คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศิริ จีระมะกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2399/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของรถ กรณีคนขับรถทำละเมิด จำเป็นต้องแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนขับกับเจ้าของรถ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หญิงไม่ทราบชื่อขับรถยนต์ของจำเลยชนโจทก์โดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัส ขอให้จำเลยร่วมรับผิดกับหญิงไม่ทราบชื่อใช้ค่าเสียหายให้โจทก์โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าหญิงไม่ทราบชื่อนั้นมีฐานะความสัมพันธ์กับจำเลยอย่างไร เช่นมีฐานะเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยและกระทำไปในทางการที่จ้างหรือในกิจการแทนจำเลยดังนี้ เป็นฟ้องที่ไม่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไก่แล้วนำไปขาย: ความแตกต่างระหว่างการยักยอกกับหนี้สัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำไก่ซึ่งฆ่าแล้วจำนวน 100 ตัว ราคา 3,800 บาท ของผู้เสียหายซึ่งมอบหมายให้จำเลยครอบครองแล้วนำไปขายให้กับประชาชนทั่วไป แต่เมื่อจำเลยนำไก่ไปขายหมดแล้ว จำเลยได้บังอาจเบียดบังเอาเงิน 3,800 บาท ของผู้เสียหายไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องคงได้ความเพียงว่า จำเลยนำไก่ซึ่งฆ่าแล้วของผู้เสียหาย ซึ่งมอบให้จำเลยครอบครองแล้วนำไปขายให้กับประชาชนทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้ความว่าผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยเป็นตัวแทนขายไก่ กรณีจึงอาจเป็นได้ว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยรับไก่ไปขายอย่างเป็นของจำเลยเองก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ เงินที่ขายได้ก็เป็นของจำเลย จำเลยเป็นแต่เพียงลูกหนี้ที่จะต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้เสียหายเท่านั้น ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องจะว่าจำเลยยักยอกเงินค่าไก่ยังไม่ได้ แม้จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไก่เพื่อขาย: ความแตกต่างระหว่างการยักยอกทรัพย์กับหนี้สิน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำไก่ซึ่งฆ่าแล้วจำนวน 100 ตัวราคา 3,800 บาท ของผู้เสียหายซึ่งมอบหมายให้จำเลยครอบครองแล้วนำไปขายให้กับประชาชนทั่วไป แต่เมื่อจำเลยนำไก่ไปขายหมดแล้ว จำเลยได้บังอาจเบียดบังเอาเงิน3,800 บาท ของผู้เสียหายไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องคงได้ความเพียงว่าจำเลยนำไก่ซึ่งฆ่าแล้วของผู้เสียหายซึ่งมอบหมายให้จำเลยครอบครองแล้วนำไปขายให้กับประชาชนทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้ความว่าผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยเป็นตัวแทนขายไก่กรณีจึงอาจเป็นได้ว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยรับไก่ไปขายอย่างเป็นของจำเลยเองก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเงินที่ขายได้ก็เป็นของจำเลย จำเลยเป็นแต่เพียงลูกหนี้ที่จะต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้เสียหายเท่านั้นข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องจะว่าจำเลยยักยอกเงินค่าไก่ยังไม่ได้ แม้จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งหลังคดีอาญา: การนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรก
