พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานวัตถุ-เอกสารประกอบคดี-การขายยาเสพติด: หลักเกณฑ์การนำสืบและการพิสูจน์ความผิด
ธนบัตรของกลางเป็นพยานวัตถุที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย แม้จะมิได้ลงบันทึกประจำวันไว้ โจทก์ก็อ้างเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 226 เพราะไม่มีกฎหมายห้าม
แผนที่เกิดเหตุเป็นเพียงพยานเอกสารจำลองถึงที่เกิดเหตุตามที่พนักงานสอบสวนได้จัดทำขึ้น แม้จะมีระเบียบให้พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นเพื่อประกอบคดีแต่ถ้าพนักงานสอบสวนมิได้จัดทำ ก็หาทำให้พยานหลักฐานอื่นที่โจทก์นำสืบเสียไปแต่อย่างใดไม่ หากพยานโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีแผนที่เกิดเหตุ
การที่จำเลยเอาเมทแอมเฟตามีนมาขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อแม้สายลับจะไม่มีเจตนาซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยมาเพื่อเสพหรือแสวงหาประโยชน์อื่นใดจากเมทแอมเฟตามีน ก็ถือว่าจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีนตามบทนิยามคำว่าขายที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ 2518มาตรา 4 แล้ว
แผนที่เกิดเหตุเป็นเพียงพยานเอกสารจำลองถึงที่เกิดเหตุตามที่พนักงานสอบสวนได้จัดทำขึ้น แม้จะมีระเบียบให้พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นเพื่อประกอบคดีแต่ถ้าพนักงานสอบสวนมิได้จัดทำ ก็หาทำให้พยานหลักฐานอื่นที่โจทก์นำสืบเสียไปแต่อย่างใดไม่ หากพยานโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีแผนที่เกิดเหตุ
การที่จำเลยเอาเมทแอมเฟตามีนมาขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อแม้สายลับจะไม่มีเจตนาซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยมาเพื่อเสพหรือแสวงหาประโยชน์อื่นใดจากเมทแอมเฟตามีน ก็ถือว่าจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีนตามบทนิยามคำว่าขายที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ 2518มาตรา 4 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานวัตถุ (ธนบัตร) และพยานเอกสาร (แผนที่เกิดเหตุ) ใช้พิสูจน์ความผิดได้ แม้ไม่มีการลงบันทึกประจำวันหรือจัดทำแผนที่ เหตุล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนถือเป็น 'ขาย'
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226กำหนดให้พยานวัตถุซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ ธนบัตรของกลางเป็นพยานวัตถุที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยแม้จะมิได้ลงบันทึกประจำวันไว้ โจทก์ย่อมอ้างเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ ไม่มีกฎหมายห้าม แผนที่เกิดเหตุเป็นเพียงพยานเอกสารจำลองถึงที่เกิดเหตุ ตามที่พนักงานสอบสวนได้จัดทำขึ้น แม้จะมีระเบียบให้พนักงานสอบสวน จัดทำขึ้นเพื่อประกอบคดี แต่ถ้าพนักงานสอบสวนมิได้ จัดทำก็หาทำให้พยานหลักฐานอื่นที่โจทก์นำสืบเสียไปแต่อย่างใดไม่ หากพยานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีแผนที่เกิดเหตุ การที่จำเลยเอาเมทแอมเฟตามีนมาขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ แม้สายลับจะไม่มีเจตนาซื้อมาเพื่อเสพหรือแสวงหาประโยชน์อื่นใด จากเมทแอมเฟตามีน ก็ถือว่าจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีน ตามบทนิยามคำว่า ขาย ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานวัตถุ-เอกสารประกอบคดี-การขายยาเสพติด: การล่อซื้อและนิยามการขาย
ธนบัตรของกลางเป็นพยานวัตถุที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย แม้จะมิได้ลงบันทึกประจำวัน ไว้ โจทก์ก็อ้างเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 เพราะ ไม่มีกฎหมายห้าม แผนที่เกิดเหตุเป็นเพียงพยานเอกสารจำลองถึงที่เกิดเหตุตามที่พนักงานสอบสวนได้จัดทำขึ้นแม้จะมีระเบียบให้พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นเพื่อประกอบคดีแต่ถ้าพนักงานสอบสวนมิได้จัดทำ ก็หาทำให้พยานหลักฐานอื่นที่โจทก์นำสืบเสียไปแต่อย่างใดไม่หากพยานโจกท์ ฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีแผนที่เกิดเหตุ การที่จำเลยเอาเมทแอมเฟตามีนมาขายให้แก่สายลับ ผู้ล่อซื้อแม้สายลับจะไม่มีเจตนาซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยมาเพื่อเสพหรือแสวงหาประโยชน์อื่นใดจากเมทแอมเฟตามีน ก็ถือว่าจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีนตามบทนิยามคำว่าขายที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 4 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล: คำสั่งให้มีการเลือกตั้ง
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 57 และ 58
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7570/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คหลายฉบับเพื่อชำระหนี้เดียวกัน ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้
แม้จำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมรวม 7 ฉบับ ในคราวเดียวกันและเช็คพิพาทลงวันที่เดียวกันเพื่อชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาออกเช็คเพื่อให้มีการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับแยกจากกันเป็นคนละส่วนคนละจำนวน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คพิพาทแต่ละฉบับก็เป็นความผิดที่เกิดขึ้นต่างหากแยกจากกันได้โดยชัดเจนเป็นการเฉพาะของเช็คแต่ละฉบับ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6880/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสืบสวนนอกเขตท้องที่และการจับกุมผู้กระทำผิดซึ่งหน้า: ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
ป.วิ.อ.มาตรา 2 (16) บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และมาตรา 17 บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญานอกเขตท้องที่ของตนได้ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนแล้วพบการกระทำความผิดในลักษณะซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจก็มีสิทธิจับผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าได้แม้อยู่นอกเขตท้องที่ของตน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานจำหน่ายเฮโรอีนจำคุก 5 ปีฐานมีเฮโรอีนในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จะวินิจฉัยว่าการค้นในที่รโหฐานของร้อยตำรวจโท น.กับพวกได้กระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตกหรือไม่ จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ลงมือค้นตั้งแต่เวลาใด การฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานจำหน่ายเฮโรอีนจำคุก 5 ปีฐานมีเฮโรอีนในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จะวินิจฉัยว่าการค้นในที่รโหฐานของร้อยตำรวจโท น.