คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบัติ เดียวอิศเรศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9811/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษจำเลยโดยศาลอุทธรณ์ในความผิดที่ไม่ได้ระบุในฟ้องโจทก์ และการที่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 และมาตรา 397 จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดทั้งสองฐานนี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 และมาตรา 397 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด คือ ฐานรังแก ข่มเหง ทำให้เดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณสถานตามมาตรา 397 จำคุก 1 เดือน นั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ โดยมอบบัตรเบิกถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยให้โจทก์ยึดถือไว้ การที่โจทก์ใช้บัตรดังกล่าวถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยถือได้ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคัดค้านผลเลือกตั้ง: ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึงที่สุดเมื่อแจ้งเทศบาลแล้ว ไม่อุทธรณ์ได้
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 57และ 58 ต่างบัญญัติอยู่ในหมวดเดียวกันว่าด้วยการคัดค้านการเลือกตั้ง มาตรา 57 เป็นเรื่องตัวบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งและระยะเวลาการคัดค้าน ส่วนมาตรา 58 เป็นเรื่องการดำเนินการพิจารณาและการมีคำสั่งของศาลซึ่งอาจทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครของจำเลยที่ 1 และประกาศเรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครของจำเลยที่ 1เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองดังกล่าวก็เพื่อจะให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 58 นั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องและมีคำสั่งตามมาตรา 58 แล้ว ดังนั้น ไม่ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอย่างไรก็ตาม หากศาลได้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลผู้ประกาศให้มีการเลือกตั้งแล้วคำสั่งที่แจ้งไปนั้นย่อมเป็นที่สุด คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเห็นว่าไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 58 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการเลือกตั้งใหม่และการสิ้นสุดของกระบวนการคัดค้านตามกฎหมายเลือกตั้งเทศบาล
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 57และมาตรา 58 ต่างบัญญัติอยู่ในหมวดเดียวกันว่าด้วยการคัดค้านการเลือกตั้งมาตรา 57 เป็นเรื่องตัวบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งและระยะเวลาการคัดค้าน ส่วนมาตรา 58 เป็นเรื่องการดำเนินการพิจารณาและการมีคำสั่งของศาลซึ่งอาจทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องเข้ามาก็เพื่อจะให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 58 การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องและมีคำสั่งตามมาตรา 58 แล้ว ซึ่งไม่ว่าจะสั่งอย่างไรก็ตามหากได้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลผู้ประกาศให้มีการเลือกตั้งแล้ว คำสั่งที่แจ้งไปนั้นย่อมเป็นที่สุดทุกกรณีคู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคัดค้านการเลือกตั้งท้องถิ่น และผลของการแจ้งคำสั่งศาล
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 มาตรา57 และ 58 ต่างบัญญัติอยู่ในหมวดเดียวกันว่าด้วยการคัดค้านการเลือกตั้ง มาตรา 57เป็นเรื่องตัวบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งและระยะเวลาการคัดค้าน ส่วนมาตรา 58 เป็นเรื่องการดำเนินการพิจารณาและการมีคำสั่งของศาลซึ่งอาจทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครของจำเลยที่ 1 และประกาศเรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล-นครของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ก็เพื่อจะให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 58 นั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องและมีคำสั่งตามมาตรา 58 แล้วดังนั้น ไม่ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอย่างไรก็ตาม หากศาลได้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลผู้ประกาศให้มีการเลือกตั้งแล้ว คำสั่งที่แจ้งไปนั้นย่อมเป็นที่สุด คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเห็นว่าไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 58 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7171/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ หากศาลเห็นว่าระยะเวลาที่ให้เพียงพอแล้ว การอ้างเหตุเดิมซ้ำจะไม่ได้รับการพิจารณา
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีแพ่งไปแล้วถึง 2 ครั้งครั้งแรกอ้างว่ายังคัดคำพิพากษาไม่แล้วเสร็จโดยขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน ครั้งที่สองอ้างว่า ค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนโจทก์จำเลยที่ 2 จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเบิกจ่ายจึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาต ซึ่งเท่ากับว่าศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษและระยะเวลานับแต่จำเลยทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตเป็นเวลานานถึง 64 วัน ซึ่งเป็นเวลาอันสมควรที่จำเลยจะเบิกจ่ายเงินดังกล่าวได้แล้ว แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีกเป็นครั้งที่สามโดยมิได้อ้างเหตุพฤติการณ์พิเศษ คงอ้างแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 ยังมิได้ส่งเงินดังกล่าวมายังพนักงานอัยการทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้นซึ่งมิใช่พฤติการณ์พิเศษ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 นั้น ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7171/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ การอ้างเหตุผลล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีแพ่งไปแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกอ้างว่ายังคัดคำพิพากษาไม่แล้วเสร็จโดยขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน ครั้งที่สองอ้างว่า