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองบัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเด็ดขาดไปแล้วดังที่บัญญัติไว้ในวรรคสามและสี่รวมทั้งกรณีที่ได้มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วย
ก่อนฟ้องคดีแพ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกทรัพย์ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ศาลพิพากษายกฟ้องคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสี่ คือสิทธิของโจทก์ในอันที่จะฟ้องคดีแพ่งสำหรับจำเลยที่ 2 ย่อมมีอายุความตามหลักทั่วไปในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในคดีอาญาศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมยักยอกทรัพย์ของโจทก์ด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย กรณีจึงต้องนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรกซึ่งบัญญัติให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมกันแบ่งชำระ: การคำนวณหนี้ค่าจ้างทนายตามสัดส่วนทุนทรัพย์และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้แต่ละราย
ส.ในนามของบริษัทลูกหนี้ กับในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และในฐานะส่วนตัวได้ทำสัญญาจ้างผู้ขอรับชำระหนี้เป็นทนายแก้ต่างในคดีแพ่ง 2 คดี เป็นเงินค่าจ้างจำนวนหนึ่ง คดีแรกเป็นคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และส. ถูกฟ้องเป็นจำเลย คดีหลังเป็นคดีที่บริษัทลูกหนี้และ ส.ถูกฟ้องเป็นจำเลย ผู้ขอรับชำระหนี้ได้เข้าเป็นทนายความให้บริษัทลูกหนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และส.ทั้ง 2คดี จนเสร็จสิ้นแล้ว หนี้ค่าจ้างว่าความจำนวนตามสัญญาดังกล่าวเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระได้ และมีบุคคลหลายคนเป็นลูกหนี้ คือบริษัทลูกหนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และส. เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการกำหนดไว้ว่าลูกหนี้ทั้งสามจะต้องรับผิดร่วมกันในจำนวนหนี้ทั้งหมด แต่ได้มีการระบุในสัญญาว่าค่าจ้างว่าความนั้นคิดห้าเปอร์เซ็นต์จากจำนวนทุนทรัพย์ของทั้ง 2 คดี เจตนาของคู่กรณีจึงอาจต้องการคิดค่าจ้างว่าความโดยคำนวณจากทุนทรัพย์ของแต่ละคดีแยกจากกันก็ได้ ถึงแม้จะทำสัญญาจ้างว่าความเป็นฉบับเดียวกันก็ตาม กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 290 คือลูกหนี้แต่ละคนต้องรับผิดเพียงเป็นส่วนละเท่าๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าจ้างว่าความแบ่งชำระ: การคำนวณหนี้ตามสัดส่วนทุนทรัพย์ และการชำระหนี้เกินส่วน
