พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8221/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืน, ดอกเบี้ย, ค่าขึ้นศาล, สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทน, เจ้าของรวม
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น..." จากบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มโดยที่ศาลวินิจฉัยให้ ก็ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 13 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ทั้งสาม โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดหรือผิดนัดชำระหนี้ต่อโจทก์หรือไม่
โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของรวมในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสามใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกันโดยมิได้แบ่งแยกว่าแต่ละคนมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนเท่าใด อันเป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน สำหรับคดีนี้โจทก์ทั้งสามต้องร่วมกันเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดคือศาลละ 200,000 บาท เนื่องจากมีการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเฉพาะในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเกินกว่าศาลละ 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาในส่วนที่เรียกเก็บเกินกว่าศาลละ 200,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสาม
ค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์ และจำเลยยังจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสามไม่ครบนั้น เมื่อฝ่ายจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ หรือโต้แย้งว่าจะไม่จ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะไปขอรับเงินค่าทดแทนที่ยังจ่ายไม่ครบดังกล่าวนั้นจากจำเลยทั้งสองได้อีก
โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของรวมในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสามใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกันโดยมิได้แบ่งแยกว่าแต่ละคนมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนเท่าใด อันเป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน สำหรับคดีนี้โจทก์ทั้งสามต้องร่วมกันเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดคือศาลละ 200,000 บาท เนื่องจากมีการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเฉพาะในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเกินกว่าศาลละ 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาในส่วนที่เรียกเก็บเกินกว่าศาลละ 200,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสาม
ค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์ และจำเลยยังจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสามไม่ครบนั้น เมื่อฝ่ายจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ หรือโต้แย้งว่าจะไม่จ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะไปขอรับเงินค่าทดแทนที่ยังจ่ายไม่ครบดังกล่าวนั้นจากจำเลยทั้งสองได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8153/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากกักขังเป็นปรับโดยศาลอุทธรณ์ ถือเป็นการแก้คำพิพากษาเดิม ไม่ใช่การกลับคำพิพากษา ทำให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นไปไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 1 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนและลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปีนั้น ศาลอุทธรณ์ยังพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องโจทก์อยู่เพียงแต่ลงโทษแตกต่างไปจากศาลชั้นต้นเท่านั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นการพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่พิพากษากลับ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8153/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก1 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน และลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้2 ปี นั้น ศาลอุทธรณ์ยังพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องโจทก์อยู่ เพียงแต่ลงโทษแตกต่างไปจากศาลชั้นต้นเท่านั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นการพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่พิพากษากลับ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8048/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการไม่ส่งมอบทรัพย์, เบี้ยปรับ, ดอกเบี้ย, และการลดหย่อนค่าเสียหายตามดุลพินิจศาล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงชำระค่าธรรมเนียมปีละ 65,000 บาท ให้แก่โจทก์ ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมรายปีดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมรายปี แก่โจทก์จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 สัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า เมื่อกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาสิ้นสุดลงจำเลยยังมีเวลารื้อถอนและส่งมอบทรัพย์ที่เช่าต่อไปอีก 30 วัน ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยภายใน35 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดที่จำเลยมีสิทธิส่งทรัพย์ที่เช่าคืนว่าจะไม่ให้จำเลยทำสัญญาเช่าต่อไปนับได้ว่าเป็นเวลาอันสมควรและเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์มิได้นิ่งเฉย หรือไม่ทักท้วงที่จำเลยยังคงครอบครองทรัพย์ที่เช่าอยู่ภายหลังสัญญาเช่าสิ้นกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ถือไม่ได้ว่า โจทก์จำเลยเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 โจทก์จึงมีสิทธิ เรียกค่าเสียหายได้เริ่มแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเป็นต้นไปและสิ้นสุดก่อนวันที่จำเลยส่งมอบทรัพย์ที่เช่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง จำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่เช่า คืนภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรหรืองดเว้นกระทำการอันหนึ่งใดที่ ตกลงไว้ และต้องใช้เบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่โจทก์ ได้มีหนังสือขยายเวลาให้จำเลยรื้อถอนป้ายโฆษณาและส่งมอบทรัพย์ ที่เช่าคืนภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ อันถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เมื่อจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2535 จำเลยจึงมีสิทธิรื้อถอนส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคืนโจทก์ได้จนถึง ภายในวันที่ 24 เมษายน 2536 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยในช่วงเวลาดังกล่าว คงเรียกได้แต่เพียงค่าเสียหายปกติ คือค่าเช่าในอัตราและเงื่อนไขเดิมส่วนค่าเสียหายที่เป็นเบี้ยปรับนับแต่วันที่ 25 เมษายน 2536นั้น โจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามที่ตกลงไว้ได้ซึ่งถ้าเบี้ยปรับอันมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดก้นไว้ล่วงหน้านั้นสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้และเมื่อศาลกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 2,000 บาทอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดชอบครู/อาจารย์ต่อศิษย์ตาม ป.อ.มาตรา 285: การกระทำนอกเหนือหน้าที่ดูแล