ค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนโจทก์จำเลยที่ 2 จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเบิกจ่ายจึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาต ซึ่งเท่ากับว่าศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษ และระยะเวลานับแต่จำเลยทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตเป็นเวลานานถึง 64 วัน ซึ่งเป็นเวลาอันสมควรที่จำเลยจะเบิกจ่ายเงินดังกล่าวได้แล้ว แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีกเป็นครั้งที่สามโดยมิได้อ้างเหตุพฤติการณ์พิเศษ คงอ้างแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 ยังมิได้ส่งเงินดังกล่าวมายังพนักงานอัยการทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น ซึ่งมิใช่พฤติการณ์พิเศษ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 นั้น ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7170/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการเวนคืนต้องเป็นค่าเสียหายโดยตรง และศาลมีอำนาจกำหนดราคาที่ดินส่วนที่เหลือลดลงได้แม้ไม่มีพระราชกฤษฎีกา
ค่าเสียหายที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจะมีสิทธิได้รับเพราะเหตุที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคท้าย ต้องเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์นั้น การที่โจทก์ที่ 1 และ ส. จะต้องไปเช่าบ้านอยู่ในระหว่างที่รอการก่อสร้างบ้านใหม่ มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามกำหนดหลักการไว้ว่าถ้าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาสูง ให้เอาราคาสูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทน หรือทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่ราคาลดลงด้วยเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ดังนั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับ ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้ไม่สามารถนำหลักการสำคัญดังกล่าวมาใช้บังคับได้ หากที่ดินของโจทก์ที่ 1 และ ส. ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลง ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับราคาที่ลดลงให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลพิจารณามูลค่าที่ดินส่วนที่เหลือเพิ่มได้ หากการเวนคืนทำให้ราคาสูงขึ้น และโจทก์ต้องอุทธรณ์ความเสียหายให้ชัดเจน
การเวนคืนที่ดินของโจทก์ส่งผลให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นมาก โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการถูกเวนคืน แม้ฝ่ายจำเลยมิได้นำเอาราคาที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งมีราคาสูงขึ้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำเอามูลค่าของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือที่มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนมาคำนึงประกอบว่าสมควรกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์หรือไม่ ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 22,000 บาท โดยมิได้เอาราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่สูงขึ้นเนื่องจากการเวนคืนมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนนับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์อย่างมากอยู่แล้ว หากกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้แก่โจทก์อีกย่อมไม่เป็นธรรมแก่สังคม
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว หากผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัยก่อนต่อจากนั้นจึงถึงขั้นตอนของการฟ้องคดีต่อศาล ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีฯ นั้นไม่ได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการจำต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนเป็นเงินจำนวนเท่าใดและขอให้รัฐมนตรีฯ เพิ่มเงินค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้จำนวนเท่าใดจึงจะเป็นที่พอใจของโจทก์ นอกจากนี้ในตอนท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำขอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเพิ่มเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ก็มีข้อความว่า ขอให้พิจารณาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ต้องเวนคืนเพียงอย่างเดียว จากตารางวาละ 21,000 บาท เป็นตารางวาละไม่ต่ำกว่า 150,000 บาท จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีฯโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7149/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากโรงงานน้ำตาล: ความชอบด้วยกฎหมาย, การผิดนัดชำระหนี้, และดอกเบี้ย
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีอำนาจกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและวรรคสองกำหนดว่า การกำหนดเบี้ยปรับดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและวรรคสี่ระบุให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับฯ สำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงถือได้ว่าระเบียบดังกล่าวได้ออกโดยชอบ ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายและไม่ซ้ำซ้อน
ระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับกำหนดให้คิดเบี้ยปรับกระสอบละ 2,000 บาทแต่ไม่น้อยกว่าครั้งละ 200,000 บาท ไม่ใช่ค่าปรับซึ่งเป็นโทษทางอาญาเพราะเบี้ยปรับเป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน จึงเป็นคนละอย่างกับโทษปรับตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท
เบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นเบี้ยปรับอันเกิดจากการที่คู่สัญญาซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำสัญญาไว้ต่อกันว่า ลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ถึงมาตรา 381 มิใช่กรณีของจำเลยซึ่งจะต้องรับผิดเพราะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดโดยกฎหมาย
เบี้ยปรับที่คณะกรรมการของโจทก์กำหนดให้จำเลยนำไปชำระ ถือได้ว่าเป็นหนี้อย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ข้อ 9 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์มีอำนาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 22
of 50