พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6354/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินในบัญชี การคิดค่าธรรมเนียมเมื่ออายัดสำเร็จ และสิทธิในการอายัดเงินที่เกิดขึ้นใหม่
โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ในบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,347,571.19 บาท แต่ในบัญชีของจำเลยที่ 2 มีเงินเพียง 490 บาท โจทก์ขอรับเงิน 490 บาท พร้อมแถลงไม่ติดใจอายัดเงินในบัญชีของจำเลยที่ 2 การที่ธนาคารส่งมอบเงินตามสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 จำนวน 490 บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและแจ้งเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีสอบถามเพิ่มเติมว่าบัญชีของจำเลยที่ 2 ที่ใช้กับธนาคารมียอดเป็นลูกหนี้ธนาคารอยู่ ย่อมแสดงให้เห็นว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ในบัญชีเงินฝากธนาคารที่โจทก์ขอให้อายัดมีจำนวนเงินเพียง 490 บาท ตามที่ธนาคารส่งมอบแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น การอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเสร็จสิ้นไปแล้ว แม้เงินจำนวน 490 บาท นั้นจะไม่ครบจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตาม และหากต่อมาปรากฏว่ามีเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดี ความรับผิดในค่าธรรมเนียมการถอนอายัดร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่ขออายัดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. ตาราง 5 ข้อ 4 จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ขอรับเงินจำนวน 490 บาท ที่อายัดได้นั้น โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 3.5 ตามตาราง 5 ข้อ 2 ของจำนวนเงิน 490 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4426/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราและพรากผู้เยาว์ โดยใช้กำลังประทุษร้ายและหลอกลวง
การที่จำเลยได้หลอกให้ผู้เสียหายไปพบยายโดยอ้างว่ายายต้องการพบ ทั้งที่ความจริงยายมิได้ใช้ให้จำเลยไปตามผู้เสียหายมาพบแต่อย่างใด จำเลยจึงมีเจตนาหลอกผู้เสียหายไปที่บ้านเกิดเหตุ เพื่อที่จะได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากผู้ปกครองดูแลโดยผู้เสียหายไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อกระทำอนาจาร: การล่วงละเมิดอำนาจปกครองและการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร
คำว่า "พราก" หมายความว่าพาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแล ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดาเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยบิดามารดาเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาเด็ก จำเลยมิได้พาผู้เสียหายกับเด็กหญิง ก. ซึ่งกำลังเล่นกันอยู่ที่บ้านจำเลยไปที่เตาเผาถ่านในป่าละเมาะในลักษณะเดียวกันกับที่จำเลยเคยพาผู้เสียหายออกจากบ้านจำเลยไปด้วยกันในครั้งก่อน ๆ ที่บิดามารดาผู้เสียหายไม่เคยทักท้วงว่ากล่าว เพราะเมื่อถึงเตาเผาถ่านแล้วจำเลยให้เด็กหญิง ก. แต่ผู้เดียวลงไปเล่นในหลุมเผาถ่านแล้วหลอกลวงโดยชักชวนผู้เสียหายว่าจะพาไปหาผลไม้ป่ารับประทาน เมื่อถึงที่เกิดเหตุบริเวณกกไม้หลังเตาเผาถ่าน จำเลยกลับถอดกางเกงผู้เสียหายออกและกระทำอนาจารผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายจากเตาเผาถ่านไปกระทำอนาจารยังที่เกิดเหตุ จึงเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาและเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร อันเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่ออนาจาร: การกระทำโดยหลอกลวงและขัดต่ออำนาจปกครองของบิดามารดา
คำว่า "พราก" หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแล ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดาเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยบิดามารดาเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาเด็ก จำเลยมิได้พาผู้เสียหายกับเด็กหญิง ก. ซึ่งกำลังเล่นกันอยู่ที่บ้านจำเลยไปที่เตาเผาถ่านในป่าละเมาะในลักษณะเดียวกันกับที่จำเลยเคยพาผู้เสียหายออกจากบ้านจำเลยไปด้วยกันในครั้งก่อนๆ ที่บิดามารดาผู้เสียหายไม่เคยทักท้วงว่ากล่าว เพราะเมื่อถึงเตาเผาถ่านแล้วจำเลยให้เด็กหญิง ก.แต่ผู้เดียวลงไปเล่นในหลุมเผาถ่านแล้วหลอกลวงโดยชักชวนผู้เสียหายว่าจะพาไปหาผลไม้ป่ารับประทาน เมื่อถึงที่เกิดเหตุบริเวณกกไม้หลังเตาเผาถ่านจำเลยกลับถอดกางเกงผู้เสียหายออกและกระทำอนาจารผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายจากเตาเผาถ่านไปกระทำอนาจารยังที่เกิดเหตุ จึงเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาและเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรอันเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317ิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การพาเด็กเพื่ออนาจารและข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่องกัน
การที่จำเลยจับข้อมือพาผู้เสียหายที่ไปหาเพื่อนใกล้กับบ้านจำเลย โดยจำเลยบอกผู้เสียหายว่าจะพาไปส่งบ้านผู้เสียหายซึ่งอยู่ห่างบ้านจำเลย 50 ถึง 80 เมตร ขณะเกิดเหตุเป็นเวลา 19 นาฬิกา เริ่มจะค่ำมืดแล้ว และผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุเพียง 10 ปีเศษ จำเลยเห็นโอกาสที่ไม่มีผู้ใดพบเห็นขณะที่จำเลยพบผู้เสียหายและสามารถจะพาผู้เสียหายไปตามลำพังได้ จึงเกิดเถยจิตมีเจตนาที่จะกระทำชำเราผู้เสียหามาแต่แรกเป็นสำคัญจึงพาไปยังบ้านร้าง และได้กระทำชำเราผู้เสียหายในบ้านร้างดังกล่าว การพาไปและการกระทำชำเราได้กระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงแต่วาระเดียวกันไม่ขาดตอน การกระทำของจำเลยซึ่งเป็นความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศต่อความเสียหายของสินค้า แม้เกิดในคลังสินค้าของผู้อื่น
จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องดูแลมิให้สินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งหรือในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของตน มิฉะนั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อความสูญหายหรือเสียหายนั้นต่อผู้รับตราส่ง การที่จำเลยที่ 1 ต้องฝากสินค้าที่ขนส่งไว้ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 เพราะถูกบังคับโดยกฎหมายศุลกากรเพื่อเสียภาษีศุลกากรและตามกฎหมายการบินระหว่างประเทศ (IATA) เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติเพื่อส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้รับตราส่งต่อไป สินค้าที่ขนส่งยังไม่พ้นไปจากความดูแลหรือความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ดังนั้น แม้เหตุแห่งการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งจะเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 ก็ถือได้ว่าเหตุแห่งการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งหรือในระหว่างที่สินค้านั้นยังอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้น