ความหมายของข้อความที่ว่า ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ตามป.อ.มาตรา 285 นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนหรือเคยสอนศิษย์เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ เพราะเหตุเกิดที่บ้าน พ. และอยู่นอกเวลาควบคุมดูแลของจำเลย การกระทำของจำเลยก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล
ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เมื่อเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เมื่อเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อเด็กในความดูแล: หน้าที่ควบคุมดูแลนอกเวลาราชการมีผลต่อการรับโทษ
ความหมายของข้อความที่ว่า ศิษย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนหรือเคยสอนศิษย์ เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์ และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ เพราะเหตุเกิดที่บ้านพ.และอยู่นอกเวลาควบคุมดูแลของจำเลย การกระทำของจำเลยก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ ซึ่งอยู่ในความดูแล ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เมื่อเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้องจึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7810/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกรในการทำนิติกรรม และอายุความในการเรียกค่าหนี้ซื้อปุ๋ย
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การของรัฐบาลพ.ศ. 2496 โดยจัดตั้งขึ้นตาม พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 โจทก์จึงมีอำนาจเป็นตัวการที่จะกระทำ การใดหรือทำนิติกรรมใด ๆ ได้ด้วยตัวเองตามกฎหมาย เป็นการ ดำเนินการในฐานะตัวแทนของ รัฐบาลและกระทรวง ทบวง กรม ที่รับนโยบายรัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติในนามของโจทก์เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร หาใช่โจทก์กระทำการใด ๆ ในฐานะที่เป็นตัวแทนกระทำการแทนตัวการที่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจตั้งตัวแทนไม่ โจทก์จึงมีอำนาจกระทำนิติกรรมใด ๆ กับจำเลยได้ โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจากกระทรวงทบวง กรม แต่อย่างใด และมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ตามกฎหมาย องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรโจทก์มีอำนาจกระทำการใด ๆหรือนิติกรรมใด ๆ ได้ด้วยตนเองตามกฎหมายแล้ว เมื่อป. ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของโจทก์ ป. จึงมีอำนาจกระทำการใดหรือทำนิติกรรมใด ๆ รวมทั้งการฟ้องคดีและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามวัตถุประสงค์ที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 แทนโจทก์ได้ โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจแต่งตั้ง เป็นตัวแทนของกระทรวง ทบวง กรมใด ๆ จำเลยทำสัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยจากโจทก์และได้รับปุ๋ยจากโจทก์ทุกครั้ง อีกทั้งตามข้อบังคับของจำเลยได้ระบุผู้ที่มีอำนาจลงลายมือชื่อในนิติกรรมและเอกสารทั้งปวงแทนจำเลยว่าจะต้องเป็นประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการหรือเลขานุการหรือเหรัญญิกหรือผู้จัดการคนใดคนหนึ่ง เมื่อตามสัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยดังกล่าวมี ผ.ประธานกรรมการและส.เลขานุการเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาตามความประสงค์ในการประชุมคณะกรรมการของจำเลย สัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยตามกฎหมาย แม้ในการซื้อปุ๋ยแต่ละครั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรไม่เคยอนุมัติวงเงินซื้อปุ๋ยและไม่เคยให้ความเห็นชอบให้จำเลยซื้อเชื่อปุ๋ยก็ตาม ก็เป็นเรื่องไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น หามีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ. 2517 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 (1) (8) หาใช่ประกอบ การค้าโดยทำการซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเพื่อหากำไรตามปกติ จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามมาตรา 165 (1) จะนำอายุความ 2 ปี มาใช้บังคับในกรณีขอให้ลูกหนี้ชำระค่าปุ๋ยไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7730/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ให้เช่าซื้อในการขอคืนทรัพย์สินหลังศาลสั่งริบ ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์หัวลากของกลาง ส่วนผู้ร้องที่ 2 เป็นเจ้าของกระบะรถยนต์กึ่งพ่วงของกลางผู้ร้องทั้งสองได้ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เช่าซื้อของกลางไป และจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เช่าซื้อได้นำไปใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งให้ริบ เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ในการให้เช่าซื้อรถยนต์และกระบะรถยนต์กึ่งพ่วง โดยมีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดอุดรธานีตามลำดับได้ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดสุทธิวงศ์ก่อสร้าง ซึ่งมีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในจังหวัดหนองคายเช่าซื้อรถยนต์หัวลากและกระบะรถยนต์กึ่งพ่วงของกลางไป จากพฤติการณ์ดังกล่าวผู้ร้องทั้งสองย่อมไม่อาจจะรู้ว่าผู้เช่าซื้อหรือจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เช่าซื้อจะนำของกลางดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด ส่วนการที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อหรือของกลางคืน หรือเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายตามข้อสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อศาลสั่งริบทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อหรือของกลางการที่ผู้ร้องทั้งสองเลือกใช้สิทธิร้องขอคืนของกลางจึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องทั้งสองรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจึงชอบที่ศาลจะพิพากษาให้คืนของกลางแก่ผู้ร้องทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7730/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์จากผู้ให้เช่าซื้อ: สิทธิในการขอคืนทรัพย์เมื่อผู้เช่าซื้อกระทำผิด
