พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: ผู้ซื้อมีหน้าที่ดำเนินการนำเข้าเมื่อมีข้อตกลงในสัญญา
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเข้าใจได้ว่าเจตนาของจำเลยต้องการซื้อเลื่อยโซ่ยนต์ที่เป็นของผลิตจากต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกาเป็นของใหม่ซึ่งไม่เคยถูกใช้งานมาก่อนโดยโจทก์จะต้องสามารถแสดงหลักฐานในเรื่องนี้จากโรงงานผู้ผลิตต่อจำเลยได้หากจำเลยสงสัยว่าไม่ใช่ของใหม่อีกทั้งในสัญญาซื้อขายยังกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอยกเว้นค่าภาษีอากรขาเข้าให้แก่โจทก์แสดงว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยตกลงซื้อจากโจทก์จะต้องเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ที่โจทก์ต้องนำเข้าจากต่างประเทศส่วนที่จำเลยอ้างว่าตามสัญญาซื้อขายไม่ปรากฏข้อความที่กำหนดให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อมีหน้าที่เป็นผู้นำเข้าแต่อย่างใดนั้นเมื่อได้ความว่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทยแต่ยังไม่ถึงกำหนดที่โจทก์ต้องส่งมอบให้แก่จำเลยโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายในการขออนุญาตนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรจำเลยก็ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตนำเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชการซึ่งหากจำเลยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยตามที่อ้างจำเลยก็คงไม่มีหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ดังกล่าวข้างต้นส่วนการที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ไม่อนุญาตก็เนื่องจากเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีและประกาศกระทรวงพาณิชย์จำเลยก็ควรเสนอเรื่องต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้นำเรื่องขออนุญาตนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรีให้นำเข้าได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อนำไปใช้ในราชการแต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึดจึงถือได้ว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุขัดข้องจากทางฝ่ายจำเลยจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาสินค้าเลื่อยโซ่ยนต์ตามฟ้องที่ถูกยึดให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: ความรับผิดของผู้ซื้อเมื่อการนำเข้าสินค้าขัดข้อง
เมื่อเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยสั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย แต่ยังไม่ถึงกำหนดที่โจทก์ต้องส่งมอบให้แก่จำเลยโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายในการอนุญาตนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งจำเลยได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตนำเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชการ ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของจำเลย จำเลยก็คงไม่มีหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ส่วนการที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ไม่อนุญาต ก็เนื่องจากเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีและประกาศกระทรวงพาณิชย์ จำเลยก็ควรเสนอเรื่องต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้นำเรื่องขออนุญาตนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติให้นำเข้าได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อนำไปใช้ในราชการแต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึด ถือได้ว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อการส่งมอบให้แก่จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุขัดข้องจากทางฝ่ายจำเลย จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาสินค้าเลื่อยโซ่ยนต์ที่ถูกยึดให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายเลื่อยโซ่ยนต์เนื่องจากผู้ซื้อไม่ดำเนินการนำเข้าสินค้าตามที่ตกลงกัน
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา เข้าใจได้ว่าเจตนาของจำเลยต้องการซื้อเลื่อยโซ่ยนต์ที่เป็นของผลิตจากต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกาเป็นของใหม่ซึ่งไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน โดยโจทก์จะต้องสามารถแสดงหลักฐานในเรื่องนี้จากโรงงานผู้ผลิตต่อจำเลยได้หากจำเลยสงสัยว่าไม่ใช่ของใหม่ อีกทั้งในสัญญาซื้อขายยังกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอยกเว้นค่าภาษีอากรขาเข้าให้แก่โจทก์ แสดงว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยตกลงซื้อจากโจทก์จะต้องเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ที่โจทก์ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าตามสัญญาซื้อขาย