พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ที่ขัดต่อกฎกระทรวงผังเมืองรวม แม้กฎหมายเดิมหมดอายุ แต่กฎหมายใหม่มาใช้บังคับ
แม้ในระหว่างที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ตามคำขอเอกสารหมายจ.5 และ จ.6 และจำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างปรากฏว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ 24(พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมืองพ.ศ. 2518 ไม่มีผลใช้บังคับแล้ว ดังนี้กรณีตามคำขอของโจทก์จึงไม่ต้องต้องตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 จึงไม่อาจยกข้อห้ามตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเพื่อมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ทำให้คำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและไม่มีเหตุผลสมควรในขณะนั้นก็ตาม แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ. 2538) ฯ ใช้บังคับเป็นผลให้กรณีคำขอของโจทก์ต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวงฉบับนี้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้ หากจะถือว่าขณะที่จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้จำเลยสั่งเช่นนั้นได้และจะต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ต้องไปรื้อร้องขอให้จำเลยมีคำสั่งอนุญาตใหม่ แต่ขณะจะมีคำสั่งใหม่ก็ปรากฏว่ากรณีของโจทก์ต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ. 2538)ฯ อีก เช่นนี้เห็นได้ว่าการมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 ซึ่งต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ. 2538) ฯ ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายที่ฝืนต่อสภาพการณ์ทางสังคมและหลักการทางปกครองคำขอของโจทก์จึงต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง จำเลยชอบที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดีและการปรับใช้กฎหมายใหม่กับคำขอเดิมที่ขัดต่อกฎหมายใหม่
แม้ในระหว่างที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ตามคำขอเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 และจำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างปรากฏว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518 ไม่มีผลใช้บังคับแล้ว ดังนี้กรณีตามคำขอของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จึงไม่อาจยกข้อห้ามตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเพื่อมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ทำให้คำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและไม่มีเหตุผลสมควรในขณะนั้นก็ตาม แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 221 (พ.ศ.2538)ฯ ใช้บังคับ เป็นผลให้กรณีคำขอของโจทก์ต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวงฉบับนี้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้
หากจะถือว่าขณะที่จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้จำเลยสั่งเช่นนั้นได้และจะต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ต้องไปรื้อร้องขอให้จำเลยมีคำสั่งอนุญาตใหม่ แต่ขณะจะมีคำสั่งใหม่ ก็ปรากฏว่ากรณีของโจทก์ต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ.2538)ฯ อีก เช่นนี้เห็นได้ว่าการมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 ซึ่งต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ.2538)ฯ ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายที่ฝืนต่อสภาพการณ์ทางสังคมและหลักการทางปกครอง คำขอของโจทก์จึงต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง จำเลยชอบที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าว
หากจะถือว่าขณะที่จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้จำเลยสั่งเช่นนั้นได้และจะต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ต้องไปรื้อร้องขอให้จำเลยมีคำสั่งอนุญาตใหม่ แต่ขณะจะมีคำสั่งใหม่ ก็ปรากฏว่ากรณีของโจทก์ต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ.2538)ฯ อีก เช่นนี้เห็นได้ว่าการมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 ซึ่งต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ.2538)ฯ ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายที่ฝืนต่อสภาพการณ์ทางสังคมและหลักการทางปกครอง คำขอของโจทก์จึงต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง จำเลยชอบที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5019/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดี: การส่งหมายนัดชอบด้วยกฎหมายและการพิสูจน์เหตุสมควรที่มาศาลไม่ได้
การที่จะให้ศาลชั้นต้นยกคดีโจทก์ขึ้นพิจารณาใหม่ได้นั้น โจทก์จะต้องแสดงให้เห็นว่า มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181 คดีนี้ศาลชั้นต้นนัดสอบถามคำให้การจำเลยและนัดสืบพยานโจทก์ โดยได้ส่งหมายนัดให้โจทก์ตามที่อยู่ที่ปรากฏในคำฟ้อง และพ.ทนายความโจทก์ตามที่อยู่ที่ปรากฏในใบแต่งทนายความของ พ.ตั้งแต่วันที่ 9โดยมี ช.ซึ่งอยู่ในสถานที่เดียวกับโจทก์และทนายความโจทก์เป็นผู้รับหมายไว้แทนการส่งหมายนัดของศาลจึงเป็นไปโดยชอบและต้องถือว่าโจทก์และทนายความโจทก์ได้ทราบวันนัดของศาลก่อนถึงวันนัดแล้ว การที่โจทก์อ้างว่า พ.ทนายความโจทก์ทราบนัดล่าช้าเพราะเหตุสำนักงานใหญ่และสำนักงานฝ่ายกฎหมายของโจทก์อยู่คนละที่กันก็ดี และ พ.เดินทางไปภูมิลำเนาเดิมเพื่อพิธีไหว้สารทจีนตั้งแต่ก่อนวันที่รับหมายไว้แทนนั้นก็ดี ล้วนแต่เป็นวิธีปฏิบัติภายในของโจทก์และทนายความโจทก์มิใช่กรณีที่โจทก์มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5019/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัดโดยไม่มีเหตุสมควร ศาลไม่ยกเลิกคำสั่งให้ยกฟ้อง