ส. ในนามของบริษัทลูกหนี้ กับในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. และในฐานะส่วนตัวได้ทำสัญญาจ้างผู้ขอรับชำระหนี้เป็นทนายแก้ต่างในคดีแพ่ง 2 คดี เป็นเงินค่าจ้างจำนวนหนึ่งคดีแรกเป็นคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และส. ถูกฟ้องเป็นจำเลย คดีหลังเป็นคดีที่บริษัทลูกหนี้และ ส. ถูกฟ้องเป็นจำเลย ผู้ขอรับชำระหนี้ได้เข้าเป็นทนายความให้บริษัทลูกหนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และส. ทั้ง 2 คดีจนเสร็จสิ้นแล้ว หนี้ค่าจ้างว่าความจำนวนตามสัญญาดังกล่าวเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระได้ และมีบุคคลหลายคนเป็นลูกหนี้ คือบริษัทลูกหนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และส.เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการกำหนดไว้ว่าลูกหนี้ทั้งสามจะต้องรับผิดร่วมกันในจำนวนหนี้ทั้งหมด แต่ได้มีการระบุในสัญญาว่าค่าจ้างว่าความนั้นคิดห้าเปอร์เซ็นต์จากจำนวนทุนทรัพย์ของทั้ง 2 คดี เจตนาของคู่กรณีจึงอาจต้องการคิดค่าจ้างว่าความโดยคำนวณจากทุนทรัพย์ของแต่ละคดีแยกจากกันก็ได้ ถึงแม้จะทำสัญญาจ้างว่าความเป็นฉบับเดียวกันก็ตาม กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา290 คือลูกหนี้แต่ละคนต้องรับผิดเพียงเป็นส่วนละเท่าๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174-2175/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกโดยหนังสือสัญญา ไม่ใช่การจัดตั้งกองทรัพย์รวมหรือกงสี
หนังสือสัญญามีข้อความว่า "อำแดงยิ้ม ยายผู้รักษาทรัพย์สมบัตรของจีนตืออากรบุตรเชย อำแดงเป้อบุตรสายได้ทำหนังสือบริคณห์สัญญาแบ่งทรัพย์สมบัติของจีนอากรตือบุตรเชย อำแดงเป้อบุตรสาวให้แก่จีนกิมฮะ จีนกิมติด อำแดงหลี อำแดงแดง จีนกิมฮก จีนกิมจู อำแดงเปียก หลานๆ ได้เห็นชอบและยินยอมพร้อมใจกันตามที่อำแพงยิ้ม ยายได้แบ่งปันทรัพย์นั้นจึงให้ถ้อยคำทำหนังสือบริคนห์สัญญาไว้ต่อกันมีข้อความดังจะกล่าวต่อไปนี้คือ
ข้อ 1. เดิมจีนตืออากร อำแดงเป้อได้อยู่กินเป็นสามีภริยาได้ประกอบการทำมาหากินด้วยกัน มีทรัพย์สมบัติหลายสิ่งหลายอย่างซึ่งเป็นอวิญญาณกะทรัพย์ อวิญญาณกะทรัพย์ ครั้งมา ณ วินฯ 12 1 ค่ำปีกุน เอกศก อำแดงเป้อตาย ณ วันที่ 24 ค่ำ เอกศก จีนตืออากรตาย บันดาทรัพย์สมบัติของจีนตืออากรและของอำแดงเป้อนั้น อำแดงยิ้มได้เป็นผู้เก็บรักษาไว้ทั้งสิ้น บัดนี้ อำแดงยิ้มจะได้เอาทรัพย์ที่เก็บรักษาไว้นั้นออกแจกปันให้แก่บุตรจีนตืออากร อำแดงเป้อซึ่งเป็นหลานอำแดงยิ้มเป็นส่วนส่วนดังนี้
ข้อ 2. คือแบ่งปันให้จีนกิมฮะเงินตราสี่ร้อยสี่สิบชั่ง จีนกิมติดเงินตราสี่ร้อยสี่สิบชั่น อำแดงหลีเงินตราห้าร้อยชั่ง อำแดงแดงเงินตราห้าร้อยชั่ง จีนกิมฮกเงินตราห้าร้อยชั่ง จีนกิมจูเงินตราห้าร้อยชั่ง อำแดงเปียกเงินตราห้าร้อยชั่ง รวมเป็นเงินที่ได้แบ่งปันนี้เป็นเงินตราสามพันสามร้อยแปดสิบชั่ง
ข้อ 3. บันดาทรัพย์สมบัติของจีนตืออากร อำแดงเป้อ นอกจากเงินตราสามพันสามร้อยแปดสิบชั่งซึ่งได้แบ่งปันนี้ ยังมีอยู่คือ บ้านเรือน สวน นา สิ่งของทองรูปประพรรณ สารกรมธรรมทาษลูกหนี้ สะวิญญาณกะทรัพย์ อวิญญาณกะทรัพย์ อำแดงยิ้ม ได้แบ่งปันให้กับอำแดงหลีบุตรจีนตืออากร อำแดงเป้อทั้งสิ้น แต่ส่วนทองคำเนื้อแปด ให้แบ่งปันกันแก่อำแดงแดง หนักแปดสิบแปดบาท อำแดงเปียกหนักแปดสิบแปดบาท กับเงินตราสามพันสามร้อยแปดสิบชั่งซึ่งจะได้แบ่งปันกันนั้น อำแดงยิ้มยายมอบให้ให้อำแดงหลีหลานเป็นผู้เก็บรักษาไว้สืบต่อไป
ข้อ 4. จีนกิมฮะ จีนกิมติด อำแดงหลี อำแดงแดง จีนกิมฮก จีนกิมจู อำแดงเปียกซึ่งเป็นผู้จะได้รับหุ้นส่วนนั้น ได้เห็นชอบยินยอมที่อำแดงยิ้มยายแบ่งปันตั้งแต่วันทำหนังสือบริคณห์สัญญาฉบับนี้แล้ว ผู้ซึ่งจะได้รับหุ้นส่วนนั้นเมื่อได้รับเงินตราวันใด ให้ทำหนังสือสำคัญซึ่งเป็นหลักฐาน ให้แก่อำแดงหลีซึ่งเป็นผู้รักษาทรัพย์