ไม่ปรากฏข้อความที่กำหนดให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อมีหน้าที่เป็นผู้นำเข้าแต่อย่างใดนั้น เมื่อได้ความว่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย แต่ยังไม่ถึงกำหนดที่โจทก์ต้องส่งมอบให้แก่จำเลย โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายในการขออนุญาตนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร จำเลยก็ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตนำเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชการ ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยตามที่อ้างจำเลยก็คงไม่มีหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ ดังกล่าวข้างต้น ส่วนการที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ไม่อนุญาตก็เนื่องจากเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีและประกาศกระทรวงพาณิชย์ จำเลยก็ควรเสนอเรื่องต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้นำเรื่องขออนุญาตนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรีให้นำเข้าได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อนำไปใช้ในราชการ แต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึด จึงถือได้ว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุขัดข้องจากทางฝ่ายจำเลยจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาสินค้าเลื่อยโซ่ยนต์ตามฟ้องที่ถูกยึดให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: ความรับผิดของผู้ซื้อในการดำเนินการนำเข้าสินค้า
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา เข้าใจได้ว่าเจตนาของจำเลยต้องการซื้อเลื่อยโซ่ยนต์ที่เป็นของผลิตจากต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกาเป็นของใหม่ซึ่งไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน โดยโจทก์จะต้องสามารถแสดงหลักฐานในเรื่องนี้จากโรงงานผู้ผลิตต่อจำเลยได้หากจำเลยสงสัยว่าไม่ใช่ของใหม่อีกทั้งในสัญญาซื้อขายยังกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอยกเว้นค่าภาษีอากรขาเข้าให้แก่โจทก์ แสดงว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยตกลงซื้อจากโจทก์จะต้องเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ที่โจทก์ต้องนำเข้าจากต่างประเทศส่วนที่จำเลยอ้างว่าตามสัญญาซื้อขาย ไม่ปรากฏข้อความที่กำหนดให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อมีหน้าที่เป็นผู้นำเข้าแต่อย่างใดนั้นเมื่อได้ความว่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย แต่ยังไม่ถึงกำหนดที่โจทก์ต้องส่งมอบให้แก่จำเลยโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายในการขออนุญาตนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร จำเลยก็ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตนำเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชการซึ่งหากจำเลยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยตามที่อ้างจำเลยก็คงไม่มีหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ ดังกล่าวข้างต้น ส่วนการที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ไม่อนุญาตก็เนื่องจากเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีและประกาศกระทรวงพาณิชย์ จำเลยก็ควรเสนอเรื่องต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้นำเรื่องขออนุญาตนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรีให้นำเข้าได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อนำไปใช้ในราชการ แต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึด จึงถือได้ว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุขัดข้องจากทางฝ่ายจำเลยจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาสินค้าเลื่อยโซ่ยนต์ตามฟ้องที่ถูกยึดให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและการต่อเติมทรัพย์สิน: สัญญาต่างตอบแทนและการจดทะเบียนสิทธิเช่า
ก่อนโจทก์เข้าอยู่ตามสัญญาเช่าจำเลยให้โจทก์ซ่อมแซมต่อเติมปรับปรุงตึกแถวพิพาทซึ่งมีสภาพทรุดโทรมมากโดยเสียค่าใช้จ่ายเองโจทก์ได้ดำเนินการซ่อมแซมต่อเติมปรับปรุงตึกแถวพิพาทแล้วเสร็จโดยใช้เวลา1ปีเศษสิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ2ล้านบาทจึงแสดงว่ามีการตกลงให้โจทก์ซ่อมแซมต่อเติมปรับปรุงตึกแถวพิพาทจริงและการซ่อมแซมดังกล่าวมิใช่เพียงเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทรัพย์ของโจทก์เท่านั้นหากแต่เป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ทำให้ตึกแถวพิพาทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยสัญญาเช่าดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เอกสารสัญญาเช่าในคดีนี้เป็นสัญญาสำเร็จรูปของจำเลยที่ได้จัดพิมพ์เป็นแบบทั่วไปที่ใช้ในกิจการของจำเลยซึ่งข้อตกลงบางข้อที่ได้จัดพิมพ์ไว้สำเร็จรูปนี้โจทก์และจำเลยก็มิได้ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่ต้องปฏิบัติต่อกันเช่นข้อ19เรื่องทำการค้าในทรัพย์สินที่เช่าซึ่งตกลงกันใช้เป็นที่อยู่อาศัยต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยเป็นหนังสือและโจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มแต่จำเลยก็มิได้โต้แย้งโจทก์ที่ทำการค้าในทรัพย์สินที่เช่าและเรียกเงินเพิ่มเติมแต่อย่างใดดังนั้นแม้สัญญาข้อ6จะระบุว่าทรัพย์สินที่เช่าอยู่ในสภาพปกติและข้อ24ที่ว่าไม่มีข้อตกลงอื่นนอกจากที่ปรากฎในสัญญาหากมีก็ต้องระบุในต้นฉบับสัญญาว่ามีการแก้ไขเพิ่มเติมก็ตามก็เป็นการพิมพ์สำเร็จรูปไว้แล้วที่ไม่อาจถือเป็นข้อสาระสำคัญที่ต้องปฏิบัติต่อกันข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยได้มีข้อตกลงจะจดทะเบียนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต่างประเทศ, อำนาจฟ้อง, การชำระหนี้ตามสัญญา
หนังสือที่โจทก์มอบอำนาจให้พ. ฟ้องคดีแทนทำขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านโดยมีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านและสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศดังกล่าวรับรองหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วฉะนั้นแม้จะไม่ได้ให้กงสุลสยามเป็นพยานก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงการยื่นหนังสือมอบอำนาจในกรณีนี้จึงไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา47วรรคสาม การที่สัญญากระทำกันในต่างประเทศจะต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไรหาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยหรือไม่เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดีก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยบรรยายถึงมูลกรณีที่มีการทำสัญญาแล้วจำเลยผิดนัดทั้งมีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความมาท้ายคำฟ้องด้วยนั้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครแม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศและจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีข้ามชาติ, สัญญาประนีประนอมยอมความ, เงื่อนไขการชำระหนี้, กฎหมายต่างประเทศ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเป็นบริษัทของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน อ.ผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตั้งแต่พ.ศ.2528กระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านได้รับรองหนังสือมอบอำนาจไว้และได้มีการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านด้วยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นประการอื่นแม้หนังสือมอบอำนาจจะได้ทำในเมืองต่างประเทศและไม่ได้ให้กงสุลสยามเป็นพยานก็ตามแต่กรณีไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงการยื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นจึงไม่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา47วรรคสามแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแม้ว่าตามหนังสือราชกิจจานุเบกษาของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประกาศว่าอ.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์นั้นลงวันที่6มิถุนายน2535ภายหลังที่บุคคลดังกล่าวได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ตามแต่หนังสือราชกิจจานุเบกษาดังกล่าวอ้างถึงการประชุมของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่15ธันวาคม2534ซึ่งแต่งตั้งกรรมการบริษัทโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปเป็นเวลา3ปีอ.ก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับแต่งตั้งมิได้หมายความว่าก่อนหน้านี้อ.มิได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์เพราะกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านก็ได้ตรวจลงตรารับรองลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ลงไว้ท้ายหนังสือมอบอำนาจว่าเป็นลายมือชื่อของอ. ก็ตาม คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงมูลกรณีที่ได้มีการทำสัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยมาด้วยว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าเสียหายที่เรือของโจทก์ต้องเสียเวลาจอดรอจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นโดยโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวดๆภายในระยะเวลาที่กำหนดจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เพียง2งวดแล้วผิดนัดไม่ชำระอีกจึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวทั้งได้มีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องด้วยการที่สัญญาดังกล่าวกระทำกันในต่างประเทศจึงต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไรหาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยไม่เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดีก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาเคลือบคลุมไม่ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครแม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศและจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1) จำเลยได้ขายข้าวสารให้แก่บรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในราคาเอฟ.โอ.บี. โดยผู้ซื้อเป็นผู้หาเรือมาบรรทุกข้าวสารจากกรุงเทพมหานครบรรษัทผู้ซื้อข้าวสารจากจำเลยได้ให้โจทก์นำเรือมาบรรทุกข้าวสารแต่จำเลยส่งข้าวสารลงเรือล่าช้าจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าที่เรือต้องเสียเวลาจอดรอแก่โจทก์โจทก์กับจำเลยจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีคู่สัญญาเพียง2ฝ่ายคือโจทก์และจำเลยมิได้มีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญาให้ก็ต่อเมื่อบรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านสั่งซื้อข้าวสารต่อไปจากจำเลยแล้วหักราคาซื้อขายชำระแก่โจทก์แต่อย่างใดสำหรับข้อความในสัญญาที่ว่าสัญญานี้ให้สมบูรณ์จนถึงวันที่30กันยายน2533นั้นเมื่อพิเคราะห์ประกอบถึงข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่คู่กรณีปฏิบัติต่อกันโดยฝ่ายจำเลยได้มีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นแล้ว2ครั้งมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าเพราะทางฝ่ายโจทก์ให้โอกาสจำเลยขยายเวลาเพื่อชำระหนี้รายนี้แก่โจทก์ได้จนถึงวันดังกล่าวจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินที่ยังค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ, สัญญาประนีประนอม, การบังคับชำระหนี้, ศาลมีอำนาจพิจารณา
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเป็นบริษัทของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน อ.ผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ.2528 กระทรวง-การต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านได้รับรองหนังสือมอบอำนาจไว้และได้มีการรับรองโดยสถานเอกอัครราชฑูตไทย ประจำประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านด้วย จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นประการอื่น แม้หนังสือมอบอำนาจจะได้ทำในเมืองต่างประเทศและไม่ได้ให้กงสุลสยามเป็นพยานก็ตาม แต่กรณีไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง การยื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นจึงไม่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 47 วรรคสาม แห่งป.วิ.พ. แม้ว่าตามหนังสือราชกิจจานุเบกษาของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประกาศว่า อ.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์นั้น ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2535ภายหลังที่บุคคลดังกล่าวได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ตาม แต่หนังสือราชกิจจา-นุเบกษาดังกล่าวอ้างถึงการประชุมของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2534ซึ่งแต่งตั้งกรรมการบริษัทโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปเป็นเวลา 3 ปี อ.ก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับแต่งตั้ง มิได้หมายความว่าก่อนหน้านั้น อ.มิได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ เพราะกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านก็ได้ตรวจลงตรารับรองลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ลงไว้ท้ายหนังสือมอบอำนาจว่าเป็นลายมือชื่อของ อ.ด้วย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความ โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงมูลกรณีที่ได้มีการทำสัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยมาด้วยว่า จำเลยเป็นหนี้ค่าเสียหายที่เรือของโจทก์ต้องเสียเวลาจอดรอ จึงได้ทำสัญญาประนีประยอมยอมความขึ้น โดยโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เพียง 2 งวด แล้วผิดนัดไม่ชำระอีก จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าว ทั้งได้มีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องอีกด้วย การที่สัญญาดังกล่าวกระทำกันในต่างประเทศ จะต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไร หาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยไม่ เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดี ก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศ และจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาประนี-ประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1)
