พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีทุนทรัพย์: การกำหนดค่าเสียหายจากค่าเช่าที่ยุติแล้วห้ามฎีกาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทจำเลยพักอาศัยอยู่โดยไม่มีสิทธิขอให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินกับบริวารออกไปจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทเพราะจำเลยซื้อบ้านพิพาทจากบริษัทช. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมแต่ยังไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยได้เช่นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงไม่เป็นคดีมีทุนทรัพย์แต่เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าหากนำบ้านพิพาทออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละไม่ต่ำกว่า10,000บาทซึ่งหมายถึงอาจให้เช่าได้เดือนละ10,000บาท หรือมากกว่านี้ตามแต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เท่ากับค่าเช่าเดือนละ5,000บาทศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ3,000บาทโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาข้อเท็จจริงจึงยุติว่าบ้านพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละ3,00บาทกรณีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความ: แม้ไม่มีการประทับตราบริษัทและไม่ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมกรรมการ
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทเพื่อแก้ปัญหาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันทำการแทนจำเลยที่ 1 แต่มิได้ประทับตราบริษัทตามข้อบังคับเพราะในวันดังกล่าวมิได้นำตราบริษัทไป แต่ในวันเดียวกันนั้น ร.ซึ่งเป็นน้องชายของ ย.และเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ได้โทรสารถึง ก.ทนายความของจำเลยที่ 1เรื่องค่าบำเหน็จนายหน้าของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้โจทก์อันเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งจำเลยที่ 3 รู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นมูลเหตุในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทด้วย ดังนี้ เมื่อการทำสัญญาประนีประนอมยอมความพิพาท ก็เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1กับฝ่ายโจทก์และอยู่ในความประสงค์หรือขอบอำนาจของจำเลยที่ 1 และถือว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ารับเอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้วสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทนี้ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2และที่ 3 ซึ่งมิได้เป็นผู้จัดการเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการทำนิติกรรมแทนจำเลยที่ 1 ก็ดี หรือที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่รับรองสัญญาประนี-ประนอมยอมความนี้ก็ดี หามีผลทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความนี้สิ้นความผูกพันจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้ไม่มีตราบริษัท หากเจตนาแก้ไขข้อพิพาทและมีผู้มีอำนาจลงนาม
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทเพื่อแก้ปัญหาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันทำการแทนจำเลยที่ 1 แต่มิได้ประทับตราบริษัทตามข้อบังคับเพราะในวันดังกล่าวมิได้นำตราบริษัทไปแต่ในวันเดียวกันนั้นร. ซึ่งเป็นน้องชายของ ย. และเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ได้โทรสารถึง ก. ทนายความของจำเลยที่ 1 เรื่องค่าบำเหน็จนายหน้าของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้โจทก์อันเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งจำเลยที่ 3 รู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นมูลเหตุในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทด้วย ดังนี้ เมื่อการทำสัญญาประนีประนอมยอมความพิพาท ก็เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับฝ่ายโจทก์และอยู่ในความประสงค์หรือขอบอำนาจของจำเลยที่ 1 และถือว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ารับเอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทนี้ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมิได้เป็นผู้จัดการเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการทำนิติกรรมแทนจำเลยที่ 1 ก็ดี หรือที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่รับรองสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ก็ดี หามีผลทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความนี้สิ้นความผูกพันจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้ไม่มีตราบริษัท หากมีเจตนาและผู้มีอำนาจลงนาม
จำเลยที่2ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทเพื่อแก้ปัญหาให้จำเลยที่1โดยจำเลยที่2และที่3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันทำการแทนจำเลยที่1แต่มิได้ประทับตราบริษัทตามข้อบังคับเพราะในวันดังกล่าวมิได้นำตราบริษัทไปแต่ในวันเดียวกันนั้นร. ซึ่งเป็นน้องชายของย. และเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่1ได้โทรสารถึงก. ทนายความของจำเลยที่1เรื่องค่าบำเหน็จนายหน้าของโจทก์ที่จำเลยที่1จะต้องชำระให้โจทก์อันเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความทั้งจำเลยที่3รู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นมูลเหตุในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทด้วยดังนี้เมื่อการทำสัญญาประนีประนอมยอมความพิพาทก็เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับฝ่ายโจทก์และอยู่ในความประสงค์หรือขอบอำนาจของจำเลยที่1และถือว่าจำเลยที่1ได้เข้ารับเอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้วสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทนี้ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่1การที่จำเลยที่2และที่3ซึ่งมิได้เป็นผู้จัดการเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการทำนิติกรรมแทนจำเลยที่1ก็ดีหรือที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่1ไม่รับรองสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ก็ดีหามีผลทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความนี้สิ้นความผูกพันจำเลยที่1แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างขนส่งน้ำมัน: การผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหาย
สัญญาว่าจ้างได้ตกลงกันให้จำเลยต้องให้โจทก์บรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันไม่น้อยกว่าเดือนละสองหรือสามเที่ยวมีกำหนดเวลาแน่นอน เป็นสาระสำคัญและเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้โจทก์บรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันเพียงเที่ยวเดียว โดยไม่ให้โจทก์บรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันเดือนละสองหรือสามเที่ยวภายในกำหนดเวลา ถือได้ว่าจำเลยประพฤติผิดเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาหลังจากขนส่งน้ำมันให้จำเลยเสร็จเที่ยวแรกแล้ว 3 เดือนเศษ การบอกเลิกสัญญาว่าจ้างของโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยว่าจ้างโจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดอีกเพราะเป็นการบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 388 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคือการที่จำเลยผิดสัญญาที่ไม่ว่าจ้างโจทก์ให้บรรทุกน้ำมัน และคำขอบังคับคือค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชดใช้ ส่วนที่ว่าโจทก์คิดค่าเสียหายมาอย่างไร เป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์ที่จะพึงได้เป็นค่าเสียหายของโจทก์ไม่อยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (3) เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอราคาที่ไม่ตรงตามเงื่อนไขประกวดราคา ไม่ถือเป็นการยื่นเสนอราคาที่ถูกต้อง สัญญาจึงไม่เกิดขึ้น
เอกสารการยื่นเสนอราคากำหนดให้ยื่นซองเสนอราคาภายในเวลากำหนด แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นภายในเวลาดังกล่าว ทั้งมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกวดราคาที่กำหนดไว้ ไม่ได้ยื่นซองเสนอราคาที่กรอกข้อความในแบบฟอร์มเสนอราคาประมูลของโจทก์ และไม่มีหลักฐานแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงทะเบียนรับแบบและเอกสารไปจากโจทก์ การเสนอราคาของจำเลยที่ 1 มิได้เสนอตามเอกสารการยื่นเสนอราคา หากแต่เป็นคำเสนอขึ้นใหม่ มิใช่การยื่นเสนอราคาในการประกวดราคา จึงนำเงื่อนไขการประกวดราคาดังกล่าวมาบังคับไม่ได้
หนังสือเสนอราคาของจำเลยที่ 1 ได้เสนอเพื่อประสงค์จะเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศกับโจทก์ การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยไปทำสัญญา จึงเป็นคำสนองที่โจทก์ประสงค์จะทำสัญญากับจำเลย แต่คำสนองของโจทก์กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวงเงินค้ำประกันร้อยละ 10 ของมูลค่าตามสัญญาจ้างไปวางประกันด้วย ซึ่งเป็นเงื่อนไขในเอกสารการยื่นราคา คำสนองของโจทก์จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไข ถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและไม่ยอมทำสัญญากับโจทก์ คำเสนอใหม่ของโจทก์ดังกล่าวจึงสิ้นผล สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงริบหลักประกันการประกวดราคา โดยเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ได้
แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศตามที่ได้กระทำไว้ต่อโจทก์ดังฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยก่อนว่า จำเลยได้ยื่นเสนอประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อฟังว่าจำเลยไม่ได้ยื่นเสนอประกวดราคาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบงานดังกล่าวต่อโจทก์ หากแต่เป็นคำเสนอใหม่ต่างหาก จึงนำเงื่อนไขการประกวดราคามาใช้กับจำเลยไม่ได้ ฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคาระบบปรับอากาศและระบายอากาศที่ทำไว้ต่อโจทก์หรือไม่ การวินิจฉัยดังกล่าวถือได้ว่ายังอยู่ในประเด็นแห่งคดีนั่นเอง
หนังสือเสนอราคาของจำเลยที่ 1 ได้เสนอเพื่อประสงค์จะเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศกับโจทก์ การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยไปทำสัญญา จึงเป็นคำสนองที่โจทก์ประสงค์จะทำสัญญากับจำเลย แต่คำสนองของโจทก์กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวงเงินค้ำประกันร้อยละ 10 ของมูลค่าตามสัญญาจ้างไปวางประกันด้วย ซึ่งเป็นเงื่อนไขในเอกสารการยื่นราคา คำสนองของโจทก์จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไข ถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและไม่ยอมทำสัญญากับโจทก์ คำเสนอใหม่ของโจทก์ดังกล่าวจึงสิ้นผล สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงริบหลักประกันการประกวดราคา โดยเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ได้
แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศตามที่ได้กระทำไว้ต่อโจทก์ดังฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยก่อนว่า จำเลยได้ยื่นเสนอประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อฟังว่าจำเลยไม่ได้ยื่นเสนอประกวดราคาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบงานดังกล่าวต่อโจทก์ หากแต่เป็นคำเสนอใหม่ต่างหาก จึงนำเงื่อนไขการประกวดราคามาใช้กับจำเลยไม่ได้ ฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคาระบบปรับอากาศและระบายอากาศที่ทำไว้ต่อโจทก์หรือไม่ การวินิจฉัยดังกล่าวถือได้ว่ายังอยู่ในประเด็นแห่งคดีนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอราคาที่ไม่ตรงตามเงื่อนไขประกวดราคา ถือเป็นคำเสนอใหม่ สัญญาจึงไม่เกิด โจทก์ริบหลักประกันไม่ได้
เอกสารการยื่นเสนอราคากำหนดให้ยื่นซองเสนอราคาภายในเวลากำหนด แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นภายในเวลาดังกล่าวทั้งมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกวดราคาที่กำหนดไว้ไม่ได้ยื่นซองเสนอราคาที่กรอกข้อความในแบบฟอร์มเสนอราคาประมูลของโจทก์ และไม่มีหลักฐานแสดงว่าจำเลยที่ 1ได้ลงทะเบียนรับแบบและเอกสารไปจากโจทก์ การเสนอราคาของจำเลยที่ 1 มิได้เสนอตามเอกสารการยื่นเสนอราคา หากแต่เป็นคำเสนอขึ้นใหม่ มิใช่การยื่นเสนอราคาในการประกวดราคาจึงนำเงื่อนไขการประกวดราคาดังกล่าวมาบังคับไม่ได้ หนังสือเสนอราคาของจำเลยที่ 1 ได้เสนอเพื่อประสงค์จะเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศกับโจทก์ การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยไปทำสัญญาจึงเป็นคำสนองที่โจทก์ประสงค์จะทำสัญญากับจำเลย แต่คำสนองของโจทก์กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวงเงินค้ำประกันร้อยละ 10 ของมูลค่าตามสัญญาจ้างไปวางประกันด้วย ซึ่งเป็นเงื่อนไขในเอกสารการยื่นราคาคำสนองของโจทก์จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไข ถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและไม่ยอมทำสัญญากับโจทก์ คำเสนอใหม่ของโจทก์ดังกล่าวจึงสิ้นผล สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่เกินขึ้นโจทก์จึงริบหลักประกันการประกวดราคา โดยเรียกให้จำเลยที่ 2ชำระเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำผิดเงื่อนไข การประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศตามที่ได้กระทำไว้ต่อโจทก์ดังฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยก่อนว่าจำเลยได้ยื่นเสนอประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อฟังว่าจำเลยไม่ได้ยื่นเสนอประกวดราคาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบงานดังกล่าวต่อโจทก์ หากแต่เป็นคำเสนอใหม่ต่างหาก จึงนำเงื่อนไขการประกวดราคามาใช้กับจำเลยไม่ได้ ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคาระบบปรับอากาศและระบายอากาศที่ทำไว้ต่อโจทก์หรือไม่ การวินิจฉัยดังกล่าวถือได้ว่ายังอยู่ในประเด็นแห่งคดีนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอราคาที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขประกวดราคา ถือเป็นคำเสนอใหม่ สัญญาจึงไม่เกิดขึ้น
เอกสารการยื่นเสนอราคากำหนดให้ยื่นซองเสนอราคาภายในเวลากำหนดแต่จำเลยที่1มิได้ยื่นภายในเวลาดังกล่าวทั้งมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกวดราคาที่กำหนดไว้ไม่ได้ยื่นซองเสนอราคาที่กรอกข้อความในแบบฟอร์มเสนอราคาประมูลของโจทก์และไม่มีหลักฐานแสดงว่าจำเลยที่1ได้ลงทะเบียนรับแบบและเอกสารไปจากโจทก์การเสนอราคาของจำเลยที่1มิได้เสนอตามเอกสารการยื่นเสนอราคาหากแต่เป็นคำเสนอขึ้นใหม่มิใช่การยื่นเสนอราคาในการประกวดราคาจึงนำเงื่อนไขการประกวดราคาดังกล่าวมาบังคับไม่ได้ หนังสือเสนอราคาของจำเลยที่1ได้เสนอเพื่อประสงค์จะเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศกับโจทก์การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยไปทำสัญญาจึงเป็นคำสนองที่โจทก์ประสงค์จะทำสัญญากับจำเลยแต่คำสนองของโจทก์กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวงเงินค้ำประกันร้อยละ10ของมูลค่าตามสัญญาจ้างไปวางประกันด้วยซึ่งเป็นเงื่อนไขในเอกสารการยื่นราคาคำสนองของโจทก์จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของโจทก์เมื่อจำเลยไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและไม่ยอมทำสัญญากับโจทก์คำเสนอใหม่ของโจทก์ดังกล่าวจึงสิ้นผลสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่เกินขึ้นโจทก์จึงริบหลักประกันการประกวดราคาโดยเรียกให้จำเลยที่2ชำระเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยกระทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศตามที่ได้กระทำไว้ต่อโจทก์ดังฟ้องหรือไม่ก็ตามแต่ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยก่อนว่าจำเลยได้ยื่นเสนอประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศต่อโจทก์หรือไม่เมื่อฟังว่าจำเลยไม่ได้ยื่นเสนอประกวดราคาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบงานดังกล่าวต่อโจทก์หากแต่เป็นคำเสนอใหม่ต่างหากจึงนำเงื่อนไขการประกวดราคามาใช้กับจำเลยไม่ได้ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคาระบบปรับอากาศและระบายอากาศที่ทำไว้ต่อโจทก์หรือไม่การวินิจฉัยดังกล่าวถือได้ว่ายังอยู่ในประเด็นแห่งคดีนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของการแต่งตั้งกรรมการ, ระเบียบเบี้ยปรับ, และการมอบหมายหน้าที่ในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
ตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 10เป็นบทกำหนดคุณสมบัติของข้าราชการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่า ผู้ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวจะต้องไม่เป็นชาวไร่อ้อย กรรมการ ผู้จัดการ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของโรงงานเท่านั้น ส่วนมาตรา 11 เป็นบทกำหนดคุณสมบัติของผู้แทนชาวไร่อ้อยและผู้แทนโรงงานที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยคุณสมบัติ ฯลฯ(5) ไม่เป็นข้าราชการการเมืองหรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง (6) ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง การแต่งตั้งข้าราชการแม้เป็นวุฒิสมาชิกแต่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 10 จึงมิได้มีข้อห้ามในการเป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
กรรมการที่มาจากข้าราชการ 3 กระทรวง ซึ่งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแต่งตั้งนั้น พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 9 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีการแต่งตั้งดังกล่าวมิได้มีข้อกำหนดว่าให้ระบุชื่อเฉพาะของข้าราชการนั้น ๆ และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นใดบังคับว่าการแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นกรรมการจะต้องระบุชื่อโดยเฉพาะ ทั้งตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินการแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษอื่นใด ย่อมแต่งตั้งโดยระบุตำแหน่งได้โดยถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งโดยตำแหน่งนั้นเป็นตัวแทนของส่วนราชการหน่วยนั้น ๆ และเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตำแหน่ง ไม่ติดตัวและสิ้นสภาพไปเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้นตาย โอนย้ายหรือลาออกจากราชการไปฉะนั้นหากผู้ดำรงตำแหน่งไม่อยู่ ผู้อยู่ในลำดับรองลงไปก็สามารถรับมอบหมายให้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ การแต่งตั้งจึงชอบแล้ว
การออกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 แม้ชื่อระเบียบดังกล่าวจะไม่มีคำว่าเงินรางวัลนำจับ แต่ข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดระเบียบการจ่ายเงินรางวัลนำจับ การแจ้งความและการรับเงินรางวัลนำจับไว้โดยละเอียดแล้ว และการกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับดังกล่าวเนื่องจากพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 17 (25) บัญญัติให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีหน้าที่กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด คณะกรรมการจึงมีอำนาจที่จะกำหนดระเบียบที่สอดคล้องและไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวการที่คณะกรรมการได้นำข้อความตามมาตรา 44 บางส่วนมากำหนดเป็นระเบียบของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ในมาตรา 17 (25)และการกำหนดเบี้ยปรับสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้เป็นบทบังคับทางแพ่งเฉพาะโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ และกำหนดให้ชำระเฉพาะเงินเบี้ยปรับ มิได้มีการลงโทษทางอาญาแต่ประการใด ส่วน พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 เป็นบทบังคับบุคคลหรือนิติบุคคลรวมทั้งโรงงานซึ่งหมายความถึงผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งและประกอบกิจการโรงงานผลิตน้ำตาลทรายด้วยและบทบังคับมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับอันเป็นโทษทางอาญา ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับจึงมิใช่การลงโทษซ้ำซ้อนกับ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับ...ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ได้มีการนำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจได้เห็นชอบในหลักการ จึงได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบถึงการออกระเบียบดังกล่าว และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับ...ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ดังกล่าวจึงถูกต้องและเป็นไปตามขั้นตอนตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 17 แล้ว
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมอบหมายให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายนั้น ตามนัยมาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่าในระหว่างที่ยังไม่มีสถาบันชาวไร่อ้อยที่จะเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อย ให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 แต่งตั้งผู้ซึ่งปลูกอ้อยเพื่อขายให้แก่โรงงานเป็นผู้แทนชาวไร่อ้อย และมาตรา 11 วรรคสี่ การเสนอและการถอดถอนผู้แทนชาวไร่อ้อยให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต่อมารัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ออกประกาศระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทรายโดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว เป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527ระเบียบดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
ขณะที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์ยังไม่มีกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ คณะกรรมการชุดเดิมจึงมีอำนาจดำเนินงานประชุมและลงมติได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้มอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน จ.รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมฉ.รองปลัดกระทรวงพาณิชย์แทนปลัดกระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ และ ป.รองอธิบดีกรมการค้าภายในแทนอธิบดีกรมการค้าภายในทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้บังคับบัญชาในกระทรวงที่ตนสังกัดตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการแทนกันโดยชอบด้วยกฎหมาย บุคคลดังกล่าวจึงมีอำนาจเข้าร่วมประชุมแทนได้
โจทก์ฟ้องว่าคณะกรรมการบริหารมีมติให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับเป็นเงิน 32,786,000 บาท โจทก์อุทธรณ์ แต่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายยกอุทธรณ์ โจทก์จึงมาฟ้องตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา58 ขอให้ศาลเพิกถอนมติและคำวินิจฉัยดังกล่าวที่ให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ ผลของคำพิพากษาก็คือเมื่อโจทก์ชนะคดี ทำให้โจทก์ไม่ต้องชำระเบี้ยปรับจำนวนดังกล่าวกรณีจึงเป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 150
กรรมการที่มาจากข้าราชการ 3 กระทรวง ซึ่งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแต่งตั้งนั้น พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 9 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีการแต่งตั้งดังกล่าวมิได้มีข้อกำหนดว่าให้ระบุชื่อเฉพาะของข้าราชการนั้น ๆ และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นใดบังคับว่าการแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นกรรมการจะต้องระบุชื่อโดยเฉพาะ ทั้งตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินการแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษอื่นใด ย่อมแต่งตั้งโดยระบุตำแหน่งได้โดยถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งโดยตำแหน่งนั้นเป็นตัวแทนของส่วนราชการหน่วยนั้น ๆ และเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตำแหน่ง ไม่ติดตัวและสิ้นสภาพไปเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้นตาย โอนย้ายหรือลาออกจากราชการไปฉะนั้นหากผู้ดำรงตำแหน่งไม่อยู่ ผู้อยู่ในลำดับรองลงไปก็สามารถรับมอบหมายให้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ การแต่งตั้งจึงชอบแล้ว
การออกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 แม้ชื่อระเบียบดังกล่าวจะไม่มีคำว่าเงินรางวัลนำจับ แต่ข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดระเบียบการจ่ายเงินรางวัลนำจับ การแจ้งความและการรับเงินรางวัลนำจับไว้โดยละเอียดแล้ว และการกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับดังกล่าวเนื่องจากพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 17 (25) บัญญัติให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีหน้าที่กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด คณะกรรมการจึงมีอำนาจที่จะกำหนดระเบียบที่สอดคล้องและไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวการที่คณะกรรมการได้นำข้อความตามมาตรา 44 บางส่วนมากำหนดเป็นระเบียบของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ในมาตรา 17 (25)และการกำหนดเบี้ยปรับสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้เป็นบทบังคับทางแพ่งเฉพาะโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ และกำหนดให้ชำระเฉพาะเงินเบี้ยปรับ มิได้มีการลงโทษทางอาญาแต่ประการใด ส่วน พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 เป็นบทบังคับบุคคลหรือนิติบุคคลรวมทั้งโรงงานซึ่งหมายความถึงผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งและประกอบกิจการโรงงานผลิตน้ำตาลทรายด้วยและบทบังคับมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับอันเป็นโทษทางอาญา ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับจึงมิใช่การลงโทษซ้ำซ้อนกับ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับ...ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ได้มีการนำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจได้เห็นชอบในหลักการ จึงได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบถึงการออกระเบียบดังกล่าว และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับ...ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ดังกล่าวจึงถูกต้องและเป็นไปตามขั้นตอนตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 17 แล้ว
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมอบหมายให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายนั้น ตามนัยมาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่าในระหว่างที่ยังไม่มีสถาบันชาวไร่อ้อยที่จะเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อย ให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 แต่งตั้งผู้ซึ่งปลูกอ้อยเพื่อขายให้แก่โรงงานเป็นผู้แทนชาวไร่อ้อย และมาตรา 11 วรรคสี่ การเสนอและการถอดถอนผู้แทนชาวไร่อ้อยให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต่อมารัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ออกประกาศระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทรายโดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว เป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527ระเบียบดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
ขณะที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์ยังไม่มีกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ คณะกรรมการชุดเดิมจึงมีอำนาจดำเนินงานประชุมและลงมติได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้มอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน จ.รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมฉ.รองปลัดกระทรวงพาณิชย์แทนปลัดกระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ และ ป.รองอธิบดีกรมการค้าภายในแทนอธิบดีกรมการค้าภายในทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้บังคับบัญชาในกระทรวงที่ตนสังกัดตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการแทนกันโดยชอบด้วยกฎหมาย บุคคลดังกล่าวจึงมีอำนาจเข้าร่วมประชุมแทนได้
โจทก์ฟ้องว่าคณะกรรมการบริหารมีมติให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับเป็นเงิน 32,786,000 บาท โจทก์อุทธรณ์ แต่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายยกอุทธรณ์ โจทก์จึงมาฟ้องตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา58 ขอให้ศาลเพิกถอนมติและคำวินิจฉัยดังกล่าวที่ให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ ผลของคำพิพากษาก็คือเมื่อโจทก์ชนะคดี ทำให้โจทก์ไม่ต้องชำระเบี้ยปรับจำนวนดังกล่าวกรณีจึงเป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย: อำนาจหน้าที่, องค์ประชุม, คุณสมบัติกรรมการ, และคดีมีทุนทรัพย์
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 10 เป็นบทกำหนดคุณสมบัติของข้าราชการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่า ผู้ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวจะต้องไม่เป็นชาวไร่อ้อย กรรมการผู้จัดการ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของโรงงานเท่านั้น ส่วนมาตรา 11 เป็นบทกำหนดคุณสมบัติของผู้แทนชาวไร่อ้อยและผู้แทนโรงงานที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยคุณสมบัติ ฯลฯ(5) ไม่เป็นข้าราชการเมืองหรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง (6) ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง การแต่งตั้งข้าราชการแม้เป็นวุฒิสมาชิกแต่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 10 จึงมิได้มีข้อห้ามในการเป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กรรมการที่มาจากข้าราชการ 3 กระทรวง ซึ่งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแต่งตั้งนั้นพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 9 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีการแต่งตั้งดังกล่าวมิได้มีข้อกำหนดว่าให้ระบุชื่อเฉพาะของข้าราชการนั้น ๆ และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นใดบังคับว่าการแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นกรรมการจะต้องระบุชื่อโดยเฉพาะทั้งตามระเบียบบริการราชการแผ่นดินการแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษอื่นใด ย่อมแต่งตั้งโดยระบุตำแหน่งได้โดยถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งโดยตำแหน่งนั้นเป็นตัวแทนของส่วนราชการหน่วยนั้น ๆ และเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตำแหน่ง ไม่ติดตัวและสิ้นสภาพไปเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้นตาย โอนย้ายหรือลาออกจากราชการไป ฉะนั้นหากผู้ดำรงตำแหน่งไม่อยู่ ผู้อยู่ในลำดับรองลงไปก็สามารถรับมอบหมายให้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ การแต่งตั้งจึงชอบแล้ว การออกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศระเบียบ หรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 แม้ชื่อระเบียบดังกล่าวจะไม่มีคำว่าเงินรางวัลนำจับแต่ข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดระเบียบการจ่ายเงินรางวัลนำจับ การแจ้งความและการรับเงินรางวัลนำจับไว้โดยละเอียดแล้วและการกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับดังกล่าวเนื่องจากพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17(25) บัญญัติให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีหน้าที่กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด คณะกรรมการจึงมีอำนาจที่จะกำหนดระเบียบที่สอดคล้องและไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าวการที่คณะกรรมการได้นำข้อความตามมาตรา 44 บางส่วนมากำหนดเป็นระเบียบของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ในมาตรา 17(25) และการกำหนดเบี้ยปรับสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้เป็นบทบังคับทางแพ่งเฉพาะโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ และกำหนดให้ชำระเฉพาะเงินเบี้ยปรับ มิได้มีการลงโทษทางอาญาแต่ประการใด ส่วนพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 เป็นบทบังคับบุคคลหรือนิติบุคคลรวมทั้งโรงงานซึ่งหมายความถึงผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งและประกอบกิจการโรงงานผลิตน้ำตาลทรายด้วยและบทบังคับมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับอันเป็นโทษทางอาญา ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับจึงมิใช่การลงโทษซ้ำซ้อนกับพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ได้มีการนำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจได้เห็นชอบในหลักการ จึงได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบถึงการออกระเบียบดังกล่าว และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ดังกล่าวจึงถูกต้องและเป็นไปตามขั้นตอนตามตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมอบหมายให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยและน้ำตาลทรายนั้น ตามนัยมาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่าในระหว่างที่ยังไม่มีสถาบันชาวไร่อ้อยที่จะเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อย ให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 แต่งตั้งผู้ซึ่งปลูกอ้อยเพื่อขายให้แก่โรงงานเป็นผู้แทนชาวไร่อ้อยและมาตรา 11 วรรคสี่ การเสนอและการถอดถอนผู้แทนชาวไร่อ้อยให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต่อมารัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ออกประกาศระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุนคณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆดังกล่าว เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ระเบียบดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ขณะที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์ยังไม่มีกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ คณะกรรมการชุดเดิมจึงมีอำนาจดำเนินงานประชุมและลงมติได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้มอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน จ. รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ฉ. รองปลัดกระทรวงพาณิชย์แทนปลัดกระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์และ ป.รองอธิบดีกรมการค้าภายในแทนอธิบดีกรมการค้าภายในทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้บังคับบัญชาในกระทรวงที่ตนสังกัดตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการแทนกันโดยชอบด้วยกฎหมายบุคคลดังกล่าวจึงมีอำนาจเข้าร่วมประชุมแทนได้ โจทก์ฟ้องว่าคณะกรรมการบริหารมีมติให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับเป็นเงิน 32,786,000 บาท โจทก์อุทธรณ์ แต่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายยกอุทธรณ์ โจทก์จึงมาฟ้องตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 58 ขอให้ศาลเพิกถอนมติและคำวินิจฉัยดังกล่าวที่ให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ ผลของคำพิพากษาก็คือเมื่อโจทก์ชนะคดี ทำให้โจทก์ไม่ต้องชำระเบี้ยปรับจำนวนดังกล่าวกรณีจึงเป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150