พบผลลัพธ์ทั้งหมด 718 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7552/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะจากการถูกด่าทอและข่มขู่ด้วยอาวุธ: การลดโทษอาญาฐานฆ่า
จำเลยเป็นบิดาของผู้เสียหาย คืนเกิดเหตุผู้เสียหายดื่มสุราจนเมา จำเลยได้ไล่ให้ผู้เสียหายไปนอนที่บ้าน ไม่ให้นอนที่กระท่อมของจำเลย ผู้เสียหายไม่ยอมไปได้ด่าจำเลยเสียๆ หายๆ ด่าว่า พ่อหัวควย พ่อเหี้ย พ่อสัตว์ ไม่รักลูก แล้วผู้เสียหายกลับออกไป 2 ถึง 3 นาทีได้กลับมาใหม่เพื่อมาเอาห่อยาเส้น จำเลยไล่ผู้เสียหายกลับไปนอนที่บ้านอีกครั้ง แต่ผู้เสียหายไม่ยอมไป กลับด่าจำเลยเช่นเดียวกับครั้งแรกและด่าให้อวัยวะเพศชายอีก ทั้งผู้เสียหายมีมีดยาว 1 ศอกอยู่ในย่ามและท้าจำเลยให้ออกมาฟันกัน ประกอบกับโจทก์ฎีการับว่า จำเลยโกรธแค้นที่ผู้เสียหายไม่เคารพยำเกรงและด่าจำเลยด้วยถ้อยคำหยาบคาย ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นบิดาใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย กรณีจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6389/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก การแบ่งทรัพย์มรดกโดยมิชอบ และอายุความการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ถือว่าผู้จัดการมรดกเป็นผู้ถือครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททุกคน และมีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อการแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 หากผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยมิชอบขัดต่อกฎหมายและถึงแก่ความตายก่อนจัดการมรดกเสร็จสิ้น ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของทายาทย่อมฟ้องผู้จัดการมรดกที่ศาลแต่งตั้งขึ้นใหม่ให้จัดการแก้ไขแบ่งทรัพย์มรดกให้ถูกต้องได้ภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคท้าย
ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกแก่ทายาทหลังเจ้ามรดกตายเกินกว่า 1 ปี การฟ้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาใช้ไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย
ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกแก่ทายาทหลังเจ้ามรดกตายเกินกว่า 1 ปี การฟ้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาใช้ไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2934/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่: ฟ้องทายาทเจ้าหน้าที่ไม่ได้ หากฟ้องหน่วยงานของรัฐแล้ว
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 บัญญัติให้ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ เมื่อฟ้องเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐไม่ได้ ย่อมฟ้องเรียกค่าเสียหายในผลแห่งละเมิดจากทายาทของเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้า ต้องพิสูจน์ความเสียหายจากการใช้ชื่อทางการค้าที่เหมือนกัน
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "VICTORIA'SSECRET" โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นอีกหลายประเทศ เพื่อใช้กับสินค้าประเภท ของใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในรวมทั้งสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม สำหรับในประเทศไทยโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 38 เดิม จำเลยที่ 1ประกอบกิจการประเภทภัตตาคาร ส่วนจำเลยที่ 2 ประกอบ กิจการสถานออกกำลังกาย โดยกิจการของจำเลยทั้งสองดังกล่าว ใช้ชื่อทางการค้าว่า "VICTORIA'SSECRET" และ "วิคตอเรียซีเครท"โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็น ชื่อทางการค้าของจำเลยทั้งสอง กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ ในนามของบุคคลซึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้า จะร้องขอต่อศาล ให้สั่งห้ามได้ก็ต่อเมื่อการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหาย อยู่สืบไปด้วย และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้น มีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายนั้น แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ มาไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของโจทก์ดังกล่าวไปใช้เป็นชื่อทางการค้า สำหรับสถานบริการประเภทภัตตาคาร ไนท์คลับและสถานออกกำลังกายของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่จำเลยทั้งสองได้จดทะเบียนไว้นั้น จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเสื่อมเสียประโยชน์แต่อย่างใด ทั้งการที่จำเลยทั้งสองประกอบกิจการธุรกิจบริการก็เป็นธุรกิจที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกิจการการค้าของโจทก์ซึ่งผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัวเครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีอันอาจทำให้โจทก์มีรายได้ในทางการค้าลดลงหรือทำให้โจทก์เสื่อมเสียประโยชน์หรือได้รับความเสียหายอื่นใด ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้ใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวในการประกอบกิจการสถานบริการของ จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในนามทางการค้า: การใช้ชื่อซ้ำโดยธุรกิจต่างประเภท ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย จึงไม่อาจสั่งห้ามได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "VICTORIA'S SECRET" โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นอีกหลายประเทศ เพื่อใช้กับสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ผลิตภัณฑ์ชุดชั้นใน รวมทั้งสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม สำหรับในประเทศไทยโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 38 เดิม จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการประเภทภัตตาคาร ส่วนจำเลยที่ 2 ประกอบกิจการสถานออกกำลังกาย โดยกิจการของจำเลยทั้งสองดังกล่าวใช้ชื่อทางการค้าว่า "VICTORIA'S SECRET" และ "วิคตอเรีย ซีเครท" โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นชื่อทางการค้าของจำเลยทั้งสอง กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในนามของบุคคลซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้า จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามได้ก็ต่อเมื่อการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปด้วย และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายนั้น แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของโจทก์ดังกล่าวไปใช้เป็นชื่อทางการค้าสำหรับสถานบริการประเภทภัตตาคาร ไนท์คลับ และสถานออกกำลังกายของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่จำเลยทั้งสองได้จดทะเบียนไว้นั้น จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเสื่อมเสียประโยชน์แต่อย่างใด ทั้งการที่จำเลยทั้งสองประกอบกิจการธุรกิจบริการก็เป็นธุรกิจที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกิจการการค้าของโจทก์ซึ่งผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว เครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี อันอาจทำให้โจทก์มีรายได้ในทางการค้าลดลงหรือทำให้โจทก์เสื่อมเสียประโยชน์หรือได้รับความเสียหายอื่นใด โจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้ใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวในการประกอบกิจการสถานบริการของจำเลยทั้งสองได้
??
??
??
??
1/1
??
??
??
??
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7431/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียน & อายุความฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียน
แม้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบด้วยอักษรโรมันสีขาวคำว่า "Kyuta" อยู่ในกรอบวงรีวางอยู่เหนือกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งมีเส้นทึบตามแนวกรอบบริเวณเส้นทึบด้านล่างมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "KYUTACHEM.," บริเวณกลางของกรอบสี่เหลี่ยมมีกรอบสี่เหลี่ยมสีขาวซ้อนอยู่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "Kyuta" อยู่ในกรอบวงรี แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนทั่วไปที่มิได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนสับสนหลงผิด เมื่อเห็นคำว่า "Kyuta" ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้แม้ว่าโจทก์จะได้จะทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก อันได้แก่ เคมีวัตถุสำหรับใช้ในการหัตถกรรมการถ่ายรูปหรือการค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์ และใช้เป็นยากันผุเสีย ส่วนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42ทั้งจำพวก อันได้แก่ วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องปรุงอาหารก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ปี 2523 กับสินค้าเคมีภัณฑ์ประกอบอาหารและจำหน่ายให้แก่โรงงานผลิตอาหารเพื่อนำไปปรับสภาพอาหารให้คงอยู่ได้นาน อันมีลักษณะเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าที่มีลักษณะครอบคลุมถึงสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ด้วย และเมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี2529 แล้วก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" กับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 มาก่อนจำเลยหลายปี โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ตามคำขอจดทะเบียน สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ดีกว่าจำเลย โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" มาตั้งแต่ปี2523 เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี 2529 โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา และโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก เมื่อโจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าวันที่ 24 มีนาคม 2530 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของ จำเลยโดยโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta"ดีกว่า อันเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7431/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความสับสนและความเหนือกว่าของสิทธิเมื่อใช้เครื่องหมายการค้าก่อน
แม้ว่าเครื่องหมายการค้า ของโจทก์และเครื่องหมายการค้า ของจำเลยจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบด้วยอักษรโรมันสีขาว คำว่า "Kyuta" อยู่ในกรอบวงรีวางอยู่เหนือกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งมีเส้นทึบตามแนวกรอบ บริเวณเส้นทึบด้านล่างมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "KYUTACHEM.," บริเวณกลางของกรอบสี่เหลี่ยมมีกรอบสี่เหลี่ยมสีขาวซ้อนอยู่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "Kyuta"อยู่ในกรอบวงรี แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนทั่วไปที่มิได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนสับสนหลงผิด เมื่อเห็นคำว่า "Kyuta" ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้แม้ว่าโจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก อันได้แก่ เคมีวัตถุสำหรับใช้ในการหัตถกรรมการถ่ายรูป หรือการค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์ และใช้เป็นยากันผุเสีย ส่วนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42ทั้งจำพวก อันได้แก่ วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องปรุงอาหารก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ปี 2523 กับสินค้าเคมีภัณฑ์ประกอบอาหารและจำหน่ายให้แก่โรงงานผลิตอาหารเพื่อนำไปปรับสภาพอาหารให้คงอยู่ได้นาน อันมีลักษณะเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าที่มีลักษณะครอบคลุมถึงสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ด้วย และเมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี2529 แล้วก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" กับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 มาก่อนจำเลยหลายปี โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ตามคำขอจดทะเบียน สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ดีกว่าจำเลย