จำเลยได้ขายข้าวสารให้แก่บรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐ-อิสลามอิหร่านในราคา เอฟ.โอ.บี โดยผู้ซื้อเป็นผู้หาเรือมาบรรทุกข้าวสารจากกรุงเทพมหานคร บรรษัทผู้ซื้อข้าวสารจากจำเลยได้ให้โจทก์นำเรือมาบรรทุกข้าวสารแต่จำเลยส่งข้าวสารลงเรือล่าช้าจึงมีหน้าที่จะต้องชำระค่าที่เรือต้องเสียเวลาจอดรอแก่โจทก์ โจทก์กับจำเลยจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีคู่สัญญาเพียง 2 ฝ่าย คือโจทก์และจำเลยและมิได้มีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญาให้ก็ต่อเมื่อบรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านสั่งซื้อข้าวสารต่อไปจากจำเลยแล้วหักราคาซื้อขายชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด สำหรับข้อความในสัญญาที่ว่าสัญญานี้ให้สมบูรณ์จนถึงวันที่30 กันยายน 2533 นั้น เมื่อพิเคราะห์ประกอบถึงข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่คู่กรณีปฎิบัติต่อกัน โดยฝ่ายจำเลยได้มีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นแล้ว2 ครั้ง มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าเพราะทางฝ่ายโจทก์ให้โอกาสจำเลยขยายเวลาเพื่อชำระหนี้รายนี้แก่โจทก์ได้จนถึงวันดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินที่ยังค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความ โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงมูลกรณีที่ได้มีการทำสัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยมาด้วยว่า จำเลยเป็นหนี้ค่าเสียหายที่เรือของโจทก์ต้องเสียเวลาจอดรอ จึงได้ทำสัญญาประนีประยอมยอมความขึ้น โดยโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เพียง 2 งวด แล้วผิดนัดไม่ชำระอีก จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าว ทั้งได้มีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องอีกด้วย การที่สัญญาดังกล่าวกระทำกันในต่างประเทศ จะต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไร หาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยไม่ เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดี ก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศ และจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาประนี-ประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1)
จำเลยได้ขายข้าวสารให้แก่บรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐ-อิสลามอิหร่านในราคา เอฟ.โอ.บี โดยผู้ซื้อเป็นผู้หาเรือมาบรรทุกข้าวสารจากกรุงเทพมหานคร บรรษัทผู้ซื้อข้าวสารจากจำเลยได้ให้โจทก์นำเรือมาบรรทุกข้าวสารแต่จำเลยส่งข้าวสารลงเรือล่าช้าจึงมีหน้าที่จะต้องชำระค่าที่เรือต้องเสียเวลาจอดรอแก่โจทก์ โจทก์กับจำเลยจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีคู่สัญญาเพียง 2 ฝ่าย คือโจทก์และจำเลยและมิได้มีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญาให้ก็ต่อเมื่อบรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านสั่งซื้อข้าวสารต่อไปจากจำเลยแล้วหักราคาซื้อขายชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด สำหรับข้อความในสัญญาที่ว่าสัญญานี้ให้สมบูรณ์จนถึงวันที่30 กันยายน 2533 นั้น เมื่อพิเคราะห์ประกอบถึงข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่คู่กรณีปฎิบัติต่อกัน โดยฝ่ายจำเลยได้มีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นแล้ว2 ครั้ง มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าเพราะทางฝ่ายโจทก์ให้โอกาสจำเลยขยายเวลาเพื่อชำระหนี้รายนี้แก่โจทก์ได้จนถึงวันดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินที่ยังค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันทำร้ายร่างกายจนได้รับอันตรายสาหัส พยานหลักฐานสนับสนุนการกระทำผิด
ผู้เสียหายถูกทำร้ายอยู่เป็นเวลาประมาณ5ถึง10นาทีผู้เสียหายรู้จักจำเลยทั้งสามและพวกมาก่อนในบริเวณที่เกิดเหตุมีแสงไฟฟ้าสว่างผู้เสียหายย่อมจะเห็นคนร้ายได้ชัดเจนผู้เสียหายมีบาดแผลที่ศีรษะไหล่และที่หลังตรงตามที่ผู้เสียหายเบิกความว่าถูกฟันส่วนน. พยานโจทก์อีกปากหนึ่งแม้ไม่ได้เบิกความว่าจำเลยคนใดมีอาวุธแต่ก็ยังยืนยันว่าจำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายและตามคำให้การชั้นสอบสวนจำเลยที่1รับว่าใช้มีดฟันผู้เสียหายส่วนจำเลยที่2รับว่าเข้าไปชกผู้เสียหายนอกจากนี้มารดาจำเลยที่1และบิดาจำเลยที่2และที่3ทำบันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายโดยรับว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายพยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ที่พิพาทเกิน 200,000 บาท ทำให้ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโจทก์ทั้งสามจะนำค่าเสียหายในอนาคตสัปดาห์ละ2,000บาทนับแต่วันฟ้องจนถึงวันยื่นฎีกามาคำนวณด้วยไม่ได้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์ทั้งสามคงมีจำนวน104,000บาทซึ่งมีจำนวนไม่เกิน200,000บาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา248วรรคหนึ่ง