คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ม. 49

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,559 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13797/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ และข้อบังคับขององค์กร จำเลยไม่มีหน้าที่จ่ายหากไม่แก้ไขข้อบังคับ
การสงเคราะห์เมื่อออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 4.9 ข้อ 16 และข้อ 17 ระบุให้ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือน กรณีที่ผู้ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนถึงแก่ความตายให้จ่ายเงินสงเคราะห์ตกทอดแก่ทายาทโดยอนุโลมตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดังนั้นเงินสงเคราะห์ตกทอดจะจ่ายเมื่อใดจึงขึ้นอยู่กับความตายของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือน และตัวผู้รับเป็นทายาทของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือน แต่บำเหน็จดำรงชีพตามพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2546 มาตรา 3, 4 และ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 47/1, 49 วรรคสอง เป็นเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว เมื่อผู้รับบำนาญที่รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้วถึงแก่ความตาย การจ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทให้หักเงินที่จะได้รับเท่ากับบำเหน็จดำรงชีพออกจากบำเหน็จตกทอดเสียก่อน บำเหน็จดำรงชีพจึงไม่ใช่บำเหน็จตกทอดตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติสำหรับกรณีผู้ได้รับบำนาญถึงแก่ความตายให้จ่ายบำเหน็จตกทอดให้ทายาทผู้มีสิทธิตามมาตรา 48 บำเหน็จดำรงชีพจึงแตกต่างจากบำเหน็จตกทอดทั้งตัวผู้รับคือบำเหน็จดำรงชีพจ่ายให้ตัวผู้รับบำนาญเอง แต่บำเหน็จตกทอดจ่ายให้ทายาทผู้มีสิทธิหลังจากผู้ได้รับบำนาญถึงแก่ความตายแล้ว และบำเหน็จดำรงชีพเป็นการเร่งระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินให้เร็วขึ้นจากที่ทยอยจ่ายตามอายุขัยของผู้ได้รับบำนาญมาเป็นการจ่ายตามคำขอของผู้รับบำนาญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นเงินสงเคราะห์ตกทอดที่จำเลยจะต้องจ่ายตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 4.9 จึงมีหลักเกณฑ์การจ่ายโดยอนุโลมเช่นเดียวกับการจ่ายบำเหน็จตกทอด เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 4.9 ให้มีการจ่ายเงินในลักษณะเดียวกับการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2546 คือจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในขณะที่ยังมีชีวิต จำเลยจึงไม่มีหน้าที่จ่ายบำเหน็จดำรงชีพให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13116-14666/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายบำเหน็จดำรงชีพของรัฐวิสาหกิจ จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรี
บำเหน็จดำรงชีพแตกต่างจากบำเหน็จตกทอดทั้งตัวผู้รับคือบำเหน็จดำรงชีพจ่ายให้ตัวผู้รับบำนาญเองแต่บำเหน็จตกทอดจ่ายให้ทายาทผู้มีสิทธิหลังจากผู้ได้รับบำนาญถึงแก่ความตายแล้ว และบำเหน็จดำรงชีพเป็นการเร่งระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินให้เร็วขึ้นจากที่ทยอยจ่ายตามอายุขัยของผู้ได้รับบำนาญมาเป็นการจ่ายตามคำขอของผู้รับบำนาญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นการที่จำเลยจะอนุโลมเอาการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพมาใช้ในข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ 4.9 ตามข้อ 17 วรรคสอง จึงมีการเปลี่ยนแปลงในหลักการของสภาพการจ้างที่เป็นตัวเงินเกิดขึ้น ทำให้ลักษณะการจ่ายเงินสงเคราะห์ตกทอดแก่ทายาทแตกต่างไปจากเดิมทั้งตัวผู้รับและกำหนดเวลาที่ได้รับ กับลักษณะการจ่ายเงินจากทยอยจ่ายตามอายุขัยของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนในอนาคตก็เปลี่ยนเป็นจ่ายตามความประสงค์ของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนที่ยังมีชีวิตอยู่ การจ่ายบำเหน็จดำรงชีพเป็นการเพิ่มภาระทางการเงินของจำเลยในปัจจุบันจำเลยไม่สามารถจ่ายบำเหน็จดำรงชีพได้โดยงบประมาณของจำเลยเองจนจำเลยต้องขอคณะรัฐมนตรีให้สนับสนุนเป็นเงินทุน 1,469 ล้านบาทเศษ และเป็นเงินทุนสนับสนุนรายปีจากรัฐบาลเมื่อจำเลยเห็นสมควรให้แก้ไขหลักการในสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินโดยจ่ายบำเหน็จดำรงชีพตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2546 กรณีจึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างเกี่ยวกับบำเหน็จดำรงชีพสำหรับจำเลยที่จำเลยอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา 13 (2) และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีให้ปรับปรุงสภาพการจ้างให้จ่ายบำเหน็จดำรงชีพตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 วรรคสามแล้ว ศาลฎีกาย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยดำเนินการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพให้โจทก์ทั้งหนึ่งพันห้าร้อยห้าสิบเอ็ดได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับบำเหน็จตกทอด: ต้องได้รับการอุปการะตลอดมา และความตายทำให้เดือดร้อนจริง จึงมีสิทธิ
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 4 ที่กำหนดบทนิยามผู้อยู่ในอุปการะว่า "ผู้ที่ได้อยู่ในความอุปการะของผู้ตายตลอดมา โดยจำเป็นต้องมีผู้อุปการะ และความตายของผู้นั้นทำให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ" มีความหมายว่า ผู้ที่จะได้รับบำเหน็จตกทอดจะต้องได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลจากผู้ตายตลอดเวลา และความตายของผู้นั้นทำให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ
โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านของบิดามารดาตั้งแต่เกิดตลอดมาโดยอาศัยรวมอยู่กับพี่คนอื่น ๆ หลังจากบิดามารดาถึงแก่ความตายแล้ว โจทก์ก็คงอยู่ที่บ้านหลังดังกล่าว แม้ต่อมาศาลแพ่งธนบุรีจะมีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของ พ. ก็เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของบิดามารดาและเงินฝากของโจทก์ในธนาคารเท่านั้น หามีผลทำให้ พ. เปลี่ยนฐานะเป็นผู้ให้ความอุปการะโจทก์ไม่ นอกจากนี้เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย ช. ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญและเป็นผู้พิทักษ์ของโจทก์ตามคำสั่งศาลแทน พ. กับ ส. ซึ่งพักอาศัยอยู่ด้วยกันและพี่คนอื่น ๆ ก็ยังช่วยกันดูแลให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์ตามปกติอยู่เช่นเดิม โจทก์จึงไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะ โจทก์จึงมิได้เป็นผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินบำเหน็จตกทอด: ผู้อุปการะ vs. บุตร ผู้มีสิทธิเมื่อให้การดูแลผู้ป่วย
แม้โจทก์เป็นบุตรของ ท.และจำต้องอุปการะเลี้ยงดูท.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 แต่เมื่อ ท.ป่วยเป็นอัมพาตไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองได้ โจทก์เป็นผู้ให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้ความช่วยเหลือ ท.ตลอดมาจนกระทั่ง ท. ถึงแก่กรรม ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้อุปการะตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ. 2494 มาตรา 4(2) ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระเงินบำเหน็จตกทอดโดยอาศัยสิทธิในฐานะผู้อุปการะท.มิได้อาศัยสิทธิในฐานะเป็นบุตรท. นั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตกทอด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอด: 'กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา' หมายถึงการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ยังไม่จบ
คำว่า "กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา" ในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 หมายถึง การศึกษาต่อจากชั้นเตรียมอุดมศึกษา แต่ยังไม่จบชั้นอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีโจทก์ร่วมเป็นบุตรของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้ตายและจบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ระดับปริญญาตรีแล้ว การที่โจทก์ร่วมสมัครเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ระดับปริญญาตรีอีก ไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมเปลี่ยนแปลงฐานะกลับเป็นกำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอดตามกฎหมายดังกล่าว และข้อบังคับคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยฉบับที่ 48

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินสงเคราะห์ตกทอด: 'กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา' หมายถึงการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ยังไม่จบ
คำว่า "กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา" ในมาตรา 49 แห่งพระราชบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 หมายถึง การศึกษาต่อจากชั้นเตรียมอุดมศึกษา แต่ยังไม่จบชั้นอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี โจทก์ร่วมเป็นบุตรของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้ตายและจบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ระดับปริญญาตรีแล้ว การที่โจทก์ร่วมสมัครเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ระดับปริญญาตรีอีก ไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมเปลี่ยนแปลงฐานะกลับเป็นกำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอดตามกฎหมายดังกล่าว และข้อบังคับคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 48

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บำเหน็จตกทอดไม่ใช่ทรัพย์มรดก สิทธิขึ้นอยู่กับกฎหมายบำนาญ ไม่ใช่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในเรื่องบำเหน็จตกทอดตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ นั้น เป็นเรื่องของรัฐให้สิทธิแก่ทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะโดยตรงที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ และยังกำหนดอายุของบุตรที่จะได้รับบำเหน็จตกทอดไว้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนดมิได้ให้เป็นสิทธิเป็น ทรัพย์แก่ข้าราชการผู้ได้รับบำนาญปกติอยู่ก่อนตายหรือในขณะที่ถึงแก่ความตายแต่อย่างใด แตกต่างกับกฎหมายว่าด้วยมรดก จึงจะปรับให้เป็นมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บำเหน็จตกทอดไม่ใช่ทรัพย์มรดก สิทธิเกิดจากกฎหมายเฉพาะ
ในเรื่องบำเหน็จตกทอดตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการฯนั้น เป็นเรื่องของรัฐให้สิทธิแก่ทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะโดยตรงที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ และยังกำหนดอายุของบุตรที่จะได้รับบำเหน็จตกทอดไว้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด มิได้ให้เป็นสิทธิเป็น ทรัพย์แก่ข้าราชการผู้ได้รับบำนาญปกติอยู่ก่อนตายหรือในขณะที่ถึงแก่ความตายแต่อย่างใด แตกต่างกับกฎหมายว่าด้วยมรดก จึงจะปรับให้เป็นมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บำนาญตกทอดไม่ใช่ทรัพย์สินในมรดก ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิเรียกร้อง
บำนาญตกทอดไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะตาย จึงไม่เป็นมรดก ฉะนั้น การที่ผู้จัดการมรดกฟ้องศาลให้พิพากษาให้ตนมีสิทธิเรียกบำนาญตกทอดจัดการมรดกจึงปราศจากมูลตามกฎหมายที่จะอ้างอิง
of 156