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" มาตั้งแต่ปี2523 เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี 2529 โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา และโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก เมื่อโจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าวันที่ 24 มีนาคม 2530 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta"ดีกว่า อันเป็นการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา41 (1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" มาตั้งแต่ปี2523 เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี 2529 โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา และโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก เมื่อโจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าวันที่ 24 มีนาคม 2530 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta"ดีกว่า อันเป็นการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา41 (1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7340/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรับขน: ผู้รับใบตราส่งมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ขนส่งได้ แม้ของไม่ถึงปลายทาง
ขณะเกิดข้อพิพาท พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบเคียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ที่กำหนดว่าเมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบ แล้ว นับแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญา รับขนนั้นย่อมตกแก่ผู้รับตราส่ง แสดงให้เห็นว่าสัญญารับขน มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกถ้อยคำที่ว่า "เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง" มีความหมายเป็นเพียงเวลาที่กฎหมายกำหนดว่าผู้รับตราส่งจะแสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนได้เมื่อใดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขอีกข้อหนึ่งซึ่งหากไม่มีของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งแล้วจะเป็นเหตุ ให้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ตกแก่ผู้รับตราส่งไม่ เมื่อโจทก์เป็น ผู้ทรงใบตราส่งที่จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ผู้ขายและเป็นผู้มี กรรมสิทธิ์ในสินค้าพิพาทตามใบตราส่งนั้น แม้โจทก์ไม่อาจ แสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนโดยเรียกให้ส่งมอบ ของได้เพราะไม่มีกำหนดเวลาที่จะเรียกให้ส่งมอบของได้ ตามมาตรา 627 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหาย เพราะเหตุที่สินค้าพิพาทต้องสูญหายเนื่องจากการขนส่งนั้น โดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิตามสัญญารับขนสินค้าพิพาทย่อม มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาท ให้รับผิดตามสัญญารับขนได้ เมื่อพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทปรับแก่คดีไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งของทางทะเลตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติรับขนของทางทะเลฯมาปรับแก่คดีได้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจยกเอาข้อจำกัดความรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวมาอ้างเพื่อให้รับผิดน้อยลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ร่วมขนส่งในความเสียหายของสินค้า รวมถึงการกำหนดภูมิลำเนาของบริษัทต่างชาติ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือ เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเจ้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้าบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่า การปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่า ค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่า จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 3 (2) (ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่ 28 เมษายน 2534และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 616ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคสอง มิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอา พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อให้เรือ ท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616
ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาทบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว รับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย
สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อให้เรือ ท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616
ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาทบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว รับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย
สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนขนส่งในความเสียหายของสินค้า การพิสูจน์ความรับผิดและค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักรจึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วยโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาล แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสองจะบัญญัติว่า "รับขนของทางทะเลท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น" ก็ตาม แต่เนื่องจากคดีนี้ทั้ง วันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกและวันที่มีการส่งมอบ และตรวจรับสินค้าพิพาทเป็นวันก่อนที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสองมิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งและเป็นผู้ติดต่อเรือให้ ขนสินค้าโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จึงมีฐานะเป็น ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับติดต่อกับผู้รับสินค้าในการส่งมอบสินค้า เมื่อได้รับชำระค่าระวางเรือก็จะแจ้งให้จำเลยที่ 4ออกใบปล่อยสินค้า ใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้าทั้งใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการดำเนิน งานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิด ในการสูญหายของสินค้าด้วย จำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือและนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ภายหลังจากมูลคดีได้เกิดขึ้น จึงไม่อาจนำการจำกัดความรับผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