การที่จะให้ศาลชั้นต้นยกคดีโจทก์ขึ้นพิจารณาใหม่ได้นั้น โจทก์จะต้องแสดงให้เห็นว่า มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181 คดีนี้ศาลชั้นต้นนัดสอบถามคำให้การจำเลยและนัดสืบพยานโจทก์ โดย ได้ส่งหมายนัดให้โจทก์ตามที่อยู่ที่อยู่ที่ปรากฏในคำฟ้อง และพ.ทนายความโจทก์ตามที่อยู่ที่ปรากฏในใบแต่งทนายความของพ.ตั้งแต่วันที่9โดยมีช.ซึ่งอยู่ในสถานที่เดียวกับโจทก์และทนายความโจทก์เป็นผู้รับหมายไว้แทนการส่งหมายนัดของศาลจึงเป็นไปโดยชอบและต้องถือว่าโจทก์และทนายความโจทก์ได้ทราบวันนัดของศาลก่อนถึงวันนัดแล้ว การที่โจทก์อ้างว่า พ.ทนายความโจทก์ทราบนัดล่าช้าเพราะเหตุสำนักงานใหญ่และสำนักงานฝ่ายกฎหมายของโจทก์อยู่คนละที่กันก็ดี และ พ.เดินทางไปภูมิลำเนาเดิมเพื่อพิธีไหว้สารทจีนตั้งแต่ก่อนวันที่รับหมายไว้แทนนั้นก็ดี ล้วนแต่เป็นวิธีปฏิบัติภายในของโจทก์และทนายความโจทก์มิใช่กรณีที่โจทก์มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ครอบคลุมมูลละเมิดอื่น โจทก์ยังมีสิทธิฟ้อง
หลังจากจำเลยทั้งสองร่วมกันทำหนังสือร้องเรียนครอบครัวของโจทก์ทั้งสองต่อผู้บังคับบัญชาอันเป็นมูลละเมิดในคดีนี้แล้ว โจทก์ที่ 1 ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหาหมิ่นประมาท และโจทก์ที่ 2 ก็ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้เปิดทางระบายน้ำที่หน้าบ้านของจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดมีนบุรีในที่สุดคดีดังกล่าวได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ มีข้อความข้อแรกว่าจำเลยที่ 1จะทำการดัดแปลงซีเมนต์ที่ก่อไว้หน้าบ้านจำเลยที่ 1 ให้เป็นร่องตรงท่อระบายน้ำให้พอทำความสะอาดได้และเอาเหล็กตะแกรงวางตรงร่องนั้น ข้อสอง จำเลยที่ 2 ไปถอนคำร้องเรียนโจทก์ที่ 1 ต่อกองทัพบกและขอโทษโจทก์ที่ 1 ต่อหน้าผู้บังคับบัญชา ข้อสามโจทก์ที่ 1 ไปถอนคำร้องทุกข์ที่กล่าวหาจำเลยที่ 2 ในข้อหาหมิ่นประมาท โดยตอนท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความคู่ความตกลงกันว่าจะไม่กล่าวร้ายกันอีก เห็นได้ว่าในข้อแรกเป็นข้อที่จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติเพื่อระงับข้อพิพาทในคดีแพ่งดังกล่าว แต่ในข้อสองเป็นข้อที่จำเลยทั้งสองจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยที่ 2 ร้องเรียนโจทก์ที่ 1 ต่อกองทัพบก โดยฝ่ายโจทก์ก็จะถอนคำร้องทุกข์ที่ได้กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 หมิ่นประมาทเป็นการตอบแทนตามข้อสาม อันเป็นการยุติข้อพิพาทเฉพาะคดีอาญา โดยในสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดเลยที่ระบุว่าคู่ความจะไม่ดำเนินคดีหรือฟ้องร้องต่อกันในทางแพ่งอีก คงมีข้อความเพียงว่าคู่ความจะไม่กล่าวร้ายกันอีกเท่านั้น ซึ่งหมายความเพียงว่าจะไม่ทะเลาะด่าว่ากันอีกต่อไป ไม่รวมถึงการฟ้องร้องคดีอันเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมาย ดังนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทในทางแพ่งอันเป็นมูลละเมิดในคดีนี้ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงยังมีสิทธิฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท การสืบพยานและการสอบถามคำให้การจำเลย
แม้ตามคำฟ้องโจทก์ได้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับว่าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม กล่าวคือ ข้อแรก จำเลยทั้งห้าร่วมกันทำไม้มะค่าโมง ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.ในเขตป่าขุนซ่องโดยใช้เลื่อยโซ่ยนต์ตัดฟันเป็นท่อน ๆ รวม2 ท่อน วัดปริมาตรได้ 3.48 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ฯลฯ ข้อสอง จำเลยทั้งห้าร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินบุกรุกเข้าไปทำไม้ ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เข้าไปทำไม้มะค่าโมงจำนวน 2 ต้นทำลายต้นไม้ในป่าขุนซ่องอันเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต ฯลฯ ก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาในการกระทำผิดว่า จำเลยทั้งห้ากระทำผิดในวันที่24 กุมภาพันธ์ 2538 เวลากลางวัน โดยไม่ได้ระบุว่าการกระทำผิดฐานใดกระทำในวันเวลาใดให้ชัดแจ้ง การบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำความผิดในคราวเดียวกันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นการกระทำคนละคราวอันจะเป็นความผิดหลายกรรม โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าฐานร่วมกันลักลอบนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางอันเป็นของผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยจำเลยทั้งห้ารู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้ลักลอบนำเข้าหลบหนีด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอาการที่ต้องเสียสำหรับของนั้นอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27,27 ทวิ แสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดคนละฐาน ดังนี้ ศาลจะลงโทษจำเลยทั้งห้าในทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยทั้งห้าไม่ได้ และหากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้งโจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยทั้งห้าใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจน ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท โจทก์มีหน้าที่สืบพยาน
แม้ตามคำฟ้องโจทก์ได้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับว่าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม กล่าวคือ ข้อแรก จำเลยทั้งห้าร่วมกันทำไม้มะค่าโมงซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าขุนซ่องโดยใช้เลื่อยโซ่ยนต์ตัดฟันเป็นท่อน ๆรวม 2 ท่อน วัดปริมาตรได้ 3.48 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่...ฯลฯ... ข้อสอง จำเลยทั้งห้าร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินบุกรุกเข้าไปทำไม้ ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เข้าไปทำไม้มะค่าโมงจำนวน 2 ต้น ทำลายต้นไม้ในป่าขุนซ่องอันเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต...ฯลฯ... ก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาในการกระทำผิดว่า จำเลยทั้งห้ากระทำผิดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 เวลากลางวัน โดยไม่ได้ระบุว่าการกระทำผิดฐานใดกระทำในวันเวลาใดให้ชัดแจ้ง การบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำความผิดในคราวเดียวกันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นการกระทำคนละคราวอันจะเป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าฐานร่วมกันลักลอบนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางอันเป็นของผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยจำเลยทั้งห้ารู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้ลักลอบนำเข้าหลบหนีด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ แสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดคนละฐาน ดังนี้ ศาลจะลงโทษจำเลยทั้งห้าในทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยทั้งห้าไม่ได้ และหากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้งโจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยทั้งห้าใหม่
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าฐานร่วมกันลักลอบนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางอันเป็นของผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยจำเลยทั้งห้ารู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้ลักลอบนำเข้าหลบหนีด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ แสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดคนละฐาน ดังนี้ ศาลจะลงโทษจำเลยทั้งห้าในทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยทั้งห้าไม่ได้ และหากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้งโจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยทั้งห้าใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4503/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิเช่าซื้อ: ไม่เป็นลาภมิควรได้ แม้มีการผิดนัดชำระค่างวด
สิทธิเช่าซื้อเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด หาใช่เป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขบังคับหลังไม่เพราะโจทก์ผู้ซื้อกับจำเลยผู้ขายได้ตกลงชื้อและตกลงขายในสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเป็นที่ยุติเสร็จสิ้นแล้ว โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้ขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อได้ส่งมอบสิทธิแห่งสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อและโจทก์ผู้ซื้อก็ได้ชำระค่าสิทธิตามสัญญาให้แก่จำเลยผู้ขายแล้ว และภายหลังจากทำสัญญาซื้อขาย จำเลยผู้ขายได้ส่งมอบรถยนต์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ผู้ซื้อสิทธิได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ตามสิทธิแห่งสัญญาเช่าซื้อแล้ว
การใดจะเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 406 ต้องเป็นเรื่องที่บุคคลนั้นได้ทรัพย์เพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย แต่คดีนี้ขณะทำสัญญาซื้อขายจำเลยมีสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยขายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์ เงินที่ได้จากการขายสิทธิอันเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงมิใช่เรื่องลาภมิควรได้จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ ส่วนการที่โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่างวดที่เช่าซื้อต่อบริษัทผู้ให้เช่าซื้อจนเป็นเหตุจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเสียหายต้องติดตามยึดรถคืนเพื่อส่งมอบให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อ ซึ่งเกิดแต่ความผิดของโจทก์ฝ่ายเดียว ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าซื้อต่อกันนับแต่วันที่จำเลยยึดรถคันพิพาทคืนจากโจทก์
การใดจะเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 406 ต้องเป็นเรื่องที่บุคคลนั้นได้ทรัพย์เพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย แต่คดีนี้ขณะทำสัญญาซื้อขายจำเลยมีสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยขายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์ เงินที่ได้จากการขายสิทธิอันเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงมิใช่เรื่องลาภมิควรได้จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ ส่วนการที่โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่างวดที่เช่าซื้อต่อบริษัทผู้ให้เช่าซื้อจนเป็นเหตุจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเสียหายต้องติดตามยึดรถคืนเพื่อส่งมอบให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อ ซึ่งเกิดแต่ความผิดของโจทก์ฝ่ายเดียว ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าซื้อต่อกันนับแต่วันที่จำเลยยึดรถคันพิพาทคืนจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาชดเชยที่เหมาะสม ดอกเบี้ยนับแต่วันวางเงินชดเชย
หนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินมีข้อความว่า เรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนโดยการทำสัญญา และตอนท้ายของหนังสือระบุว่า ในการติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนนี้โจทก์มีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนโดยสงวนสิทธิหรือไม่สงวนสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งสิ่งที่ส่งมาด้วยมีรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญารับเงินค่าทดแทน ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นเหตุให้เข้าใจได้ว่าเป็นหนังสือแจ้งให้มาทำสัญญาตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนกันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เมื่อการกระทำทางปกครองของเจ้าหน้าที่ไม่มีความชัดแจ้ง จึงต้องตีความให้เกิดความชอบธรรมแก่ผู้ถูกกระทำคือประชาชนมิให้เสียสิทธิโดยไม่เป็นธรรม กรณีเช่นนี้จึงถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวมิใช่หนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
หนังสือเอกสารหมาย จ.5 เป็นเพียงหนังสือเชิญโจทก์ไปติดต่อขอทำสัญญารับเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสองมีหนังสือลงวันที่7 กรกฎาคม 2535 แจ้งให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่วางไว้ที่ธนาคารออมสินตามหนังสือเอกสารหมาย จ.16 เมื่อโจทก์ไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.6 และเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 30 กรกฎาคม 2535 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ค่าแผงรั้ว ประตูอัลลอยย์ และรั้วกับช่องระเบียง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ไว้ต่างหากแล้วในคดีของศาลแพ่งตามสำเนาคำพิพากษาท้ายฎีกาของโจทก์ ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ในคดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น คดีดังกล่าวเป็นการเวนคืนรายเดียวกันกับคดีนี้และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาเช่นกัน ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยถึงความเสียหายในส่วนนี้ให้ในคดีนี้
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดอีกเป็นเงิน 266,200 บาท ทั้งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนที่เป็นสนามหญ้าเพิ่มขึ้นไว้แล้วในคดีของศาลแพ่ง ดังนั้นสำหรับคดีนี้จึงมีปัญหาที่จะวินิจฉัยเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเท่านั้น
ที่โจทก์ฎีกาขอให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด...พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ เมื่อคดีนี้ปรากฏว่าไม่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม และโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ศาลให้จำเลยทั้งสองชำระเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์
หนังสือเอกสารหมาย จ.5 เป็นเพียงหนังสือเชิญโจทก์ไปติดต่อขอทำสัญญารับเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสองมีหนังสือลงวันที่7 กรกฎาคม 2535 แจ้งให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่วางไว้ที่ธนาคารออมสินตามหนังสือเอกสารหมาย จ.16 เมื่อโจทก์ไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.6 และเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 30 กรกฎาคม 2535 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ค่าแผงรั้ว ประตูอัลลอยย์ และรั้วกับช่องระเบียง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ไว้ต่างหากแล้วในคดีของศาลแพ่งตามสำเนาคำพิพากษาท้ายฎีกาของโจทก์ ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ในคดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น คดีดังกล่าวเป็นการเวนคืนรายเดียวกันกับคดีนี้และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาเช่นกัน ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยถึงความเสียหายในส่วนนี้ให้ในคดีนี้
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดอีกเป็นเงิน 266,200 บาท ทั้งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนที่เป็นสนามหญ้าเพิ่มขึ้นไว้แล้วในคดีของศาลแพ่ง ดังนั้นสำหรับคดีนี้จึงมีปัญหาที่จะวินิจฉัยเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเท่านั้น
ที่โจทก์ฎีกาขอให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด...พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ เมื่อคดีนี้ปรากฏว่าไม่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม และโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ศาลให้จำเลยทั้งสองชำระเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินค่าทดแทนที่ถูกต้องและดอกเบี้ยนับแต่วันวางเงิน
หนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินมีข้อความว่า เรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนโดยการทำสัญญา และตอนท้ายของหนังสือระบุว่า ในการติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนนี้โจทก์มีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนโดยสงวนสิทธิหรือไม่สงวนสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งสิ่งที่ส่งมาด้วยมีรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญารับเงินค่าทดแทน ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นเหตุให้เข้าใจได้ว่าเป็นหนังสือแจ้งให้มาทำสัญญาตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนกันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เมื่อการกระทำทางปกครองของเจ้าหน้าที่ไม่มีความชัดแจ้ง จึงต้องตีความให้เกิดความชอบธรรมแก่ผู้ถูกกระทำคือประชาชนมิให้เสียสิทธิโดยไม่เป็นธรรม กรณีเช่นนี้จึงถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวมิใช่หนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
หนังสือเอกสารหมาย จ.5 เป็นเพียงหนังสือเชิญโจทก์ไปติดต่อขอทำสัญญารับเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสองมีหนังสือลงวันที่7 กรกฎาคม 2535 แจ้งให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่วางไว้ที่ธนาคารออมสินตามหนังสือเอกสารหมาย จ.16 เมื่อโจทก์ไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.6 และเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 30 กรกฎาคม 2535 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ค่าแผงรั้ว ประตูอัลลอยย์ และรั้วกับช่องระเบียง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ไว้ต่างหากแล้วในคดีของศาลแพ่งตามสำเนาคำพิพากษาท้ายฎีกาของโจทก์ ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ในคดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น คดีดังกล่าวเป็นการเวนคืนรายเดียวกันกับคดีนี้และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาเช่นกัน ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยถึงความเสียหายในส่วนนี้ให้ในคดีนี้
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดอีกเป็นเงิน 266,200 บาท ทั้งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนที่เป็นสนามหญ้าเพิ่มขึ้นไว้แล้วในคดีของศาลแพ่ง ดังนั้นสำหรับคดีนี้จึงมีปัญหาที่จะวินิจฉัยเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเท่านั้น
ที่โจทก์ฎีกาขอให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด...พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ เมื่อคดีนี้ปรากฏว่าไม่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม และโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ศาลให้จำเลยทั้งสองชำระเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์
หนังสือเอกสารหมาย จ.5 เป็นเพียงหนังสือเชิญโจทก์ไปติดต่อขอทำสัญญารับเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสองมีหนังสือลงวันที่7 กรกฎาคม 2535 แจ้งให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่วางไว้ที่ธนาคารออมสินตามหนังสือเอกสารหมาย จ.16 เมื่อโจทก์ไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.6 และเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 30 กรกฎาคม 2535 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ค่าแผงรั้ว ประตูอัลลอยย์ และรั้วกับช่องระเบียง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ไว้ต่างหากแล้วในคดีของศาลแพ่งตามสำเนาคำพิพากษาท้ายฎีกาของโจทก์ ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ในคดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น คดีดังกล่าวเป็นการเวนคืนรายเดียวกันกับคดีนี้และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาเช่นกัน ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยถึงความเสียหายในส่วนนี้ให้ในคดีนี้
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดอีกเป็นเงิน 266,200 บาท ทั้งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนที่เป็นสนามหญ้าเพิ่มขึ้นไว้แล้วในคดีของศาลแพ่ง ดังนั้นสำหรับคดีนี้จึงมีปัญหาที่จะวินิจฉัยเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเท่านั้น
ที่โจทก์ฎีกาขอให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด...พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ เมื่อคดีนี้ปรากฏว่าไม่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม และโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ศาลให้จำเลยทั้งสองชำระเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์