พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713-1714/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำท้าพิสูจน์ลายมือชื่อที่มีผลเฉพาะคู่ความที่ตกลงกัน และหน้าที่การนำสืบพยานของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ทำไว้ ก่อนสืบพยาน โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงท้าพิสูจน์ลายมือของจำเลยที่ 2 ในเอกสารที่ตกลงกันโดยจำเลยที่ 2 มิได้ตกลงตามคำท้าด้วย หากผลปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้ตามคำท้า ข้อตกลงท้ากันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 คงมีผลบังคับเฉพาะในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลบังคับถึงจำเลยที่ 2 ด้วยไม่เพราะกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1กระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างดังนั้น คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงต้องมีการสืบพยานกันต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การเปลี่ยนแปลงความยาวรั้วและสิทธิในการหักเงินค่าจ้าง
เมื่อสัญญาที่จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างรั้วรอบบริเวณเป็นสัญญาจ้างเหมา มิใช่คิดเป็นหน่วยดังนั้น แม้ความยาวของรั้วจะน้อยกว่าในสัญญาโจทก์ก็ได้ก่อสร้างตามสัญญาเรียบร้อยแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะหักเงินค่าจ้างตามที่ตกลงไว้ในสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ และร่วมกันทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษจำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งห้ามีความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 83, 160 จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 86 การกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 บทหนัก จำคุกจำเลยที่ 1 สี่ปี ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 บทหนัก จำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 3 คนละ 2 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 4 ที่ 5 คนละ 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งห้ากระทำผิด 2 กรรม ลงโทษฐานร่วมกันทำไม้ยางโดยไม่รับอนุญาตตาม พระราชบัญญัติป่าไม้อีกกระทงหนึ่ง จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 คนละ 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 4 ที่ 5 คนละ 1 ปี 6 เดือน ส่วนความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ สำหรับความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยทั้งห้าไม่เกินห้าปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ส่วนความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ ศาลชั้นต้นเห็นว่า เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมาย หลายบทจึงไม่กำหนดโทษฐานนี้ ศาลอุทธรณ์ ว่าเป็นความผิด 2 กรรม กำหนดโทษจำคุกจำเลยทั้งห้าอีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยมีสิทธิฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ - ความผิดฐานทำไม้ - แก้ไขคำพิพากษา - สิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งห้ามีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 83,160จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่5 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,86 การกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 บทหนัก จำคุกจำเลยที่ 1 สี่ปี ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 บทหนักจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 3 คนละ2 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 4 ที่ 5 คนละ 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งห้ากระทำผิด 2 กรรม ลงโทษฐานร่วมกันทำไม้ยางโดยไม่รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้อีกกระทงหนึ่งจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 คนละ 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 4 ที่ 5 คนละ 1 ปี 6 เดือนส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยทั้งห้าไม่เกินห้าปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทจึงไม่กำหนดโทษฐานนี้ ศาลอุทธรณ์ว่าเป็นความผิด 2 กรรม กำหนดโทษจำคุกจำเลยทั้งห้าอีกกระทงหนึ่งจึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยมีสิทธิฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: ตัวแทนโจทก์ & ผู้รับมอบอำนาจ ไม่ใช่ตัวแทนโดยอัตโนมัติ
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทชนเสาไฟฟ้าของโจทก์เสียหายเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2518 ซึ่งจำเลยที่ 2และ 3 จะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีข้อตกลงให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้ดูแลรักษารับผิดชอบซ่อมแซมและเป็นผู้แจ้งความตีราคาค่าเสียหาย ติดตามเรื่องในกรณีที่เสาไฟฟ้าถูกรถชน แต่มิได้มอบหมายให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้เรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือตกลงเรื่องค่าเสียหายได้เองแต่อย่างใดไม่ จะถือว่าการไฟฟ้านครหลวงเป็นตัวแทนของโจทก์ในการเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 11ธันวาคม 2518 และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม2519 ภายใน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการซื้อขายทรัพย์มรดกอันเกิดจากการฉ้อฉลของผู้จัดการมรดกต่อทายาท
ผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือสมยอมกันดังนี้ ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการซื้อขายทรัพย์มรดกอันเกิดจากการฉ้อฉลของผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือสมยอมกันดังนี้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนฟ้องคดีอาญา, ผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลล่าง
กรณีที่โจทก์ฟ้องพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา4 บัญญัติให้ถือว่าเป็นความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนฟ้องระหว่างคดีอยู่ในศาลฎีกาก่อนคดีถึงที่สุดได้ เมื่อศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปอันมีผลให้คำพิพากษาศาลล่างระงับไปด้วยในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเพิกถอนเช็คและการดำเนินคดีอาญา/แพ่งเกี่ยวกับเช็คที่ถูกปฏิเสธ
จำเลยที่ 1 นำเช็ค 5 ฉบับ มาขายลดแก่ธนาคารโจทก์โดยได้นำเช็ค 5 ฉบับนี้เข้าบัญชีเดินสะพัดของตนแล้วจำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์จ่ายเงินเท่าจำนวนในเช็คที่นำเข้าบัญชีให้ ท. นำไปซื้อดราฟท์จากธนาคารอื่นส่งไปให้ผู้ออกเช็คเหล่านั้นต่อมาธนาคารโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็ค 5 ฉบับนั้นไม่ได้ธนาคารโจทก์ย่อมมีสิทธิเพิกถอนเช็คดังกล่าวเสียได้ตาม มาตรา 857
อายุความในการร้องทุกข์คดีอาญามีกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดถึงแม้ธนาคารโจทก์จะแจ้งเรื่องที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ทราบเป็นเวลาถึง 8-9 เดือนก็ตามจำเลยที่ 1 ก็ยังมีสิทธิร้องทุกข์ได้ เพราะเพิ่งรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดและการฟ้องเรียกเงินตามเช็คในคดีแพ่งก็มีอายุความ 1 ปี ดังนี้ จะถือว่าธนาคารโจทก์ละเลยทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายไม่ได้
อายุความในการร้องทุกข์คดีอาญามีกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดถึงแม้ธนาคารโจทก์จะแจ้งเรื่องที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ทราบเป็นเวลาถึง 8-9 เดือนก็ตามจำเลยที่ 1 ก็ยังมีสิทธิร้องทุกข์ได้ เพราะเพิ่งรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดและการฟ้องเรียกเงินตามเช็คในคดีแพ่งก็มีอายุความ 1 ปี ดังนี้ จะถือว่าธนาคารโจทก์ละเลยทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชนรถยนต์: ไม่ใช้ ม.437 และไม่สันนิษฐานความผิดในคดีแพ่ง
กรณีรถยนต์อันเป็นยานพาหนะซึ่งต่างเดินด้วยเครื่องจักรกลชนกันนั้นจะนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 มาบังคับหาได้ไม่พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 ป.ว.59 ก็สันนิษฐานความผิดของคนขับรถนำมาใช้ในคดีแพ่งไม่ได้