ผู้ร้องที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์หัวลากของกลาง ส่วนผู้ร้องที่ 2เป็นเจ้าของกระบะรถยนต์กึ่งพ่วงของกลาง ผู้ร้องทั้งสองได้ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เช่าซื้อของกลางไป และจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เช่าซื้อได้นำไปใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งให้ริบ เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ในการให้เช่าซื้อรถยนต์และกระบะรถยนต์กึ่งพ่วง โดยมีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดอุดรธานีตามลำดับ ได้ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดสุทธิวงศ์ก่อสร้าง ซึ่งมีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในจังหวัดหนองคายเช่าซื้อรถยนต์หัวลากและกระบะรถยนต์กึ่งพ่วงของกลางไป จากพฤติการณ์ดังกล่าว ผู้ร้องทั้งสองย่อมไม่อาจจะรู้ว่าผู้เช่าซื้อหรือจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เช่าซื้อจะนำของกลางดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด ส่วนการที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อหรือของกลางคืน หรือเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายตามข้อสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อศาลสั่งริบทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อหรือของกลางการที่ผู้ร้องทั้งสองเลือกใช้สิทธิร้องขอคืนของกลางจึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องทั้งสองรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย จึงชอบที่ศาลจะพิพากษาให้คืนของกลางแก่ผู้ร้องทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7712/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลแก้ไขค่าทดแทนให้เป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคาตลาด, สภาพที่ดิน, และผลกระทบต่อธุรกิจ
เมื่อที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.เฉลี่ยแล้วสูงกว่าเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯกำหนดให้ และเมื่อคำนึงประกอบกับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งสูงกว่าราคาของที่ดินของโจทก์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ฝ่ายจำเลยนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ กับสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ดังกล่าวประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5)กับประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน ซึ่งด้านหนึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นที่ดินที่อยู่ติดกับถนนสาธารณะ อันมีมากกว่าส่วนที่เสียหายจากการสร้างทางพิเศษที่ทำให้เสียภูมิทัศน์ของโรงแรมโจทก์ กับมลภาวะทางอากาศและเสียงแล้ว ศาลกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯกำหนดได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ได้กำหนดขั้นตอนการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีและการฟ้องคดีต่อศาลไว้โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือมาตรา 23 เป็นผู้กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวกำหนดแล้วผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาเบื้องต้นของอสังหา-ริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการดังกล่าวกำหนดต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมาเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งคือในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี
สำหรับความเสียหายของโจทก์ที่ต้องออกจากที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนที่โจทก์ใช้เป็นที่จอดรถในการประกอบกิจการโรงแรมอันเนื่องจากที่ดินส่วนนี้ถูกเวนคืนนั้นเข้ากรณีตามมาตรา 21 วรรคท้าย เป็นคนละส่วนกับค่าทดแทนที่ดินที่ต้องเวนคืน ดังนี้ เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 คือ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายที่จะต้องออกจากที่ดินที่ต้องเวนคืน หากโจทก์ไม่พอใจการพิจารณาของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้พิจารณาวินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นให้แก่โจทก์เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับความเสียหายในส่วนนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่ร้อยละ 8.5 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 26 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ได้กำหนดขั้นตอนการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีและการฟ้องคดีต่อศาลไว้โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือมาตรา 23 เป็นผู้กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวกำหนดแล้วผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาเบื้องต้นของอสังหา-ริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการดังกล่าวกำหนดต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมาเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งคือในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี
สำหรับความเสียหายของโจทก์ที่ต้องออกจากที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนที่โจทก์ใช้เป็นที่จอดรถในการประกอบกิจการโรงแรมอันเนื่องจากที่ดินส่วนนี้ถูกเวนคืนนั้นเข้ากรณีตามมาตรา 21 วรรคท้าย เป็นคนละส่วนกับค่าทดแทนที่ดินที่ต้องเวนคืน ดังนี้ เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 คือ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายที่จะต้องออกจากที่ดินที่ต้องเวนคืน หากโจทก์ไม่พอใจการพิจารณาของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้พิจารณาวินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นให้แก่โจทก์เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับความเสียหายในส่วนนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่ร้อยละ 8.5 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 26 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง