คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กนก อินทรัมพรรย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการโรงงานโดยไม่แจ้ง, อุตสาหกรรมยาสูบผิดกฎหมาย, ปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า, และการหลบหนี
จำเลยไปที่บ้านของ ว. พร้อมกับทนายความและเจ้าพนักงานตำรวจอีกคนหนึ่งเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการเบิกเงินของ บ และการใช้กระแสไฟฟ้าจากโรงงานจำเลย โดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นได้แอบบันทึกเหตุการณ์ทั้งภาพและเสียงไว้ด้วยพฤติการณ์ในการบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการลักลอบกระทำก่อนวันที่จำเลยอ้างตนเองเข้าเบิกความเป็นพยานเพียง 1 วัน เพราะต้องการจะได้ข้อมูลที่แอบบันทึกไว้ เนื่องจากจำเลยฉีกเอกสารหลักฐานที่ว่าจ้าง บ. ก่อสร้างโรงงานทิ้งไปแล้ว จึงพยายามหาหลักฐานใหม่ ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยทำขึ้นใหม่ด้วยการทำเป็นดีกับ ว. แล้วลักลอบบันทึกเหตุการณ์นั้นไว้ ถือได้ว่า เป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นจากการหลอกลวงและด้วยวิธีการที่มิชอบ ต้องห้ามมิให้อ้างเป็นพยานหลักฐานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินกู้ การคิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย และการปลดเปลื้องหนี้ตามหลักประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยกู้ยืมเงิน 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 180,000 บาท โดยสัญญากู้ยืมเงินแต่ละฉบับตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน แต่ในสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับระบุว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตามกฎหมาย ดังนี้ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้ง ย่อมต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวว่าได้มีการตกลงกันด้วยวาจาให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
โจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 จำนวน 155,505 บาท จึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระแต่ละครั้งไปชำระดอกเบี้ยที่คงค้าง ส่วนที่เหลือจึงนำไปหักชำระต้นเงินที่ค้างชำระแต่ละคราวไป แต่จำเลยที่ 1 ไม่นำสืบให้ได้ความชัดเจนว่าการชำระเงินดังกล่าวเป็นการชำระหนี้สินรายใด เมื่อหนี้สินจำนวน 150,000 บาท และจำนวน 30,000 บาท ไม่ได้กำหนระยะเวลาชำระหนี้ไว้ แต่หนี้สินรายแรกมีผู้ค้ำประกัน 2 ราย ส่วนหนี้สินรายหลังมีผู้ค้ำประกันเพียงรายเดียว หนี้สินรายหลังจึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้มีประกันน้อยที่สุด จึงต้องถือว่าหนี้รายหลังเป็นอันปลดเปลื้องไปก่อนตามประมวลกฎหมายและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญา กู้ยืมเงิน การชำระหนี้ และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับ ที่โจทก์ทำสัญญาไว้กับจำเลยที่ 1 นั้น ระบุว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามกฎหมายจึงเป็นกรณีมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้ง จึงต้องตีความเป็นคุณแก่ผู้กู้ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงกันด้วยวาจาให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือนไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) กรณีหาใช่เป็นการนำสืบถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่โจทก์ฟ้องไม่
โจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 155,505 บาท แต่จำเลยที่ 1 มิได้ระบุว่าเป็นการชำระหนี้สินรายใด เมื่อหนี้สินมีจำนวน 150,000 บาท และจำนวน 30,000 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ แต่หนี้สินรายแรกมีผู้ค้ำประกัน 2 ราย ส่วนหนี้รายหลังมีผู้ค้ำประกันเพียงรายเดียว หนี้สินรายหลังจึงเป็นหนี้ที่มีเจ้าหนี้มีประกันน้อยที่สุด เมื่อจำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระแก่โจทก์ จึงต้องถือว่าหนี้รายหลังเป็นอันปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
เมื่อการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการชำระหนี้ที่แบ่งแยกจากกันไม่ได้ จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน: การกระทำความผิดสำเร็จหลายกรรมตามจำนวนผู้เสียหาย
การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป อันจะทำให้เป็นความผิดสำเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนไม่จำเป็นที่จำเลยที่ 1 จะต้องกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเองตั้งแต่ต้นทุกครั้งเป็นคราว ๆ ไป เพียงแต่จำเลยที่ 1 แสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายแม้เพียงบางคน แต่เป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อและนำเงินมาให้จำเลยที่ 1 กู้ยืม ก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดแล้ว ข้อสำคัญที่ทำให้ความผิดสำเร็จอยู่ที่ในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้เงินกู้ยืมไปจากผู้ถูกหลอกลวง ดังนั้นการที่ผู้เสียหายแต่ละคนนำเงินมาให้กู้ยืมและจำเลยที่ 1 รับไว้ ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้เสียหายแต่ละคน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน: การกระทำความผิดสำเร็จหลายกรรมตามจำนวนผู้เสียหาย
การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป อันจะทำให้เป็นความผิดสำเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนไม่จำเป็นที่จำเลยที่ 1 จะต้องกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเองตั้งแต่ต้นทุกครั้งเป็นคราว ๆ ไป เพียงแต่จำเลยที่ 1 แสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายแม้เพียงบางคน แต่เป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อและนำเงินมาให้จำเลยที่ 1 กู้ยืม ก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดแล้ว ดังนั้นการที่ผู้เสียหายแต่ละคนนำเงินมาให้กู้ยืมและจำเลยที่ 1 รับไว้ ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้เสียหายแต่ละคน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6980/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า แม้สัญญาอนุญาตจะโมฆะ แต่เจ้าของเครื่องหมายยังฟ้องละเมิดได้ หากจำเลยใช้เครื่องหมายต่อหลังบอกเลิก
แม้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการ "เลมอนกรีน (LEMON GREEN)" ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้อนุญาตให้จำเลยใช้เครื่องหมายบริการดังกล่าวโดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนอันเป็นผลให้สัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับสิทธิหรือกล่าวอ้างสิทธิตามสัญญาแต่อย่างใด แต่ฟ้องกล่าวหาจำเลยกระทำละเมิดสิทธิในเครื่องหมายบริการของโจทก์ โดยจำเลยยังคงใช้เครื่องหมายบริการของโจทก์ หลังจากที่โจทก์ได้แจ้งบอกเลิกการอนุญาตให้ใช้แล้ว โจทก์ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายบริการที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วซึ่งมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายบริการนั้นสำหรับบริการที่ได้จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 ย่อมมีสิทธิฟ้องว่าจำเลยละเมิดสิทธิในเครื่องหมายบริการของโจทก์ได้
การที่จำเลยเคยใช้เครื่องหมายบริการของโจทก์ทั้งหมดให้ประชาชนได้เห็นแล้วต่อมาจำเลยเพียงแต่ลอกป้ายส่วนที่เป็นรูปและคำว่า "LEMON" ออกโดยป้ายต่างๆ ยังติดตั้งอยู่ที่เดิม ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปที่เคยเห็นป้ายร้านค้าของจำเลยดังกล่าวเข้าใจได้ว่าร้านค้าของจำเลยยังเป็นร้าน LEMON GREEN อยู่ส่วนรูปและคำว่า "LEMON" ที่หายไปนั้นก็อาจเข้าใจว่าเป็นเพราะป้ายได้รับความเสียหายเท่านั้น ถือว่าจำเลยยังใช้เครื่องหมายบริการของโจทก์อยู่อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องว่า หากจำเลยไม่ดำเนินการถอดป้ายและลบเครื่องหมายบริการของโจทก์ออกจากร้านค้าของจำเลย โจทก์ขอถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยให้โจทก์เข้าไปถอดป้ายและลบเครื่องหมายบริการของโจทก์ดังกล่าวได้โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้น หากโจทก์จะกระทำการดังกล่าวย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินของจำเลยโดยไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดให้อำนาจแก่โจทก์ดำเนินการเช่นนั้นได้ คำขอในส่วนนี้ของโจทก์ จึงเป็นคำขอที่ไม่อาจพิพากษาบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเนื่องจากแยกกันอยู่เกิน 3 ปี และอำนาจศาลในการกำหนดสิทธิเลี้ยงดูบุตร
