คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศิริ จีระมะกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ การแสดงเจตนาทำสัญญาโดยไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ที่กฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นสัญญานั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องทำเป็นหนังสือ การแสดงเจตนาโดยมีคำเสนอและคำสนองตรงกันก็ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาต่อกันได้แล้ว ตามคำเสนอข้อตกลงการชำระหนี้ของ บริษัท ธ. โดยบริษัทดังกล่าวเสนอโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตีมูลค่าราคาที่ดินเป็นเงิน 448,000 บาท ส่วนหนี้ที่เหลืออีกจำนวน 193,865.57 บาท ผู้รับสัญญา คือ บริษัท ธ. ตกลงจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้ทำบันทึกข้อตกลง ซึ่งต่อมาโจทก์ก็ได้สนองรับคำเสนอโดยโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวจาก บริษัท ธ. โดยใส่ชื่อ ส. กรรมการผู้จัดการโจทก์ไว้แทนคำเสนอของบริษัท ธ. จึงตรงกับคำสนองของโจทก์ เพราะโจทก์ได้รับโอนที่ดินไว้แล้วโดยใส่ชื่อ ส. การโอนหนี้ดังกล่าวไม่ปรากฏว่ามีการขืนใจลูกหนี้แต่อย่างใด จึงเป็นการแปลงหนี้โดยชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 350 หนี้จึงเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่มีกรณีใด ๆ ที่จะต้องสงสัยอีกต่อไปว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง เพราะโจทก์ยินยอมรับโอนที่ดินจากบริษัท ธ. โดนใส่ชื่อ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ไว้แทน จึงเป็นการสนองเจตนาไปถึงบริษัท ธ. ผู้เสนอแล้ว ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นแต่เวลาเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 โดยมิจำต้องทำเป็นหนังสือ หนี้ระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นอันระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอำนาจฟ้องคดีและสิทธิในการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ซ้ำกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ก่อน
เอกอัครราชทูตโปแลนด์ประจำประเทศไทยได้รับรองเอกสารสองฉบับที่รับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าแอนโดเรียสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลเป็นลายมือชื่อของหัวหน้ากองกฎหมายแห่งประเทศโปแลนด์จริงโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแอนโดเรียสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลไว้แล้ว และได้มอบอำนาจให้บริษัทในประเทศไทยยื่นคำขอจดทะเบียนสินค้าดังกล่าวอีกเมื่อจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับโจทก์แม้จะขอจดเป็นอีกพวกหนึ่งแต่ก็ซ้ำกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งโจทก์เป็นผู้ใช้มาก่อนโจทก์ย่อมขอให้เพิกถอนคำขอของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเสนอทางธุรกิจถูกปฏิเสธ: สิทธิเรียกร้องจากการประมูลเช่าไม่มีผลผูกพันเมื่อถูกปฏิเสธ
คำประกาศแจ้งความของจำเลยที่ให้มีการประมูลการเช่าสัมปทานโรงงานสุราแม่โขงบางยี่ขันเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ผู้สนใจทำคำเสนอขึ้นมา หนังสือของโจทก์ที่ขอเข้าประกวดราคาด้วย จัดว่าเป็นคำเสนอ เมื่อคำเสนอดังกล่าวถูกจำเลยบอกปัดไปยังโจทก์ผู้เสนอแล้ว คำเสนอนั้นเป็นอันสิ้นความผูกพัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้บริษัทสุรามหาชน จำกัด เป็นผู้เช่าโรงงานสุราแม่โขงบางยี่ขันเป็นโมฆะและบังคับจำเลยรับเรื่องราวของโจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเสนอทางธุรกิจถูกปฏิเสธแล้ว ย่อมไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำประกาศแจ้งความของจำเลยที่ให้มีการประมูลการเช่าสัมปทานโรงงานสุราแม่โขงบางยี่ขัน เป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ผู้สนใจทำคำเสนอขึ้นมา หนังสือของโจทก์ที่ขอเข้าประกวดราคาด้วย จัดว่าเป็นคำเสนอ เมื่อคำเสนอดังกล่าวถูกจำเลยบอกปัดไปยังโจทก์ผู้เสนอแล้ว คำเสนอนั้นเป็นอันสิ้นความผูกพัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้บริษัทสุรามหาชน จำกัด เป็นผู้เช่าโรงงานสุราแม่โขงบางยี่ขันเป็นโมฆะและบังคับจำเลยรับเรื่องราวของโจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาที่ถึงที่สุดในการพิจารณาคดีแพ่ง
