พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดแบบ และการมอบอำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทได้ปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน ที่ได้รับอนุญาตโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง และดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตามแบบแปลนแล้ว แต่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่ง โจทก์จึงมีคำสั่งให้จำเลย รื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบแปลน เป็นการแสดงแจ้งชุดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วส่วนที่ว่า พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่ได้บังคับใช้แก่อาคารที่มีการก่อสร้าง จริงก่อน พ.ศ. 2522 หรือไม่นั้นโจทก์ไม่จำต้องบรรยาย มาในฟ้อง เพราะเป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบ ได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528มิได้หมายถึงตัวบุคคล หากแต่เป็นตำแหน่งในการบริหารกรุงเทพมหานคร ซึ่งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารราชการ ของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมายตามมาตรา 49(1)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การดำเนินการในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งอำนาจ หน้าที่ดังกล่าว และอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครตามมาตรา 4,8(11) และ 14 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 การที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้หัวหน้าเขต (ผู้อำนวยการเขตในปัจจุบัน) ปฏิบัติราชการแทนจึงเป็นการมอบอำนาจโดยชอบ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2518 และคำสั่งนี้ยังมีผลใช้บังคับได้จนกว่าจะมี การยกเลิกหรือออกคำสั่งใหม่ตามมาตรา 81 วรรคสามประกอบมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 หาใช่เป็นอำนาจเฉพาะตัวที่ไม่สามารถมอบอำนาจได้และมีวาระ หรือ ต้องมอบอำนาจกันอีกไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง หลังจากจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแล้ว จำเลยได้ย้ายภูมิลำเนาไปหลายแห่งเนื่องจากต้องการหนีความผิดโจทก์จึงปิดคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไข และคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวไว้ที่หน้าอาคารพิพาท ของจำเลยโดยมีเจ้าหน้าที่ปกครอง 3 งานเทศกิจ เป็นพยาน เมื่ออาคารพิพาทนี้เป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่ง ของจำเลยจึงรับฟังได้ว่าจำเลยได้รับทราบคำสั่ง ให้รื้อถอนอาคารพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดแบบ และการมอบอำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทได้ปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตามแบบแปลนแล้ว แต่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่ง โจทก์จึงมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบแปลน เป็นการแสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนที่ว่า พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ไม่ได้บังคับใช้แก่อาคารที่มีการก่อสร้างจริงก่อน พ.ศ.2522 หรือไม่นั้นโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง เพราะเป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มิได้หมายถึงตัวบุคคล หากแต่เป็นตำแหน่งในการบริหารกรุงเทพมหานคร ซึ่งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมายตามมาตรา49 (1) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว การดำเนินการในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าว และอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครตามมาตรา 4, 8 (11) และ 14 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้หัวหน้าเขต (ผู้อำนวยการเขตในปัจจุบัน) ปฏิบัติราชการแทนจึงเป็นการมอบอำนาจโดยชอบโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 และคำสั่งนี้ยังมีผลใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือออกคำสั่งใหม่ตามมาตรา 81 วรรคสามประกอบมาตรา 124 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 หาใช่เป็นอำนาจเฉพาะตัวที่ไม่สามารถมอบอำนาจได้และมีวาระ หรือต้องมอบอำนาจกันอีกไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
หลังจากจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแล้ว จำเลยได้ย้ายภูมิลำเนาไปหลายแห่งเนื่องจากต้องการหนีความผิดโจทก์จึงปิดคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไข และคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวไว้ที่หน้าอาคารพิพาทของจำเลยโดยมีเจ้าหน้าที่ปกครอง3 งานเทศกิจเป็นพยาน เมื่ออาคารพิพาทนี้เป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลยจึงรับฟังได้ว่าจำเลยได้รับทราบคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มิได้หมายถึงตัวบุคคล หากแต่เป็นตำแหน่งในการบริหารกรุงเทพมหานคร ซึ่งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมายตามมาตรา49 (1) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว การดำเนินการในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าว และอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครตามมาตรา 4, 8 (11) และ 14 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้หัวหน้าเขต (ผู้อำนวยการเขตในปัจจุบัน) ปฏิบัติราชการแทนจึงเป็นการมอบอำนาจโดยชอบโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 และคำสั่งนี้ยังมีผลใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือออกคำสั่งใหม่ตามมาตรา 81 วรรคสามประกอบมาตรา 124 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 หาใช่เป็นอำนาจเฉพาะตัวที่ไม่สามารถมอบอำนาจได้และมีวาระ หรือต้องมอบอำนาจกันอีกไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
หลังจากจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแล้ว จำเลยได้ย้ายภูมิลำเนาไปหลายแห่งเนื่องจากต้องการหนีความผิดโจทก์จึงปิดคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไข และคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวไว้ที่หน้าอาคารพิพาทของจำเลยโดยมีเจ้าหน้าที่ปกครอง3 งานเทศกิจเป็นพยาน เมื่ออาคารพิพาทนี้เป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลยจึงรับฟังได้ว่าจำเลยได้รับทราบคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการห้ามกำหนดเงื่อนไขความรับผิดต่างจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัดเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า "กรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งมีข้อความระบุถึง ความรับผิดของบริษัทแตกต่าง ไปจากที่กำหนดไว้ในบทแห่งพระราชบัญญัตินี้บริษัทจะยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประสบภัยในการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นมิได้" นั้น เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนกรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขความรับผิดของผู้รับประกันภัยที่เป็นเงื่อนไขความรับผิดเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนนอกจากค่าเสียหายเบื้องต้น ย่อมไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 15 ดังกล่าวและเมื่อ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมิได้มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว เงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติฉบับนี้หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: ความคุ้มครองนอกเหนือค่าเสียหายเบื้องต้น
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 15ที่บัญญัติว่า "กรมธรรม์ประกันภัย...ซึ่งมีข้อความระบุถึงความรับผิดของบริษัทแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในบทแห่ง พ.ร.บ.นี้ บริษัทจะยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประสบภัยในการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นมิได้" นั้น เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ฉบับนี้เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนกรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขความรับผิดของผู้รับประกันภัยที่เป็นเงื่อนไขความรับผิดเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนนอกจากค่าเสียหายเบื้องต้น ย่อมไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 15 ดังกล่าวและเมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมิได้มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว เงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.ฉบับนี้หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: การปรับอัตราดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาและมีเหตุผลรองรับ
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ 2,000,000 บาท บอกกล่าวแก่จำเลยหรือไม่ก็ตาม และจะชำระต้นเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 180 เดือนนับตั้งแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป โดยจะผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ 27,000 บาท ทั้งจะเริ่มผ่อนชำระตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535และทุก ๆ วันสิ้นเดือนของเดือนต่อ ๆ ไปไม่ให้ขาดระยะจนกว่าจะชำระเสร็จหากผิดนัดชำระต้นเงินคืนและหรือดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามกำหนดดังกล่าวไม่ว่าเดือนหนึ่งเดือนใดยอมให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ทั้งหมดเมื่อถึงกำหนดผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 จำเลยมิได้ผ่อนชำระหนี้เดือนละ 27,000 บาท ให้แก่โจทก์ ตามกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยย่อมได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีตามข้อตกลงในสัญญากู้เงิน
เมื่อปรากฏว่าในวันที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่โจทก์กับจำเลยก็ตกลงกันกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี เพียงแต่ตกลงกันตามข้อ 2 แห่งสัญญากู้เงินดังกล่าวว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้วอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงจะมีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้ว ได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือประกาศธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้นดังนั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 14 ต่อปี เป็นร้อยละ 17 ต่อปีโดยปรับในวันถัดจากวันทำสัญญาและให้มีผลตั้งแต่วันทำสัญญาไม่ต้องด้วยข้อกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินดังกล่าว
เมื่อปรากฏว่าในวันที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่โจทก์กับจำเลยก็ตกลงกันกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี เพียงแต่ตกลงกันตามข้อ 2 แห่งสัญญากู้เงินดังกล่าวว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้วอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงจะมีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้ว ได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือประกาศธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้นดังนั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 14 ต่อปี เป็นร้อยละ 17 ต่อปีโดยปรับในวันถัดจากวันทำสัญญาและให้มีผลตั้งแต่วันทำสัญญาไม่ต้องด้วยข้อกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา และการปรับอัตราดอกเบี้ยเกินสิทธิ
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ และจะชำระต้นเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 180 เดือน นับตั้งแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป โดยจะผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นรายเดือนหากผิดนัดชำระต้นเงินคืนและหรือดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามกำหนดดังกล่าวไม่ว่าเดือนหนึ่งเดือนใดยอมให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ทั้งหมดเมื่อถึงกำหนดผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่23 พฤษภาคม 2535 จำเลยมิได้ผ่อนชำระหนี้เดือนละ 27,000 บาทให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยย่อมได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีตามข้อตกลงในสัญญากู้เงิน เมื่อปรากฏว่าในวันที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่โจทก์กับจำเลยก็ตกลงกันกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี เพียงแต่ตกลงกันตามข้อ 2แห่งสัญญากู้เงินดังกล่าวว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้วอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าที่ตกลงกันไว้โจทก์จึงจะมีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบ ให้เห็นว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้ว ได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือประกาศธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้น ดังนั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 14 ต่อปี เป็นร้อยละ 17 ต่อปีโดยปรับในวันถัดจากวันทำสัญญาและให้มีผลตั้งแต่วันทำสัญญา ไม่ต้องด้วยข้อกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจปรับอัตรา ดอกเบี้ยขึ้นใหม่ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยการสร้างสะพาน แม้เป็นประโยชน์สาธารณะ ก็ต้องรับผิดชอบหากทำให้เจ้าของที่ดินเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปลูกสร้างสะพานกว้าง 1 เมตรยาว 50 เมตร ลงในคลองสำโรง ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์ในระยะห่างประมาณ 1 ถึง 2 เมตร สะพานมีลักษณะมั่นคงและถาวร การปลูกสร้างสะพานของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็น ที่เล็งเห็นได้ว่า สะพานนั้นน่าจะหรืออาจทำให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ ที่ดินของโจทก์เป็นทางขึ้นหรือทางลงคลองสำโรง ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้อาศัยและทำประโยชน์อยู่ในที่ดินขณะปลูกสร้างสะพาน และการปลูกสร้างได้กระทำลงในคลองสาธารณะและ เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนดังข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และ 4 โจทก์ก็มีสิทธิจะฟ้องขอให้รื้อถอนสะพานที่ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์เพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินริมคลองในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ แม้เป็นประโยชน์สาธารณะ
จำเลยปลูกสร้างสะพานกว้าง 1 เมตร ยาว 50 เมตร ลงในคลองสำโรงซึ่งเป็นคลองสาธารณะ ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์ในระยะห่างประมาณ1 ถึง 2 เมตร ในลักษณะมั่นคงและถาวร อันอาจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางขึ้นหรือทางลงคลองดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์มิได้อาศัยและทำประโยชน์อยู่ในที่ดินขณะจำเลยปลูกสร้างสะพาน และการปลูกสร้างได้กระทำลงในคลองสาธารณะและเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิจะฟ้องขอให้รื้อถอนสะพานที่ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์เพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: หลักเกณฑ์การประเมินราคา, ดอกเบี้ยค่าทดแทน, และสิทธิของเจ้าของรวม
ขณะที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว ตามข้อ 1 และข้อ 5 ของกฎหมายฉบับนี้ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินจากเดิมซึ่งให้กำหนดโดยถือราคาตามมาตรา 21 (2) หรือ(3) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ มาเป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 และเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสี่ไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ การกำหนดเงินค่าทดแทนดังกล่าวจึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) ประกอบกัน ดังนั้นการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531 ถึง 2534 เพียงอย่างเดียวจึงยังไม่เป็นธรรม
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า "การคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสองหรือราคาลดลงตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา" ปรากฏว่าได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ.2537 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2537 ต่อมาได้มี พ.ร.ฎ.ยกเลิก พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ.2537 พ.ศ.2538 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2538เท่ากับว่าขณะนี้ไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณราคาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดหลักการไว้ว่าถ้าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาสูงขึ้น ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทน หรือทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่ราคาลดลงด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ดังนั้น ถ้าไม่หักราคาที่สูงขึ้นออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะไม่เป็นธรรมแก่สังคม หรือถ้าไม่กำหนดเงินค่าทดแทนเฉพาะส่วนที่ลดลงให้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนหรือโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญดังกล่าว ส่วนบทบัญญัติมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณออกใช้บังคับ ก็หาใช่เหตุที่จะทำให้ไม่สามารถนำหลักการสำคัญดังกล่าวมาใช้บังคับได้ไม่ ถ้าได้ความว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ทั้งสี่มีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ศาลย่อมมีอำนาจนำราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนหรือกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งราคาลดลงได้