คดีนี้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยร่วม มิได้ทำนิติกรรมว่าจะร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งแต่อย่างใด ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติให้ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ นายคลังสินค้า และผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของในคลังสินค้าร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 นายคลังสินค้าและจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 ในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งได้
คดีนี้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยร่วม มิได้ทำนิติกรรมว่าจะร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งแต่อย่างใด ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติให้ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ นายคลังสินค้า และผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของในคลังสินค้าร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 นายคลังสินค้าและจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 ในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและขอบเขตพินัยกรรม: การแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส และการที่พินัยกรรมเกินสิทธิ
โจทก์ได้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาระหว่างสมรส ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสที่โจทก์และ ข มีสิทธิคนละครึ่งหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอมด้วย ข. จึงไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์พิพาทเกินกว่าส่วนของตนให้แก่จำเลยทั้งสองได้
เมื่อทรัพย์พิพาทส่วนที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งเป็นสินสมรสไม่ใช่ทรัพย์มรดกจึงไม่อยู่ในอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
เมื่อทรัพย์พิพาทส่วนที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งเป็นสินสมรสไม่ใช่ทรัพย์มรดกจึงไม่อยู่ในอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้จะแยกกันอยู่ แต่เมื่อยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย ก็ไม่สิ้นสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1628 ผู้ร้องจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษ จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย มีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินของผู้ตาย ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษ จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย มีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินของผู้ตาย ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้แทน: การฟ้องผู้แทนต้องระบุฐานความรับผิดให้ชัดเจน หากมิได้ระบุฐานตัวการ ผู้แทนไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นผู้ขนส่งซึ่งมีบริษัท ท. เป็นตัวแทน โจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนของทะเลกับโจทก์แทนบริษัท ท. ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศอันจะทำให้จำเลยต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 กรณีจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยต้องรับผิดตามบทบัญญัติมาตรา 824 ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้างและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ผลกระทบต่อสิทธิครอบครอง ค่าเสียหาย และการหักกลบลบหนี้
คดีก่อนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างตึกแถวและเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากโจทก์คดีนี้ผิดสัญญาไม่ยอมส่งมอบตึกแถวแก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญาเลิกกันคู่ความต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์ต้องคืนที่ดินพร้อมตึกแถวซึ่งถือว่าเป็นส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองในคดีนี้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินและตึกแถวต่อไป ส่วนค่าเสียหายนั้นเนื่องจากได้ตกลงเลิกสัญญากันแล้วโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งมอบตึกแถว จำเลยทั้งสองจึงเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้ พิพากษาให้ขับไล่โจทก์คดีนี้ออกจากที่ดินและตึกแถว ดังนั้นผลของคำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ โจทก์คดีนี้จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินและตึกแถวนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนคือวันที่ 12 ตุลาคม 2537 ให้โจทก์คดีนี้ฟัง การที่โจทก์คดีนี้คงอยู่ต่อมาจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2538 จึงเป็นละเมิด ดังนั้นที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดใน ช่วงระยะเวลาดังกล่าวจนกว่าจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินและตึกแถวจึงเป็นการฟ้องแย้งเพื่อให้บังคับตามสิทธิที่เกิดจากผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์ก่อสร้างตึกแถวตามสัญญา ต่อมาจำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อสร้างตึกแถวและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเลิกกันเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ดังนั้น โจทก์จึงควรได้ค่าก่อสร้างตึกแถวเพียงเท่าที่ก่อสร้างจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากตกลงกัน 6 เดือน หลังจากนั้นโจทก์ยังก่อสร้างตึกแถวอีก 3 เดือนจำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทจำนวน 3 ห้องให้แก่โจทก์เนื่องจากเป็นการงานอันได้กระทำให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่ดินและตึกพิพาทต่อมา จึงเห็นสมควรนำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้กับจำนวนค่าก่อสร้างตึกแถวจำนวน 3 ห้อง
โจทก์ก่อสร้างตึกแถวตามสัญญา ต่อมาจำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อสร้างตึกแถวและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเลิกกันเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ดังนั้น โจทก์จึงควรได้ค่าก่อสร้างตึกแถวเพียงเท่าที่ก่อสร้างจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากตกลงกัน 6 เดือน หลังจากนั้นโจทก์ยังก่อสร้างตึกแถวอีก 3 เดือนจำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทจำนวน 3 ห้องให้แก่โจทก์เนื่องจากเป็นการงานอันได้กระทำให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่ดินและตึกพิพาทต่อมา จึงเห็นสมควรนำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้กับจำนวนค่าก่อสร้างตึกแถวจำนวน 3 ห้อง