ข้อ 5. ตั้งแต่วันที่ได้ทำหนังสือบริคนสัญญาแบ่งปันฉบับนี้ อำแดงยิ้มยายผู้แบ่งปัน จีนกิมฮะ จีนกิมติด อำแดงหลี อำแดงแดง จีนกิมฮก จีนกิมจู อำแดงเปียกต้องนับถือหนังสือสัญญาฉบับนี้เป็นหลักฐาน ถ้าผู้ใดกระทำผิดข้อสัญญาฉบับนี้ก็ให้ฟ้องร้องยังโรงศาล ให้พิจารณาตามบริคนสัญญานี้เทอญ ข้าพเจ้าจดหมายลงชื่อไว้เป็นสำคัญ"
หนังสือสัญญาฉบับนี้เป็นเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ต. และป. ผู้วายชนม์ให้แก่บุตรซึ่งเป็นทายาท ไม่ใช่การจัดตั้งกองทรัพย์รวมหรือกงสี
คำว่า "ผู้จะได้รับหุ้นส่วน" หมายถึง "ผู้จะได้รับส่วนแบ่ง" นั่นเอง กรณีหาใช่ผู้เป็นหุ้นส่วนนำเงินมาเข้าหุ้นกันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไร อันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174-2175/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกและการตีความสัญญา ไม่ใช่การจัดตั้งกองทรัพย์รวม
หนังสือสัญญามีข้อความว่า "อำแดงยิ้มยายผู้รักษาทรัพย์สมบัติของจีนตืออากรบุตรเขยอำแดงเป้อบุตรสาวได้ทำหนังสือบริคนห์สัญญาแบ่งทรัพย์สมบัติของจีนอากรตือบุตรเขยอำแดงเป้อบุตรสาวให้แก่จีนกิมฮะจีนกิมติดอำแดงหลีอำแดงแดงจีนกิมฮกจีนกิมจูอำแดงเปียกหลาน ๆ ได้เห็นชอบและยินยอมพร้อมใจกันตามที่อำแดงยิ้มยายได้แบ่งปันทรัพย์นั้นจึงให้ถ้อยคำทำหนังสือบริคนห์สัญญาไว้ต่อกันมีข้อความดังจะกล่าวต่อไปนี้คือ
ข้อ 1. เดิมจีนตืออากรอำแดงเป้อได้อยู่กินเป็นสามีภริยาได้ประกอบการทำมาหากินด้วยกัน มีทรัพย์สมบัติหลายสิ่งหลายอย่างซึ่งเป็นสวิญญาณกะทรัพย์อวิญญาณกะทรัพย์ครั้นมาณวันแรม 12 ค่ำ เดือน 1 ค่ำปีกุนเอกศกอำแดงเป้อตายณวันที่ขึ้น2ค่ำเดือน4เอกศกจีนตืออากรตาย บันดาทรัพย์สมบัติของจีนตืออากรและของอำแดงเป้อนั้นอำแดงยิ้มได้เป็นผู้เก็บรักษาไว้ทั้งสิ้น บัดนี้ อำแดงยิ้มจะได้เอาทรัพย์ที่เก็บรักษาไว้นั้นออกแจกปันให้แก่บุตรจีนตืออากรอำแดงเป้อซึ่งเป็นหลานอำแดงยิ้มเป็นส่วนส่วนดังนี้
ข้อ 2. คือแบ่งปันให้จีนกิมฮะเงินตราสี่ร้อยสี่สิบชั่งจีนกิมติดเงินตราสี่ร้อยสี่สิบชั่ง อำแดงหลีเงินตราห้าร้อยชั่งอำแดงแดงเงินตราห้าร้อยชั่งจีนกิมฮกเงินตราห้าร้อยชั่งจีนกิมจูเงินตราห้าร้อยชั่งอำแดงเปียกเงินตราห้าร้อยชั่งรวมเป็นเงินที่ได้แบ่งปันนี้เป็นเงินตราสามพันสามร้อยแปดสิบชั่ง
ข้อ 3. บันดาทรัพย์สมบัติของจีนตืออากรอำแดงเป้อ นอกจากเงินตราสามพันสามร้อยแปดสิบชั่งซึ่งได้แบ่งปันนี้ ยังมีอยู่คือ บ้านเรือนสวน นา สิ่งของ ทองรูปพรรณสารกรมธรรมทาษลูกหนี้สวิญญาณกะทรัพย์ อวิญญาณกะทรัพย์อำแดงยิ้มได้แบ่งปันให้กับอำแดงหลีบุตรจีนตืออากรอำแดงเป้อทั้งสิ้นแต่ส่วนทองคำเนื้อแปดให้แบ่งปันกันแก่อำแดงแดงหนักแปดสิบแปดบาทอำแดงเปียกหนักแปดสิบแปดบาทกับเงินตราสามพันสามร้อยแปดสิบชั่งซึ่งจะได้แบ่งปันกันนั้นอำแดงยิ้มยายมอบให้อำแดงหลีหลานเป็นผู้เก็บรักษาไว้สืบไป
ข้อ 4. จีนกิมฮะจีนกิมติดอำแดงหลีอำแดงแดงจีนกิมฮกจีนกิมจู อำแดงเปียกซึ่งเป็นผู้จะได้รับหุ้นส่วนนั้นได้เห็นชอบยินยอมตามที่อำแดงยิ้มยายแบ่งปันตั้งแต่วันทำหนังสือบริคนห์สัญญาฉบับนี้แล้วผู้ซึ่งจะได้รับหุ้นส่วนนั้นเมื่อได้รับเงินตราวันใด ให้ทำหนังสือสำคัญซึ่งเป็นหลักถานให้แก่อำแดงหลีซึ่งเป็นผู้รักษาทรัพย์
