พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกโดยผู้จัดการมรดกที่มิชอบ และผลกระทบต่อสิทธิเจ้าของมรดกที่แท้จริง
ถ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทและทรัพย์สินอื่นทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องตามพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.4 ว. ซึ่งเป็นบุตรของ ถ. จึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคสอง ว. ย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียของ ถ. ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ มาตรา 1713 แต่เมื่อศาลมีคำสั่งตั้ง ว. เป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. แล้ว ว. ย่อมมีหน้าที่ต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1719 และจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกและต่อผู้ร้องซึ่งตนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองอยู่หาได้ไม่ การที่ ว. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ถ. และเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้ร้องไปรับโอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของ ถ. ซึ่งตกทอดแก่ผู้ร้องมาเป็นของตนเองในฐานะส่วนตัว ย่อมไม่เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดในพินัยกรรม แต่เป็นการทำนิติกรรม ให้ ว. มีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ ถ. อันเป็นการต้องห้ามโดยแจ้งชัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 นิติกรรมการโอนตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และเป็นกิจการที่ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1575 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรวมทั้งสิ่งปลูกสร้างจึงยังคงเป็นมรดกของ ถ. ซึ่งตกทอดได้แก่ผู้ร้องตามเดิมหาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ว. ไม่ เมื่อ ว. ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างแล้วก็ไม่มีสิทธินำไปจำนองแก่ผู้ใด การที่โจทก์เป็นผู้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้จาก ว. ย่อมไม่เกิดผลให้โจทก์มีสิทธิตามนิติกรรมจำนอง แม้โจทก์จะอ้างว่ารับจำนองไว้โดยสุจริตก็หามีผลให้โจทก์กลับมีสิทธิตามนิติกรรมจำนองไม่ การจำนองจึงไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่แท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินของผู้เยาว์โดยได้รับอนุญาตจากศาล และผลผูกพันต่อผู้เยาว์เมื่อบรรลุนิติภาวะ
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีวัตถุประสงค์ค้าผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดยมีจำเลยที่ 2 และนาง อ. บิดามารดาของจำเลยที่ 3เป็นหุ้นส่วนเพียงสองคน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2ผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อยู่ในขณะนั้นทำนิติกรรมจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 แทนจำเลยที่ 3บุตรผู้เยาว์ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่กู้จากโจทก์เพื่อนำเงินไปลงทุนสร้างปั๊มน้ำมัน ถือได้ว่าเป็นไปตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 3 โดยชอบย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 แม้ในการทำนิติกรรมจำนองที่ดินดังกล่าวนาง อ. มารดาจำเลยที่ 3 จะได้ลงนามร่วมกับจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เป็นผู้จำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 แทนจำเลยที่ 3 ได้ก็ตาม แต่นาง อ. ก็ได้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายของจำเลยที่ 3 ด้วยคนหนึ่ง ทั้งสัญญาที่ นาง อ. ร่วมลงนามก็ไม่มีการกระทำนอกเหนือไปจากคำสั่งอนุญาตของศาล การกระทำของนาง อ. ดังกล่าวจึงไม่ทำให้นิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์แทนจำเลยที่ 3 ต้องเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกหุ้น: สิทธิทายาท, การใช้อำนาจปกครองขัดประโยชน์, การแบ่งแยกหุ้น
โจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งหุ้นมรดกของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600,1629(1),1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาผู้ตายเป็นผู้ถือหุ้นมรดกทั้งหมดแต่ผู้เดียว เท่ากับขอให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหุ้นมรดกทั้งหมดแต่ผู้เดียว โดยไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตาย ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ที่ 2 เอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574,1575 ความหมายของมาตรา 1118 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายถึงหุ้นจำนวนเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้น หุ้นเดียวต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีนี้หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1 จะขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น มรดกเพียงผู้เดียวในหุ้นมรดกทั้งหมดโดยอ้างมาตรา 1118หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในหุ้นมรดก: การแบ่งปันระหว่างทายาทและประโยชน์ของผู้เยาว์
โจทก์ที่ 1 เป็นภริยา โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายโจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเป็นส่วนแบ่งหุ้นของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599, 1600, 1629(1), 1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดแต่ผู้เดียวไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574, 1575
ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวในหุ้นทั้งหมดไม่ได้
ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวในหุ้นทั้งหมดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกหุ้น: สิทธิทายาท, อำนาจปกครอง, และการคุ้มครองประโยชน์ผู้เยาว์
