พบผลลัพธ์ทั้งหมด 718 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องคดีก่อนถึงที่สุด เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
กรณีที่จะเป็นฟ้องซ้ำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 คดีก่อนต้องถึงที่สุดแล้ว ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ขณะคดีแพ่งเรื่องก่อนยังไม่ถึงที่สุดเพราะคดีดังกล่าวยังไม่มีการอ่านคำพิพากษา ศาลฎีกาให้คู่ความฟัง ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีก่อนต้องถึงที่สุดแล้ว จึงจะฟ้องซ้ำไม่ได้
กรณีที่จะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 คดีก่อนต้องถึงที่สุดแล้ว
ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ขณะคดีแพ่งเรื่องก่อนยังไม่ถึงที่สุด เพราะคดีดังกล่าวยังไม่มีการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟัง ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ขณะคดีแพ่งเรื่องก่อนยังไม่ถึงที่สุด เพราะคดีดังกล่าวยังไม่มีการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟัง ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนายความ: ศาลต้องสอบถามก่อนเริ่มพิจารณา หากจำเลยต้องการแต่ไม่มีทนายความ ศาลต้องจัดให้
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ที่บัญญัติให้คดีที่มีอัตราโทษจำคุกก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้า ไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ เป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิจำเลย จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามี และต้องการทนายความหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ มีการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสองก็ตามจำเลยก็ยกขึ้นอ้างให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้และกรณีเช่นว่านี้จำต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2) ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5104/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า 'LOVEMAN' และความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำ
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN"ของโจทก์ร่วม กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2ซึ่งใช้อักษรโรมันคำว่า "KLOVEMANDESIGN" ประดิษฐ์ขึ้นเป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำเหมือนกัน และใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกันเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างมีคำว่า "LOVEMAN" เหมือนกันสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวเป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือเสื้อเชิ้ต แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ที่เขียนขึ้นโดยมิได้ประดิษฐ์ เป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกอย่างเครื่องหมายการค้าของ จำเลยที่ 2 และเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 มีอักษร "K" และคำว่า "DESIGN" กับประดิษฐ์ตัวอักษรคำว่า "DESIGN" ให้ใหญ่กว่าคำว่า "LOVEMAN" มาก แต่ก็ปรากฏ ตามตามคำวินิจฉัย ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าอักษร "K" กับคำว่า "DESIGN" ซึ่งแปลว่า การออกแบบ เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญ ในการค้าขายซึ่งจำเลยที่ 2 ได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิ ของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษรและคำดังกล่าว สาระสำคัญ ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำว่า "LOVEMAN" ที่เหลืออยู่ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเขียน ตัวอักษรคำว่า "LOVE" ติดกับคำว่า "MAN" ส่วนเครื่องหมาย การค้าของจำเลยที่ 2 วางตัวอักษรคำว่า "LOVE" อยู่บนคำว่า "MAN" ก็ตาม แต่ก็อ่านออกเสียงว่า "เลิฟแมน" เหมือนกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและของจำเลยที่ 2 ใช้กับสินค้าเสื้อเชิ้ตเช่นเดียวกัน ประชาชนผู้ซื้อสินค้า ดังกล่าวอาจเรียกสินค้าเสื้อเชิ้ตของโจทก์ร่วมและของจำเลยทั้งสอง ที่มีไว้เพื่อจำหน่ายว่า "เสื้อเลิฟแมน" เหมือนกัน ดังนี้ ประชาชนผู้ซื้อสินค้าย่อมเกิดความสับสนหลงผิดในความเป็น เจ้าของสินค้านั้นได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายจนนับได้ว่าเป็นการเลียนแบบ เครื่องหมายการค้าคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วมที่ได้ จดทะเบียนแล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับ จำเลยที่ 1 มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าเสื้อเชิ้ตของกลาง ที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วม โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าสินค้าเสื้อเชิ้ตนั้นมีเครื่องหมายการค้า ที่เลียนแบบดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 109 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5104/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า 'LOVEMAN' ทำให้เกิดความสับสนและละเมิดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วม กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งใช้อักษรโรมันคำว่า "K LOVE MANDESIGN" ประดิษฐ์ขึ้นเป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำเหมือนกัน และใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างมีคำว่า "LOVE MAN" เหมือนกัน สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวเป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือเสื้อเชิ้ต แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ที่เขียนขึ้นโดยมิได้ประดิษฐ์เป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกอย่างเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 และเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 มีอักษร "K" และคำว่า "DESIGN" กับประดิษฐ์ตัวอักษรคำว่า "DESIGN" ให้ใหญ่กว่าคำว่า "LOVEMAN" มาก แต่ก็ปรากฏตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าอักษร "K" กับคำว่า "DESIGN" ซึ่งแปลว่า การออกแบบ เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายซึ่งจำเลยที่ 2 ได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษรและคำดังกล่าว สาระสำคัญในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำว่า "LOVE MAN" ที่เหลืออยู่ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเขียนตัวอักษรคำว่า "LOVE" ติดกับคำว่า "MAN" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2วางตัวอักษรคำว่า "LOVE" อยู่บนคำว่า "MAN" ก็ตาม แต่ก็อ่านออกเสียงว่า"เลิฟแมน" เหมือนกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและของจำเลยที่ 2ใช้กับสินค้าเสื้อเชิ้ตเช่นเดียวกัน ประชาชนผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวอาจเรียกสินค้าเสื้อเชิ้ตของโจทก์ร่วมและของจำเลยทั้งสองที่มีไว้เพื่อจำหน่ายว่า "เสื้อเลิฟแมน" เหมือนกันดังนี้ ประชาชนผู้ซื้อสินค้าย่อมเกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้านั้นได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายจนนับได้ว่าเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้ว
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าเสื้อเชิ้ตของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วม โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าสินค้าเสื้อเชิ้ตนั้นมีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109 และ ป.อ.มาตรา 83
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าเสื้อเชิ้ตของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วม โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าสินค้าเสื้อเชิ้ตนั้นมีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109 และ ป.อ.มาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานประกอบกัน: คำให้การผู้เสียหาย, คำรับสารภาพผู้ร่วมกระทำผิด, พยานตำรวจสนับสนุนคดีปล้นทรัพย์
แม้ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายในคดีปล้นทรัพย์จะให้การแตกต่างจากคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณาไปบ้างแต่ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายก็ให้การยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยกับชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นคนร้ายยืนคุมผู้เสียหายอยู่ในบ้านเกิดเหตุขณะที่คนร้ายอีกคนหนึ่งใช้ผ้ามัดมือของผู้เสียหายไว้ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้ได้ให้การในวันเกิดเหตุนั้นเอง ได้กล่าวไว้อย่างละเอียดเป็นขั้นเป็นตอนในการที่ถูกคนร้ายร่วมกันปล้นทรัพย์และใช้อาวุธปืนยิงจนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ยากที่ผู้เสียหายจะปรุงแต่งเรื่องขึ้นมาเองเพื่อปรักปรำหรือแกล้งใส่ร้ายจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้จึงรับฟังเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาได้เพราะผู้เสียหายเบิกความภายหลังเกิดเหตุเป็นเวลานานเกินสิบปี ผู้เสียหายคงไม่อาจจดจำรายละเอียดและเหตุการณ์ในการที่ คนร้ายร่วมกระทำผิดได้ครบถ้วนดังเช่นที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวน ในวันเกิดเหตุนั้นเป็นแน่ แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่า แต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังเสียเลย การที่จะรับฟังพยานบอกเล่าได้หรือไม่ เพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่เหตุผลเป็นเรื่อง ๆ ไป โดยรับฟังได้ในฐานะพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ คดีนี้โจทก์มีผู้เสียหายมาเบิกความและมีคำให้การรับสารภาพของ จ. และ ส. ในชั้นสอบสวนซัดทอดจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีเดียวกันว่า ในการร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายนี้ จำเลยเป็นผู้ชักชวน จ. และ ส.ไปด้วยกันซึ่ง จ. และ ส. ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่ จ. และ ส. ถูกจับกุม และเป็นการยากที่ จ.และ ส. จะปรุงแต่งขึ้นเพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลยจ. กับ ส. ได้ให้การชั้นสอบสวนตามความเป็นจริงโดยสมัครใจ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันดังกล่าวก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟัง ย่อมนำมารับฟังประกอบคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายได้ นอกจากนั้นโจทก์ยังมีเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวน จ. และ ส.มาเบิกความสนับสนุนว่า ชั้นสอบสวน จ. และ ส.ให้การรับสารภาพและยังได้นำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมจำเลยก็ให้การรับสารภาพ เช่นนี้เมื่อฟังคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณา คำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนประกอบคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส. ในชั้นสอบสวน กับคำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจตลอดจนคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมดังกล่าวแล้วเชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกอีกสองคนปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้องไปจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน: คำให้การชั้นสอบสวน, คำรับสารภาพ, พยานประกอบ และการเชื่อถือได้ของพยาน
แม้ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายในคดีปล้นทรัพย์จะให้การแตกต่างจากคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณาไปบ้าง แต่ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายก็ให้การยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยกับชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นคนร้ายยืนคุมผู้เสียหายอยู่ในบ้านเกิดเหตุขณะที่คนร้ายอีกคนหนึ่งใช้ผ้ามัดมือของผู้เสียหายไว้ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้ได้ให้การในวันเกิดเหตุนั้นเอง ได้กล่าวไว้อย่างละเอียดเป็นขั้นเป็นตอนในการที่ถูกคนร้ายร่วมกันปล้นทรัพย์และใช้อาวุธปืนยิงจนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ยากที่ผู้เสียหายจะปรุงแต่งเรื่องขึ้นมาเองเพื่อปรักปรำหรือแกล้งใส่ร้ายจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้จึงรับฟังเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาได้ เพราะผู้เสียหายเบิกความภายหลังเกิดเหตุเป็นเวลานานเกินสิบปี ผู้เสียหายคงไม่อาจจดจำรายละเอียดและเหตุการณ์ในการที่คนร้ายร่วมกระทำผิดได้ครบถ้วนดังเช่นที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวนในวันเกิดเหตุนั้นเป็นแน่
แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่าแต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังเสียเลย การที่จะรับฟังพยานบอกเล่าได้หรือไม่เพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่เหตุผลเป็นเรื่อง ๆ ไป โดยรับฟังได้ในฐานะพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ คดีนี้โจทก์มีผู้เสียหายมาเบิกความ และมีคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส.ในชั้นสอบสวนซัดทอดจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีเดียวกันว่า ในการร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายนี้ จำเลยเป็นผู้ชักชวน จ.และ ส.ไปด้วยกันซึ่ง จ.และ ส.ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่ จ.และ ส.ถูกจับกุม และเป็นการยากที่ จ.และ ส.จะปรุงแต่งขึ้นเพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลย จ.และ ส.ได้ให้การในชั้นสอบสวนตามความเป็นจริงโดยสมัครใจ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันดังกล่าว ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟัง ย่อมนำมารับฟังประกอบคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายได้ นอกจากนั้นโจทก์ยังมีเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวน จ.และ ส.มาเบิกความสนับสนุนว่า ชั้นสอบสวนจ.และ ส.ให้การรับสารภาพและยังได้นำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมจำเลยก็ให้การรับสารภาพ เช่นนี้ เมื่อฟังคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณา คำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนประกอบคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส.ในชั้นสอบสวน กับคำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจตลอดจนคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมดังกล่าวแล้ว เชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกอีกสองคนปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้องไปจริง
แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่าแต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังเสียเลย การที่จะรับฟังพยานบอกเล่าได้หรือไม่เพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่เหตุผลเป็นเรื่อง ๆ ไป โดยรับฟังได้ในฐานะพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ คดีนี้โจทก์มีผู้เสียหายมาเบิกความ และมีคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส.ในชั้นสอบสวนซัดทอดจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีเดียวกันว่า ในการร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายนี้ จำเลยเป็นผู้ชักชวน จ.และ ส.ไปด้วยกันซึ่ง จ.และ ส.ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่ จ.และ ส.ถูกจับกุม และเป็นการยากที่ จ.และ ส.จะปรุงแต่งขึ้นเพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลย จ.และ ส.ได้ให้การในชั้นสอบสวนตามความเป็นจริงโดยสมัครใจ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันดังกล่าว ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟัง ย่อมนำมารับฟังประกอบคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายได้ นอกจากนั้นโจทก์ยังมีเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวน จ.และ ส.มาเบิกความสนับสนุนว่า ชั้นสอบสวนจ.และ ส.ให้การรับสารภาพและยังได้นำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมจำเลยก็ให้การรับสารภาพ เช่นนี้ เมื่อฟังคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณา คำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนประกอบคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส.ในชั้นสอบสวน กับคำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจตลอดจนคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมดังกล่าวแล้ว เชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกอีกสองคนปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้องไปจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4933/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีค่าเสียหายจากการใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนคล้ายกัน: การบังคับคดีเฉพาะตามคำพิพากษาเดิม
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาทนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจำเลยจะเลิกผลิตและจำหน่ายน้ำปลาเครื่องหมายการค้าที่พิพาทเมื่อปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีเดิมแล้ว จำเลยยังคงใช้เครื่องหมายการค้าตามฟ้องคดีเดิมอยู่ต่อไป จำเลยจึงต้องชำระค่าเสียหายดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว เมื่อจำเลยยังชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาส่วนนี้ไม่ครบถ้วน โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้มีการบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้ได้
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างเหตุแห่งความเสียหายว่า จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่เหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายจำหน่ายน้ำปลาของโจทก์ได้น้อยลงคิดเป็นเงินเดือนละ 35,000 บาทขอให้บังคับห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท หรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายที่คิดถึงวันฟ้องจำนวนหนึ่ง กับค่าเสียหายอีกเดือนละ 35,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท หรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ คำขอในส่วนที่ระบุถึงเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นเพียงคำขอล่วงหน้าในอนาคต เมื่อในขณะพิจารณาคดีเดิมยังไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายการค้าอื่นตามคำขอดังกล่าวที่จะนำมาพิจารณาและในชั้นพิจารณาคดีเดิมศาลชั้นต้นไม่ได้พิพากษาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา คงมีแต่จำเลยอุทธรณ์ฎีกาฝ่ายเดียว ดังนี้ การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกจำหน่ายน้ำปลาที่พิพาทก็มิใช่เป็นการพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะการค้าโดยรวมอาจเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ก็มีรายละเอียดประกอบแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ศาลพิพากษาห้ามจำเลยใช้และศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายจากการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาทออกไปบ้าง จึงถือไม่ได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่อาจเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าที่ถูกห้ามใช้ตามคำพิพากษา ดังนี้ กรณีที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ และทำให้โจทก์เสียหายมากหรือน้อยกว่าที่ศาลกำหนดให้ในคดีเดิมหรือไม่ อย่างใด ก็เป็นกรณีที่โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวต่อไป กรณีไม่อาจถือได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหายในส่วนนี้
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับคดีในส่วนค่าเสียหายไม่ตรงตามคำพิพากษาเป็นเรื่องสิทธิในการบังคับคดีซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างเหตุแห่งความเสียหายว่า จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่เหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายจำหน่ายน้ำปลาของโจทก์ได้น้อยลงคิดเป็นเงินเดือนละ 35,000 บาทขอให้บังคับห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท หรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายที่คิดถึงวันฟ้องจำนวนหนึ่ง กับค่าเสียหายอีกเดือนละ 35,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท หรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ คำขอในส่วนที่ระบุถึงเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นเพียงคำขอล่วงหน้าในอนาคต เมื่อในขณะพิจารณาคดีเดิมยังไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายการค้าอื่นตามคำขอดังกล่าวที่จะนำมาพิจารณาและในชั้นพิจารณาคดีเดิมศาลชั้นต้นไม่ได้พิพากษาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา คงมีแต่จำเลยอุทธรณ์ฎีกาฝ่ายเดียว ดังนี้ การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกจำหน่ายน้ำปลาที่พิพาทก็มิใช่เป็นการพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะการค้าโดยรวมอาจเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ก็มีรายละเอียดประกอบแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ศาลพิพากษาห้ามจำเลยใช้และศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายจากการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาทออกไปบ้าง จึงถือไม่ได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่อาจเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าที่ถูกห้ามใช้ตามคำพิพากษา ดังนี้ กรณีที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ และทำให้โจทก์เสียหายมากหรือน้อยกว่าที่ศาลกำหนดให้ในคดีเดิมหรือไม่ อย่างใด ก็เป็นกรณีที่โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวต่อไป กรณีไม่อาจถือได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหายในส่วนนี้
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับคดีในส่วนค่าเสียหายไม่ตรงตามคำพิพากษาเป็นเรื่องสิทธิในการบังคับคดีซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4933/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีค่าเสียหายจากการใช้เครื่องหมายการค้าที่ละเมิด แม้เปลี่ยนเครื่องหมายใหม่ก็ไม่ถือเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาเดิม
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ5,000 บาท นับแต่วันฟ้อง จนกว่าจำเลยจะเลิกผลิตและจำหน่ายน้ำปลาเครื่องหมายการค้าที่พิพาทเมื่อปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีเดิมแล้ว จำเลยยังคงใช้เครื่องหมายการค้าตามฟ้องคดีเดิมอยู่ต่อไป จำเลยจึงต้องชำระค่าเสียหายดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว เมื่อจำเลยยังชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาส่วนนี้ไม่ครบถ้วน โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้มีการบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้ได้ ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างเหตุแห่งความเสียหายว่า จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่เหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายจำหน่ายน้ำปลาของโจทก์ได้น้อยลงคิดเป็นเงินเดือนละ 35,000 บาทขอให้บังคับห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทหรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายที่คิดถึงวันฟ้องจำนวนหนึ่งกับค่าเสียหายอีกเดือนละ 35,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทหรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ คำขอในส่วน ที่ระบุถึงเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะ เหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวนี้ เป็นเพียงคำขอล่วงหน้าในอนาคต เมื่อในขณะพิจารณาคดี เดิมยังไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายการค้า อื่นตามคำขอดังกล่าวที่จะนำมาพิจารณาและในชั้น พิจารณาคดีเดิมศาลชั้นต้นไม่ได้พิพากษาเกี่ยวกับ เครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา คงมีแต่จำเลยอุทธรณ์ฎีกาฝ่ายเดียวดังนี้ การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกจำหน่ายน้ำปลาที่พิพาทก็มิใช่เป็นการพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะการค้าโดยรวมอาจเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ก็มีรายละเอียดประกอบแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ศาลพิพากษาห้ามจำเลยใช้และศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายจากการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาทออกไปบ้าง จึงถือไม่ได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่อาจเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าที่ถูกห้ามใช้ตามคำพิพากษา ดังนี้ กรณีที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ และทำให้โจทก์เสียหายมากหรือน้อยกว่าที่ศาลกำหนดให้ในคดีเดิมหรือไม่อย่างใด ก็เป็นกรณีที่โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวต่อไป กรณีไม่อาจถือได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขอให้ บังคับคดีแก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหายในส่วนนี้ ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับคดีในส่วนค่าเสียหาย ไม่ตรงตามคำพิพากษาเป็นเรื่องสิทธิในการบังคับคดี ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกา ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไข เสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4869/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความบกพร่องของโจทก์ทำให้ไม่ทันระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ศาลไม่ขยายเวลา
โจทก์มีเวลาบังคับคดีนานถึง 10 ปี และโจทก์เคยขอให้ศาลออกคำบังคับมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ไม่สนใจที่จะนำส่งจนเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีส่งคำบังคับคืนศาลชั้นต้น หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอตรวจสำนวนหลายครั้งแต่มิได้ขอให้ดำเนินการบังคับ คงปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป 9 ปีเศษ จนเหลือเวลาอีก 3 เดือนจะครบกำหนด 10 ปี จึงมาขอให้ส่งบังคับอีก แม้การส่งคำบังคับครั้งหลังดังกล่าวจะมีเหตุขัดข้องล่าช้าอยู่บ้าง แต่เมื่อคำนึงถึงการที่โจทก์ไม่นำส่งคำบังคับในครั้งแรกตั้งแต่ปี 2529 และปล่อยเวลาล่วงเลยมานาน 9 ปีเศษ จึงมาขอส่งคำบังคับใหม่เมื่อใกล้จะครบกำหนด 10 ปี นับได้ว่าเป็นความบกพร่องของโจทก์มาแต่แรกจึงถือไม่ได้ว่าเหตุตามคำร้องขอขยายระยะเวลาของโจทก์เป็นพฤติการณ์พิเศษที่ทำให้โจทก์ขอให้บังคับคดีไม่ทันภายใน 10 ปี ที่จะขยายระยะเวลาให้