กับพวกได้กระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตกหรือไม่ จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ลงมือค้นตั้งแต่เวลาใด การฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6880/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสืบสวนนอกเขตท้องที่ของตำรวจ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และมาตรา 17 บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญานอกเขตท้องที่ของตนได้ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนแล้วพบการกระทำความผิดในลักษณะซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจก็มีสิทธิจับผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าได้แม้อยู่นอกเขตท้องที่ของตน ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานจำหน่ายเฮโรอีนจำคุก5 ปี ฐานมีเฮโรอีนในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปีรวมจำคุก 10 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก แต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้าม มิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งการที่จะวินิจฉัยว่าการค้นในที่รโหฐานของร้อยตำรวจโทน.กับพวกได้กระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตกหรือไม่ จำเป็นต้อง วินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ลงมือค้น ตั้งแต่เวลาใด การฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แม้ศาลชั้นต้น จะรับฎีกาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนร่วมกัน: เจตนาเดียวกันถือเป็นกรรมเดียว แม้ผู้เสียหายหลายราย
จำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวก ได้หลอกลวงโจทก์ทั้งเก้าโดยอ้างว่าได้ร่วมกันประกอบกิจการโรงงานจัดส่งปอกระสาไปจำหน่ายต่างประเทศ ร่วมกันลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับที่ดิน และธุรกิจให้กู้ยืมเงินซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ร้อยละ 5 ต่อ 15 วันร้อยละ 4 ต่อ 7 วัน ร้อยละ 3 ต่อ 5 วัน จำเลยที่ 3 และที่ 5 กับพวกต้องการกู้ยืมเงินจากโจทก์ทั้งเก้า และประชาชนทั่วไปเพื่อนำไปลงทุนขยายกิจการดังกล่าว โจทก์ทั้งเก้าหลงเชื่อจึงให้กู้ยืมเงินหลายครั้ง การกระทำ ของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นการกระทำโดยทุจริต ร่วมกันหลอกลวง โจทก์ทั้งเก้าและประชาชน ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ทั้งเก้า เป็นความผิดฐานร่วม กันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343,83 การที่โจทก์ทั้งเก้า ร่วมรับดอกเบี้ยเกินอัตรานั้นโจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องร้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวกในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯหากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้ โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 อันจะทำให้โจทก์ทั้งเก้าไม่เป็นผู้เสียหายโดย นิตินัย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้ การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนโดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะ ที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้แต่เห็นได้ชัดว่า เกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือ ฉ้อโกงประชาชน จึงถือได้ว่า การกระทำความผิดของจำเลยทั้งห้าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน: เจตนาเดียว, กรรมเดียว, ผู้เสียหายคือผู้ถูกหลอกลวง
โจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ หากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้
การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้ และเห็นได้ชัดว่าเกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือฉ้อโกงประชาชน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมีเจตนาร่วมกันทุจริตแพร่ข่าวและชักชวนด้วยวาจาต่อโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปว่าต้องการกู้เงินจากประชาชน โดยจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนถึงร้อยละ 10ต่อเดือน จนโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปหลงเชื่อให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 กู้ไปนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว
การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้ และเห็นได้ชัดว่าเกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือฉ้อโกงประชาชน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมีเจตนาร่วมกันทุจริตแพร่ข่าวและชักชวนด้วยวาจาต่อโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปว่าต้องการกู้เงินจากประชาชน โดยจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนถึงร้อยละ 10ต่อเดือน จนโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปหลงเชื่อให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 กู้ไปนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน: เจตนาเดียวกันถือเป็นกรรมเดียว ผู้เสียหายคือผู้ถูกหลอกลวง
โจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ หากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้
การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้ และเห็นได้ชัดว่าเกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือฉ้อโกงประชาชน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมีเจตนาร่วมกันทุจริตแพร่ข่าวและชักชวนด้วยวาจาต่อโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปว่าต้องการกู้เงินจากประชาชน โดยจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนถึงร้อยละ 10ต่อเดือน จนโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปหลงเชื่อให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 กู้ไปนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว
การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้ และเห็นได้ชัดว่าเกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือฉ้อโกงประชาชน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมีเจตนาร่วมกันทุจริตแพร่ข่าวและชักชวนด้วยวาจาต่อโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปว่าต้องการกู้เงินจากประชาชน โดยจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนถึงร้อยละ 10ต่อเดือน จนโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปหลงเชื่อให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 กู้ไปนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว