คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบัติ เดียวอิศเรศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แม้มีประเด็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
ประเด็นที่โจทก์จำเลยที่ 1 โต้เถียงกันในชั้นฎีกาตามฟ้องและฟ้องแย้งมีว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งหากที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมายถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทประโยชน์ที่โจทก์ได้ตามฟ้องหรือประโยชน์ที่จำเลยที่ 1ได้ตามฟ้องแย้งย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นการพิพาทกันด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่พิพาท จึงเป็นคำขอหรือคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอด้วยว่า ให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนอาคารรุกล้ำออกไปจากที่พิพาทและห้ามเกี่ยวข้องก็ดีหรือจำเลยที่ 1 จะมีคำขอตามฟ้องแย้งด้วยว่า ให้โจทก์รื้อถอนส่วนของอาคารที่รุกล้ำและออกไปจากที่พิพาทก็ดี ก็เป็นเพียงผลต่อเนื่องในประเด็นหลักเรื่องที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพราะเมื่อรับฟ้องได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1ก็ต้องรื้อถอนอาคารออกไปในตัวหรือเมื่อรับฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามฟ้องแย้ง โจทก์ก็ต้องรื้อถอนบางส่วนของอาคารที่รุกล้ำและออกจากที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไปในตัว คำขอส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคำขอที่ไม่มีทุนทรัพย์แยกต่างหากจากคำขอที่มีทุนทรัพย์ดังกล่าวและเมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องหรือตามฟ้องแย้งเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินและสาธารณสมบัติ หากมีทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท จึงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ประเด็นที่โจทก์จำเลยที่ 1 โต้เถียงกันในชั้นฎีกาตามฟ้องและฟ้องแย้งมีว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งหากที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทประโยชน์ที่โจทก์ได้ตามฟ้องหรือประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ได้ตามฟ้องแย้งย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นการพิพาทกันด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่พิพาท จึงเป็นคำขอหรือคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอด้วยว่า ให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนอาคารรุกล้ำออกไปจากที่พิพาทและห้ามเกี่ยวข้องก็ดีหรือจำเลยที่ 1 จะมีคำขอตามฟ้องแย้งด้วยว่า ให้โจทก์รื้อถอนส่วนของอาคารที่รุกล้ำและออกไปจากที่พิพาทก็ดี ก็เป็นเพียงผลต่อเนื่องในประเด็นหลักเรื่องที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพราะเมื่อรับฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรื้อถอนอาคารออกไปในตัว หรือเมื่อรับฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามฟ้องแย้ง โจทก์ก็ต้องรื้อถอนบางส่วนของอาคารที่รุกล้ำและออกจากที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไปในตัว คำขอส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคำขอที่ไม่มีทุนทรัพย์แยกต่างหากจากคำขอที่มีทุนทรัพย์ดังกล่าว และเมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องหรือตามฟ้องแย้งเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6142/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงบทกฎหมายที่ใช้ลงโทษ: จากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดให้โทษ และอำนาจศาลในการยกฟ้อง
ขณะจำเลยกระทำความผิด การเสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 62 ตรี ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ตรี ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539)ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ เดิมทุกฉบับและให้วัตถุออกฤทธิ์ที่ระบุชื่อในบัญชีท้ายประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวมิได้ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์อีกต่อไป ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ เท่านั้น จึงมีผลให้การเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57ต้องรับโทษตามมาตรา 91 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาทไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ อีกต่อไป อันเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 วรรคหนึ่ง เมื่อระวางโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 106 ตรี และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 ต่างเป็นคุณต่อผู้กระทำความผิดคือถ้าดูในโทษขั้นสูงแล้วพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 106 ตรีเป็นคุณกว่า เพราะจำคุกอย่างสูงเพียงห้าปี แต่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 ลงโทษอย่างสูงได้ถึงสิบปีแต่ถ้าดูโทษขั้นต่ำแล้ว พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมาตรา 91 เป็นคุณกว่าเพราะจำคุกตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปแต่พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา 106 ตรี จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ฉะนั้นถ้าศาลลงโทษจำคุกในอัตราขั้นสูงต้องใช้พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ เพราะเป็นคุณแก่จำเลยแต่ถ้าจะจำคุกจำเลยในอัตราขั้นต่ำต้องใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ เพราะเป็นคุณแก่จำเลย คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วางโทษจำคุก 1 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 6 เดือน การวางโทษอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายขณะกระทำความผิด คือ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ก็ได้ หรือใช้กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด คือ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯก็ได้ เช่นนี้ควรใช้กฎหมายขณะกระทำความผิดที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ จึงชอบแล้ว ข้อหาความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่งนั้น เมื่อภายหลังการกระทำความผิดเมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทแต่ได้เปลี่ยนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)และ พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ไม่มีบทบัญญัติลงโทษผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษดังเช่น พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 แล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185,215 และ 225 การเสพเมทแอมเฟตามีนแล้วปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถยนต์ในทางสาธารณะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุเป็นผลให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บล้มตายซึ่งเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม นับได้ว่าเป็นภยันตรายที่ร้ายแรงปรากฏให้เห็นเป็นประจำในสังคมปัจจุบัน การลงโทษสถานหนักโดยให้จำคุกเป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันและปรามปรามหยุดยั้งมิให้มีการกระทำความผิดเช่นนี้อีก จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาฟ้องคดีเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเป็นต้องพิจารณาเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมร่วมด้วย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 7 คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้นให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 (3)...(4)..." และมาตรา 302 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือหมายจับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งได้เสนอต่อศาลตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์กล่าวถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดสัญญาที่จำเลยตกลงหรือสัญญาว่าจะเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการโอนสิทธิการเช่าตึก 7 ชั้นคืนให้แก่โจทก์นั้น มิได้แยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอมแล้ว หากแต่เป็นการยอมรับภาระในหนี้ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าโดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องผ่อนชำระหนี้ให้ครบจำนวนหนี้ตามข้อ 1 แห่งสัญญาประนีประนอมยอมความจึงจำเป็นต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมด้วยว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้วหรือไม่ กรณีเช่นนี้ คำฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่ง และคำฟ้องนี้จำต้องให้ศาลแพ่งวินิจฉัยเสียก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีหรือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นคือศาลแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคดีเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ต้องเสนอต่อศาลที่พิจารณาคดีชั้นต้น
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้นให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302(3)(4)" และ มาตรา 302 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือหมายจับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งได้เสนอต่อศาลตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์กล่าวถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดสัญญาที่จำเลยตกลงหรือสัญญาว่าจะเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการโอนสิทธิการเช่าตึก 7 ชั้นคืนให้แก่โจทก์นั้น มิได้แยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอมแล้ว หากแต่เป็นการยอมรับภาระในหนี้ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าโดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องผ่อนชำระหนี้ให้ครบจำนวนหนี้ตามข้อ 1แห่งสัญญาประนีประนอมยอมความจึงจำเป็นต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมด้วยว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้วหรือไม่ กรณีเช่นนี้คำฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่ง และคำฟ้องนี้จำต้องให้ศาลแพ่งวินิจฉัยเสียก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีหรือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นคือศาลแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบขนย้ายน้ำตาลทรายขาวฝ่าฝืนระเบียบ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล, การพิสูจน์หลักฐานการขาดบัญชี
แม้การที่น้ำตาลทรายขาดบัญชีไปอาจเกิดจากตรวจนับชั่งน้ำหนัก หรือ การชำรุดของกระสอบก็ตาม แต่ขั้นตอนการ บรรจุเก็บรักษามีพนักงานของโจทก์และของบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทยจำกัด ตรวจนับและทำบัญชีบันทึกไว้ และการขนย้ายต้องได้รับอนุญาตจากบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด โดยมีพนักงานของโจทก์และของบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด ควบคุมตรวจนับตลอดเวลา จึงไม่น่าเชื่อว่าจะมีการคลาดเคลื่อนทางบัญชีมากดังที่โจทก์อ้าง การขาดบัญชีกรณีที่อ้างว่าเอาน้ำตาลทรายขาวธรรมดาไปส่งแก่ลูกค้าแทนน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ที่มีไม่เพียงพอหรืออ้างว่านำไปบริจาคแก่วัด โรงเรียน หน่วยราชการ และแจกแก่พนักงานโจทก์ในเทศกาล ต่าง ๆ ทำให้ไม่ตรงกับบัญชีก็เป็นกรณีขนย้ายที่ต้องได้รับอนุญาตเช่นกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจึงรับฟังไม่ได้ และการขนย้ายน้ำตาลทรายโดยมิได้รับอนุญาตก็ทำให้น้ำตาลทรายขาดบัญชีอยู่ในตัวโจทก์จะโต้เถียงว่าเป็นคนละกรณีกันหาได้ไม่ การที่ขาดบัญชีไปจึงน่าเชื่อว่ามีการลักลอบขนย้ายน้ำตาลทรายขาวอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ออกโดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 แล้วเป็นการออกโดยชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับต่อโจทก์ และเบี้ยปรับตามระเบียบดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญา เป็นการกำหนดความรับผิดทางแพ่งสำหรับผู้ฝ่าฝืนระเบียบไม่เป็นการเกินขอบเขตที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527มาตรา 70,71 ให้อำนาจไว้ การที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าเบี้ยปรับกรณีขนย้ายน้ำตาลทรายโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความรับผิดทางแพ่งต้องมีสัญญาผูกพันกันจึงจะบังคับได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงด้วยจึงบังคับโจทก์ไม่ได้นั้นเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล, การขนส่งหลายทอด, เหตุสุดวิสัย และขอบเขตการนำกฎหมายมาใช้
ขณะที่บริษัท ค. ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้รับขนส่งสินค้าพิพาททางทะเล พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับและไม่มีบทบัญญัติให้มีผลย้อนหลังนำไปปรับใช้กับสัญญารับขนของทางทะเลที่ทำกันขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ประกอบกับสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งทำกันขึ้นนั้นคู่สัญญามีเจตนาให้ผูกพันกันตามสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญากัน ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับใช้นั้น จึงชอบแล้ว จำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจรับขนส่งทางทะเล และเป็นบริษัทสาขาหรือเครือเดียวกันกับจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้รับขนสินค้าพิพาทที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ ได้ดำเนินการนำเรือ ป.เข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพโดยได้รับบำเหน็จค่าจ้าง ทั้งยังเป็นผู้ดำเนินการติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้องเช่น กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กองตรวจคนเข้าเมืองการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเรือดังกล่าวเข้าเทียบท่าเรือเมื่อเรือดังกล่าวเดินทางมาถึงท่าเรือกรุงเทพจำเลยที่ 2ก็เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือดังกล่าวให้ผู้ซื้อสินค้าทราบทั้งยังเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าพิพาทนำไปรับสินค้าจากเรือขนส่ง นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังเป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ ป. ลงเรือลำเลียงหรือเรือฉลอม และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการนำเรือขนถ่ายสินค้าด้วย การดำเนินการต่าง ๆของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดำเนินการขนส่งเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อ ย่อมถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และ 618 โดยจำเลยที่ 2 หาจำต้องเป็นผู้ออกใบตราส่งหรือเป็นเจ้าของเรือ ป.ไม่ ขณะเรือ ป. เดินทางอยู่ในทะเลได้เผชิญกับพายุอย่างรุนแรงเรือโยกคลอน น้ำซัดเข้าเรือเป็นเหตุให้สินค้าพิพาทได้รับความเสียหาย โดยไม่ได้ความว่าพายุรุนแรงขนาดไหน ความเสียหายดังกล่าวเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้เพราะ เหตุใด และผู้ควบคุมเรือซึ่งต้องประสบเหตุเช่นนั้นได้จัดการ ระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะ และภาวะเช่นนั้นหรือไม่อย่างไร จึงรับฟังไม่ได้ว่าความเสียหาย ของสินค้าพิพาทเกิดจากเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้เพื่อบำเหน็จสินจ้าง: ถอนคืนการให้ไม่ได้เมื่อเป็นการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง
การที่โจทก์ยกที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ให้จำเลยเพราะจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากธนาคารซึ่งเป็นหนี้ที่โจทก์ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของโจทก์ฝ่ายเดียวนั้น ถือเป็นการให้เพื่อบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ โจทก์จึงถอนคืนการให้ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารยทรัพย์และการกระทำของผู้มีสิทธิในการรักษาสิทธิในทางพิพาท
ปัญหาตามฎีกาของโจทก์ว่า อุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 หรือไม่ แม้เป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยรื้อเหล็กปิดกั้นซอย 1 และซอย 4 ในหมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ 2 โครงการ 3 ห้ามขัดขวางรบกวนการใช้ซอยดังกล่าวของโจทก์ ซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่จำนวนมากบรรทุกสินค้าเข้าออกผ่านทางพิพาท เป็นที่เห็นได้ว่าทางพิพาทจะชำรุดเสียหาย ไม่สะดวกและน่าเป็นอันตรายต่อผู้อื่นที่ใช้ทาง เสียงเครื่องยนต์รถยนต์บรรทุก กรรมกรบนรถยนต์บรรทุก ควันเสียจากรถยนต์บรรทุก รบกวนสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในหมู่บ้าน เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในชั้นไต่สวนคำร้องที่จำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินตามคำขอของโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงในสำนวน หาใช่เป็นการคาดคะเนหรือเป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวนไม่
ทางพิพาทเป็นถนนส่วนบุคคลเป็นของจำเลยที่ 1 และเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 และการที่โจทก์ที่ 2 กับโจทก์ที่ 3 ซื้อที่ดินจัดสรรเพื่ออยู่อาศัยจากจำเลยที่ 1 โดยให้สัญญาว่าต้องใช้ประโยชน์แห่งที่ดินและอาคารในทางที่ไม่เป็นการละเมิดต่อกฎหมายและไม่เป็นการรบกวนปกติสุขของผู้อยู่ข้างเคียงหรือสังคม แต่โจทก์ที่ 2 กับโจทก์ที่ 3 กลับให้โจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทในลักษณะผิดข้อสัญญาดังกล่าว และโจทก์ทั้งสามในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ร่วมกันใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์ในลักษณะเกินขอบเขตปกติแห่งการใช้รถยนต์สัญจรไปมาเข้าออกบนทางพิพาท ซึ่งถือได้ว่าทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์อันทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ย่อมเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิหรือไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1388 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ร่วมตั้งเสาทำคานปิดกั้นทางพิพาทมิให้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ผ่านเข้าออก ส่วนรถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็กผ่านไปมาได้ มิได้ห้ามหรือปิดกั้นไม่ให้โจทก์ทั้งสามใช้ทางพิพาทเสียทีเดียว ย่อมเป็นการกระทำของผู้มีอำนาจในทางพิพาทในลักษณะปกติธรรมดาของการปกป้องเยียวยาต่อการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสาม และเป็นการกระทำของเจ้าของสามยทรัพย์ซึ่งมีสิทธิทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาภาระจำยอม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391 จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบ หาจำต้องถูกบังคับให้ต้องใช้สิทธิต่อพนักงานสอบสวนหรือศาลไม่ และการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าดังกล่าวก็ไม่เป็นการประกอบกรรมใด ๆอันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามป.พ.พ.มาตรา 1390 ดังนั้น จำเลยทั้งสิบห้าจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม การใช้สิทธิเจ้าของสามยทรัพย์ การรบกวนปกติสุขและอำนาจฟ้อง
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยร่วมกันรื้อเหล็กปิดกั้นซอยในหมู่บ้านและห้ามขัดขวางรบกวนการใช้ซอยของโจทก์ เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ปัญหาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ คู่ความก็ยกขึ้นฎีกาได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยให้
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในชั้นไต่สวนคำร้องที่จำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินตามคำขอของโจทก์ถือเป็นข้อเท็จจริงในสำนวน
โจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์ในลักษณะเกินขอบเขตปกติแห่งการใช้รถยนต์สัญจรไปมาเข้าออกทางพิพาท โดยโจทก์ใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่จำนวนมากบรรทุกสินค้าเข้าออกผ่านทางพิพาท อันเป็นที่เห็นได้ว่าทางพิพาทจะชำรุดเสียหาย ไม่สะดวกและน่าเป็นอันตรายต่อผู้อื่นที่ใช้ทาง เสียงเครื่องยนต์ รถยนต์บรรทุก กรรมกรบนรถยนต์บรรทุก ควันเสียจากรถยนต์บรรทุกรบกวนสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในหมู่บ้านจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถือได้ว่าทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์อันทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ย่อมเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิหรือไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ร่วมกันตั้งเสาทำคานปิดกั้นทางพิพาท มิให้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ผ่านเข้าออก ส่วนรถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็กผ่านไปมาได้ ย่อมเป็นการกระทำของผู้มีอำนาจในทางพิพาทที่จะปกป้องเยียวยาต่อการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ดังกล่าวและเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของสามยทรัพย์ทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 และการกระทำของจำเลยไม่เป็นการประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
of 50