คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ม. 44

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับบำเหน็จตกทอด: ต้องได้รับการอุปการะตลอดมา และความตายทำให้เดือดร้อนจริง จึงมีสิทธิ
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 4 ที่กำหนดบทนิยามผู้อยู่ในอุปการะว่า "ผู้ที่ได้อยู่ในความอุปการะของผู้ตายตลอดมา โดยจำเป็นต้องมีผู้อุปการะ และความตายของผู้นั้นทำให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ" มีความหมายว่า ผู้ที่จะได้รับบำเหน็จตกทอดจะต้องได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลจากผู้ตายตลอดเวลา และความตายของผู้นั้นทำให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ
โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านของบิดามารดาตั้งแต่เกิดตลอดมาโดยอาศัยรวมอยู่กับพี่คนอื่น ๆ หลังจากบิดามารดาถึงแก่ความตายแล้ว โจทก์ก็คงอยู่ที่บ้านหลังดังกล่าว แม้ต่อมาศาลแพ่งธนบุรีจะมีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของ พ. ก็เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของบิดามารดาและเงินฝากของโจทก์ในธนาคารเท่านั้น หามีผลทำให้ พ. เปลี่ยนฐานะเป็นผู้ให้ความอุปการะโจทก์ไม่ นอกจากนี้เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย ช. ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญและเป็นผู้พิทักษ์ของโจทก์ตามคำสั่งศาลแทน พ. กับ ส. ซึ่งพักอาศัยอยู่ด้วยกันและพี่คนอื่น ๆ ก็ยังช่วยกันดูแลให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์ตามปกติอยู่เช่นเดิม โจทก์จึงไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ โจทก์จึงมิได้เป็นผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินสงเคราะห์ตกทอด: 'กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา' หมายถึงการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ยังไม่จบ
คำว่า "กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา" ในมาตรา 49 แห่งพระราชบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 หมายถึง การศึกษาต่อจากชั้นเตรียมอุดมศึกษา แต่ยังไม่จบชั้นอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี โจทก์ร่วมเป็นบุตรของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้ตายและจบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ระดับปริญญาตรีแล้ว การที่โจทก์ร่วมสมัครเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ระดับปริญญาตรีอีก ไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมเปลี่ยนแปลงฐานะกลับเป็นกำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอดตามกฎหมายดังกล่าว และข้อบังคับคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 48

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอด: 'กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา' หมายถึงการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ยังไม่จบ
คำว่า "กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา" ในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 หมายถึง การศึกษาต่อจากชั้นเตรียมอุดมศึกษา แต่ยังไม่จบชั้นอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีโจทก์ร่วมเป็นบุตรของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้ตายและจบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ระดับปริญญาตรีแล้ว การที่โจทก์ร่วมสมัครเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ระดับปริญญาตรีอีก ไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมเปลี่ยนแปลงฐานะกลับเป็นกำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอดตามกฎหมายดังกล่าว และข้อบังคับคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยฉบับที่ 48

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบำนาญพิเศษของบุตรที่ศาลรับรองโดยคำพิพากษา แม้ก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่14) พ.ศ.2526 โดยทั่วไปมิได้มีผลใช้บังคับย้อนหลัง แต่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2526 อันเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงมีผลย้อนหลังเฉพาะกรณีตามมาตรา 9 ในเรื่องการให้รวมเงินพิเศษรายเดือนสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิดเข้ากับเงินเดือนเดือนสุดท้ายเพื่อการคำนวณบำเหน็จบำนาญเท่านั้น
ตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(ฉบับที่14) พ.ศ2526 บุตรซึ่งมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับย่อมมีสิทธิเรียกร้องและฟ้องเรียกบำนาญพิเศษในฐานะทายาทผู้มีสิทธิเมื่อพระราชบัญญัตินี้ให้บังคับแล้ว
ขณะโจทก์เรียกร้องบำนาญพิเศษจากจำเลยและขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่14) พ.ศ.2526ใช้บังคับและโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบำนาญพิเศษของบุตรที่ได้รับการรับรองโดยคำพิพากษาศาลภายหลัง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2526
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่14) พ.ศ.2526 โดยทั่วไปมิได้มีผลใช้บังคับย้อนหลัง แต่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2526 อันเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงมีผลย้อนหลังเฉพาะกรณีตามมาตรา 9 ในเรื่องการให้รวมเงินพิเศษรายเดือนสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิดเข้ากับเงินเดือนเดือนสุดท้ายเพื่อการคำนวณบำเหน็จบำนาญเท่านั้น
ตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่14) พ.ศ.2526 บุตรซึ่งมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับย่อมมีสิทธิเรียกร้องและฟ้องเรียกบำนาญพิเศษในฐานะทายาทผู้มีสิทธิเมื่อพระราชบัญญัตินี้ให้บังคับแล้ว
ขณะโจทก์เรียกร้องบำนาญพิเศษจากจำเลยและขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่14) พ.ศ.2526 ใช้บังคับและโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอยู่ในความอุปการะของผู้อื่นเพื่อสิทธิประโยชน์ทางบำเหน็จบำนาญ พิจารณาจากพฤติการณ์และฐานะทางเศรษฐกิจ
บ. ผู้ตายซึ่งเป็นปู่ของโจทก์ได้เลี้ยงดูช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์มาตั้งแต่โจทก์อายุ 7 เดือน จน บ. ถึงแก่กรรม บ. มีอำนาจส่งโจทก์ไปอยู่กับผู้อื่น ณ ที่ใดก็ได้ ยามใดมีโอกาสเลี้ยงดูโจทก์ด้วยตนเองก็รับโจทก์มาอยู่ด้วย ไม่เคยส่งโจทก์ไปอยู่กับบิดาโจทก์ถือได้ว่าโจทก์อยู่ในอุปการะของ บ. ตลอดมา โดยโจทก์จำเป็นต้องมีผู้อุปการะเพราะบิดาโจทก์ฐานะไม่ดี มารดาก็ทอดทิ้งมิได้เหลียวแล ความตายของ บ. ทำให้โจทก์เดือดร้อนเพราะขาดอุปการะโจทก์จึงเป็นผู้อยู่ในอุปการะของ บ. ผู้ตายตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ มาตรา 4 และมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอดตาม มาตรา 44 โดยอนุโลม
โจทก์ขอรับเงินสงเคราะห์ตกทอด จำเลยปฏิเสธการจ่าย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยปฏิเสธการจ่าย ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบำนาญพิเศษของบุตรนอกกฎหมายที่ได้รับการรับรองและศาลพิพากษาเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ผลของสถานะต่อสิทธิในบำนาญ
โจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินบำนาญพิเศษของบิดาโจทก์ผู้ตายในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบของกองทัพบกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าสังกัด ยังไม่ได้ส่งไปยังกระทรวงการคลัง ทางการเจ้าหน้าที่ของกองทัพบกจำเลยสั่งว่า โจทก์มิใช่ทายาทของบิดาโจทก์ ไม่มีสิทธิรับบำนาญพิเศษถือได้ว่าทางการกองทัพบกจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องกองทัพบกจำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษารับรองสิทธิของโจทก์ว่าเป็นทายาท มีสิทธิรับเงินบำเหน็จพิเศษของบิดาโจทก์ผู้ตายโดยมิได้เรียกร้องเป็นจำนวนเงินเท่าใด เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงไม่ใช่คดีที่มีทุนทรัพย์
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาผู้ตายได้รับรองแล้ว และศาลได้พิพากษาว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายไม่มีสิทธิรับบำนาญพิเศษตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บำเหน็จตกทอดไม่ใช่ทรัพย์มรดก สิทธิเกิดจากกฎหมายเฉพาะ
ในเรื่องบำเหน็จตกทอดตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการฯนั้น เป็นเรื่องของรัฐให้สิทธิแก่ทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะโดยตรงที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ และยังกำหนดอายุของบุตรที่จะได้รับบำเหน็จตกทอดไว้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด มิได้ให้เป็นสิทธิเป็น ทรัพย์แก่ข้าราชการผู้ได้รับบำนาญปกติอยู่ก่อนตายหรือในขณะที่ถึงแก่ความตายแต่อย่างใด แตกต่างกับกฎหมายว่าด้วยมรดก จึงจะปรับให้เป็นมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บำเหน็จตกทอดไม่ใช่ทรัพย์มรดก สิทธิขึ้นอยู่กับกฎหมายบำนาญ ไม่ใช่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในเรื่องบำเหน็จตกทอดตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ นั้น เป็นเรื่องของรัฐให้สิทธิแก่ทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะโดยตรงที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ และยังกำหนดอายุของบุตรที่จะได้รับบำเหน็จตกทอดไว้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนดมิได้ให้เป็นสิทธิเป็น ทรัพย์แก่ข้าราชการผู้ได้รับบำนาญปกติอยู่ก่อนตายหรือในขณะที่ถึงแก่ความตายแต่อย่างใด แตกต่างกับกฎหมายว่าด้วยมรดก จึงจะปรับให้เป็นมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 หาได้ไม่