ฝ่ายจำเลยไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินหรือวางเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่ โดยผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือแจ้งราคาค่าทดแทนและแจ้งการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้น เมื่อคิดคำนวณและหักกลบลบกันกับเงินค่าทดแทนแล้วเกลื่อนกลืนกันไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้สำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนจำเลยที่ 1 มีความจำเป็นจะต้องใช้พื้นที่ทำการก่อสร้างทางหลวง จึงแจ้งการเข้าครอบครองที่ดินหลังจากครบกำหนด 60 วัน นับจากวันที่โจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือโจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2534 ดังนั้น วันที่ถัดจากวันที่ครบกำหนด 60 วัน อันเป็นวันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งสี่คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ก่อนการเข้าครอบครองหรือใช้ที่ดินนั้น เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 13 ก่อนเมื่อโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นเงิน 2,505,000บาท โจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลกำหนดให้เพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดด้วย นับแต่วันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินโจทก์ทั้งสี่คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2535 อันถือได้ว่าเป็นวันที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย ส่วนอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นอัตราขึ้นลงไม่คงที่โดยเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ทั้งสี่ขอ
โจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3742 โดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการเวนคืนที่ดินดังกล่าวมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่กรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว โจทก์ทั้งสี่จึงมีหน้าที่ชำระค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์รวม มิใช่แยกชำระค่าขึ้นศาลเป็นรายบุคคล ดังนั้น ที่โจทก์ทั้งสี่ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเกิน 200,000 บาทมานั้นไม่ถูกต้อง สมควรสั่งคืนส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ทั้งสี่
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า "การคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสองหรือราคาลดลงตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา" ปรากฏว่าได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ.2537 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2537 ต่อมาได้มี พ.ร.ฎ.ยกเลิก พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ.2537 พ.ศ.2538 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2538เท่ากับว่าขณะนี้ไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณราคาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดหลักการไว้ว่าถ้าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาสูงขึ้น ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทน หรือทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่ราคาลดลงด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ดังนั้น ถ้าไม่หักราคาที่สูงขึ้นออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะไม่เป็นธรรมแก่สังคม หรือถ้าไม่กำหนดเงินค่าทดแทนเฉพาะส่วนที่ลดลงให้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนหรือโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญดังกล่าว ส่วนบทบัญญัติมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณออกใช้บังคับ ก็หาใช่เหตุที่จะทำให้ไม่สามารถนำหลักการสำคัญดังกล่าวมาใช้บังคับได้ไม่ ถ้าได้ความว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ทั้งสี่มีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ศาลย่อมมีอำนาจนำราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนหรือกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งราคาลดลงได้
ฝ่ายจำเลยไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินหรือวางเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่ โดยผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือแจ้งราคาค่าทดแทนและแจ้งการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้น เมื่อคิดคำนวณและหักกลบลบกันกับเงินค่าทดแทนแล้วเกลื่อนกลืนกันไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้สำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนจำเลยที่ 1 มีความจำเป็นจะต้องใช้พื้นที่ทำการก่อสร้างทางหลวง จึงแจ้งการเข้าครอบครองที่ดินหลังจากครบกำหนด 60 วัน นับจากวันที่โจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือโจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2534 ดังนั้น วันที่ถัดจากวันที่ครบกำหนด 60 วัน อันเป็นวันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งสี่คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ก่อนการเข้าครอบครองหรือใช้ที่ดินนั้น เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 13 ก่อนเมื่อโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นเงิน 2,505,000บาท โจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลกำหนดให้เพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดด้วย นับแต่วันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินโจทก์ทั้งสี่คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2535 อันถือได้ว่าเป็นวันที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย ส่วนอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นอัตราขึ้นลงไม่คงที่โดยเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ทั้งสี่ขอ
โจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3742 โดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการเวนคืนที่ดินดังกล่าวมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่กรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว โจทก์ทั้งสี่จึงมีหน้าที่ชำระค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์รวม มิใช่แยกชำระค่าขึ้นศาลเป็นรายบุคคล ดังนั้น ที่โจทก์ทั้งสี่ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเกิน 200,000 บาทมานั้นไม่ถูกต้อง สมควรสั่งคืนส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่ถูกต้อง, ราคาที่ดินสูงขึ้น และดอกเบี้ย
ขณะที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบ เรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว ตามข้อ 1 และข้อ 5 ของกฎหมายฉบับนี้ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินจากเดิมซึ่งให้กำหนดโดยถือราคา ตามมาตรา 21(2) หรือ (3) แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วแต่ราคาใด จะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ มาเป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 21 และเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนด เงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสี่ไว้เป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ การกำหนด เงินค่าทดแทนดังกล่าวจึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) ประกอบกัน ดังนั้นการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531 ถึง 2534 เพียง อย่างเดียวจึงยังไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า "การคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสองหรือราคาลดลงตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา" ปรากฏว่า ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคา ที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ. 2537 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2537ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิก พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2538ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2538 เท่ากับว่าขณะนี้ไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณราคาดังกล่าวอย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดหลักการไว้ว่าถ้าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทน หรือทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่ราคาลดลงด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ดังนั้น ถ้าไม่หักราคาที่สูงขึ้นออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะไม่เป็นธรรมแก่สังคม หรือถ้าไม่กำหนดเงินค่าทดแทนเฉพาะส่วนที่ลดลงให้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนหรือโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญดังกล่าวส่วนบทบัญญัติมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่ จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่งวรรคสอง และวรรคสาม เท่านั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณออกใช้บังคับ ก็หาใช่เหตุที่จะทำให้ไม่สามารถนำหลักการสำคัญดังกล่าวมาใช้บังคับได้ไม่ถ้าได้ความว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ทั้งสี่มีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ศาลย่อมมีอำนาจนำราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนหรือกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งราคาลดลงได้ ฝ่ายจำเลยไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินหรือวางเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่ โดยผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือแจ้งราคาค่าทดแทนและแจ้งการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้น เมื่อคิดคำนวณและหักกลบลบกันกับเงินค่าทดแทนแล้วเกลื่อนกลืนกันไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้สำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนจำเลยที่ 1มีความจำเป็นจะต้องใช้พื้นที่ทำการก่อสร้างทางหลวง จึงแจ้งการเข้าครอบครองที่ดินหลังจากครบกำหนด 60 วันนับจากวันที่โจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือโจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2534 ดังนั้น วันที่ถัดจากวันที่ครบกำหนด 60 วัน อันเป็นวันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งสี่คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ก่อนการเข้าครอบครองหรือใช้ที่ดินนั้น เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 13 ก่อนเมื่อโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นเงิน 2,505,000 บาทโจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลกำหนดให้เพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดด้วย นับแต่วันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินโจทก์ทั้งสี่คือวันที่18 กุมภาพันธ์ 2535 อันถือได้ว่าเป็นวันที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย ส่วนอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นอัตราขึ้นลงไม่คงที่โดยเป็นไปตามประกาศ ของธนาคารออมสินแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามที่โจทก์ทั้งสี่ขอ โจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3742โดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการเวนคืนที่ดินดังกล่าวมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกันมิใช่กรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว โจทก์ทั้งสี่จึงมีหน้าที่ชำระค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์รวม มิใช่แยกชำระค่าขึ้นศาลเป็นรายบุคคล ดังนั้น ที่โจทก์ทั้งสี่ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเกิน 200,000 บาทมานั้นไม่ถูกต้อง สมควรสั่งคืนส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ทั้งสี่