ระหว่างที่โจทก์และจำเลยแยกกันอยู่ จำเลยได้ทำหนังสือร้องเรียนโจทก์ต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจทำให้โจทก์ถูกลงโทษทางวินัย และย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นหญิงได้รับความอับอายขายหน้าต่อเพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้านหรือบุคคลทั่วไป แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ขวนขวายที่จะให้มีการอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ต่อไปจึงได้กระทำการอันก่อให้เกิดความบาดหมางกันยิ่งขึ้นสุดที่จะอยู่กินด้วยกันได้อีก และนับแต่วันที่แยกกันอยู่ดังกล่าวจนถึงวันฟ้องเป็นเวลานานถึง 4 ปี จำเลยไม่ได้ส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือกลับไปหาโจทก์อีกเลย พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์จำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4/2) และในกรณีนี้โจทก์จำเลยมีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาลให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด..." และมาตรา 1522 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด" ดังนี้ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเนื่องจากแยกกันอยู่เกิน 3 ปี และอำนาจศาลในการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์จำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4/2) และเมื่อจำเลยมีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้ตามมาตรา 1520 วรรคสอง และมาตรา 1522 วรรคสอง ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความต้องชัดเจนถึงการสละสิทธิทางอาญา มิเช่นนั้นสิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
บันทึกการยอมรับสภาพนี้ มีเพียงข้อความว่าจำเลยยอมรับและยินยอมชดใช้เงินคืนให้แก่สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์พร้อมด้วยดอกเบี้ยภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันให้ถ้อยคำนี้ และหากไม่ปฏิบัติตามไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ จำเลยยินยอมให้คณะกรรมการกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่ม หรือทางราชการดำเนินการตามกฎหมาย ข้อความในบันทึกดังกล่าวไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้แสดงความประสงค์ที่จะสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยหรือไม่ จะถือว่าสิทธิดำเนินคดีอาญาของโจทก์ระงับไปหาได้ไม่ การยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายนั้นข้อตกลงจะต้องปรากฏชัดแจ้งว่า ผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6354/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินในบัญชี การคิดค่าธรรมเนียมเมื่ออายัดสำเร็จ และสิทธิในการอายัดเงินที่เกิดขึ้นใหม่
โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ในบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,347,571.19 บาท แต่ในบัญชีของจำเลยที่ 2 มีเงินเพียง 490 บาท โจทก์ขอรับเงิน 490 บาท พร้อมแถลงไม่ติดใจอายัดเงินในบัญชีของจำเลยที่ 2 การที่ธนาคารส่งมอบเงินตามสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 จำนวน 490 บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและแจ้งเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีสอบถามเพิ่มเติมว่าบัญชีของจำเลยที่ 2 ที่ใช้กับธนาคารมียอดเป็นลูกหนี้ธนาคารอยู่ ย่อมแสดงให้เห็นว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ในบัญชีเงินฝากธนาคารที่โจทก์ขอให้อายัดมีจำนวนเงินเพียง 490 บาท ตามที่ธนาคารส่งมอบแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น การอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเสร็จสิ้นไปแล้ว แม้เงินจำนวน 490 บาท นั้นจะไม่ครบจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตาม และหากต่อมาปรากฏว่ามีเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดี ความรับผิดในค่าธรรมเนียมการถอนอายัดร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่ขออายัดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. ตาราง 5 ข้อ 4 จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ขอรับเงินจำนวน 490 บาท ที่อายัดได้นั้น โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 3.5 ตามตาราง 5 ข้อ 2 ของจำนวนเงิน 490 บาท
of 3