ข้อ 5. ตั้งแต่วันที่ได้ทำหนังสือบริคนห์สัญญาแบ่งปันฉบับนี้ อำแดงยิ้มยายผู้แบ่งปันจีนกิมฮะจีนกิมติดอำแดงหลีอำแดงแดงจีนกิมฮก จีนกิมจูอำแดงเปียกต้องนับถือหนังสือสัญญาฉบับนี้เป็นหลักถานถ้าผู้ใดกระทำผิดข้อสัญญาฉบับนี้ก็ให้ฟ้องร้องยังโรงศาลให้พิจารณาตามบริคนห์สัญญาฉบับนี้เทอญ ข้าพเจ้าจดหมายลงชื่อไว้เป็นสำคัญ"
หนังสือสัญญาฉบับนี้เป็นเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ต.และป. ผู้วายชนม์ให้แก่บุตรซึ่งเป็นทายาท ไม่ใช่การจัดตั้งกองทรัพย์รวมหรือกงสี
คำว่า "ผู้จะได้รับหุ้นส่วน" หมายถึง"ผู้จะได้รับส่วนแบ่ง" นั่นเองกรณีหาใช่ผู้เป็นหุ้นส่วนนำเงินมาเข้าหุ้นกันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไร อันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิตามพินัยกรรม, ผลสัญญาประนีประนอม, และคุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
เมื่อเจ้ามรดกตาย ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 กับพวก เป็นผู้จัดการมรดกในคดีหนึ่งแล้ว ต่อมา อ. ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้อีกจำเลยที่ 1 กับพวกคัดค้านในที่สุดมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ อ. เป็นผู้จัดการมรดกโดยศาลพิพากษาให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น การเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงสิ้นสุดลงตามสัญญาดังกล่าวนั้นแล้วดังนั้นเมื่อ อ. ถึงแก่กรรมโจทก์กับพวกซึ่งตามพินัยกรรมเจ้ามรดกระบุให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับ อ. ย่อมร้องขอต่อศาลให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกในคดีนี้ได้ไม่เป็นร้องซ้ำ
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมฉบับแรกระบุให้โจทก์กับพวกเป็นผู้จัดการมรดกต่อมาได้ทำพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่งซึ่งมิได้กล่าวถึงการเป็นผู้จัดการมรดกและไม่ได้ระบุไว้ให้ยกเลิกหรือเพิกถอนพินัยกรรมฉบับที่ทำขึ้นก่อนแต่ประการใด ฉะนั้นโจทก์จึงยังมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก
แม้โจทก์เคยสละสิทธิเพื่อให้ อ. เป็นผู้จัดการมรดกแต่เมื่อ อ. ถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการมรดกได้เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสม ศาลก็ตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้ และแม้โจทก์ที่ 1 จะมีส่วนได้รับทรัพย์มรดกน้อยกว่าจำเลยที่ 2 โจทก์ที่ 1 ก็เป็นทายาทและมีส่วนได้เสียส่วนโจทก์ที่ 2 แม้จะไม่ได้เป็นทายาทและไม่มีสิทธิรับมรดกแต่ก็เป็นผู้ที่เจ้ามรดกระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดกด้วยผู้หนึ่ง จึงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1712 และ มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาใหม่ จำเป็นต้องระบุเหตุผลการขาดนัดอย่างละเอียดตามกฎหมาย
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเท่านั้น มิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุที่จำเลยได้ขาดนัด จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 ที่ศาลจะสั่งให้มีการพิจารณาใหม่ได้
of 21