พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองในคดีมรดก ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของบิดาจำเลยทั้งสองซึ่งตกทอดแก่จำเลยทั้งสอง ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองเพราะไม่ได้ฟ้องภายใน 1 ปี คดีก็ไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองนั้น จำเลยทั้งสองต้องยอมรับก่อนว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์แต่จำเลยทั้งสองแย่งการครอบครองมา เมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการแย่งการครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของกรรมการ ผู้ถือหุ้น และผู้สั่งการในสัญญาจัดอบรมสัมมนา
เมื่อฝ่ายจำเลยกับโจทก์ทำสัญญากันให้โจทก์จัดสถานที่ อบรมสัมมนาที่พักพร้อมอาหารเครื่องดื่มให้แก่ฝ่ายจำเลยซึ่งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาตามฟ้องจึงไม่เป็นโมฆะ ส่วนโจทก์แม้จะยังไม่ได้ รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมก็เป็นการไม่ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันไม่มีผลกระทบสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้มาติดต่อใช้โรงแรม ของโจทก์จัดอบรมสัมมนา และตกลงชำระค่าจัดอบรมสัมมนา เป็นเช็คโดยมีข้อตกลงกันว่า หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งห้าจะร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ซึ่งต่อมาธนาคารได้ ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ก็ออกเช็คชำระหนี้ บางส่วนให้แก่โจทก์ทั้งจำเลยที่ 5 ชำระหนี้บางส่วนเป็นเงิน 50,000 บาท ให้แก่โจทก์ด้วย ย่อมเป็นการบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 มีส่วนร่วมในการจัดอบรมสัมมนา นอกจากนี้ยังปรากฏว่า การดำเนินกิจการและการจ่ายเงินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 เป็นผู้สั่งและตัดสินใจคนเดียว ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะเป็น ข้าราชการแต่ก็ได้ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการ ของจำเลยที่ 1แทน แสดงว่าจำเลยที่ 4 ร่วมดำเนินกิจการกับ จำเลยที่ 1 ด้วย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 และ ที่ 5 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ดำเนินกิจการ อบรมสัมมนาและทำสัญญาตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยที่ 4 และ ที่ 5 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รับผิดชำระหนี้ ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้จำเลยโต้แย้งสถานะผู้ถือหุ้น และสัญญาไม่เป็นโมฆะจากการไม่ได้รับอนุญาตโรงแรม
โจทก์ได้บรรยายคำฟ้องแล้วว่า จำเลยทั้งห้าตกลงร่วมกันชำระเงินให้โจทก์ แต่ในระหว่างจำเลยทั้งห้าจะตกลงรับผิดอย่างไรไม่ได้เกี่ยวข้องกับโจทก์ โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายข้อตกลงดังกล่าว ประกอบกับจำเลยทั้งห้าสามารถ ให้การต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้โจทก์จะยังไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมในขณะที่ทำสัญญากับจำเลยก็เป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงแรงซึ่งเป็นคนละเรื่องกันไม่มีผลกระทบสัญญาตามฟ้อง เมื่อวัตถุประสงค์แห่งสัญญาดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามกฎหมายไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาตามฟ้องจึงไม่เป็นโมฆะ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์จะยังไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมในขณะที่ทำสัญญากับจำเลยก็เป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงแรงซึ่งเป็นคนละเรื่องกันไม่มีผลกระทบสัญญาตามฟ้อง เมื่อวัตถุประสงค์แห่งสัญญาดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามกฎหมายไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาตามฟ้องจึงไม่เป็นโมฆะ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม ทางจำเป็น ความถูกต้องของระยะทางในคำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า ทางพิพาทยาวประมาณ 400 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินของจำเลยขนานตลอดแนวยาวจากทางด้านทิศเหนือมาทางด้านทิศใต้บนที่ดินของจำเลย เป็นภาระจำยอมและทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งที่ความยาวของที่ดินของจำเลยมีความยาวเพียงประมาณ 27 เมตร เท่านั้น คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 โดยให้ตัดข้อความที่ว่ายาวประมาณ 400 เมตร ออกจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการระบุความยาวทางภารจำยอม ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาตามมาตรา 143
