาญพิเศษในฐานะทายาทผู้มีสิทธิเมื่อพระราชบัญญัตินี้ให้บังคับแล้ว
ขณะโจทก์เรียกร้องบำนาญพิเศษจากจำเลยและขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่14) พ.ศ.2526ใช้บังคับและโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับใช้ของ พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2526 และสิทธิบำนาญพิเศษของบุตรที่ศาลมีคำพิพากษา
เงินเพิ่มพิเศษมีผลใช้บังคับในการรวมเป็นเงินเดือนสุดท้ายตามพ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2526 มาตรา 9มีผลใช้บังคับย้อนหลังตั้งแต่วันประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษพ.ศ. 2521 มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวต้องตีความว่า บุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก่อนวันที่พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับย่อมมีสิทธิเรียกร้องและฟ้องเรียกบำนาญพิเศษในฐานะทายาทผู้มีสิทธิเมื่อ พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับแล้วกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายมีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบำนาญพิเศษของบุตรที่ได้รับการรับรองโดยคำพิพากษาศาลภายหลัง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2526
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่14) พ.ศ.2526 โดยทั่วไปมิได้มีผลใช้บังคับย้อนหลัง แต่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2526 อันเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงมีผลย้อนหลังเฉพาะกรณีตามมาตรา 9 ในเรื่องการให้รวมเงินพิเศษรายเดือนสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิดเข้ากับเงินเดือนเดือนสุดท้ายเพื่อการคำนวณบำเหน็จบำนาญเท่านั้น
ตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่14) พ.ศ.2526 บุตรซึ่งมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับย่อมมีสิทธิเรียกร้องและฟ้องเรียกบำนาญพิเศษในฐานะทายาทผู้มีสิทธิเมื่อพระราชบัญญัตินี้ให้บังคับแล้ว
ขณะโจทก์เรียกร้องบำนาญพิเศษจากจำเลยและขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่14) พ.ศ.2526 ใช้บังคับและโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอยู่ในความอุปการะของผู้อื่นเพื่อสิทธิประโยชน์ทางบำเหน็จบำนาญ พิจารณาจากพฤติการณ์และฐานะทางเศรษฐกิจ
บ. ผู้ตายซึ่งเป็นปู่ของโจทก์ได้เลี้ยงดูช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์มาตั้งแต่โจทก์อายุ 7 เดือน จน บ. ถึงแก่กรรม บ. มีอำนาจส่งโจทก์ไปอยู่กับผู้อื่น ณ ที่ใดก็ได้ ยามใดมีโอกาสเลี้ยงดูโจทก์ด้วยตนเองก็รับโจทก์มาอยู่ด้วย ไม่เคยส่งโจทก์ไปอยู่กับบิดาโจทก์ถือได้ว่าโจทก์อยู่ในอุปการะของ บ. ตลอดมา โดยโจทก์จำเป็นต้องมีผู้อุปการะเพราะบิดาโจทก์ฐานะไม่ดี มารดาก็ทอดทิ้งมิได้เหลียวแล ความตายของ บ. ทำให้โจทก์เดือดร้อนเพราะขาดอุปการะโจทก์จึงเป็นผู้อยู่ในอุปการะของ บ. ผู้ตายตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ มาตรา 4 และมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอดตาม มาตรา 44 โดยอนุโลม
โจทก์ขอรับเงินสงเคราะห์ตกทอด จำเลยปฏิเสธการจ่าย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยปฏิเสธการจ่าย ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด
of 2