โจทก์ฟ้องคดีแพ่งกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยร่วมกันทุจริตเบียดบังข้าวสารของโจทก์ไป และขอให้ชดใช้เงินค่าข้าวสาร ซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาซึ่งกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันทุจริตเบียดบังข้าวสารของโจทก์ไป ขอให้ลงโทษและขอให้คืนหรือใช้ราคาข้าวสารเช่นเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เมื่อศาลได้พิพากษายกฟ้องคดีอาญาโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้ร่วมกันเบียดบังยักยอกข้าวสารของโจทก์ไปคดีถึงที่สุดแล้ว ในการพิพากษาคดีแพ่งนี้ ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งอ้างสภาพแห่งข้อหาในมูลคดีเดียวกับคดีอาญาดังกล่าวจึงตกไปรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราโดยไม่มีอนาจารอื่นเพิ่มเติม: ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง
การที่จำเลยกับพวกเอามืออุดปากแล้วเอาผ้าขาวม้ามัดมือผู้เสียหายลากเข้าริมถนนแล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายเพียงประการเดียว มิได้ทำอนาจารประการอื่นใดอีก จำเลยกับพวกจึงมีความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ไม่มีความผิดในข้อหาอนาจารผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2706/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินพิพาทโดยจำเลยมิได้ฟ้องผู้โอนเพื่อเพิกถอนสัญญา โจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขาย
จำเลยขออาศัยอยู่ในที่พิพาทจากเจ้าของเดิม น.ซื้อที่พิพาทมาแล้วได้ทำสัญญาจะขายให้จำเลย ต่อมา น.ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท เช่นนี้ เมื่อจำเลยมิได้ฟ้อง น.ผู้โอนที่พิพาทให้โจทก์ และมิได้ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการโอนที่พิพาท จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยให้เพิกถอนการซื้อขายที่พิพาทระหว่าง น.และโจทก์ โจทก์จึงยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามสัญญาซื้อขายอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2706/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินต่อเนื่องกัน ผู้ซื้อคนสุดท้ายมีกรรมสิทธิ์ หากไม่ได้ฟ้องเพิกถอนการซื้อขายก่อนหน้า
จำเลยขออาศัยอยู่ในที่พิพาทจากเจ้าของเดิม น. ซื้อที่พิพาทมาแล้ว ได้ทำสัญญาจะขายให้จำเลย ต่อมา น. ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท เช่นนี้ เมื่อจำเลยมิได้ฟ้องน. ผู้โอนที่พิพาทให้โจทก์ และมิได้ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการโอนที่พิพาทจึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยให้เพิกถอนการซื้อขายที่พิพาทระหว่าง น. และโจทก์โจทก์จึงยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามสัญญาซื้อขายอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นอายุความมรดกและการฟ้องขับไล่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดก
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความมรดกเป็นประเด็นไว้และจำเลยก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอายุความมรดก จำเลยย่อมหมดสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความมรดก จึงเป็นการนอกประเด็น
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม. ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของม. ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นอายุความมรดกและการใช้สิทธิของเจ้าของรวม ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่กำหนดไว้
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความมรดกเป็นประเด็นไว้ และจำเลยก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอายุความรดก จำเลยย่อมหมดสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความมรดก จึงเป็นการนอกประเด็น
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม.ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ ม.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท
of 21