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า ทางพิพาทยาวประมาณ 400 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดิน ของจำเลยขนานตลอดแนวยาวจากทางด้านทิศเหนือมาทางด้านทิศใต้บนที่ดินของจำเลย เป็นภารจำยอมและทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งที่ความยาวของที่ดินของจำเลยมีความยาวเพียงประมาณ 27 เมตร เท่านั้น คำพิพากษา ของศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยให้ตัดข้อความที่ว่ายาวประมาณ 400 เมตร ออกจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับพยานเพิ่มเติมหลังศาลฎีกาแก้คำพิพากษา: พิจารณาความสำคัญของพยานหลักฐานใหม่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลฎีกาพิพากษาให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย ซึ่งระบุพระสมุห์ค. เป็นพยาน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยปากนี้เสร็จแล้วให้มี คำพิพากษาใหม่ แม้คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวให้ ศาลชั้นต้นสืบพยานปากนี้เสร็จแล้วให้พิพากษาคดีได้ทันทีก็ตาม แต่ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมในระหว่างศาลชั้นต้นนัดสืบพยานตามคำพิพากษาศาลฎีกาจำเลยได้ระบุว่าพระสมุห์ค. ได้เบิกความเป็นพยานในคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลย ข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับสัญญากู้ยืมในคดีนี้ และในการคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม จำเลยได้แนบสำเนาคำเบิกความของพระภิกษุค. มีใจความพอสรุปได้ว่าโจทก์ในคดีนี้ได้นำสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันในคดีนี้ไปให้ พระภิกษุค.กรอกข้อความ โดยจำเลยในคดีนี้มิได้รู้เห็นเหตุการณ์ ซึ่งหากพระสมุห์ค. ไม่มรณะภาพและมาเบิกความในคดีนี้ตรงกับคำเบิกความในคดีอาญาดังกล่าว ผลของคดีก็ อาจจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เมื่อพระภิกษุค. ถึงแก่มรณะภาพไปแล้วการที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าว และสรรพเอกสาร รวมทั้งคำเบิกความของพระภิกษุค. เป็นพยานในคดีนี้ พยานหลักฐานที่จำเลยอ้างเพิ่มเติม จึงเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญ ในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยาน ดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)จึงชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมจำเลยและ สืบพยานจำเลยดังกล่าวต่อไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับพยานเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แม้พยานถึงแก่กรรมแล้ว โดยอ้างหลักฐานจากคดีอาญา
ศาลฎีกาพิพากษาให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย ซึ่งระบุพระสมุห์ ค.เป็นพยาน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยปากนี้เสร็จแล้วให้มีคำพิพากษาใหม่ แม้คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นสืบพยานปากนี้เสร็จแล้วให้พิพากษาคดีได้ทันทีก็ตาม แต่ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมในระหว่างศาลชั้นต้นนัดสืบพยานตามคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยได้ระบุว่าพระสมุห์ ค.ได้เบิกความเป็นพยานในคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลย ข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับสัญญากู้ยืมในคดีนี้ และในการคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม จำเลยได้แนบสำเนาคำเบิกความของพระสมุห์ ค.มีใจความพอสรุปได้ว่า โจทก์ในคดีนี้ได้นำสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันในคดีนี้ไปให้พระสมุห์ ค.กรอกข้อความ โดยจำเลยในคดีนี้มิได้รู้เห็นเหตุการณ์ ซึ่งหากพระสมุห์ ค.ไม่มรณะภาพและมาเบิกความในคดีนี้ตรงกับคำเบิกความในคดีอาญาดังกล่าว ผลของคดีก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เมื่อพระสมุห์ ค.ถึงแก่มรณะภาพไปแล้ว การที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าว และสรรพเอกสารรวมทั้งคำเบิกความของพระสมุห์ ค.เป็นพยานในคดีนี้ พยานหลักฐานที่จำเลยอ้างเพิ่มเติมจึงเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นต้องสืบพยานดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2) จึงชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมจำเลยและสืบพยานจำเลยดังกล่าวต่อไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับพยานเพิ่มเติมหลังศาลฎีกาพิพากษาให้สืบพยานเดิม การพิจารณาพยานหลักฐานอันสำคัญเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลฎีกาพิพากษาให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย ซึ่งระบุพระสมุห์ค. เป็นพยาน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยปากนี้เสร็จแล้วให้มีคำพิพากษาใหม่ แม้คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นสืบพยานปากนี้เสร็จแล้ว ให้พิพากษาคดีได้ทันทีก็ตาม แต่ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยาน เพิ่มเติมในระหว่างศาลชั้นต้นนัดสืบพยานตามคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยได้ระบุว่าพระสมุห์ค. ได้เบิกความเป็นพยานในคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลย ข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับสัญญากู้ยืมในคดีนี้ และในการคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยาน เพิ่มเติม จำเลยได้แนบสำเนาคำเบิกความของพระสมุห์ค. มีใจความพอสรุปได้ว่า โจทก์ในคดีนี้ได้นำสัญญากู้และ สัญญาค้ำประกันในคดีนี้ไปให้พระสมุห์ค. กรอกข้อความโดยจำเลยในคดีนี้มิได้รู้เห็นเหตุการณ์ ซึ่งหากพระสมุห์ค. ไม่มรณะภาพและมาเบิกความในคดีนี้ตรงกับคำเบิกความ ในคดีอาญาดังกล่าว ผลของคดีก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เมื่อพระสมุห์ค. ถึงแก่มรณะภาพไปแล้ว การที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าว และสรรพเอกสารรวมทั้งคำเบิกความของพระสมุห์ค. เป็นพยานในคดีนี้พยานหลักฐานที่จำเลยอ้างเพิ่มเติมจึงเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นต้องสืบพยานดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2) จึงชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติม จำเลยและสืบพยานจำเลยดังกล่าวต่อไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2060/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็ค - การลงวันที่เช็ค - ความผิด พ.ร.บ. เช็ค - ไม่มีเจตนาทุจริต
ขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมยังไม่มีการ ลงวันที่สั่งจ่ายไว้จึงย่อมถือได้ว่าไม่มีวันเดือนปีที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด การที่โจทก์ร่วมประทับตราวันเดือนปีลงในเช็ค แม้จะฟังว่าจำเลยยินยอม ก็มีผลเพียงเพื่อให้เช็คมีรายการสมบูรณ์ตามกฎหมายใช้สิทธิฟ้องร้องกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น การที่โจทก์ร่วมนำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินในขณะที่จำเลยไม่มีเงินในบัญชีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามเช็คจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง อายุความ และการครอบครองแทนทายาท
จำเลยทั้งสองเพียงแต่ให้การว่า โจทก์สละมรดกที่ดินพิพาทและคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่โจทก์ทราบว่าเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ซึ่งการสละมรดกที่ดินพิพาทกับการมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นข้อเท็จจริงคนละอย่างต่างกัน ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า โจทก์หมดสิทธิรับมรดกเนื่องจากโจทก์มิได้ครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกคำให้การ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ท. เช่าที่ดินพิพาทจาก จ. แม้ จ. ถึงแก่กรรมแล้ว ท. ก็ยังเช่าติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่า ท. ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ซึ่งก็คือโจทก์กับจำเลยทั้งสอง มิได้ครอบครองแทนเฉพาะจำเลยทั้งสองที่เป็นผู้เก็บค่าเช่าเท่านั้น การที่จำเลยทั้งสองได้จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทโดยโจทก์ไม่ทราบประกาศกับมิได้คัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่ามีการแบ่งมรดกที่ดินพิพาทแล้ว เพราะการปิดประกาศการขอรับมรดกของเจ้าพนักงานที่ดินก็เพื่อให้ผู้ที่มีสิทธิเกี่ยวข้องได้ทราบและมีการกำหนดเวลาให้เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินสามารถดำเนินการเกี่ยวกับคำขอรับมรดกได้หากไม่มีผู้คัดค้าน เมื่อถือว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ จ. เจ้ามรดกหรือไม่ ย่อมมีความหมายครอบคลุมรวมถึงมีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด หรือทรัพย์มรดกมีเพียงใดด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้ในข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ท. เช่าที่ดินพิพาทจาก จ. แม้ จ. ถึงแก่กรรมแล้ว ท. ก็ยังเช่าติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่า ท. ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ซึ่งก็คือโจทก์กับจำเลยทั้งสอง มิได้ครอบครองแทนเฉพาะจำเลยทั้งสองที่เป็นผู้เก็บค่าเช่าเท่านั้น การที่จำเลยทั้งสองได้จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทโดยโจทก์ไม่ทราบประกาศกับมิได้คัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่ามีการแบ่งมรดกที่ดินพิพาทแล้ว เพราะการปิดประกาศการขอรับมรดกของเจ้าพนักงานที่ดินก็เพื่อให้ผู้ที่มีสิทธิเกี่ยวข้องได้ทราบและมีการกำหนดเวลาให้เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินสามารถดำเนินการเกี่ยวกับคำขอรับมรดกได้หากไม่มีผู้คัดค้าน เมื่อถือว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ จ. เจ้ามรดกหรือไม่ ย่อมมีความหมายครอบคลุมรวมถึงมีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด หรือทรัพย์มรดกมีเพียงใดด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้ในข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง