คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศิริ จีระมะกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับหนี้โดยผู้แทนและผลกระทบต่ออายุความทางแพ่ง
หนังสือที่โจทก์อ้างว่าจำเลยมีถึงโจทก์ให้ไปเก็บเงินเป็นเพียงพยานหลักฐานซึ่งโจทก์กล่าวแสดงมาในคำฟ้องเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนเท่านั้น โจทก์ไม่จำเป็นต้องแนบต้นฉบับหนังสือดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย และไม่จำเป็นต้องแสดงข้อความและรายละเอียดของหนังสือมาในคำฟ้อง เพราะโจทก์จะต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน และจำเลยมีสิทธิคัดค้านการนำเอกสารดังกล่าวมาสืบดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90,125 ตามลำดับได้อยู่แล้ว
การที่ผู้แทนของบริษัทจำเลยได้มีบันทึกให้พนักงานเก็บเงินของโจทก์กลับมาเก็บเงินใหม่ เพราะบริษัทจำเลยยังไม่ส่งเงินมาให้นั้น เป็นการยอมรับว่าบริษัทจำเลยเป็นหนี้อยู่จริง ถือได้ว่าผู้แทนของบริษัทจำเลย ได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัย ตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้น และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับหนี้โดยผู้แทนและการสะดุดหยุดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หนังสือที่โจทก์อ้างว่าจำเลยมีถึงโจทก์ให้ไปเก็บเงิน เป็นเพียงพยานหลักฐานซึ่งโจทก์กล่าวแสดงมาในคำฟ้องเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนเท่านั้น โจทก์ไม่จำเป็นต้องแนบต้นฉบับหนังสือดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย และไม่จำเป็นต้องแสดงข้อความและรายละเอียดของหนังสือมาในคำฟ้อง เพราะโจทก์จะต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน และจำเลยมีสิทธิคัดค้านการนำเอกสารดังกล่าวมาสืบดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90, 125 ตามลำดับได้อยู่แล้ว
การที่ผู้แทนของบริษัทจำเลยได้มีบันทึกให้พนักงานเก็บเงินของโจทก์กลับมาเก็บเงินใหม่ เพราะบริษัทจำเลยยังไม่ส่งเงินมาให้นั้น เป็นการยอมรับว่าบริษัทจำเลยเป็นหนี้อยู่จริง ถือได้ว่าผู้แทนของบริษัทจำเลย ได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัย ตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้น และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าที่ชอบด้วยกฎหมายและการเพิกถอนในคดีล้มละลาย พิจารณาความสุจริตและค่าตอบแทน
สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินซึ่งมีราคาและถือเอาได้
ผู้ให้เช่า ผู้เช่าเดิมกับผู้เช่าใหม่ตกลงยินยอมกันให้มีผู้เช่าคนใหม่ต่อจากสัญญาเช่าตึกแถวเดิม ผู้เช่าเดิมเลิกสัญญา ดังนี้ เป็นการโอนสิทธิการเช่าชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเพิกถอนการโอนทรัพย์สินที่ลูกหนี้ ทำระหว่าง 3 ปี ก่อนขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ผู้รับโอนมีหน้าที่นำสืบว่าได้ทำโดยสุจริต มีค่าตอบแทน ไม่เหมือนการเพิกถอนการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 ซึ่งผู้ขอต้องนำสืบว่าโอนโดยไม่สุจริต
คดีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเพิกถอนการโอนเป็นคดีคำขอปลดเปลื้องทุกข์คำนวณเป็นราคาเงินไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินหวงห้ามตามพ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ การโอนสิทธิครอบครองเป็นโมฆะ
ที่ดินซึ่งหวงห้ามตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2485จะโอนแก่กันในระหว่างที่ยังเป็นที่หวงห้ามอยู่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และผลของการปล่อยปละละเลยจนกรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือ
พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง มาตรา 11 ทวิ เป็นบทบัญญัติให้อำนาจสิทธิขาดแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่จะจัดการตามที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงและหรือรื้อถอนอาคารและส่วนแห่งอาคารซึ่งปลูกสร้างโดยมิได้รับอนุญาตนั้นได้เอง โดยไม่ต้องขอให้ศาลบังคับ
โจทก์ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูกสร้างอาคารจนเสร็จและส่งมอบให้เจ้าของที่ดินไป และเจ้าของที่ดินได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างดังกล่าวนั้นเท่ากับเป็นการฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยรื้อถอนหรือทำลายทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีด้วย ศาลจึงบังคับให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ: เวลาราชการทวีคูณและเศษของปี
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ มาตรา 14 วรรคสอง มิได้ใช้ถ้อยคำแต่เพียงว่า "เวลาราชการ" แต่ใช้คำว่า "เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ" ซึ่งมีความหมายกว้างกว่า เพราะ "เวลาราชการ" นั้น หมายถึงเวลาราชการจริง ๆ ส่วน "เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ" หมายถึงเวลาราชการจริง ๆ รวมทั้งเวลาราชการที่ไม่ใช่เวลาราชการจริง ๆ ด้วย เช่น มาตรา 24 วรรคสอง ให้นับเวลาราชการที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตที่ได้มีประกาศใช้กฎอัยการศึกเป็นทวีคูณเป็นต้นซึ่งไม่ใช่เวลาราชการจริง ๆ แต่ก็ถือว่าเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ ด้วยเหตุนี้ มาตรา 14 วรรคสอง จึงไม่ใช้ถ้อยคำว่า"ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว" แต่ใช้ว่า "ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว" เพื่อให้มีความหมายกว้างและเพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการผู้ลาออกจากราชการนั่นเอง ดังนั้น เมื่อโจทก์มีเวลาราชการจริง ๆ 17 ปี 10 เดือน 30 วัน และมีเวลาราชการทวีคูณในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึก อีก 6 ปี 9 เดือน 27 วัน หักวันลากิจลาป่วยระหว่างเวลาราชการทวีคูณแล้ว รวมเป็นเวลาราชการทั้งสิ้น 25 ปี 7 เดือน18 วัน อันเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามนัยดังกล่าวแต่โดยที่ มาตรา 4 ประกอบด้วยมาตรา 29 วรรคแรก บัญญัติให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญแต่จำนวนปีเศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี ซึ่งโจทก์มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญที่เป็นเศษของปีถึงครึ่งปี คือ 7 เดือน 18 วัน จึงต้องนับเป็นหนึ่งปี เมื่อรวมกับ 24 ปีแรก จึงเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ 25 ปีบริบูรณ์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำนาญ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิได้รับบำนาญซึ่งขณะยื่นฟ้อง ไม่อาจกำหนดจำนวนเงินได้แน่นอนโดยโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนหนึ่งจำนวนใด จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเวลาราชการสำหรับบำนาญ: เวลาราชการจริงรวมเวลาราชการทวีคูณ และการนับเศษปีเป็นปี
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ มาตรา 14 วรรคสอง มิได้ใช้ถ้อยคำแต่เพียงว่า "เวลาราชการ" แต่ใช้คำว่า "เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ" ซึ่งมีความหมายกว้างว่า เพราะ "เวลาราชการ" นั้น หมายถึงเวลาราชการจริง ๆ ส่วน "เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ" หมายถึงเวลาราชการจริง ๆ รวมทั้งเวลาราชการที่ไม่ใช่เวลาราชการจริง ๆ ด้วย เช่นมาตรา 24 วรรคสองให้นับเวลาราชการที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตที่ได้รับประกาศให้กฎอัยการศึกเป็นทวีคูณเป็นต้น ซึ่งไม่ใช่เวลาราชการจริง ๆ แต่ก็ถือว่าเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ ด้วยเหตุนี้มาตรา 14 วรรคสอง จึงไม่ใช้ถ้อยคำว่า "ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว" แต่ใช้ว่า "ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว" เพื่อให้มีความหมายกว้างและเพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการผู้ลาออกจากราชการนั่นเอง ดังนั้น เมื่อโจทก์มีเวลาราชการจริง ๆ 17 ปี 10 เดือน 30 วัน และมีเวลาราชการทวีคูณในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึกอีก 6 ปี 9 เดือน 27 วัน หักวันลากิจ ลาป่วยระหว่างเวลาราชการทวีคูณแล้ว รวมเป็นเวลาราชการทั้งสิ้น 24 ปี 7 เดือน 18 วัน อันเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามนัยดังกล่าว แต่โดยที่มาตรา 4 ประกอบด้วยมาตรา 29 วรรคแรก บัญญัติให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญแต่จำนวนปีเศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
ซึ่งโจทก์มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญที่เป็นเศษของปีถึงครึ่งปี คือ 7 เดือน 18 วัน จึงต้องนับเป็นหนึ่งปีเมื่อรวมกัน 24 ปีแรกจึงเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ 25 ปีบริบูรณ์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำนาญ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิได้รับบำนาญซึ่งขณะยื่นฟ้องไม่อาจกำหนดจำนวนเงินได้แน่นอนโดยโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนหนึ่งจำนวนใดจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอนุญาตอุทธรณ์ต้องแสดงเหตุผลว่าข้อพิพาทสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ การสั่งอนุญาตลอยๆ ถือไม่ชอบ
ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลแขวงสั่งคำร้องที่โจทก์ขออนุญาตอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "อนุญาตสำเนาให้จำเลย" นั้น เป็นคำสั่งอนุญาตลอย ๆ โดยมิได้ชี้แจงแสดงเหตุผลให้ปรากฏในคำสั่งว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์แต่ประการใดเลย จึงถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษานั้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามนัยที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องมีเหตุผลชัดเจนตามมาตรา 22 ทวิ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลแขวงสั่งคำร้องที่โจทก์ขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "อนุญาตสำเนาให้จำเลย" นั้น เป็นคำสั่งอนุญาตลอย ๆ โดยมิได้ชี้แจงแสดงเหตุผลให้ปรากฏในคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์แต่ประการใดเลยจึงถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษานั้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามนัยที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสินบริคณห์: สิทธิเดิมของผู้จัดการสินสมรสย่อมไม่ถูกกระทบโดยกฎหมายใหม่
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสืบบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 ใหม่นี้ เมื่อคดีได้ความว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีอำนาจจัดการรวมทั้งมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่ที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์นั้นได้อยู่แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 (เดิม) มาตรา 1468, 1469 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยลำพัง
of 21