พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2585/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าธรรมเนียมรายปีสิทธิบัตร: ระยะเวลาการคำนวณและผลของการไม่ชำระตามกฎหมาย
หลักเกณฑ์การชำระค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ประกอบมาตรา 43 บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีเริ่มแต่ปีที่ 5 ของอายุสิทธิบัตรและต้องชำระภายใน 60 วัน นับแต่วันเริ่มต้นระยะเวลาของปีที่ 5 นั้น และของทุก ๆ ปีต่อไป เมื่อโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2546 วันเริ่มต้นระยะเวลาของปีที่ 5 จึงเป็นวันที่ 1 เมษายน 2550 และต้องชำระภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ไม่ใช่ชำระได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 ดังที่โจทก์อุทธรณ์
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 62, 65 ประกอบมาตรา 43 และประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง การนับระยะเวลาตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้บัญญัติเรื่องการนับระยะเวลาค่าธรรมเนียมรายปีของผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้ชัดเจนแล้ว ไม่จำเป็นที่จำเลยทั้งสองต้องแสดงแผนผังแสดงวิธีการนับระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมปีที่ 5 ถึงปีที่ 10 ให้โจทก์ทราบอีก
โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีที่ 9 แก่จำเลยที่ 1 วันที่ 23 พฤษภาคม 2555 ที่ถูกโจทก์ต้องชำระระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 แต่เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีของจำเลยที่ 1 รับชำระไว้แล้วนั้น จำเลยทั้งสองนำสืบว่า เกิดจากข้อผิดพลาดของระบบฐานข้อมูลสิทธิบัตรซึ่งคณะกรรมการสิทธิบัตรรับฟังว่าผิดพลาดจริงและถือว่าการชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีที่ 9 เป็นการชำระที่พ้นกำหนดเวลา โจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์มิได้ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีที่ 9 ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ทำรายงานต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรให้เพิกถอนสิทธิบัตรของโจทก์ แล้วต่อมาคณะกรรมการสิทธิบัตรเพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวจึงชอบด้วย พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 62, 65 ประกอบมาตรา 43 แล้ว
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 62, 65 ประกอบมาตรา 43 และประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง การนับระยะเวลาตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้บัญญัติเรื่องการนับระยะเวลาค่าธรรมเนียมรายปีของผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้ชัดเจนแล้ว ไม่จำเป็นที่จำเลยทั้งสองต้องแสดงแผนผังแสดงวิธีการนับระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมปีที่ 5 ถึงปีที่ 10 ให้โจทก์ทราบอีก
โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีที่ 9 แก่จำเลยที่ 1 วันที่ 23 พฤษภาคม 2555 ที่ถูกโจทก์ต้องชำระระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 แต่เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีของจำเลยที่ 1 รับชำระไว้แล้วนั้น จำเลยทั้งสองนำสืบว่า เกิดจากข้อผิดพลาดของระบบฐานข้อมูลสิทธิบัตรซึ่งคณะกรรมการสิทธิบัตรรับฟังว่าผิดพลาดจริงและถือว่าการชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีที่ 9 เป็นการชำระที่พ้นกำหนดเวลา โจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์มิได้ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีที่ 9 ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ทำรายงานต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรให้เพิกถอนสิทธิบัตรของโจทก์ แล้วต่อมาคณะกรรมการสิทธิบัตรเพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวจึงชอบด้วย พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 62, 65 ประกอบมาตรา 43 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต้องเพิกถอนหากไม่ใช่การออกแบบใหม่ & ไม่เสียหายจากการแสดงสิทธิบัตร
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้กำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์คำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการต่อศาลไว้ การจะนำคดีมาสู่ศาลจึงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการตามขั้นตอน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอรับสิทธิบัตร
ซองสำหรับบรรจุหลอดตามสิทธิบัตรเกาหลีซึ่งเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกับสิทธิบัตรพิพาทได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรพิพาทจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 57 (2) ซึ่งต้องเพิกถอนตามมาตรา 64 ประกอบด้วยมาตรา 56
จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซองสำหรับบรรจุหลอดพิพาทย่อมมีสิทธิแสดงตนว่าเป็นเจ้าของสิทธิบัตรซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ส่วนคำขอรับสิทธิบัตรหลอดดูดพลาสติกพิพาทอีก 6 คำขอ แม้ยังอยู่ระหว่างประกาศโฆษณา แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขอรับสิทธิบัตรก็มีสิทธิบอกกล่าวแก่บุคคลทั่วไปให้รู้ว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้แล้ว อันเป็นการบอกกล่าวตามข้อเท็จจริง เมื่อลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ยังซื้อสินค้าของโจทก์อยู่ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง
ซองสำหรับบรรจุหลอดตามสิทธิบัตรเกาหลีซึ่งเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกับสิทธิบัตรพิพาทได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรพิพาทจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 57 (2) ซึ่งต้องเพิกถอนตามมาตรา 64 ประกอบด้วยมาตรา 56
จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซองสำหรับบรรจุหลอดพิพาทย่อมมีสิทธิแสดงตนว่าเป็นเจ้าของสิทธิบัตรซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ส่วนคำขอรับสิทธิบัตรหลอดดูดพลาสติกพิพาทอีก 6 คำขอ แม้ยังอยู่ระหว่างประกาศโฆษณา แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขอรับสิทธิบัตรก็มีสิทธิบอกกล่าวแก่บุคคลทั่วไปให้รู้ว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้แล้ว อันเป็นการบอกกล่าวตามข้อเท็จจริง เมื่อลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ยังซื้อสินค้าของโจทก์อยู่ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6818/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต่างประเทศไม่ได้รับการคุ้มครองในไทย หากไม่ได้จดทะเบียนในไทย ผู้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิจากต่างประเทศจึงไม่มีอำนาจฟ้องละเมิดในไทย
สิทธิบัตรที่จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ต้องเป็นสิทธิบัตรที่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์พร้อมทั้งเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เมื่อผ่านการตรวจสอบว่ามีลักษณะครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว อธิบดีจึงจะออกสิทธิบัตรให้ผู้ขอตามมตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว สิทธิบัตรที่ออกโดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวจึงจะได้รับความคุ้มครองในราชอาณาจักรไทยตามทฤษฎีสากลในเรื่องหลักดินแดนซึ่งผู้ทรงสิทธิบัตรจะบังคับใช้สิทธิของตนได้เฉพาะแต่ภายในเขตอำนาจอธิปไตยของประเทศที่ออกสิทธิบัตรนั้นเท่านั้นไม่อาจบังคับใช้สิทธิของตนต่อการกระทำละเมิดเกี่ยวกับสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นนอกอาณาเขตของประเทศนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต่างประเทศ: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียนภายในประเทศ แม้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิจากเจ้าของสิทธิบัตร
บริษัทโจทก์ไม่เคยยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทย แต่ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกาสิทธิบัตรดังกล่าวจึงย่อมได้รับความคุ้มครองเฉพาะภายในอาณาเขตประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นที่มีกฎหมายยอมรับบังคับให้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรดังกล่าวจากผู้ทรงสิทธิบัตรและมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรหรือขาย มีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ดังกล่าวไม่รวมถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศไทย โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เพราะผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิบัตรที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เท่านั้นโจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 33, 63 ประกอบด้วยมาตรา 65 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 85
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต่างประเทศ: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียนภายในประเทศ
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรจากผู้ทรงสิทธิบัตรและมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หรือขาย มีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ไม่รวมถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศไทย โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เพราะผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิบัตรที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่พึงจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 33, 63 ประกอบมาตรา 65 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดฐานยื่นขอสิทธิบัตรโดยแสดงข้อความเท็จ: เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย
ความผิดฐานยื่นขอรับอนุสิทธิบัตรโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 87 เป็นการกระทำความผิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ถึงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายเนื่องจากเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโจทก์ แต่พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้กำหนดกระบวนการที่จะแก้ไขความเสียหายไว้แล้วว่าในกรณีที่อนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ บุคคลที่กล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตร หรือบุคคลที่มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้นได้ ตามมาตรา 65 นว ซึ่งถือเป็นกระบวนการในการพิสูจน์สิทธิของอนุสิทธิบัตรซึ่งโจทก์ก็ได้ดำเนินการฟ้องจำเลยต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7769/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: การออกแบบร่วม การเลียนแบบ และสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่แล้วยังต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56 ด้วย ช. พี่โจทก์เป็นผู้เริ่มคิดออกแบบ ส่วนรูปแบบโครงสร้างรูปแปดเหลี่ยมนั้นโจทก์กับ ช. ช่วยกันกำหนดโครงสร้างภาพจำลองเสาอากาศโจทก์กับ ช. ร่วมกันเขียนขึ้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามและมีองค์ประกอบอันเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองแบบผลิตภัณฑ์นั้นว่าสามารถใช้รับสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุได้หรือไม่และเป็นการยืนยันว่าโจทก์กับ ช. ร่วมกันออกแบบผลิตภัณฑ์ในส่วนดังกล่าว ซึ่งการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นสามารถร่วมกันกระทำในส่วนหนึ่งส่วนใดซึ่งเป็นส่วนอันเป็นสาระสำคัญในการออกแบบนั้นก็ได้ จึงฟังได้ว่า โจทก์กับ ช. ร่วมกันออกแบบผลิตภัณฑ์แผงสายอากาศเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุตามคำขอรับสิทธิบัตร จึงมีสิทธิขอรับสิทธิบัตรร่วมกัน แต่ ช. ไม่ยอมร่วมไปขอรับสิทธิบัตรกับโจทก์ด้วยเพราะไม่ทราบขั้นตอนรายละเอียดในการดำเนินการและติดต่อเจ้าหน้าที่ โจทก์ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมจึงมีสิทธิขอรับสิทธิบัตรสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำร่วมกันนั้นในนามของตนเองได้ตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 15 วรรคสอง โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้