โจทก์ที่ 1 เป็นภริยา โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายโจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเป็นส่วนแบ่งหุ้นของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599,1600,1629(1),1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดแต่ผู้เดียวไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574,1575 ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวในหุ้นทั้งหมดไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้อนุบาลและการเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งเนื่องจากละเลยหน้าที่ รวมถึงประเด็นอำนาจฟ้องของญาติ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานจากพี่ของมารดาของคนไร้ความสามารถฟ้องขอถอนจำเลยจากเป็นผู้อนุบาล ศาลพิพากษายุติไปแล้วว่าโจทก์ฟ้องได้ในฐานเป็นญาติสนิท จำเลยจะฎีกาในประเด็นข้อนี้ขึ้นมาพร้อมกับประเด็นข้ออื่นอีกไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ศาลฎีกาก็พิจารณาปัญหานี้ไม่ได้ตาม มาตรา 144
ผู้อนุบาลไม่ดูแลคนไร้ความสามารถในเรื่องอาหารการกินและรักษาพยาบาล ศาลเพิกถอนและตั้งผู้อนุบาลใหม่ตามคำฟ้องของญาติสนิทได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นหญิงหม้าย เมื่อโจทก์เบิกความว่าโจทก์มีสามียังไม่ได้หย่า โจทก์ยื่นใบอนุญาตของสามีให้ฟ้องคดี ศาลอนุญาตได้ตาม มาตรา 56
ผู้อนุบาลไม่ดูแลคนไร้ความสามารถในเรื่องอาหารการกินและรักษาพยาบาล ศาลเพิกถอนและตั้งผู้อนุบาลใหม่ตามคำฟ้องของญาติสนิทได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นหญิงหม้าย เมื่อโจทก์เบิกความว่าโจทก์มีสามียังไม่ได้หย่า โจทก์ยื่นใบอนุญาตของสามีให้ฟ้องคดี ศาลอนุญาตได้ตาม มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ญาติสนิทมีอำนาจขอถอนผู้อนุบาลได้ หากความสัมพันธ์ใกล้ชิดกว่าลูกพี่ลูกน้องในสามชั้น
มารดาของผู้ไร้ความสามารถเป็นน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันกับยายของโจทก์ ฐานะของโจทก์จึงเกี่ยวข้องเป็นหลานน้าของผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งนับว่าอยู่ในลำดับญาติใกล้ชิดกว่าลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 11(2) เสียอีกความเกี่ยวพันระหว่างโจทก์กับผู้ไร้ความสามารถจึงควรนับได้ว่าเป็นญาติสนิท ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1575 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถอนผู้อนุบาล: ความสัมพันธ์ญาติสนิทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มารดาของผู้ไร้ความสามารถเป็นน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันกับยายของโจทก์ ฐานะของโจทก์จึงเกี่ยวข้องเป็นหลานน้าของผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งนับว่าอยู่ในลำดับญาติใกล้ชิดกว่าลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 11(2) เสียอีกความเกี่ยวพันระหว่างโจทก์กับผู้ไร้ความสามารถจึงควรนับได้ว่าเป็นญาติสนิท ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1575 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการถอนอำนาจปกครองบุตรหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด กรณีมีการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือจัดการทรัพย์สินผิด
แม้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยต่อศาลขอให้เพิกถอน อำนาจปกครองบุตรและศาลได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คดีถึงที่สุดไปแล้ว แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่ามีการใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวเด็กโดยมิชอบ หรือจัดการทรัพย์สินของเด็กในทางที่ผิดจนอาจเป็นภัยศาลก็มีอำนาจสั่งถอนอำนาจปกครองหรืออำนาจจัดการทรัพย์เสียบางส่วนหรือทั้งหมดได้ โดยศาลจะสั่งเองหรือผู้มีสิทธิร้องขอก็ได้ โดยจะร้องขอมาในคดีเดิมหรือจะฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ก็ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเหตุที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ต่างกันคนละประเด็นกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก: การถอนอำนาจผู้ปกครองเดิมและตั้งผู้ปกครองใหม่
กรณีที่เกี่ยวกับผู้เยาว์อันว่าด้วยเรื่องอำนาจปกครองและความปกครองนั้นไม่เหมือนกับคดีธรรมดาสามัญอื่นทั่วไป.บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 2หมวด 2 และ 3 ให้อำนาจแก่ศาลเป็นพิเศษ. ในอันที่จะป้องกันสวัสดิภาพและรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์. แม้ผู้เยาว์นั้นจะมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมด. และจะสั่งถอนผู้ปกครองเสียก็ได้. อำนาจเช่นว่านี้ศาลจะสั่งเองโดยไม่จำต้องมีใครร้องขอก็ได้ในเมื่อมีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว หรือจะสั่งในเมื่อมีบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอขึ้นมาก็ได้ตามมาตรา 1552,1574 และ 1575เพราะอำนาจควบคุมและคุ้มครองของศาลยังคงมีอยู่เรื่อยไป.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 797/2499).
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล และตั้งโจทก์เป็นผู้ปกครองแทน. การฟ้องขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้เยาว์. เมื่อปรากฏเรื่องการใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ต่อศาลภายหลังที่มีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครอง. ศาลมีอำนาจที่จะนำมาตรา 1552 มาบังคับคดีและเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กเข้ามาในการไต่สวนเกี่ยวกับการถอนผู้ปกครองเดิมและการตั้งผู้ปกครองใหม่ได้. แม้โจทก์จะถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา. ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดี.
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล และตั้งโจทก์เป็นผู้ปกครองแทน. การฟ้องขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้เยาว์. เมื่อปรากฏเรื่องการใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ต่อศาลภายหลังที่มีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครอง. ศาลมีอำนาจที่จะนำมาตรา 1552 มาบังคับคดีและเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กเข้ามาในการไต่สวนเกี่ยวกับการถอนผู้ปกครองเดิมและการตั้งผู้ปกครองใหม่ได้. แม้โจทก์จะถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา. ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดี.