คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วุฒิ คราวุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 718 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ร่วมขนส่งในความเสียหายของสินค้า รวมถึงการกำหนดภูมิลำเนาของบริษัทต่างชาติ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือ เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเจ้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้าบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่า การปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่า ค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่า จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 3 (2) (ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่ 28 เมษายน 2534และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 616ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคสอง มิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอา พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อให้เรือ ท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616
ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาทบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว รับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย
สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรับขนของทางทะเล, การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ, และความรับผิดของผู้ขนส่งร่วม
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือเมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเข้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้า บริษัทอ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้วจะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่าการปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่าค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ต่อศาลแพ่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 3(2)(ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่28 เมษายน 2534 และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะ มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมาย ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็น บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมาย ที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสองมิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอาพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี และจำเลยที่ 1เป็นผู้ติดต่อให้เรือท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะ เป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้า พิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616 ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาท บริษัทอ. ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวรับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้า ที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า พิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6209/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยอุทธรณ์โดยศาลอุทธรณ์ การหยิบยกเหตุผลประกอบเพิ่มเติม และการลดโทษรอการลงโทษ
แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้หยิบยกข้ออุทธรณ์ของจำเลยขึ้นวินิจฉัยโดยละเอียดในคำพิพากษา แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการลงโทษเหมาะสมแล้วแม้จะให้เหตุผลประกอบเพิ่มเติมว่า การกระทำของจำเลยเป็นการมอมเมาประชาชน ก็เป็นเหตุผลที่ศาลสรุปจากข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุติจากในสำนวน มิใช่เป็นเรื่องการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่อันเป็นการต้องห้าม ถือว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยและแสดงเหตุผลโต้แย้งอุทธรณ์ของจำเลยแล้วคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 แล้ว แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุก จำเลยมีกำหนด 2 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกาในปัญหา ข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6209/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์โดยใช้ดุลพินิจเดิม เหตุผลประกอบเพิ่มเติมไม่ถือเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ แม้ลงโทษเดิม ศาลฎีกามีอำนาจปรับโทษ
แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้หยิบยกข้ออุทธรณ์ของจำเลยขึ้นวินิจฉัยโดยละเอียดในคำพิพากษา แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการลงโทษเหมาะสมแล้ว แม้จะให้เหตุผลประกอบเพิ่มเติมว่า การกระทำของจำเลยเป็นการมอมเมาประชาชน ก็เป็นเหตุผลที่ศาลสรุปจากข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุติจากในสำนวน มิใช่เป็นเรื่องการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่อันเป็นการต้องห้าม ถือว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยและแสดงเหตุผลโต้แย้งอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 แล้ว
แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5941/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนลิขสิทธิ์เพลง: สิทธิของผู้รับโอนและเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์
เมื่อสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์บทเพลงพิพาทของโจทก์ทำขึ้นในระหว่างที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521ใช้บังคับ ดังนั้น เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นในระหว่างนั้นกรณีต้องบังคับตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ดังกล่าว ข้อความตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงที่พิพาทที่ทำขึ้นในระหว่างที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521ใช้บังคับระบุว่า ผู้ประพันธ์ตกลงโอนขายและห้างตกลงซื้อลิขสิทธิ์เพลงตามที่ระบุในสัญญา การโอนขายนี้จึงเป็นการโอนลิขสิทธิ์ทั้งหมดและเสร็จเด็ดขาดตลอดอายุแห่งลิขสิทธิ์และบทเพลงพิพาทเป็นงานดนตรีกรรม ซึ่งไม่ต้องบังคับตามมาตรา 18 และมาตรา 19 ข้อสัญญาดังกล่าว จึงมีความหมายว่า เป็นการโอนลิขสิทธิ์ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 วรรคแรกเมื่อปรากฏว่าขณะพิจารณาคดีนี้ ค.ผู้สร้างสรรค์บทเพลงพิพาทยังมีชีวิตอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมมีลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับดังกล่าวนี้ได้ โจทก์ซื้อลิขสิทธิ์บทเพลงพิพาทรวมกับบทเพลงอื่นจากด.ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์ แต่เหตุที่จำเลยนำบทเพลงพิพาทไปบันทึกเสียงเนื่องจากจำเลยเข้าใจว่าตนมีสิทธิในลิขสิทธิ์เพลงพิพาทดีกว่าโจทก์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนา กระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีส่วนของคำทั่วไป: อำนาจของนายทะเบียนในการสั่งให้สละสิทธิบางส่วน
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 17 (1) ให้อำนาจนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าในอันที่จะสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แต่เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นมีส่วนหนึ่งส่วนใดหรือหลายส่วนมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ แสดงปฏิเสธว่า ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ส่วนที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้ารายนั้น คำว่า "มหาชัย" เป็นชื่อตำบลหนึ่งของจังหวัดสมุทรสาคร อันเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ดังนั้น การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของ ย. โดยให้ผู้ขอจดทะเบียนปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในคำว่า "มหาชัย" จึงหาขัดต่อกฎหมายอย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบตามภูมิลำเนาเดิมหลังย้ายออก และสิทธิในการขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยทั้งสองได้ย้ายไปจากบ้านเลขที่ 252 ไปมีภูมิลำเนา อยู่ที่อื่นแล้ว บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงมิใช่ภูมิลำเนาของ จำเลยทั้งสอง โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองย้ายไป อยู่ที่อื่นด้วยเหตุผลใด และการที่ยังมีชื่อของจำเลยทั้งสอง ในทะเบียนบ้านดังกล่าวด้วยเหตุผลเพียงไม่ได้แจ้งย้ายชื่อ ออกไปเพียงอย่างเดียวย่อมไม่ทำให้บ้านหลังดังกล่าวยังคง เป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง เหตุนี้การส่งหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานของโจทก์ให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ 252 จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมไม่มีทางที่จำเลยทั้งสองจะทราบว่าตนได้ถูกโจทก์ฟ้อง การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีและไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยาน จะถือว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือจงใจขาดนัดพิจารณาย่อมไม่ได้ เมื่อคดีไม่ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณา คดีใหม่นั้นได้มีการออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่ จำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา จึงยังไม่มีวันเริ่มต้น และวันสิ้นสุดที่จะนับกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอ ให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอ ให้พิจารณาใหม่ได้ คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งสองมีทางชนะคดีโจทก์ เพราะความจริงจำเลยทั้งสองเป็นผู้ซื้อที่ดินตามที่โจทก์ฟ้องแต่เพียงฝ่ายเดียว โจทก์มิได้เกี่ยวข้อง จำเลยทั้งสองมิได้เป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้มี นิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน และได้แสดงเหตุผลต่าง ๆ ว่า ข้อเท็จจริงมิได้เป็นไปตามที่โจทก์ฟ้อง และปรากฏตามสำเนา หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินท้ายฟ้องของโจทก์ว่ามีแต่เฉพาะ จำเลยทั้งสองเพียงฝ่ายเดียวที่เป็นฝ่ายซื้อที่ดิน ตามที่โจทก์ฟ้อง ไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อด้วยเลยถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุ ที่จำเลยทั้งสองจะชนะคดีโจทก์หรืออีกนัยหนึ่งเท่ากับ จำเลยทั้งสองคัดค้านว่า คำพิพากษาของศาลที่ให้โจทก์ ชนะคดีจำเลยทั้งสองโดยฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์ เป็นการไม่ถูกต้องนั้นเอง คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบ และสิทธิในการขอให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อมีเหตุผลที่อาจชนะคดี
จำเลยทั้งสองได้ย้ายไปจากบ้านเลขที่ 252 ไปมีภูมิลำเนาอยู่ที่อื่นแล้ว บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองย้ายไปอยู่ที่อื่นด้วยเหตุผลใด และการที่ยังมีชื่อของจำเลยทั้งสองในทะเบียนบ้านดังกล่าวด้วยเหตุผลเพียงไม่ได้แจ้งย้ายชื่อออกไปเพียงอย่างเดียวย่อมไม่ทำให้บ้านหลังดังกล่าวยังคงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง เหตุนี้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานของโจทก์ให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ 252 จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมไม่มีทางที่จำเลยทั้งสองจะทราบว่าตนได้ถูกโจทก์ฟ้อง การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีและไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยาน จะถือว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือจงใจขาดนัดพิจารณาย่อมไม่ได้ เมื่อคดีไม่ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นได้มีการออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา จึงยังไม่มีวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดที่จะนับกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งสองมีทางชนะคดีโจทก์ เพราะความจริงจำเลยทั้งสองเป็นผู้ซื้อที่ดินตามที่โจทก์ฟ้องแต่เพียงฝ่ายเดียว โจทก์มิได้เกี่ยวข้อง จำเลยทั้งสองมิได้เป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน และได้แสดงเหตุผลต่าง ๆ ว่าข้อเท็จจริงมิได้เป็นไปตามที่โจทก์ฟ้อง และปรากฏตามสำเนาหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินท้ายฟ้องของโจทก์ว่ามีแต่เฉพาะจำเลยทั้งสองเพียงฝ่ายเดียวที่เป็นฝ่ายซื้อที่ดินตามที่โจทก์ฟ้อง ไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อด้วยเลย ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุที่จำเลยทั้งสองจะชนะคดีโจทก์หรืออีกนัยหนึ่งเท่ากับจำเลยทั้งสองคัดค้านว่า คำพิพากษาของศาลที่ให้โจทก์ชนะคดีจำเลยทั้งสองโดยฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการไม่ถูกต้องนั่นเองคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดตามข้อหาที่แจ้ง พ้นเหตุฎีกาเมื่อไม่ได้ยกข้อต่อสู้ตั้งแต่ต้น
ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 ที่ว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันแปดเก้า แต่คดีนี้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6 เพียงฐานร่วมกันเล่นการพนัน มิได้แจ้งข้อหาความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังกล่าว และไม่มีการสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 6 ในข้อหาความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นแปดเก้า เมื่อไม่มีการสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 6 ในข้อความผิดดังกล่าวนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง กล่าวคือ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อความผิดตามที่อ้างในฎีกาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และคดีนี้จำเลยที่ 1 และที่ 6 ให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น ทั้งมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นข้อฎีกาที่มิชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะข้อหาที่แจ้งสอบสวน การให้การรับสารภาพไม่ขัดขวางการยกเหตุไม่มีอำนาจฟ้องในชั้นฎีกา
ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 ที่ว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่น การพนันแปดเก้า แต่คดีนี้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6 เพียงฐานร่วมกันเล่นการพนันมิได้แจ้งข้อหาความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังกล่าว และไม่มีการสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 6 ในข้อหาความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นแปดเก้าเมื่อไม่มีการสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 6 ในข้อความผิดดังกล่าวนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง กล่าวคือ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อความผิดตามที่อ้างในฎีกาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6 หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและคดีนี้จำเลยที่ 1 และที่ 6 ให้การรับสารภาพว่า ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น ทั้งมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นข้อฎีกาที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 72