คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบัติ เดียวอิศเรศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องคดีอาญา: การบรรยายลักษณะการกระทำผิดและการร่วมกระทำความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยทั้งสองครอบครองอาคารเพื่อพานิชกรรมและจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมดังกล่าวซึ่งครบองค์ประกอบความผิด มาตรา 21 ประกอบมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยมาตรา 70 ระบุถึงกรณีกระทำการดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม มิใช่ดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรม จึงหาจำต้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรมไม่ และที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดก็เข้าใจได้ในตัวเองแล้วไม่จำต้องบรรยายในรายละเอียดอีกว่าร่วมกันกระทำโดยตลอดหรือแบ่งหน้าที่กันทำอย่างไร โจทก์ไม่จำต้องอ้างมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯเพราะมิใช่มาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเช่นใดเป็นความผิด ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 และการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2539 ภายในกำหนด1 เดือน นับแต่วันอ่าน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้พิจารณาและพิพากษาคดีนี้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง กับยื่นหนังสือขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2539 ด้วยดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาภายในกำหนดแล้ว ส่วนการที่อัยการสูงสุดจะมีคำสั่งเมื่อใดเป็นเรื่องที่อัยการสูงสุดจะพิจารณา เมื่ออัยการสูงสุดได้รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงได้แล้ว จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา158 (5) และ (6) หรือไม่ ตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาว่า โจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองกระทำการอย่างไรที่บ่งชี้ว่ามีเจตนาดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และไม่บรรยายให้ชัดแจ้งว่าร่วมกันกระทำผิดอย่างไรหรือแบ่งหน้าที่กันดัดแปลงอาคารอย่างไร ทั้งไม่อ้าง ป.อ.มาตรา 83 และมาตรา 72 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองแต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ได้
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยทั้งสองครอบครองอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมดังกล่าว ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 21 ประกอบมาตรา 70 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยมาตรา 70 บัญญัติหมายความว่า กระทำการดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม มิใช่ดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรมโจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรม และที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดก็เข้าใจได้ในตัวเองแล้ว ไม่จำต้องบรรยายในรายละเอียดอีกว่าร่วมกันกระทำโดยตลอด หรือแบ่งหน้าที่กันทำอย่างไร และโจทก์ไม่จำต้องอ้างบทมาตรา 83 แห่ง ป.อ.หรือมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพราะมิใช่บทมาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเช่นใดเป็นความผิด ดังนั้น ฟ้องโจทก์ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) (6)แล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยซึ่งเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพ ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3604/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยฟ้องแย้งหลังยกฟ้องคดีหลัก และหลักการผูกพันตามคำพิพากษาถึงที่สุด
เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การได้ ถ้าข้ออ้างตามฟ้องแย้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมแล้ว ศาลย่อมจะต้องรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา เมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 178 แล้วย่อมเกิดประเด็นข้อพิพาทที่จะนำไปสู่ประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความแพ้หรือชนะกัน ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2)และมาตรา 133 บัญญัติไว้ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์แล้ววินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องแย้งของจำเลยร่วมที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว โจทก์และจำเลยร่วมที่ 2 มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้นต่อไปได้ ตามมาตรา 223 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่จะต้องชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยร่วมที่ 2 ตามประเด็นแห่งคดีที่คู่ความได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ดังที่มาตรา 131(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ มาตรา 240 บัญญัติไว้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นถูกต้อง แต่ไม่วินิจฉัยในประเด็นข้ออุทธรณ์ของจำเลยร่วมที่ 2 โดยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ ทำให้ฟ้องแย้งของจำเลยร่วมที่ 2 ต้องตกไป จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ เพราะไม่เข้ากรณีที่ศาลจะไม่ต้องวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้นตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 บัญญัติไว้และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดสนับสนุนคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงและศาลจังหวัด
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก3 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 และได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสามฉบับเพื่อชำระหนี้เงินกู้การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กู้เงินจากโจทก์และไม่เคยรับเงินใดจากโจทก์เช็คพิพาททั้งสามฉบับจำเลยสั่งจ่ายให้โจทก์เพื่อนำไปกู้เงินมิได้มีเจตนาให้มีผลผูกพันกัน เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาและเป็นยุติแล้วจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาเช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยมานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิอุทธรณ์ 60 วันของผู้รับค่าทดแทนและอำนาจฟ้องของผู้รับประโยชน์ภาระติดพัน
ได้มีการส่งต้นฉบับหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินไปยังบ้านหรือภูมิสำเนาของโจทก์แล้วโดยไม่มีการส่งเอกสารดังกล่าวไปยังบ้านบุคคลอื่น และกรณีเป็นเพียงเขียนชื่อถนนผิดพลาดไปเท่านั้น ดังนี้ฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2533 แล้ว โดยไม่จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำเนาใบตอบรับในประเทศเอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 3 มาพิจารณาประกอบ ฉะนั้นที่โจทก์ที่ 1ฎีกาโต้แย้งเกี่ยวกับการรับฟังเอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 3 นั้นไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงดังที่วินิจฉัยมาแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้จึงไม่จำต้องวินิจฉัย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 3 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2533 จึงพ้น 60 วันซึ่งเป็นกำหนดเวลาการใช้สิทธิอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 25 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้รับประโยชน์ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนอันเป็นทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่บุคคลผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนกล่าวคือ มิใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้เช่าทรัพย์สิน หรือผู้เสียสิทธิในการใช้ทาง วางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินในที่ต้องเวนคืน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 18 โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 16 วรรคสอง,29 โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าทดแทนโดยลำพังตนเองได้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว และโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 3 และไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: กำหนดเวลาอุทธรณ์ และสิทธิผู้รับประโยชน์
ได้มีการส่งต้นฉบับหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินไปยังบ้านหรือภูมิลำเนาของโจทก์แล้ว โดยไม่มีการส่งเอกสารดังกล่าวไปยังบ้านบุคคลอื่น และกรณีเป็นเพียงเขียนชื่อถนนผิดพลาดไปเท่านั้น ดังนี้ ฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2533 แล้ว โดยไม่จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำเนาใบตอบรับในประเทศเอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 3 มาพิจารณาประกอบ ฉะนั้นที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาโต้แย้งเกี่ยวกับการรับฟังเอกสารหมาย ล.2แผ่นที่ 3 นั้น ไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงดังที่วินิจฉัยมาแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 3 ในวันที่ 1ตุลาคม 2533 จึงพ้น 60 วัน ซึ่งเป็นกำหนดเวลาการใช้สิทธิอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่งโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้รับประโยชน์ภาระติดพันในอสังหา-ริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนอันเป็นทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่บุคคลผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทน กล่าวคือ มิใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้เช่าทรัพย์สิน หรือผู้เสียสิทธิในการใช้ทาง วางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินในที่ต้องเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 18 โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 16 วรรคสอง, 29 โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าทดแทนโดยลำพังตนเองได้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว และโจทก์ที่ 2ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 3 และไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195-3197/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีเช่าช่วงตึกแถวที่ศาลฎีกาเคยพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนจำเลยในคดีนี้ฟ้องโจทก์ที่1ว่าผิดสัญญาเช่าขอให้ขับไล่โจทก์ที่1และบริวารออกจากตึกแถวเลขที่933/3และ933/4และเรียกค่าเสียหายคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังว่าโจทก์ที่1ผิดสัญญาเช่าให้ขับไล่โจทก์ที่1และบริวารออกจากตึกแถวที่เช่าโจทก์ที่1กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าฉบับเดียวกันดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายดังนี้ฟ้องคดีก่อนและคดีนี้คงมีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ที่1มาฟ้องเป็นคดีนี้อีกว่าโจทก์ที่1ไม่ผิดสัญญาฟ้องของโจทก์ที่1คดีนี้จึงซ้ำกับคดีก่อนส่วนโจทก์ที่2และที่3ยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษในคดีก่อนโดยโจทก์ที่2ยื่นคำร้องว่าโจทก์ที่2ไม่ใช่บริวารของโจทก์ที่1ขอให้งดการบังคับคดีและให้จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนไปจดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทชั้น2,3และ4ให้แก่โจทก์ที่2ส่วนโจทก์ที่3ก็ยื่นคำร้องว่าไม่ใช่บริวารของโจทก์ที่1ขอให้ยกเลิกการบังคับคดีศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ที่2และที่3เป็นบริวารของโจทก์ที่1ให้ยกคำร้องของโจทก์ที่2และที่3ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ที่2และที่3ฎีกาขณะคดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ที่2และที่3จึงไม่ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุดและคดีก่อนประเด็นแห่งคดีมีว่าโจทก์ที่2และที่3เป็นบริวารของโจทก์ที่1หรือไม่ส่วนคดีนี้ประเด็นแห่งคดีมีว่าจะบังคับจำเลยจดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ที่2และที่3ได้หรือไม่จึงแตกต่างกันการที่โจทก์ที่2และที่3ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุยงส่งเสริม vs. สนับสนุนการกระทำความผิด: ผู้ใช้ vs. ผู้สนับสนุน
เหตุเกิดเพราะการที่จำเลยที่1พยักหน้าและร้องว่าเอามันแล้วจำเลยที่2และที่3เข้าร่วมทำร้ายร่างกายผู้เสียหายถือได้ว่าจำเลยที่1ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการยุยงส่งเสริมจึงเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา84มิใช่เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามมาตรา83ดังที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นการแตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างมากย่อมลงโทษจำเลยที่1ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสองแต่การร้องบอกของจำเลยที่1ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เลื่อยยนต์แปรรูปไม้ผิดกฎหมาย การลดโทษ และการจ่ายสินบนรางวัลตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองใช้เลื่อยยนต์เป็นเครื่องมือในการแปรรูปไม้ซึ่งสามารถแปรรูปไม่ได้รวดเร็วและเป็นจำนวนมาก เป็นพฤติการณ์ที่ก่อให้เกิดภัยต่อทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเป็นอย่างมากซึ่งเป็นการกระทำที่มีลักษณะร้ายแรง การที่ศาลล่างใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสองนั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายสินบนกับรางวัล และปรากฏตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489มาตรา 7 และ 8 ว่าสินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล คดีนี้ไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายของกลางได้ ดังนั้น ที่ศาลล่างพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบและจ่ายเงินรางวัลร้อยละยี่สิบของค่าปรับ ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ นั้น จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตวัตถุประสงค์สัญญาเช่าซื้อ, อายุความค่าเช่าซื้อ, และเอกสารหลักฐานทางภาษี
สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์มีวัตถุประสงค์ ซื้อ ขาย เช่า ให้เช่า การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์จึงเป็นการกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงโจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้รับทรัพย์คืนและค่าเสื่อมราคารวมถึงค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดให้สัญญาซื้อขายรถยนต์จากการขายทอดตลาดเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ และเอกสารดังกล่าวมิใช่ใบรับสำหรับการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะตามข้อ 28(ค)แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 108 เอกสารดังกล่าวแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
of 50