คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบัติ เดียวอิศเรศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดคดีและการชักช้าในการดำเนินคดี ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลของการร้องสอด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินค่าเสียหายแก่โจทก์ ระหว่างพิจารณาผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และผู้ร้องสอด เป็นการละเมิดต่อผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดเป็นผู้เสียหายที่ มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากจำเลยทั้งสอง แต่โจทก์ กลับนำสิทธิของผู้ร้องสอดมายื่นฟ้องต่อศาลโดยมิได้รับความ ยินยอมจากผู้ร้องสอดขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหาย แก่ผู้ร้องสอด โดยข้ออ้างของผู้ร้องสอดนี้มีสภาพแห่งข้อหา เช่นเดียวกับคำฟ้องของโจทก์ ดังนี้ จึงเป็นการที่ผู้ร้องสอด อ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองและโจทก์เป็นการโต้แย้ง สิทธิของผู้ร้องสอดถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นเพื่อยังให้ได้ รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ผู้ร้องสอดจึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แต่เนื่องจากผู้ร้องสอดเพิ่งมายื่นคำร้องสอดหลังจากวันที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเกือบ 2 ปี และโจทก์ได้สืบพยานเสร็จแล้ว ซึ่งหากจะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีก็จะทำให้กระบวนพิจารณาชักช้าและยุ่งยากขึ้นไปอีก และสิทธิของผู้ร้องสอดมีอยู่ อย่างไร ผู้ร้องสอดก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องเป็นอีกคดีต่างหาก ได้อยู่แล้ว จึงสมควรไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็น คู่ความในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีแพ่ง: สิทธิในการฟ้องต่างหาก vs. การเข้าร่วมในคดีเดิม, ผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณา
ตามคำร้องของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดอ้างว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และผู้ร้องสอด เป็นการละเมิดต่อผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากจำเลยทั้งสอง แต่โจทก์กลับนำสิทธิของผู้ร้องสอดมายื่นฟ้องต่อศาลโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอด ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ร้องสอด โดยข้ออ้างของผู้ร้องสอดนี้มีสภาพแห่งข้อหาเช่นเดียวกับคำฟ้องของโจทก์ ดังนี้ เป็นการที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองและโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 57(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ผู้ร้องสอดจึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แต่คดีนี้ ผู้ร้องสอดเพิ่งมายื่นคำร้องสอด เมื่อเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีเกือบ 2 ปี โดยโจทก์ได้นำพยานโจทก์เข้าเบิกความและตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสองจนเสร็จสิ้นแล้ว หากจะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามา ก็จะทำให้กระบวนพิจารณาชักช้าและยุ่งยากขึ้นไปอีก ทั้งสิทธิของผู้ร้องสอดมีอยู่อย่างไร ผู้ร้องสอดก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องเป็นอีกคดีต่างหากได้อยู่แล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องสอดคดีและการพิจารณาความเหมาะสมของระยะเวลาการยื่นคำร้อง
ตามคำร้องของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดอ้างว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และผู้ร้องสอด เป็นการละเมิดต่อผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากจำเลยทั้งสอง แต่โจทก์กลับนำสิทธิของผู้ร้องสอดมายื่นฟ้องต่อศาลโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอด ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ร้องสอด โดยข้ออ้างของผู้ร้องสอดนี้มีสภาพแห่งข้อหาเช่นเดียวกับคำฟ้องของโจทก์ ดังนี้ เป็นการที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองและโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 57 (1) แห่ง ป.วิ.พ. ผู้ร้องสอดจึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แต่คดีนี้ ผู้ร้องสอดเพิ่งมายื่นคำร้องสอด เมื่อเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีเกือบ 2 ปี โดยโจทก์ได้นำพยานโจทก์เข้าเบิกความและตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสองจนเสร็จสิ้นแล้ว หากจะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามา ก็จะทำให้กระบวนพิจารณาชักช้าและยุ่งยากขึ้นไปอีก ทั้งสิทธิของผู้ร้องสอดมีอยู่อย่างไร ผู้ร้องสอดก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องเป็นอีกคดีต่างหากได้อยู่แล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทด้วยการกล่าวอ้างเรื่องส่วนตัวและปัญหาภายในครอบครัวต่อบุคคลที่สาม
สิทธิส่วนบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารกล่าวข้อความว่า"โจทก์มีปัญหาในครอบครัว ทะเลาะเบาะแว้งกัน มีปัญหากับพนักงานในสาขาถึงได้ถูกย้ายไปสำนักงานใหญ่คงอยู่ไม่ได้นานต้องถูกไล่ออก" ต่อ อ. ลูกค้าของธนาคารย่อมเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่ล่วงสิทธิส่วนบุคคลซึ่งข้อความดังกล่าววิญญูชนทั่วไปย่อมจะเข้าใจได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายสินเชื่อเป็นคนไม่ดีทะเลาะกับสามีมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานจนต้องถูกย้ายและกระทำความผิดร้ายแรงถึงขนาดจะถูกไล่ออกจากงานด้วย จึงเป็นข้อความที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท หาใช่เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่สามีภริยาทะเลาะกันหรือเป็นคำติชมของผู้บังคับบัญชาหรือเป็นการกล่าวคาดคะเนแต่อย่างใดไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยกล่าวข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ต่อญาติของโจทก์เพียงคนเดียว และข้อความหมิ่นประมาทก็มิได้ทำให้ โจทก์เสียหายมากมายนัก นับว่าเป็นการกระทำความผิดที่มีลักษณะ ไม่ร้ายแรง ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกและรอการลงโทษนั้น หนักเกินไปควรให้ปรับจำเลย 5,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4148/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าเมื่อผู้ให้เช่าขายต่อ - คชก.มีอำนาจชี้ขาด - ราคาซื้อขายตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของที่นาพิพาท มีจำเลยเป็นผู้เช่าทำนา ที่นาพิพาทอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 และโจทก์ที่ 2 ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท อันเป็นกรณีที่ จำเลยผู้เช่านาหมดสิทธิที่จะซื้อที่นาพิพาทเพราะจำเลยยอมทำบันทึกตกลงปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทแล้ว แต่โจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคาที่แตกต่างไปจากราคาที่เสนอขายต่อจำเลย โจทก์ที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการเสนอขายเพื่อให้จำเลยมีโอกาสแสดงความ จำนงจะซื้อที่นาพิพาทใหม่ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 วรรคสี่ เมื่อเป็นเช่นนี้กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า สัญญายกเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นโมฆียะหรือไม่ เพราะการที่จำเลยยอมเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นผลที่เกิดจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลย นอกจากนี้จำเลยยังมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่โจทก์ที่ 1 ซื้อไว้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง คชก.ตำบล บ. ได้วินิจฉัยให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 250,000 บาท ตามที่จำเลยร้องขอและคำวินิจฉัยนี้เป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 วรรคสองแล้ว คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล บ. ที่ให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทแก่จำเลยในราคา 250,000 บาท จึงผูกพันโจทก์ที่ 1 และถือว่าเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาบังคับให้ตามคำชี้ขาดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 และพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง เมื่อราคา250,000 บาท เป็นราคาตลาดในขณะนั้นและเป็นราคาตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากโจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4148/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่า: การเสนอขายใหม่ตามกฎหมาย และผลผูกพันตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของที่นาพิพาท มีจำเลยเป็นผู้เช่าทำนาที่นาพิพาทอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 และโจทก์ที่ 2 ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท อันเป็นกรณีที่จำเลยผู้เช่านาหมดสิทธิที่จะซื้อที่นาพิพาทเพราะจำเลยยอมทำบันทึกตกลงปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทแล้ว แต่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1ในราคาที่แตกต่างไปจากราคาที่เสนอขายต่อจำเลย โจทก์ที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการเสนอขายเพื่อให้จำเลยมีโอกาสแสดงความจำนงจะซื้อที่นาพิพาทใหม่ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคสี่เมื่อเป็นเช่นนี้ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า สัญญายกเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นโมฆียะหรือไม่ เพราะการที่จำเลยยอมเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นผลที่เกิดจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยนอกจากนี้ จำเลยยังมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่โจทก์ที่ 1 ซื้อไว้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คชก. ตำบล บ.ได้วินิจฉัยให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 250,000 บาท ตามที่จำเลยร้องขอ และคำวินิจฉัยนี้เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 วรรคสองแล้วคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล บ.ที่ให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทแก่จำเลยในราคา250,000 บาท จึงผูกพันโจทก์ที่ 1 และถือว่าเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาบังคับให้ตามคำชี้ขาดดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 58วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 221 และ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง เมื่อราคา 250,000 บาท เป็นราคาตลาดในขณะนั้นและเป็นราคาตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากโจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3573/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: นับจากวันกระทำละเมิด หรือวันจ่ายเงินค่าเสียหาย? ศาลฎีกาวินิจฉัยอายุความนับจากวันกระทำละเมิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรกได้กำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่สองมีอายุความสิบปีนับแต่วันทำละเมิด ซึ่งหากเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวก็ถือว่าสิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายดังกล่าวขาดอายุความ ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริง ตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งเกินสิบปีแล้วนับถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้อง คดีโจทก์จึงขาดอายุความ บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448ที่ให้นับอายุความสิบปีนับจากวันทำละเมิด โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าโจทก์ผู้ถูกละเมิดได้รับเงินจากการทำละเมิดของจำเลยผู้ทำละเมิดเมื่อใด ซึ่งวันทำละเมิดนั้นย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันเป็นมูลเหตุให้เกิดความเสียหาย ส่วนจะได้จ่ายเงินเพราะความเสียหายนั้นเมื่อใด ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง วันทำละเมิดกับวันจ่ายเงินจากการทำละเมิดจึงแตกต่างกันวันจ่ายเงินจากการทำละเมิด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นวัน ทำละเมิดเมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินสิบปีนับจากวันทำละเมิดแล้วแม้โจทก์จะฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์ก็ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3573/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: นับจากวันทำละเมิด ไม่ใช่วันจ่ายเงินค่าเสียหาย
ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก ได้กำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่สองมีอายุความสิบปีนับแต่วันทำละเมิด ซึ่งหากเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวก็ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวขาดอายุความ ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งเกินสิบปีแล้วนับถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องคดีโจทก์จึงขาดอายุความ บทบัญญัติของ ป.พ.พ.มาตรา 448 ที่ให้นับอายุความสิบปีนับจากวันทำละเมิด โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าโจทก์ผู้ถูกละเมิดได้จ่ายเงินจากการทำละเมิดของจำเลยผู้ทำละเมิดเมื่อใด ซึ่งวันทำละเมิดนั้นย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันเป็นมูลเหตุให้เกิดความเสียหาย ส่วนจะได้จ่ายเงินเพราะความเสียหายนั้นเมื่อใด ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง วันทำละเมิดกับวันจ่ายเงินจากการทำละเมิดจึงแตกต่างกัน วันจ่ายเงินจากการทำละเมิด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นวันทำละเมิด ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินสิบปีนับจากวันทำละเมิดแล้วแม้โจทก์จะฟ้องคดีภายในหนึ่งปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์ก็ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมและการบังคับคดีภายในสิบปี ศาลพิพากษายืนคำสั่งบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมและมีคำสั่งท้ายคำพิพากษาว่าบังคับตามยอม ทั้งมีคำสั่งไว้ที่หน้าสำนวนว่า บังคับ ตามยอม หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกยึดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยโจทก์กับจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำบังคับกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับนั้นไว้และจำเลยทราบคำบังคับนั้นแล้ว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จะ ต้องร้องขอให้บังคับคดีอีกชั้นหนึ่ง โจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ประสงค์จะบังคับคดีโดยนำเงิน18,200,000 บาท มาวางศาลเพื่อชำระแก่จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับ อันเป็นการชำระหนี้ต่างตอบแทนในการขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมแต่คำบังคับของศาลไม่มีกรณีต้องดำเนินการทางเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต้องยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี การยื่นคำร้องดังกล่าวของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เมื่อเป็นการร้องขอให้บังคับคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับก็ย่อมชอบ ด้วยกฎหมายด้วย แม้การบังคับคดีจะยังไม่แล้วเสร็จภายใน สิบปีก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม: การชำระหนี้ต่างตอบแทนและการร้องขอให้บังคับคดีภายในอายุความ
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมและมีคำสั่งท้ายคำพิพากษาว่าบังคับตามยอม ทั้งมีคำสั่งไว้ที่หน้าสำนวนว่า บังคับตามยอม หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกยึดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. โดยโจทก์กับจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำบังคับกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับนั้นไว้และจำเลยทราบคำบังคับนั้นแล้ว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จะต้องร้องขอให้บังคับคดีอีกชั้นหนึ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ประสงค์จะบังคับคดีโดยนำเงิน18,200,000 บาท มาวางศาลเพื่อชำระแก่จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับ อันเป็นการชำระหนี้ต่างตอบแทนในการขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม แต่คำบังคับของศาลไม่มีกรณีต้องดำเนินการทางเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต้องยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี การยื่นคำร้องดังกล่าวของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 เมื่อเป็นการร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา และการร้องขอให้บังคับคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับก็ย่อมชอบด้วยกฎหมายด้วย แม้การบังคับคดีจะยังไม่แล้วเสร็จภายในสิบปีก็ตาม
of 50