พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนด้วยการหลอกลวงลงทุนและดอกเบี้ยเกินอัตรา ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้อง
จำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวก ได้หลอกลวงโจทก์ทั้เก้าโดยอ้างว่าได้ร่วมกันประกอบกิจการโรงงานจัดส่งปอกระสาไปจำหน่ายต่างประเทศ ร่วมกันลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับที่ดินและธุรกิจให้กู้ยืมเงินซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ร้อยละ 5 ต่อ 15 วัน ร้อยละ 4 ต่อ 7 วัน ร้อยละ 3 ต่อ5 วัน จำเลยที่ 3 และที่ 5 กับพวกต้องการกู้ยืมเงินจากโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปเพื่อนำไปลงทุนขยายกิจการดังกล่าว โจทก์ทั้งเก้าหลงเชื่อจึงให้กู้ยืมเงินหลายครั้งการกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นการกระทำโดยทุจริต ร่วมกันหลอกลวงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ทั้งเก้า เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ.มาตรา 343, 83 ส่วนการที่โจทก์ทั้งเก้า ร่วมรับดอกเบี้ยเกินอัตรานั้น โจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องร้องจำเลยที่ 3 และ ที่4 กับพวกในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา หากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3และที่ 4 อันจะทำให้โจทก์ทั้งเก้าไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้
การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้แต่เห็นได้ชัดว่าเกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือ ฉ้อโกงประชาชน จึงถือได้ว่าการกระทำความผิดของจำเลยทั้งห้าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว
การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้แต่เห็นได้ชัดว่าเกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือ ฉ้อโกงประชาชน จึงถือได้ว่าการกระทำความผิดของจำเลยทั้งห้าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6851/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนเป็นโมฆะ เมื่อพระราชกฤษฎีกาหมดอายุ เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจ
ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษนั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง ฯลฯ พ.ศ. 2530 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุ ฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของผู้ว่าการการทางพิเศษฯ กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงสิ้นผลลง ราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดก็ย่อมสิ้นผลไปด้วยดังนั้นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 2ทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว จึงเป็นการ กระทำโดยปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6851/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินเวนคืนเป็นโมฆะเมื่อทำหลังหมดอายุพระราชกฤษฎีกาและผู้ทำไม่มีอำนาจ
++ เรื่อง คดีปกครอง (เรียกค่าทดแทนที่ดิน) ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++ ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษนั้น พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง ฯลฯ พ.ศ.2530 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.ฎ.นี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุ ฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของผู้ว่าการการทางพิเศษฯ กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ. ดังกล่าวจึงสิ้นผลลง ราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดก็ย่อมสิ้นผลไปด้วย ดังนั้น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 2 ทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่55515, 55516, 55517 และโฉนดเลขที่ 101810 ตำบลบางกะปิตำบลห้วยขวาง (สามเสนนอกฝั่งเหนือ) อำเภอบางกะปิ และอำเภอห้วยขวาง (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 แปลงรวมเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา
++ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน2530 มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตปทุมวัน เขตบางรักเขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตดุสิตเขตบางเขน เขตพญาไท และเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2530 ประกาศใช้บังคับเพื่อสร้างทางพิเศษสายพระโขนงหัวลำโพง-บางซื่อ และสายสาธร-ลาดพร้าว ซึ่งมีอายุ 5 ปี นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2530 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2535 ตามเอกสารหมาย ล.1 ที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสี่แปลงอยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
++ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น ฯตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 953/2534 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2534ตามเอกสารหมาย ล.2 กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ตารางวาละ 20,000 บาท และผู้ว่าการของจำเลยที่ 2กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันวันที่ 20 สิงหาคม 2535ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ฯ เอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.11อันเป็นระยะเวลาที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหมดอายุแล้ว
++
++ มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.11 มีผลใช้บังคับหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2กับโจทก์ ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เอกสารหมาย จ.2 หรือล.11 เป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสาธร-ลาดพร้าว (บริเวณโรงซ่อมบำรุง)กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนและจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่จะถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษฯ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
++
++ ขั้นตอนนี้กำหนดไว้ในมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ว่า ในระหว่างใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีอำนาจตกลงซื้อขาย และกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อดำเนินการจัดซื้อและจ่ายค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่อไปแต่จะให้ราคาหรือค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเกินกว่าราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดไว้ไม่ได้
++ และมาตรา 4ให้คำนิยาม "เจ้าหน้าที่" หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรมราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจหรือบุคคลอื่นใดผู้กระทำการเพื่อประโยชน์ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืน
++ แต่ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.11 นั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ. 2530ตามเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุ ฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยกับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวาเขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเขตพระนคร เขตดุสิต เขตบางเขน เขตพญาไท และเขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 เอกสารหมาย ล.1 สิ้นผลลงไปด้วยและราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดย่อมสิ้นผลไปด้วย
++ ดังนั้น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.11 ซึ่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 2 ทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว จึงเป็นการกระทำโดยผู้ปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ
++ การดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงต้องดำเนินการใหม่
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++ ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษนั้น พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง ฯลฯ พ.ศ.2530 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.ฎ.นี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุ ฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของผู้ว่าการการทางพิเศษฯ กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ. ดังกล่าวจึงสิ้นผลลง ราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดก็ย่อมสิ้นผลไปด้วย ดังนั้น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 2 ทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่55515, 55516, 55517 และโฉนดเลขที่ 101810 ตำบลบางกะปิตำบลห้วยขวาง (สามเสนนอกฝั่งเหนือ) อำเภอบางกะปิ และอำเภอห้วยขวาง (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 แปลงรวมเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา
++ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน2530 มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตปทุมวัน เขตบางรักเขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตดุสิตเขตบางเขน เขตพญาไท และเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2530 ประกาศใช้บังคับเพื่อสร้างทางพิเศษสายพระโขนงหัวลำโพง-บางซื่อ และสายสาธร-ลาดพร้าว ซึ่งมีอายุ 5 ปี นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2530 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2535 ตามเอกสารหมาย ล.1 ที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสี่แปลงอยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
++ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น ฯตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 953/2534 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2534ตามเอกสารหมาย ล.2 กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ตารางวาละ 20,000 บาท และผู้ว่าการของจำเลยที่ 2กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันวันที่ 20 สิงหาคม 2535ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ฯ เอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.11อันเป็นระยะเวลาที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหมดอายุแล้ว
++
++ มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.11 มีผลใช้บังคับหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2กับโจทก์ ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เอกสารหมาย จ.2 หรือล.11 เป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสาธร-ลาดพร้าว (บริเวณโรงซ่อมบำรุง)กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนและจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่จะถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษฯ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
++
++ ขั้นตอนนี้กำหนดไว้ในมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ว่า ในระหว่างใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีอำนาจตกลงซื้อขาย และกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อดำเนินการจัดซื้อและจ่ายค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่อไปแต่จะให้ราคาหรือค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเกินกว่าราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดไว้ไม่ได้
++ และมาตรา 4ให้คำนิยาม "เจ้าหน้าที่" หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรมราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจหรือบุคคลอื่นใดผู้กระทำการเพื่อประโยชน์ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืน
++ แต่ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.11 นั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ. 2530ตามเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุ ฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยกับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวาเขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเขตพระนคร เขตดุสิต เขตบางเขน เขตพญาไท และเขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 เอกสารหมาย ล.1 สิ้นผลลงไปด้วยและราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดย่อมสิ้นผลไปด้วย
++ ดังนั้น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.11 ซึ่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 2 ทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว จึงเป็นการกระทำโดยผู้ปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ
++ การดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงต้องดำเนินการใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6673/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันลักทรัพย์: พฤติการณ์รับว่าช่วยถอดทรัพย์สิน, การจับกุมผู้ร่วมกระทำผิด, และคำรับสารภาพมีน้ำหนักรับฟัง
แม้การที่จำเลยแจ้งแก่ ช.และสิบตำรวจตรีท. ว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนเอาเครื่องรับโทรทัศน์ไป แต่เป็นคนช่วยถอดเครื่องรับโทรทัศน์ออกมาจะเป็นเพียงคำบอกเล่าของจำเลยก็ตาม แต่คำบอกเล่าของจำเลยดังกล่าวเป็นการกล่าวร้ายเสียประโยชน์และไม่เป็นคุณแก่ตน ย่อมมีน้ำหนักที่จะรับฟังประกอบพฤติการณ์แวดล้อมอื่นได้การที่จำเลยนำสิบตำรวจตรีท.ไปจับกุมส.แล้วต่อมาส. ให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาลงโทษไปแล้วพฤติการณ์ที่จำเลยเดินใกล้ที่เกิดเหตุและรับว่าช่วยถอดเครื่องรับโทรทัศน์ไปจากที่เกิดเหตุ ฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับส. ลักทรัพย์ของผู้เสียหายไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6673/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำบอกเล่าจำเลยประกอบพฤติการณ์แวดล้อมเป็นหลักฐานรับฟังได้ในการพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์
แม้การที่จำเลยแจ้งแก่ ช.และสิบตำรวจตรี ท.ว่า จำเลยไม่ได้เป็นคนเอาเครื่องรับโทรทัศน์ไป แต่เป็นคนช่วยถอดเครื่องรับโทรทัศน์ออกมาจะเป็นเพียงคำบอกเล่าของจำเลยก็ตาม แต่คำบอกเล่าของจำเลยดังกล่าวเป็นการกล่าวร้ายเสียประโยชน์และไม่เป็นคุณแก่ตน ย่อมมีน้ำหนักที่จะรับฟังประกอบพฤติการณ์แวดล้อมอื่นได้ การที่จำเลยนำสิบตำรวจตรี ท.ไปจับกุม ส. แล้วต่อมา ส.ให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาลงโทษไปแล้ว พฤติการณ์ที่จำเลยเดินใกล้ที่เกิดเหตุและรับว่าช่วยถอดเครื่องรับโทรทัศน์ไปจากที่เกิดเหตุ ฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับ ส.ลักทรัพย์ของผู้เสียหายไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6671/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความพยานนอกบัญชีรายชื่อพยานไม่มีผลต่อการวินิจฉัยคดีหากมีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายคิดเป็นเงิน 5,300 บาท พิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ การวินิจฉัยคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นรับฟังจากพยานหลักฐานทั้งปวงที่โจทก์นำสืบ มิได้รับฟังจากเฉพาะคำเบิกความของ ค. เพียงปากเดียวและแม้โจทก์จะไม่มี ค. เข้าเบิกความ ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีของศาลชั้นต้นเปลี่ยนแปลงไปดังนั้น แม้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ค. พยานโจทก์เข้าเบิกความโดยไม่มีชื่อในบัญชีพยานโจทก์ อันเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88และมาตรา 106 ก็ไม่ทำให้พยานโจทก์อื่น ๆ เสียไป หรือหาก ค. ไม่เข้าเบิกความแล้วผลของคดีจะเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาข้อกฎหมายในเรื่องดังกล่าวของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6574/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกที่มีข้อขัดแย้ง ศาลมีอำนาจตั้งผู้จัดการมรดกร่วมเพื่อความเป็นธรรม
ในการที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย เพราะ ผู้ตายมีมรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท มีเหตุขัดแย้งในการแบ่งปันมรดก และผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย หากการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้นปรากฏว่าผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก และตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ก็ได้ หรือหากศาลไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมจะตั้ง ผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้ ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วแม้ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ตั้ง ช. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องโดยผู้คัดค้านจะไม่ได้ขอให้ ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในทางพิจารณาว่า การจัดการมรดก อาจเกิดความไม่เป็นธรรมได้เพราะผู้ร้องซึ่งเป็น ผู้จัดการมรดกผู้ตายอยู่เดิม อ้างว่าผู้ตายไม่มีมรดก และผู้คัดค้านไม่มีสิทธิรับมรดก จึงเป็นการสมควรที่ศาล จะตั้ง ช. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้เพื่อให้การจัดการมรดกได้เป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม และการที่ศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องต่อมานั้น เป็นการพิจารณาว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียหรือไม่ ช. มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมหรือไม่ ดังนี้ เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านมิใช่คู่ความรายเดียวกัน ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นคนละประเด็นกัน จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6574/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกร่วมเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม
ในการที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายนั้น เพราะผู้ตายมีมรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท มีเหตุขัดแย้งในการแบ่งปันมรดก และผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย หากการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก และตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ก็ได้ หรือหากศาลไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมจะตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้
ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ต่อมายื่นคำร้องขอให้ตั้ง ฮ.เป็นผู้จัดพการมรดกร่วมกับผู้ร้องโดยผู้คัดค้านจะไม่ได้ขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในทางพิจารณาว่าการจัดการมรดกอาจเกิดความไม่เป็นธรรมได้เพราะผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายอยู่เดิม อ้างว่าผู้ตายไม่มีมรดก และผู้คัดค้านไม่มีสิทธิรับมรดก จึงเป็นการสมควรที่ศาลจะตั้ง ช.เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้ เพื่อให้การจัดการมรดกได้เป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม และการที่ศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องต่อมานั้น เป็นการพิจารณาว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียหรือไม่ ช.มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมหรือไม่ ดังนี้ เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านมิใช่คู่ความรายเดียวกัน ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นคนละประเด็นกันจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ต่อมายื่นคำร้องขอให้ตั้ง ฮ.เป็นผู้จัดพการมรดกร่วมกับผู้ร้องโดยผู้คัดค้านจะไม่ได้ขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในทางพิจารณาว่าการจัดการมรดกอาจเกิดความไม่เป็นธรรมได้เพราะผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายอยู่เดิม อ้างว่าผู้ตายไม่มีมรดก และผู้คัดค้านไม่มีสิทธิรับมรดก จึงเป็นการสมควรที่ศาลจะตั้ง ช.เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้ เพื่อให้การจัดการมรดกได้เป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม และการที่ศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องต่อมานั้น เป็นการพิจารณาว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียหรือไม่ ช.มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมหรือไม่ ดังนี้ เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านมิใช่คู่ความรายเดียวกัน ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นคนละประเด็นกันจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6484/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกสุจริต การซื้อขายรถยนต์
รถยนต์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ได้ให้จำเลยที่ 1เช่าซื้อไปโดยจำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบต่อมาโจทก์ได้ติดต่อซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1โดยตกลงซื้อเป็นเงินสด ขณะที่โจทก์ไปติดต่อซื้อรถยนต์พิพาท รถยนต์พิพาทอยู่ที่สำนักงานจำเลยที่ 1 แล้ว การที่จำเลยทั้งสอง ติดต่อค้าขายกันมาก่อน และจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีอาชีพซื้อขายรถยนต์ นอกจากนี้ในการนำรถยนต์ ไปจอดขาย จำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่าถ้าจำเลยที่ 1 จะขายรถยนต์ให้ผู้ใด จำเลยที่ 1 จะต้องมาแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบและชำระเงินส่วนที่เหลือให้เรียบร้อยก่อน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมมิใช่เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 แต่ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ ยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็น ตัวการว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 เมื่อจำเลยที่ 1 ขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ จึงต้องผูกพันด้วย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ขายรถยนต์โดยพลการและไม่นำเงินมาชำระให้จำเลยที่ 2 เพื่อยันแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตและขวนขวาย ได้สิทธิโดยได้ซื้อรถยนต์มาจากจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะรู้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่ ส่วนการที่ จำเลยที่ 1 ไม่นำเงินค่ารถยนต์ไปชำระให้จำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เอง จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ไปจดชื่อโจทก์ในทะเบียนรถยนต์ พิพาทและมอบทะเบียนรถยนต์พิพาทให้โจทก์กับต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6484/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์โดยตัวแทนเชิด ตัวการต้องผูกพันตามสัญญา แม้จะไม่ได้เปิดเผยชื่อ
รถยนต์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ได้ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปโดยจำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ ต่อมาโจทก์ได้ติดต่อซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยตกลงซื้อเป็นเงินสด ขณะที่โจทก์ไปติดต่อซื้อรถยนต์พิพาท รถยนต์พิพาทอยู่ที่สำนักงานจำเลยที่ 1 แล้ว การที่จำเลยทั้งสองติดต่อค้าขายกันมาก่อน และจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีอาชีพซื้อขายรถยนต์ นอกจากนี้ในการนำรถยนต์ไปจอดขาย จำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่าถ้าจำเลยที่ 1 จะขายรถยนต์ให้ผู้ใด จำเลยที่ 1จะต้องมาแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบและชำระเงินส่วนที่เหลือให้เรียบร้อยก่อน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมมิใช่เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 806 เมื่อจำเลยที่ 1 ขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องผูกพันด้วย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ขายรถยนต์โดยพลการและไม่นำเงินมาชำระให้จำเลยที่ 2 เพื่อยันแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตและขวนขวายได้สิทธิโดยได้ซื้อรถยนต์มาจากจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่ ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ไม่นำเงินค่ารถยนต์ไปชำระให้จำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เอง จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ไปจดชื่อโจทก์ในทะเบียนรถยนต์พิพาทและมอบทะเบียนรถยนต์พิพาทให้โจทก์กับต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ด้วย