คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ม. 57

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19339-19344/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์: การเพิกถอนสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มิได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่
แม้จำเลยจะมีพยานบุคคลเพียงปากเดียว แต่ไม่ปรากฏว่าเมื่อมีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร โจทก์ทั้งหกยื่นคำคัดค้านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนมีสิทธิรับสิทธิบัตรดีกว่าจำเลยหรือคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งไม่มีข้อเท็จจริงว่าขั้นตอนในการออกสิทธิบัตรของพนักงานเจ้าหน้าที่มีความบกพร่อง จึงต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ทั้งหกฟ้องคดีนี้โดยกล่าวอ้างว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ โจทก์ทั้งหกจึงมีหน้าที่พิสูจน์ว่าแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมตกเป็นพับแล้ว ก็ไม่อาจพิพากษากำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าทนายความให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง คำพิพากษาในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 161 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11133/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตร: การจดทะเบียนโดยไม่ผูกขาด, Generic words, และการออกแบบที่ไม่ใหม่
เมื่อโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในคำว่า "COOL IN AMERICAN STYLE" และ "SPORTY" โจทก์จึงไม่มีสิทธิหวงกันที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 จำเลยที่ 4 จึงสามารถใช้คำว่า "AMERICAN STYLE" กับสินค้าของตนได้เช่นกัน ส่วนคำว่า "BIKE" แม้จะมีคำแปลว่า "รถจักรยาน" เช่นเดียวกับคำว่า "BICYCLE" แต่ไม่ใช่เป็นคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบกับคำดังกล่าวเป็นคำสามัญ (Generic word) ส่วนคำว่า "SINCE 1991" เป็นคำสามัญเช่นกัน บุคคลทั่วไปมีสิทธิใช้คำดังกล่าวสำหรับสินค้ารถจักรยานได้ โจทก์ไม่มีสิทธิห้ามบุคคลอื่นใช้คำว่า "BIKE" และ "SINCE 1991" เช่นเดียวกัน
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 3 กำหนดว่า แบบผลิตภัณฑ์ หมายความว่า "รูปร่างของผลิตภัณฑ์หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้" เมื่อสิทธิบัตรของโจทก์ระบุข้อถือสิทธิไว้ว่า ขอถือสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้แก่รูปร่างลักษณะของสปอยเลอร์รถจักรยาน แสดงว่าแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่อ้างว่าได้คิดค้นขึ้นเป็นเหล็กแผ่นขึ้นรูปเป็นตัวยู เป็นรูปร่างที่ถูกจัดทำขึ้นตามลักษณะของการใช้สอย มากกว่าความสวยงาม เมื่อรูปร่างแบบผลิตภัณฑ์อยู่ในลักษณะเดียวกันกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่มาก่อนแล้ว ในโฆษณาแบบผลิตภัณฑ์รถจักรยานจึงต้องถือว่าแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 57 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่และไม่เคยมีใช้มาก่อน การเพิกถอนสิทธิบัตรเมื่อแบบไม่ใหม่
เมื่อโจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายช้อนส้อมเช่นเดียวกับที่จำเลยได้รับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์และต้องหยุดดำเนินการไป นับได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกกระทบหรือถูกโต้แย้งสิทธิแต่ผู้เดียวในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะกล่าวอ้างว่าสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และฟ้องคดีเพื่อขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64 วรรคสอง ได้ความว่าช้อนส้อมของโจทก์มีการผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยมาก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งการตรวจคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ได้พิจารณาถึงแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (1) และเมื่อไม่ปรากฏว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยแตกต่างจากช้อนส้อมของโจทก์ เท่ากับว่าแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีหรือใช้กันแพร่หลายอยู่แล้วในประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตรและถือว่าไม่มีความใหม่ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (1)
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 ต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้
การที่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่มีความใหม่ ย่อมจะไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยจึงได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ถือเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่และไม่คล้ายกับงานที่มีอยู่แล้ว การปรับปรุงประสิทธิภาพไม่ใช่การสร้างสรรค์ใหม่
รูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยตามสิทธิบัตรทั้ง 2 คำขอคล้ายกับรูปแบบผลิตภัณฑ์เสาอากาศรับสัญญาณที่มีผู้อื่นเปิดเผยและเผยแพร่มาก่อน แม้รูปแบบปีกของจำเลยทำให้การรับสัญญาณดีขึ้นก็เป็นเรื่องของประสิทธิภาพ มิใช่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 56 ประกอบมาตรา 57 (1) (2) (3) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งสองแบบของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 64

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรต้องเพิกถอนหากไม่ใช่การออกแบบใหม่ & ไม่เสียหายจากการแสดงสิทธิบัตร
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้กำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์คำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการต่อศาลไว้ การจะนำคดีมาสู่ศาลจึงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการตามขั้นตอน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอรับสิทธิบัตร
ซองสำหรับบรรจุหลอดตามสิทธิบัตรเกาหลีซึ่งเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกับสิทธิบัตรพิพาทได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรพิพาทจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 57 (2) ซึ่งต้องเพิกถอนตามมาตรา 64 ประกอบด้วยมาตรา 56
จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซองสำหรับบรรจุหลอดพิพาทย่อมมีสิทธิแสดงตนว่าเป็นเจ้าของสิทธิบัตรซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ส่วนคำขอรับสิทธิบัตรหลอดดูดพลาสติกพิพาทอีก 6 คำขอ แม้ยังอยู่ระหว่างประกาศโฆษณา แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขอรับสิทธิบัตรก็มีสิทธิบอกกล่าวแก่บุคคลทั่วไปให้รู้ว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้แล้ว อันเป็นการบอกกล่าวตามข้อเท็จจริง เมื่อลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ยังซื้อสินค้าของโจทก์อยู่ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์: แบบผลิตภัณฑ์ไม่ใช่ของใหม่ เปิดเผยต่อสาธารณะแล้ว จำเลยมีสิทธิขอเพิกถอนได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของโจทก์จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธต่อสู้ว่าสิทธิบัตรของโจทก์ไม่สมบูรณ์พร้อมกับฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของโจทก์ จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสี่ยกความไม่สมบูรณ์ในสิทธิบัตรของโจทก์ขึ้นอ้าง ตามมาตรา 64 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ ภาระการพิสูจน์ว่าสิทธิบัตรของโจทก์สมบูรณ์หรือไม่ย่อมตกอยู่แก่จำเลยทั้งสี่ จำเลยทั้งสี่บรรยายฟ้องแย้งว่าผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับสิทธิบัตรจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ผลิตภัณฑ์ที่โจทก์ได้รับสิทธิบัตรมีการใช้กันแพร่หลายในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ของโจทก์ ผลิตภัณฑ์ของโจทก์จึงไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่บรรยายแจ้งชัดแล้วว่าสิทธิบัตรของโจทก์ไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใด ไม่เคลือบคลุม การฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรเพราะเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์เป็นการฟ้องโดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯมาตรา 64 วรรคสอง ไม่ใช่การฟ้องเนื่องจากมูลละเมิด ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดไว้ 10 ปี แบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าของโจทก์ไม่ใช่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำไปยื่นรับคำขอสิทธิบัตรจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตามมาตรา 56,57 แห่ง พระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ สิทธิบัตรของโจทก์ที่กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์รับจดทะเบียนไว้จึงไม่สมบูรณ์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกับโจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจฟ้องและขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์จากการเผยแพร่ก่อนขอรับสิทธิบัตร และอายุความฟ้องแย้งตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าของโจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าสิทธิบัตรโจทก์ไม่สมบูรณ์และฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว ภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบในประเด็นว่า สิทธิบัตรโจทก์สมบูรณ์หรือไม่ย่อมตกแก่จำเลยทั้งสี่ แต่เมื่อโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนหลายประเด็นประกอบกับโจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างนำพยานหลักฐานเข้าสืบด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่ การที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์เพราะเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์นั้น เป็นการฟ้องตามมาตรา 64 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522ไม่ใช่การฟ้องเนื่องจากมูลละเมิด เมื่ออายุความเกี่ยวกับอำนาจฟ้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ลงโฆษณาเผยแพร่และผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ามาก่อนเป็นเวลาหลายปีแล้วต่อมาจึงนำผลิตภัณฑ์ของโจทก์ดังกล่าวไปขอรับสิทธิบัตรรูปแบบผลิตภัณฑ์ ถือไม่ได้ว่าแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าดังกล่าวเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำไปยื่นรับคำขอสิทธิบัตรได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56และ 57 สิทธิบัตรโจทก์จึงไม่สมบูรณ์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับโจทก์ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิบัตร: การพิสูจน์ความสมบูรณ์, อายุความ, และการเผยแพร่ก่อนขอรับสิทธิบัตร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าของโจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าสิทธิบัตรโจทก์ไม่สมบูรณ์และฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว ภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบในประเด็นว่า สิทธิบัตรโจทก์สมบูรณ์หรือไม่ย่อมตกแก่จำเลยทั้งสี่ แต่เมื่อโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนหลายประเด็นประกอบกับโจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างนำพยานหลักฐานเข้าสืบด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์เพราะเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์นั้น เป็นการฟ้องตามมาตรา 64 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ไม่ใช่การฟ้องเนื่องจากมูลละเมิด เมื่ออายุความเกี่ยวกับอำนาจฟ้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ลงโฆษณาเผยแพร่และผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ามาก่อนเป็นเวลาหลายปี แล้วต่อมาจึงนำผลิตภัณฑ์ของโจทก์ดังกล่าวไปขอรับสิทธิบัตรรูปแบบผลิตภัณฑ์ ถือไม่ได้ว่าแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าดังกล่าวเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำไปยื่นรับคำขอสิทธิบัตรได้ตามพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 56 และ 57 สิทธิบัตรโจทก์จึงไม่สมบูรณ์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับโจทก์ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์ได้
of 2